|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
นิทานที่โดนใจคุณ "นิทานที่โดนใจคุณ" เป็นโจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 323 ผู้ตั้งโจทย์ คือ น้อง กะว่าก๋า
คำอธิบายโจทย์ เลือกนิทานจะกี่เรื่องก็ได้ที่คุณชอบ คิดว่าโดนใจ สอนใจ ให้ข้อคิด ที่ดีมาเขียน มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ฟัง จะเลือกนิทานที่มีอยู่แล้วหรือจะเขียนขึ้นใหม่ก็ได้
ความหมายของคำว่า "นิทาน" คือ เรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็น วรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด กล่าวกันว่านิทานมี กำเนิดพร้อม ๆ กันครอบครัวของมนุษยชาติ มูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไป นิทาน จึงไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องที่แต่งขึ้น ตัวละคร จะเป็นคน หรือ สัตว์ก็ได้ และสัตว์ใน นิทานนั้น สามารถพูดได้ด้วย ลักษณะเด่นของนิทาน
1. มีแนวคิดหรือแก่นของเรื่อง หรือสารัตถะของเรื่อง ซึ่งมักจะเป็นองค์ ประกอบพื้นฐาน ง่ายไม่ลึกซึ้งนัก เช่น แนวคิดเรื่องแม่เลี้ยงข่มเหงลูกเลี้ยงการทำความดีจะได้ผลดีตอบสนอง 2. โครงเรื่องของนิทาน มักจะสั้น กะทัดรัด เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นลักษณะเป็นเรื่องเล่าธรรมดา ดำเนินเรื่อง ไปตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง 3. ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว เพราะเป็นเรื่องสั้น ๆ ตัวละครอาจเป็น คน สัตว์ เทพเจ้า นางฟ้า มนุษย์ อมนุษย์ ฯลฯ สัตว์สามารถพูดได้ด้วย 4.ฉาก เป็นภาพจินตนาการที่ผู้เขียนสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง 5.ควรใช้ภาษาที่กะทัดรัดเข้าใจง่าย สนุกสนานชวนติดตาม 6.ตอนจบของเรื่อง ต้องจบด้วยการฝาก ข้อคิด คติธรรม สอนใจ เกี่ยวกับชีวิต สังคม วัฒนธรรม เป็นข้อเตือนใจแก่ผู้อ่าน
ตามจุดประสงค์ของผู้ตั้งโจทย์ บอกไว้ว่า สามารถเลือกนิทานที่ชอบกี่ เรื่องก็ได้ ที่คิดว่าโดนใจ ให้ข้อคิดที่ดี ฉันเอง คิดว่า ฉันก็คงชอบอยู่หลายเรื่องเลย ค่ะ โดยเฉพาะนิทานไทย ๆ มีแทรก คติธรรม แสดงถึงวัฒนธรรมไทย สังคมในยุคที่กล่าวถึงในนิทานเรื่อง นั้น ๆ เช่น เรื่อง ปลาบู่ทอง ของไทยเรา ก็ได้แสดงถึง วัฒนธรรม อาชีพ (การหาปลา ของพ่อแม่นางเอก เอื้อย ) แก่นเรื่อง คือ ความอิจฉาริษยา ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว เป็นต้น
นิทานที่ชื่นชอบอีกหลายเรื่อง รวมอยู่ในนิทานอีสป อิสปนั้น เป็น ผู้เล่านิทานต่าง ๆ ไว้มากมาย รวมเรียกว่า นิทานอีสป
รูปปั้นของ อีสป ผู้แต่ง นิทาน อีสป
อีสป เป็นทาส แต่เก่ง เล่านิทานได้มากมายและมีคติ ข้อคิด และเป็น นิทานที่โด่งดังไปทั่วโลก ทุกคนเมื่อได้ฟังนิทาน ของอีสปแล้ว พวกเขาจะเกิดความรู้สึกสำนึกที่ดี ได้รับบทเรียน ได้รับรู้ สิ่งที่ดีงาม และความชั่วร้ายไปพร้อม ๆ กับความสนุกสนาน
อีสป ทาสชาวกรีกนักเล่านิทานอัจฉริยะของโลก และบทบาทของ นิทานอีสปนับแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบัน ย่อมเป็นสิ่งที่ชี้ชัดให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของนิทานอีสปที่มีต่อ มวลมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่าง นิทาน อีสป ที่เรามาใช้เล่าให้เด็ก ๆ ฟัง อ่าน เช่น
เรื่องราชสีห์กับหนู
นิทานอีสป เรื่อง กระต่ายกับเต่า นิทานอีสป กระต่ายกับเต่า ...สอนใจในเรื่อง อย่าประมาท ดูถูกคนอื่น นิทานอีสป ราชสีห์กับหนู ... สอนใจเรื่อง ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ บางครั้งก็ ยังต้องพึ่งพาอาศัยผู้ที่ด้อยกว่าตนมากมาย นิทานอีสป ลูกหมูสามตัว ... สอนเด็กๆ ให้รู้จักประโยชน์ของความขยัน และรู้ถึงโทษของความขี้เกียจ นิทานอีสป หมาจิ้งจอกตกบ่อ ...สอนเรื่อง การลงมือช่วยเหลือย่อมดี กว่าเพียงพูดแสดงความเห็นใจ. นิทานอีสป ชาวนากับงูเห่า ... สอนใจเรื่องอย่าไว้วางใจ อย่าสงสารคนที่จะแว้งกัดเราได้ทุกเมื่อ เหมือนงูเห่า นิทานอีสป หมาจิ้งจอกกับพวงองุ่น ...สอนให้รู้ว่า ผู้ที่ทำสิ่งใดไม่ สำเร็จ มักโทษว่าสิ่งนั้นไม่ดี. นิทานอีสป หมากับเงา ... สอนใจเรื่องความโลภ เห็นเงาของก้อน เนื้อใหญ่กว่าก้อนเนื้อในปากตน ก็ลืมตัวอยากได้ ก้อนเนื้อในน้ำที่ใหญ่กว่า เลยอดหมดทุกอย่าง นิทานอีสป ไก่ได้พลอย สอนใจเรื่องคนที่ไม่รู้จักของมีค่าของ สิ่งของที่ได้มา
นิทานที่พวกเรา น่าจะรู้จักและเคยเรียนกันมาบ้าง ก็คือ นิทาน เวตาล ซึ่งเป็นนิทานที่แปลมาจาก ภาษาสันสกฤต
เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล 25 เรื่อง) เป็นวรรณกรรม สันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว โครงเรื่องหลัก ของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหา ระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ปีศาจที่มี ร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งจะนำเข้าไปสู่ นิทานย่อยต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้รวม 25 เรื่อง ลักษณะดังกล่าว คล้ายกับนิทานอาหรับราตรี หรือ "พันหนึ่งราตรี"ซึ่งเป็น นิทานชุดในซีกโลกอาหรับที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกชุดหนึ่ง ฉบับพระนิพนธ์ใน กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เรื่องที่ 1 พระวัชรมงกุฎ กับ พุทธศริระ (ลิลิตเพชรมงกุฎ) เรื่องที่ 2 นกแก้วจุฑามน กับ นกขุนทองโสมิกา 2.1 นางรัตนาวดี กับ ชายผู้มีหลังเหมือนอูฐ 2.2 นางชัยสิริ กับ จมูกที่แหว่งของนาง เรื่องที่ 3 พระเจ้าศูทรกะ กับ ขุนนางวีรพล เรื่องที่ 4 นางมัทนเสนากับการเลือกคู่ เรื่องที่ 5 นางโศภนี ผู้หลงรักโจร เรื่องที่ 6 พราหมณ์เกศวะ กับ บุตรเขย 3 คน เรื่องที่ 7 ความรักมนัสวี ผู้โง่เขลา เรื่องที่ 8 พระยศเกตุ กับ ทีรฆทรรศิน และนางวิทยาธรสาว เรื่องที่ 9 การชุบชีวิตด้วยความผิดพลาดของนางมุกดาวลี เรื่องที่ 10 ปริศนายากของเวตาล พระองค์ทรงแปลไว้เพียง 10 เรื่องเท่านั้น
ส่วนนิทานที่ชอบหรือ โดนใจมากที่สุด คือ นิทานอีสป ทั้ง 10 เรื่อง เพราะแต่ละเรื่อง ต่างให้ข้อคิด เตือนสติคนอ่าน เด็ก ๆ ได้อ่าน ได้ฟัง ย่อมจะเป็นการปลูกฝังคุณธรรมอันดีงามในด้าน ต่าง ๆ ให้กับเด็ก ๆ ตั้งแต่ยังเยาว์วัย ค่ะ
ส่วนนิทานเวตาล นั้น ก็ชอบ นิทานที่แทรกอยู่ในเรื่อง การโต้ตอบ ปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์กษัตริย์ แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ซึ่งผู้เล่า คือ เวตาล ในระหว่างที่เล่า นั้น พระวิกรมาทิตย์ จะต้องฟังไปตลอดทาง ห้ามพูด เมื่อเล่าจบ เวตาลก็จะมีคำถาม ถามพระวิกรมาทิตย์เสมอ ซึ่ง พระองค์ก็เผลอพระองค์ ตอบทุกที เมื่อ เผลอตอบ พระองค์ก็เป็นฝ่ายแพ้ เวตาลก็จะสามารถหนีออกจาก ย่ามของพระองค์ไปแขวนตัวอยู่บนต้นไม้เหมือนเดิม พระองค์ก็ต้องเดินทางไปจับเวตาลใส่ยามอีก เป็นเช่นนี้จนถึงเรื่องที่ 25 พระองค์ไม่สามารถตอบได้ จึงจับเวตาลไป ให้พระฤาษีได้ตามสัญญา นิทานที่เวตาลเล่า เล่าจบ ล้วนแต่เป็น ปัญหาชวนขบคิด ชวนให้ตอบ เรื่องเหล่านี้ น่าจะสอนเรื่อง การควบคุม สติตนเอง ถึงจะตอบได้ ต้องพยายาม อย่าตอบ อย่าคิดว่า คนอื่นโง่กว่าตนที่แก้ปัญหาไม่ได้ เหมือนดั่ง พระวิกรมาทิตย์ คุมสติ ไม่ได้ จึงตอบไป ทำให้เวตาล สามารถหนีออกจากย่ามของพระองค์ได้ เพราะ พระโอษฐ์ของท่านเอง เรียกว่า ลืมข้อตกลง ขาดสติไป เผลอตอบ พระองค์จึงต้องลำบากไปจับเวตาลถึง 24 ครั้ง นั่นเอง
ตะพาบ เรื่องนิทานที่ฉันชอบหรือโดนใจ ที่ฉันเขียนมาข้างต้นนี้ คงจะทำให้ผู้อ่านได้ความรู้ เพลิดเพลินใจพอควร นะคะ สวัสดี ค่ะ (ขอบคุณ ข้อมูลบางส่วนจากอินเทอร์เน็ต)
Create Date : 20 มีนาคม 2566 |
Last Update : 21 มีนาคม 2566 14:46:49 น. |
|
41 comments
|
Counter : 1195 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku, คุณเริงฤดีนะ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณtoor36, คุณอุ้มสี, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณSweet_pills, คุณRain_sk, คุณnewyorknurse, คุณNior Heavens Five, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณสองแผ่นดิน, คุณkatoy, คุณkae+aoe, คุณ**mp5**, คุณกะว่าก๋า, คุณปัญญา Dh, คุณกิ่งฟ้า, คุณtuk-tuk@korat, คุณชีริว |
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 21 มีนาคม 2566 เวลา:16:25:44 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 21 มีนาคม 2566 เวลา:16:51:03 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 21 มีนาคม 2566 เวลา:19:43:28 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 21 มีนาคม 2566 เวลา:22:25:33 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 22 มีนาคม 2566 เวลา:1:05:53 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 22 มีนาคม 2566 เวลา:8:51:08 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 23 มีนาคม 2566 เวลา:8:44:15 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 23 มีนาคม 2566 เวลา:11:37:17 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 23 มีนาคม 2566 เวลา:17:34:24 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 มีนาคม 2566 เวลา:19:02:18 น. |
|
|
|
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 24 มีนาคม 2566 เวลา:1:30:23 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 มีนาคม 2566 เวลา:4:54:55 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 24 มีนาคม 2566 เวลา:8:19:48 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 24 มีนาคม 2566 เวลา:9:02:34 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 มีนาคม 2566 เวลา:21:25:26 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 24 มีนาคม 2566 เวลา:23:52:22 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 25 มีนาคม 2566 เวลา:1:40:21 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มีนาคม 2566 เวลา:5:57:18 น. |
|
|
|
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 25 มีนาคม 2566 เวลา:10:06:54 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มีนาคม 2566 เวลา:14:19:09 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มีนาคม 2566 เวลา:19:53:13 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 25 มีนาคม 2566 เวลา:23:50:52 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 26 มีนาคม 2566 เวลา:0:13:02 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 26 มีนาคม 2566 เวลา:0:46:24 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 มีนาคม 2566 เวลา:5:42:45 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 26 มีนาคม 2566 เวลา:10:01:37 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 มีนาคม 2566 เวลา:13:05:50 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 26 มีนาคม 2566 เวลา:21:26:27 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 มีนาคม 2566 เวลา:5:27:49 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 27 มีนาคม 2566 เวลา:8:19:06 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 มีนาคม 2566 เวลา:22:30:12 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 มีนาคม 2566 เวลา:5:19:20 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 มีนาคม 2566 เวลา:13:30:43 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 29 มีนาคม 2566 เวลา:0:02:19 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 มีนาคม 2566 เวลา:5:28:00 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
BlogGang Popular Award#20
|
|
|
|
ฝากข้อความหลังไมค์ |
|
Rss Feed |
| Smember | | ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]
|
เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ
http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif |
|
|
|
นิทานเวตาล
ประดับมหากาพย์
อภิมหานิทานค่ะ
สุดยอดๆๆ