ไหว้
"ไหว้" เป็นโจทย์ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 234 ผู้ตั้งโจทย์ครั้ง นี้ คือ น้องเรียวรุ้ง ค่ะ
"ไหว้" หรือ "การไหว้" ถือเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทยเรา มานมนาน แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่า มีวัฒนธรรม "การไหว้" มาตั้งแต่สมัยไหน มีการสันนิษฐานว่า น่าจะได้รับอารยธรรมมาจาก ประเทศอินเดียโดยผ่านมาทางศาสนาฮินดูและพุทธ ซึ่งมีการพนมมือเหมือนกัน มาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อน สมัยก่อน คนไทยเมื่อพบกัน มักจะถามว่า "ไปไหนมา" ซึ่งต่อมา รู้สึกว่า การทักทายเช่นนี้ เหมือนอยากรู้อยากเห็น เรื่องของคนที่เราทัก จึงมีคนคิดคำทักทายกัน เมื่อพบเจอกัน ด้วย คำว่า "สวัสดี" ซึ่งแปลว่า " ความดี ความเจริญ ความปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง"ผู้ที่คิดและริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" ก็คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร ด้วยการทักทายด้วย คำว่า "สวัสดี" และใช้พูดประกอบกับการไหว้
"ไหว้" เป็นการทักทายของคนไทย เพื่อแสดงความเคารพหรือ สักการะสิ่งที่เราเคารพ ด้วยการพนมมือ เช่นเดียวกับการกระทำ อัญชลีมุทรา" ของวัฒนธรรมอินเดีย เราจึง สัญนิษฐานว่า การไหว้ ของเราได้รับจาก อารยธรรมของอินเดีย การไหว้ ถือเป็นการให้เกียรติและแสดง ถึงความมีสัมมาคารวะซึ่งกันและกัน ในบางโอกาส การไหว้ ยังแสดงถึงการขอบคุณ และการขอโทษ เช่น เมื่อผู้ใหญ่ให้ของเรา เราก็จะต้องไหว้ และกล่าวขอบคุณผู้ให้ หรือ เมื่อเราทำผิดพลาดไป เราก็จะต้อง ไหว้และกล่าวคำ ขอโทษ ด้วย จากการที่ฉันศึกษาจากแหล่งความรู้ การไหว้นั้นประกอบด้วยกิริยา สองส่วน ดังนี้ 1. อัญชลี คือ การพนมมือด้วยการนำมือ 2 ข้างมาประกบกัน เหมือนรูปคล้ายรูปดอกบัว ไม่แบนราบ พนมมือแนบไว้ระหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงพอประมาณ ทุกนิ้วเรียง ชิดกัน ศอกทั้งสองข้างแนบชิดลำตัว ไม่กางศอก การไหว้ในลักษณะนี้ ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา หรือ ขณะที่เราสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ การฟังสวดพระอภิธรรม 2.วันทา คือ การไหว้ ซึ่งการไหว้นั้นแบ่งเป็น 3 ระดับตามความ สำคัญของสิ่งที่เรานับถือหรือบุคคลที่เราไหว้ ดังนี้ 1.ไหว้พระสงฆ์หรือสิ่งที่เคารพ บูชา เช่น พระรัตนตรัย การไหว้ ระดับนี้ เป็นการไหว้ที่ต้องก้มศีรษะโน้มตัวมากที่สุด ในกรณีไม่สามารถนั่งไหว้หรือกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ถ้าเป็น ผู้ชาย ให้ยืนไหว้ ยืนตรง แล้วค่อย ๆ ค้อมตัวลง แล้วจึงยกมือเหมือนท่าอัญชลีขึ้นไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ตรงระหว่าง คิ้ว ปลายนิ้วทั้งสิบแนบจรดอยูส่วนบนของหน้าผาก ผู้หญิง ให้ยืนตรง แล้วถอยเท้าข้างที่ถนัดข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลัง เล็กน้อย พร้อมกับย่อตัว แล้วยกมือขึ้นไหว้ ให้หัวแม่มือ จรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบจรดอยู่ส่วนบนของหน้าผาก หรือถ้าจะ ไม่ถอยเท้าไปข้างหลัง จะทำท่าเหมือนผู้ชายก็ได้

การไหว้ระดับที่ 1 ไหว้พระสงฆ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

การไหว้ระดับที่ 1 ไหว้พระภิกษุ พระรัตนตรัย
2. การไหว้ระดับที่ 2 เป็นการไหว้ที่แสดงความเคารพผู้ใหญ่ ผู้มี พระคุณ ผู้อาวุโส ญาติผู้ใหญ่ของเรา เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้ใหญ่ที่เราเคารพ นับถือ การไหว้ในระดับที่ 2 นี้ ให้พนมมือ พร้อมกับ ค้อมศีรษะ ให้นิ้วหัวแม่มือจรดอยู่ที่ปลายจมูกของเรา ส่วนปลายนิ้ว แนบอยู่ระหว่างคิ้วของเรา


การไหว้ระดับที่ 2 ไหว้บุคคลที่เราเคารพ นับถือ ผู้มีพระคุณ
3. การไหว้ระดับที่ 3 เป็นการไหว้ของบุคคลทั่ว ๆ ไป ที่มีวัยใกล้เคียง กัน หรือมีอาวุโสกว่าเล็กน้อย การไหว้ในระดับนี้ คือ พนมมือไว้ที่หน้าอก แล้วยกขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้นิ้วหัว แม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูกของเรา

การไหว้ระดับที่ 3 เป็นการไหว้ในระดับวัยที่ใกล้เคียงกัน

การไหว้ระดับที่ 3 วัยเท่ากัน พนมมือที่หน้าอก แล้วค้อมหัวลงเล็กน้อย
การรับไหว้จากบุคคลที่มีอาวุโสน้อยกว่า การรับไหว้จากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นมารยาทที่สำคัญ เป็นการทำให้ ผู้ไหว้เกิดความรู้สึกดี ไม่เขินอาย และเกิดความรู้สึกดี ๆ เกิดความเคารพผู้อาวุโสเพิ่มมากขึ้น เหมือนกับได้รับการยอมรับ การ ต้อนรับ ได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่ นั่นเอง การรับไหว้ของผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่า นิยม ยกมือประนมเป็นกระพุ่ม อยู่ ระหว่างหน้าอกหรือที่หน้า ให้ปลายนิ้วชี้ อยู่ที่ดั้งจมูก ให้หัวแม่มืออยู่ที่คาง ใช้สายตามองดูผู้ไหว้ด้วยความ เมตตาปรานี เอ็นดู หรือด้วยความปรารถนาดี
"ไหว้" นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีการไหว้ที่แสดงความ เคารพ แสดงถึงการระลึกถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว หรือการไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ความนับถือความ ศรัทธาของแต่ละบุคคล เช่น การไหว้พระ การไหว้เจ้า การไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปของเรา ไหว้พระแม่คงคา ไหว้ฟ้าดิน (ประเพณีการแต่งงานของชาวจีน ) ฯลฯ
จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ในลักษณะใด ก็มีควาหมายร่วมกันอยู่ ในการไหว้ทุกตัวอย่างที่ยกมา นั่นก็คือ เป็นการแสดงความรัก ความเคารพที่คนไหว้ มีต่อสิ่งที่ไหว้เสมอ ค่ะ
โจทย์ตะพาบ กิโลเมตร ที่ 234 "ไหว้" ครั้งนี้ เป็นโจทย์ที่ดี ส่งเสริม และทบทวนความทรงจำของคนไทยเรา ให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงาม แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของความ เป็นไทยของประเทศไทยเรา กระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์รักษาวัฒนาธรรม "การไหว้" ให้คงอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป ค่ะ
Create Date : 12 สิงหาคม 2562 |
Last Update : 13 สิงหาคม 2562 17:50:43 น. |
|
30 comments
|
Counter : 4009 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณกะว่าก๋า, คุณสองแผ่นดิน, คุณชีริว, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณtoor36, คุณเรียวรุ้ง, คุณmultiple, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณอุ้มสี, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณhaiku, คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณkatoy, คุณnewyorknurse |
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 สิงหาคม 2562 เวลา:20:09:57 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 13 สิงหาคม 2562 เวลา:22:25:20 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 13 สิงหาคม 2562 เวลา:23:11:11 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 สิงหาคม 2562 เวลา:6:10:52 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 สิงหาคม 2562 เวลา:21:43:41 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 14 สิงหาคม 2562 เวลา:22:47:02 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 สิงหาคม 2562 เวลา:6:27:34 น. |
|
|
|
โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 15 สิงหาคม 2562 เวลา:16:33:31 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 15 สิงหาคม 2562 เวลา:19:36:10 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 สิงหาคม 2562 เวลา:20:21:59 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 16 สิงหาคม 2562 เวลา:4:00:58 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 สิงหาคม 2562 เวลา:6:24:04 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 สิงหาคม 2562 เวลา:22:31:42 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 สิงหาคม 2562 เวลา:6:22:29 น. |
|
|
|
โดย: sawkitty วันที่: 17 สิงหาคม 2562 เวลา:13:54:40 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 สิงหาคม 2562 เวลา:15:15:31 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 สิงหาคม 2562 เวลา:6:20:17 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 18 สิงหาคม 2562 เวลา:13:15:52 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 สิงหาคม 2562 เวลา:17:59:03 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 สิงหาคม 2562 เวลา:6:26:33 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 สิงหาคม 2562 เวลา:11:20:11 น. |
|
|
|
|
|
 |
|
มาอ่านบล็อกอาจารย์
ได้สาระความรู้เรื่องการไหว้
ดีมากๆเลยครับ
บางครั้งผมก็ยังไหว้ผิดไหว้ถูกอยู่ครับ 55