คืนกำไรให้ชีวิต เพื่อพิชิตไปในโลกกว้าง
space
space
space
<<
กันยายน 2561
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
8 กันยายน 2561
space
space
space

วรรณกรรมที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ



วรรณกรรมที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ 

"วรรณกรรมที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ"เป็นหัวข้อ ตะพาบ กิโลเมตร ลำดับที่ 
211 เป็นโจทย์ที่ฉันตั้งเอง ค่ะ 
ที่จริง หัวข้อเดิมที่ฉันตั้ง คือ "วรรณคดีที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ" แต่น้องต่อ
ส่งข้อความมาขอเปลี่ยนจาก วรรณคดี เป็น วรรณกรรม
โดยให้เหตุผลว่า คำว่า  วรรณกรรม จะให้ความหมายกว้างกว่าคำว่า
วรรณคดี ผู้เขียนตะพาบ จะเขียนง่ายกว่า
ก็ถูกต้องตามเหตุผลที่ให้มาค่ะ แต่ไม่ตรงจุดประสงค์ของฉัน ที่จริง
ฉันต้องการให้คนเขียน เห็นความสำคัญของ
วรรณคดีไทย ซึ่งมีมากมายเป็นร้อย ๆ พันๆ เรื่อง แต่คนไทยปัจจุบัน
จะรู้และสนใจวรรณคดีไทย ไม่มากแน่นอน 
โดยเฉพาะ เด็กนักเรียนปัจจุบัน ยิ่งรู้จักน้อย ด้วยเหตุผลที่บทเรียนมี
แต่การตัดทอนเรื่องในวรรณคดีมาให้เรียน
เพียงตอนเดียวหรือสองตอน ถ้าไม่ได้สนใจเลย  ความลึกซึ้งและความ
เข้าใจในสารัตถะหรือที่เรียกว่า แก่นของเรื่อง
ก็แทบจะไม่รู้เลย ว่า แก่นของเรื่อง ผู้แต่งต้องการสื่อถึงเรื่องอะไร 
จากเหตุผลนี้  ฉันจึงได้ตั้งหัวข้อเป็นวรรณคดี
มากกว่าวรรณกรรม เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ ชาวบล็อกได้เขียนถึงวรรณคดี
ที่ตัวเองชื่นชอบ จะได้เป็นการเผยแพร่
วรรณคดีไทย อันเป็นมรดกของคนไทยที่จะสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม 
ความเป็นอยู่ของคนไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้

"วรรณคดีที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ" ก็มีหลายเรื่อง ค่ะ ก่อนจะเขียนถึง
วรรณคดีที่ฉันชื่นชอบ ขอเขียนถึงความหมาย
ของคำว่า วรรณกรรม กับ คำว่า วรรณคดี ก่อนนะคะ เพราะคิดว่า  
บางคนก็ยังไม่เข้าใจความหมายของ 2 คำนี้ ค่ะ 

"วรรณกรรม" หมายถึง สิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่สามารถสื่อสารเป็นที่เข้าใจ
กันได้ เราเรียกว่า "วรรณกรรม" 
"วรรณคดี" คือ วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่า แต่งดี มีสาระและมี
คุณค่าทาง วรรณศิลป์ 
วรรณศิลป์  ก็คือ ความงามในภาษาที่ใช้ในการแต่งวรรณกรรมเรื่อง
นั้น ๆ เช่น แต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของวรรณกรรม
ถูกต้องตามรูปแบบ  มีความเหมาะสมกับเนื้อหาของวรรณกรรมประเภท
นั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นเนื้อหาให้ความบันเทิง
แก่ผู้อ่าน ก็ต้องเลือกรูปแบบ เป็น นวนิยาย เป็นเรื่องสั้น เป็นต้น 
นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมเรื่องนั้น ต้องมีความไพเราะ 
สละสลวย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ก็อยู่ที่ผู้เขียนรู้จัก
การเลือกสรรคำมาร้อยเรียงทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง สามารถทำให้
คนอ่าน อ่านแล้ว มีอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม
ไปกับเนื้อเรื่องที่ตนเขียนไปด้วย ที่เราเรียกว่า  มีอารมณ์ร่วมไปด้วย
หรือเรียกตามสมัยนี้ว่า "อินไปกับเนื้อเรื่องที่อ่าน" นั่นเอง

ที่ว่ามานี้ คือ คุณสมบัติ ของ วรรณกรรม ที่จะเลื่อนฐานะไปเป็น
วรรณคดี ซึ่งในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้ตั้งหน่วยงานหนึ่ง
ชื่อว่า "วรรณคดีสโมสร" เพื่อพิจารณาวรรณกรรมต่าง ๆ ที่จะเลื่อน
ฐานะ จากวรรณกรรมขึ้นเป็นวรรณคดี ค่ะ 

หนังสือหรือ วรรณกรรม ที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร นั้น
มีมากมาย โดยแบ่งเป็นยุค ๆ ตามสมัยที่เกิดวรรณกรรม  เช่น 

สมัยสุโขทัย ก็มี สุภาษิตพระร่วง  นางนพมาศ  ไตรภูมิพระร่วง ฯลฯ
ขอยกภาพของหนังสือดังกล่าวบางเล่มค่ะ 







สมัยกรุงศรีอยุธยา นั้น  เนื่องจากเป็นราชธานีของไทยมาถึง 417 ปี
จึงแบ่งยุคของวรรณคดี เป็น 3 ยุคใหญ่ คือ 
สมัยอยุธยาตอนต้น ยุคนี้วรรณดคีที่เป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไป ก็คือ
ลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ครั้งหนึ่งเคยถูกคน
วิพากษ์วิจารณ์มากเหลือเกิน ว่า เป็นวรรณคดี มอมเมาทางโลกีย์ เพราะ
เนื้อหาสาระมุ่งเน้นในเรื่องของความรัก ความหลง
ความใคร่ ถึงกับมีการทำเสน่ห์เล่ห์กล  โดยไม่คำนึงถึงเรื่อง ศีลธรรม
จริยธรรม  แต่นักวรรณคดีวิจารณ์ อีกกลุ่มหนึ่ง
ก็โต้แย้ง มองในมุมกลับว่า  เรื่องนี้ ต้องการยกตัวอย่างของความรักที่
ไม่ถูกต้องของพระเพื่อน พระแพง และพระลอ มาเป็น
อุทาหรณ์สอนใจว่า เมื่อทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ผลกรรมที่ตามมา ก็คือ 
จบลงด้วยโศกนาฏกรรมตามกรรมที่ได้กระทำไว้ 




นอกจาก  วรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ ที่โด่งดัง ซึ่งได้รับยกย่องจาก
วรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดแห่งวรรณคดี ประเภท ลิลิต
ในปี พ.ศ. 2459  อยุธยา ยุคต้น นี้ ยังมีวรรณคดี ที่ได้รับการยกย่องอีก
หลายเรื่อง  คือ มหาชาติคำหลวง  ซึ่งเรารู้จักกัน
ในสมัยยุคปัจจุบัน ก็คือ เรื่อง ร่ายยาวมหาเวสสันดร ชาดก   นั่นเอง เรื่อง
ลิลิตยวนพ่าย   โคลงทวาทศมาส  เป็นต้น 


กรุงศรีอยุธยายุคกลาง  ยุคนี้ วรรณคดี ที่เจริญสูงสุด ถือเป็นยุคทอง ก็คือ
สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
ยุคนี้ แม้แต่ทหารประตูวัง ก็สามารถโต้ตอบกันเป็นโคลงกลอน ทีเดียว
วรรณคดีในยุคนี้มีมากมาย รวมไปถึง แบบเรียนเล่มแรก
ของไทยด้วย  คือ วรรณคดี เรื่อง จินดามณี  เรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ เรื่อง อนิรุทธคำฉันท์  โคลงอักษรสามหมู่ 
โคลงกำสรวลศรีปราชญ์  (บางแห่งจัดวรรณคดี เรื่องนี้ อยู่ใน
ยุคต้น)    เป็นต้น  






การุงศรีอยุธยายุคปลาย  ถือเป็นวรรณคดียุคทอง ในสมัยของพระเจ้า
อยู่หัวบรมโกศ  กวีที่มีชื่อเสียงมากในยุคนี้ คือ 
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรืออีกพระนามหนึ่ง คือ เจ้าฟ้ากุ้ง   วรรณคดีในยุคนี้
ที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  กาพย์เห่เรือ (เป็นต้นแบบ
ของกาพย์เรือในยุคต่อมา) กาพย์ห่อโคลงนิราศหรืออีกชื่อหนึ่งว่า   นิราศ
ธารโศก   เรื่องเพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง
 เรื่อง ปุณโณวาทคำฉันท์  เรื่อง นันโทปนันทสูตร คำหลวง  เรื่อง
กลบทสิริวิบุณกิตติ  พระมาลัยคำหลวง เป็นต้น 







ในยุครัตนโกสินทร์นั้น  ยุคทองที่วรรณคดีเจริญรุ่งเรืองมาก  ก็คือ ใน
สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
กวีที่โด่งดังของยุคนี้  คิดว่า ทุกคนคงรู้จักดี  ก็คือ ท่านสุนทรภู่  กวี 4 
แผ่นดิน นั่นคือ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 
แต่ไปถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4  เป็นผู้มีผลงานด้านการแต่ง
นิราศที่ไพเราะเพราะพริ้ง มากมายหลายเรื่อง เช่น 
นิราศ ภูเขาทอง  ซึ่งวรรณคดี สโมสร ยกย่องให้เป็นยอดของนิราศ
คำกลอน  เรื่อง นิราศพระบาท  นิราศสุพรรณ 
เรื่อง พระอภัยมณี  ซึ่งถือเป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่ง
ของวรรณคดรไทย  เรื่อง ขุนช้างขุนแผน 
นิราศนรินทร์  บทละครเรื่อง อิเหนา รามเกียรติ์  ลิลิตตะเลงพ่าย  ลิลิต
นิทราชาคริต (ของร.5) ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก  
มัทนพาธา   เงาะป่า  ฯลฯ  

วรรณคดีแปล ก็เริ่มมีขึ้น เช่น เรื่องราชาธิราช  เรื่องสามก๊ก  พระราช
พิธีสิบสองเดือน  ลัทธิเอาอย่าง เป็นต้น 























ตัวอย่างวรรณคดีที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นวรรณคดี  ที่ทรง
คุณค่าของไทยทั้งนั้น  ที่ฉันอยากจะให้เพื่อน
ชาวบล็อกและผู้ที่ได้เข้ามาอ่านได้ รู้จัก ค่ะ  ถือว่า ช่วยกันเผยแพร่และ
ถ้ามีโอกาสก็น่าจะได้ศึกษาและช่วยกัน
รักษาวรรรณคดีมรดกเหล่านั้นให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วย
จรรโลง ภาษาไทยและวรรณคดีไทยให้คู่ไทยตลอดไป 

สำหรับ วรรณคดีที่ฉันชื่นชอบ  มีหลายเรื่องด้วยกัน  ก็ขอยกตัวอย่างมา
สัก 1 เรื่อง ค่ะ  เรื่องนั้น คือ เรื่อง พระอภัยมณี 


ทำไม ฉันจึงชื่นชอบวรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี หรือ  มาทราบเหตุผล
กันค่ะ  

วรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี  ผู้แต่งเรื่องนี้  คือ ท่านสุนทรภู่ ครูกวีศรีสยาม
เป็นวรรณคดี ที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร 
เป็นยอดของ วรรณคดี นิทานคำกลอน  พระอภัยมณี ถือว่า เป็นเรื่องที่
แสดงถึงความเป็นจินตกวี  ของท่านสุนทรภู่  หลายสิ่งที่กล่าวถึง
ในวรรณคดีเรื่องนี้  เป็นเรื่องที่เกิดจากจินตนาการของท่าน  เช่น เรื่อง
ของเรือโจรสุหรั่ง ที่บรรยายไว้ว่า 
เป็นเรือที่ใหญ่โต มีการเลี้ยงสัตว์ในเรือ  ต่อมาในปัจจุบัน เราก็มีเรือ
สำราญลำใหญ่โตมีหลายชั้น เช่นเรือ ไททานิค 
หรือ จินตนาการในเรื่อง ของการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างเผ่าพันธ์ุ  
เช่น  พระอภัยมณี ได้นางยักษ์ จนเกิดเป็นสินสมุทร 
ผู้มีพละกำลังอย่างมหาศาล เหมือนมารดา คือ ผีเสื้อสมุทร  รูปร่างก็
กำยำใหญ่โต  หรือ ตอนที่พระอภัยมณี ได้นางเงือกสาว
มาเป็นภรรยา  จนเกิดลูก คือ สุดสาคร  ผู้มีความแข็งแรง  ว่ายน้ำเก่ง
เช่นเดียวกับนางเงือกผู้เป็นแม่ 
สามารถจับม้านิลมังกรมาเป็นพาหนะของตน ได้ และออกติตตามหา
พระอภัยมณีผู้เป็นพ่อ  
จินตนาการเช่นนี้ของท่านสุนทรภู่  ปัจจุบันได้กลายเป็นเรื่องจริงแล้ว 
นั่นคือ  มนุษย์สามารถนำสัตว์ต่างเผ่าพันธุ์
มาผสมพันธุ์ จนได้สัตว์พันธุ์ใหม่ขึ้นมา  เช่น  นำพ่อลา ไป ผสมพันธุ์
กับแม่ม้า  ลูกออกมาเราเรียกลูกที่เกิดใหม่นี้ว่า  "ล่อ" 
หรือ นำพ่อเสือ ผสมพันธุ์กับแม่สิงโต  ลูกออกมา เราเรียกว่า ไทกอน
(Tigon)  หรือ นำพ่อสิงโต ผสมพันธุ์กับแม่เสือ  
ลูกที่เกิดมา เรียกว่า  ไลเกอร์  (Liger)   สิ่งที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ แสดง
ให้เห็นว่า จินตนาการของท่านก้าวไกลมากทีเดียว
วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี  จึงเป็น วรรณคดี ที่มีเนื้อหาที่สนุกสนาน 
เหมาะสมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่จะได้อ่าน
ปัจจุบัน ได้นำวรรณคดีเรื่องนี้ ไปสร้างเป็นการ์ตูน  สร้างเป็นละคร และ
ได้เป็นที่นิยมของผู้อ่าน มาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากคุณค่าด้านเนื้อที่สนุกสนาน มีทั้ง รัก รบ โศกเศร้า  ตื่นเต้นกับ
เรื่องแปลก ๆ ที่เกิดจากการจินตนาการของผู้แต่งแล้ว 
เรื่อง พระอภัยมณี  ยังสอดแทรก คติธรรมสอนใจไว้ในเนื้อหาอีกมากมาย
เช่น  ตอนพระฤาษีมาช่วยสุดสาครที่โดนชีเปลือก
ผลักตกเหว  ท่านก็ได้สอนสุดสาครไว้ว่า 

"แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหนือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด     ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน  บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน        เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา  
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ            ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา 
รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา               รู้รักษาตัวรอดเป็ยอดดี "

นอกจาก คติธรรม  ข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาสาระ
โดยผ่านตัวละครต่าง ๆ ไม่ว่าจะในแง่ความรัก
ของนางผีเสื้อสมุทรที่รักแบบหลงใหล จนในที่สุดก็ต้องพบจุดจบ หรือ 
ความรักของ นางสุวรรณมาลี  อุศเรน  นางละเวงวัลลา 
ล้วนแต่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความรักให้กับผู้อ่านได้เห็นแบบเป็นอย่างว่า 
และให้คติข้อคิดว่า  ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ 
ตอนจบของเรื่อง  ก็ให้ข้อคิด ว่า ในที่สุด คนเราก็ไม่ได้มีความสุขใน
โลกียสุขเลย ตัวละครเอกในเรื่อง
ตอนจบ จึงได้ออกบวชในอยู่ในพระบวรศาสนา 

นอกจากคุณค่าด้านสังคมดังกล่าวมาอย่างคร่าว ๆ แล้ว  วรรรคดีเรื่อง
พระอภัยมณี  ยังมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์อย่างสมบูรณ์
ทั้งในด้าน การเลือกสรรคำมาพรรณนา  มีโวหารภาพพจน์  อุปมาอุปไมย
เปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้เข้าใจและ
มีความสนุก สนาน ไปกับเนื้อหาสาระ สามารถเห็นภาพตามที่กวีได้
เขียนมาให้คนอ่านได้อ่าน  เช่น 

พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต  ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
โอ้จากเรือนเหมือนนกที่จากรัง    อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้             ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย    
 โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย    น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร
หนาวอารมณ์ลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น      ระรวยรื่นรินรินกลิ่นเกสร
แสนสงสารบ้านเรือนเพื่อนที่นอน        จะอาวรณ์อ้างว้างอยู่วังเวง
  วิเวกแว่วแจ้วเสียงสำเนียงปี่              พวกโยธีทิ้งทวนชนวนเขนง
ลงนั่งโยกโงกหงับทับกันเอง           เสนาะเพลงเพลินหลับระงับไปฯ 

จากตัวอย่างคำประพันธ์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้  เราจะเห็นคุณค่าของ
ดนตรีแล้ว  เรายังเห็นความงามด้านวรรณศิลป์
สามารถเข้าถึงอารมณ์ความคิดถึงบ้านของคนพรรณนาข้อความนี้เป็น
อย่างดี  โดยการเลือกสรรคำมาใช้ 
เช่น  "นั่งโยกโงกหงับทับกันเอง"  เห็นภาพของเหล่าทหาร ที่ได้ฟัง
เสียงปี่อันไพเราะ ถึงกับโงกหงับทับกันเอง 
มีการใช้โวหาร อุปมาอุปไมยมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น "โอ้จากเรือนเหมือนนกที่จากรัง " เป็นต้น  

ตะพาบ หัวข้อที่ฉันตั้งขึ้นนี้  ฉันก็ได้เขียนเพื่อเป้าหมายเดิมของฉันแล้ว
หวังว่า  เพื่อน ๆ ชาวบล็อก  คนที่เข้ามาอ่าน 
คงจะได้รับประโยชน์เกี่ยวกับ วรรณคดีไทยที่ฉันนำมาฝาก และช่วยกัน
เผยแพร่ วรรณคดีไทยอันเป็นมรดกอย่างหนึ่ง
ของชาติไทย แสดงถึงความเป็นไทย เอกลักษณ์ของไทย ต่อไป ค่ะ 










Create Date : 08 กันยายน 2561
Last Update : 13 กันยายน 2561 11:09:17 น. 25 comments
Counter : 8772 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเรียวรุ้ง, คุณmariabamboo, คุณruennara, คุณmambymam, คุณกะว่าก๋า, คุณkae+aoe, คุณเกศสุริยง, คุณtuk-tuk@korat, คุณอุ้มสี, คุณสองแผ่นดิน, คุณtoor36, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณnewyorknurse, คุณRananrin, คุณชีริว


 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

เข้ามาอ่านบล็อกอาจารย์
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกแล้วครับ
เมื่อก่อนยอมรับเลยว่าผมแยกไม่ค่อยออกครับ
ว่าอัะนไนคือวรรณกรรม วรรณคดี หรือวรรณศิลป์

พออ่านบทความของอาจารย์ก็ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

และที่เห็นด้วยมากที่สุดคือ
การนำเนื้อหาของวรรณคดีมาเพียงบางส่วนในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
ทำให้เด็กไม่เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดของวรรณคดี
ความสนใจของเด็กเลยน้อยลงไป และคิดว่าวรรณคดีนั้นอ่านยาก เข้าใจยาก
ตรงนี้น่าเสียดายจริงๆครับ


ผมเองก็ไปโรงพยาบาลมาครับ
มีนัดตรวจสุขภาพประจำปี
เจาะเลือด วัดอะไรอีกมากมาย
เสียเวลาไปครึ่งวันครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 กันยายน 2561 เวลา:14:05:33 น.  

 
ที่นี่เหมือนเขียนประวัติวรรณคดีเลยค่ะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 11 กันยายน 2561 เวลา:14:19:59 น.  

 
รุ้งว่าถ้าโจทย์เป็นวรรณคดีที่ชื่นชอบ หลายคนคงตอบไม่ได้แน่ค่ะ

แต่ถ้าถามรุ้ง รุ้งชอบระเด่นลันได เพราะฮาดี
พระมเหลเถไถ ฮาเหมือนกัน
อุณรุทร้อยเรื่อง นี่ก็ฮาอีก

ทั้งสามเรื่องจบได้แบบสั้นๆ

ส่วนพระอภัยนั้นยอมแพ้ค่ะ ยาวมากอะ ไม่ชอบที่พระอภัยเหมาหมดไม่ว่ายักษ์ว่าเงือกด้วย


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 11 กันยายน 2561 เวลา:15:03:06 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
toor36 Cartoon Blog ดู Blog
สองแผ่นดิน Photo Blog ดู Blog
อาจารย์สุวิมล Literature Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

เขียนได้สะท้อนคุณค่าของหนังสือเลยค่ะอาจารย์
เป็นหนังสือ หรือวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าข้ามกาลจริงค่ะเรื่องนี้
ส่งกำลังใจค่า


โดย: mariabamboo วันที่: 11 กันยายน 2561 เวลา:19:37:57 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์สุวิมล
ส่วนตัวผมเองก็ไม่ค่อยได้อ่านวรรณคดีสักเท่าไหร่ครับ
แต่จะเน้นไปทางนวนิยายและหนังสืออื่นๆเสียมากกว่า
กระนั้นก็มีที่เป็นกลอนวรรณคดีอยู่หลายเรื่องเหมือนกันครับ
ผมชอบอ่านร้อยกรองของนักกลอนรุ่นเก่าๆ
เช่น เพลงยาวอยุธยาวสาน ศรีจุฬาลักษณ์(โคลง)
เป็นผลงานของจินตนา ปิ่นเฉลียว นักเขียนในดวงใจครับ
พระนลคำฉันท์ ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ
แต่อย่างพวก รามเกียรติ์ พระอภัยมณี ยังไม่เคยอ่าน
แบบเป็นกลอนฉบับเต็มเลยครับ ได้อ่านแต่ในบทเรียนที่คัดมา
ตอนเรียนมัธยมเท่านั้นเอง
ผมว่าวรรณคดีที่เป็นกลอนนั้นมีเสน่ห์ เพราะกว่าจะหาคำได้
แต่งให้ไพเราะถูกต้องตามฉันทลักษณ์นั้นไม่ง่ายนัก
และอาจต้องตีความแปลออกมาอีกทีหนึ่ง
เด็กสมัยใหม่อาจจะไม่นิยมแบบนี้นักครับ


โดย: ruennara วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:3:22:58 น.  

 
หนังสือของตรูแต่ละเล่มสุดยอดเลยค่ะ
แต่ละเล่มน่าสนุกและให้ความรู้
หนูเคยอ่านขุนช้างขุนแผนเล่มเดียวค่ะ อ่านเพลินมาก
พระอภัยมณี ได้อ่านแบบผ่านๆค่ะ



โดย: mambymam วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:6:36:10 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ

โหวตครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:6:49:13 น.  

 
มีหลายเรื่องเลยนะคะ น้องซีได้เรียนรู็แต่ฉบัยที่เป็นพวกการ์ตูนค่ะ ภาพและการเขียนก็แต่งใหม่เลย ไว้น้องซีโตคงได้ศึกษาค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:9:03:05 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สาวไกด์ใจซื่อ Review Food Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Review Food Blog ดู Blog
mariabamboo Photo Blog ดู Blog
อาจารย์สุวิมล Diarist ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
คุณครูอ่านแต่วรรณกรรมเด็ดๆ เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายหนูอ่านแต่ต้นๆจบยังไงยังไม่ทราบเลยค่ะสงสัยจะต้องไปหาอ่านทบทวนของเก่าอีกทีแน่ๆค่ะ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:14:27:40 น.  

 
หลายเล่มได้เรียน
หลายเล่มได้อ่านค่ะ
และบางเล่มไม่เคยอ่านค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:20:10:59 น.  

 
ย่องมาอีกรอบค่ะ
ขอบคุณครูที่แวะชมชบาจิ๋วด้วยกันค่ะ

เมื่อเช้าลืมไปค่ะ สังข์ทอง หนูก็อ่าน
เป็นอีกเรื่องที่ชอบค่ะ





โดย: mambymam วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:21:22:31 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

จริงๆคนอ่านไม่น้อยนะครับอาจารย์
แต่ผมว่าส่วนใหญ่อ่านแล้วไม่ได้เม้นท์ไว้ครับ
เหมือนแวะมาเยือนแบบไม่ทิอ้งร่องรอยครับ 555

ช่วงนี้ขนาดเฟซบุ๊คผมยังรู้สึกว่าคนเล่นน้อยลงเลย
ไม่ได้คึกคักเหมือนเมื่อก่อนครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 กันยายน 2561 เวลา:22:46:02 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับอาจารยฺ์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:6:31:35 น.  

 
อิอิอิ หนังสือที่ครูนำมาเนี่ย
อุ้มได้จับต้องเปิดอ่านทั้งหมดเลย
โหวตให้ค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:8:43:00 น.  

 
สวัสดีสายๆครับ อาจารย์สุ
แต่ละเล่มที่อาจารย์นำมาลง แต่ละเล่มมีคุณค่ามากมายครับ ชอบหลายเรื่องครับ
เห็นด้วยกับอาจารย์เลยครับ ในหนังสือเรียน นำมาสอนเพียงบางตอน ทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจ
น่าจะเป็นหนังสือประกอบการเรียน ให้อ่านจบทั้งเล่ม



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:10:36:41 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

เซนเป็นเรื่องของประสบการณ์ตรง
บางครั้งอาจารย์เซนจึงไม่สอนศิษย์เลย
แต่ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้เป็นตัวอย่างครับ

จริงๆผมคิดว่ามีคนสนใจวรรณคดีไทยเยอะมากครับอาจารย์
ปัญหาอยู่ที่การสอนและทำอย่างไรให้รูปแบบการสอนน่าสนใจ
บางครั้งเด็กรุ่นใหม่ๆเจอศัพท์ยากๆเข้าไป
ก็อ่านไม่รู้เรื่อง
ทำให้ไม่อยากอ่านไปเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:13:37:14 น.  

 
ขอบคุณครูที่แสะทักทายค่ะ
วันนี้อากาศอ้าวมากมาย ครั่นเนื้อครั่นตัวเหมือนจะเป็นไข้ค่ะ



โดย: mambymam วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:14:31:17 น.  

 
สมัยเรียนบังพอได้หยิบมาอ่านบ้าง.สมัยนี้แทบจะไม่ได้จับเลยค่ะ แถมลืมไปหมดแล้ว กลัวจะสูญหายจริงๆค่ะ


โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:23:48:11 น.  

 
ผมมองในมุมที่ว่า ของเราบังคับให้เด็กต้องศึกษามากเกินไป มันทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน และเบื่อหน่าย อีกทั้งวรรคดีไทย หากมีการเอาไปดัดแปลงทำเป็นภาพยนตร์ หรือแม้แต่เกม มักจะถูกต่อต้าน การที่วัฒนธรรมไม่สามารถสัมผัสได้ คนก็จะไม่สัมผัสมัน ซึ่งนั่นแหละทำให้คนยิ่งไม่สนใจ

ในขณะที่ในต่างประเทศ เขาสามารถเอาวัฒนธรรมไปใส่ในเกม ในละครได้ ของเราละครที่สร้างจากวรรณคดี เราแทรกมุกลงไปแทบไม่ได้เลย (เจอหาว่าไม่ให้เกีรยติผู้แต่งอีก)



ผมต้องกราบขออภัยอาจารย์ในเรื่องของโจทย์ เนื่องจากผมไม่ทราบถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของอาจารย์อย่างที่อาจารย์ได้เขียนไว้ข้างต้น อย่างที่ได้เคยเรียนไปว่า ทางกระผมได้ติดต่อทางอาจารย์ไปแล้ว แต่ไม่ได้รับคำตอบกลับมา ทำให้การทำงานในส่วนนี้ติดขัด จนส่งผลให้เกิดความไม่พอใจ และรู้สึกไม่ดีขึ้นมา

ในจุดนี้กระผมขอยอมรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ไม่ว่าจะมีเหตุผลอะไรก็ตามผิดก็คือผิด กระผมเชื่อว่าน่าจะมีเพื่อนๆ ได้อ่านความคิดเห็นนี้ จึงอยากจะถือโอกาสเรียนให้เพื่อนๆ ที่ร่วมตั้งโจทย์ผ่านคอมเม้นต์นี้ว่า หากท่านร่วมตั้งโจทย์ บางครั้งหากท่านไม่มีคำอธิบายโจทย์ กระผมอาจต้องติดต่อท่านเพื่อขอข้อมูลในส่วนนี้ หากไม่สามารถติดต่อได้กระผมต้องเขียนเอง ซึ่งกระผมไม่อยากเขียนเองในส่วนนี้เพราะอาจจะไม่ตรงกับความต้องการ แน่นอนว่ารวมไปถึงโจทย์ที่อาจมีปัญหา กระผมอาจต้องมีการปรึกษาพูดคุยกับท่าน ขอให้ช่วยเช็คหลังไมค์ด้วยจักเป็นพระคุณอย่างมาก

กระผมต้องขออภัยอาจารย์อีกครั้ง สำหรับความผิดพลาดที่ไม่ควรให้อภัยในครั้งนี้ โดยจะมีการแถลงการณ์ขออภัยอย่างเป็นทางการที่บล็อกกระผมอีกครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นจะมีการพิจารณาบทบาทการทำหน้าที่ในจุดนี้ด้วยเช่นกัน


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:23:54:17 น.  

 
มีแต่หนังสือน่าอ่านตามทั้งนั้นเลยค่ะ
ขอบพระคุณที่แนะนำนะคะอาจารย์


โดย: Rananrin วันที่: 14 กันยายน 2561 เวลา:3:23:44 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กันยายน 2561 เวลา:6:43:45 น.  

 


ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ^^
รินชอบอ่านวรรณกรรมค่ะ แต่ยังอ่านที่ชอบๆ ไม่ครบสักทีเลยค่า


โดย: Rananrin วันที่: 14 กันยายน 2561 เวลา:12:57:01 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับอาจารย์


ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 กันยายน 2561 เวลา:6:24:29 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์

ทะไล ลามะท่านเขียนหนังสือออกมาเยอะมากจริงๆครับ
ผมว่าน่าจะเกิน 50 เล่ม
ข้อเด่นของท่านคือ
อธิบายธรรมะยากๆให้เข้าใจได้ง่าย

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 กันยายน 2561 เวลา:6:32:16 น.  

 
ถ้าโจทย์วรรณคดีมันแคบจริงครับ อาจไม่ค่อยมีคนร่วมเขียน
และเนื้อหาหรือค่านิยมของวรรณคดีส่วนใหญ่ไม่ได้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบันแล้ว
ครูที่สอนภาษาไทยส่วนมากไม่เก่งพอที่จะอธิบายถึงบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปตามแต่ละยุคสมัยได้
แทนที่จะเป็นตัวแทนยุคสมัย มันเลยกลายเป็นการสอนให้ท่องจำภาษาไทยสวยๆ แต่เนื้อหาประหลาดๆ ไม่ตรงจริตของคนยุคปัจจุบัน
มาชมวรรณกรรมที่ครูภาษาไทยชั้นเยี่ยมอย่างอาจารย์สุวิมลชื่นชอบครับ .....ต.....ไตรภูมิพระร่วง!! เป็นวรรณคดีที่สร้างภาพนรก-สวรรค์ของไทยเราให้ติดภาพมาจนถึงทุกวันนี้เลยนะครับ
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นหลายเรื่องเป็นหลักฐานเอาไว้ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้บางส่วนด้วย
สมัยพระนารายณ์ก็มีวรรณกรรมที่สำคัญออกมาหลายงานเลย
ยุครัตนโกสินทร์ผมชอบกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ลิลิตตะเลงพ่าย และโคลงโลกนิติ เป็นบทที่ชอบที่สุดตอนเรียนภาษาไทยเลย
ทั้งความสวยงามทั้งความหมายเหนือกว่าวรรณกรรมยุคก่อนๆขึ้นมาอีกขั้น เป็นวิวัฒนาการของการประพันธ์จริงๆครับ
แน่นอนว่าจนถึงยุคปัจจุบันก็มีผลงานที่เหนือกว่ายุคก่อนๆขึ้นไปอีก


โดย: ชีริว วันที่: 16 กันยายน 2561 เวลา:9:38:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]




เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ

http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif
space
space
space
space
[Add อาจารย์สุวิมล's blog to your web]
space
space
space
space
space