รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
ปฏิบ้ติธรรมไปเพื่ออะไร

  เวลานักภาวนาลงมือภาวนาไปสักระยะ ก็จะเริ่มมีอาการเป๋  ที่หลุดจากเป้าหมายดั่งเดิมในพุทธศาสนาว่า การปฏิบัติภาวนานั้นทำไปเพื่ออะไรกันแน่

ในปรัชญาหลักของพุทธศาสนาคือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงทางดับทุกข์  นี่คือแก่นของการปฏิบัติภาวนาในพุทธศาสนา

ซี่งพระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบแนวทางทีพระองค์ทรงเรียกว่า ทางสายกลาง อันมีอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติภาวนา  ใครก็ตามที่ได้เดินตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง ก็จะสามารถเข้าสู่เส้นทางแห่งมรรคได้ หรือ เส้นทางแห่งการดับทุกข์ได้

ถ้าท่านนักภาวนาทีมีจิตใจเปิดกว้างสักนิด ย้อนดูตัวเองและสิ่งทีตัวเองพบสักหน่อย ท่านก็จะพบความจริงของชีวิตว่า ทุก ๆ  วันทีท่านตื่น ไปทำงานหาเลี้ยงชีพ ท่านต้องพบกับผู้คน พบกับปัญหาสารพัดที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์   ซี่งความเป็นทุกข์นี้  ถึงแม้ท่านไม่ได้ทำงานแล้ว เพราะเกษียณอายุแล้ว แต่ร่างกายทีท่านแบกอยู่ มันก็ส่งทุกข์มาถึงท่านได้เช่นกัน

ทุกข์นั้น ท่านไม่มีทางหนีได้พ้นเลย ไม่ว่าใครก็ตาม

ทีนี้ท่านจะมีคำถามมาว่า แล้วเส้นทางแห่งอริยมรรคจะทำให้พ้นทุกข์ได้อย่างไรกันละ ถ้าทุกข์นั้น ไม่มีใครจะหนีมันไปได้

ท่านทีขับรถเป็น ท่านจะพบว่า เวลาทีท่านขับรถไปตามท้องถนน ท่านจะพบสิ่งต่างๆ มากมายที่เป็นปัญหาระหว่างการขับรถอยู่เสมอ  เช่น รถติด  ถนนทีเป็นหลุมเป็นบ่อ  ถนนทีน้ำท่วม รถคันอื่นทีขับอย่างไร้มารยาทของความเป็นสุภาพชน ป้ายบอกเส้นทางทีไม่ชัดเจนทำให้ท่านหลงทาง และ อืนๆ  อีกมาก  สิ่งทีท่านพบในท้องถนน ก็เหมือนทุกข์ทีท่านพบในชีวิตเช่นกัน  ถ้าท่านขับรถได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ ท่านก็สามารถฟันฝ่าสิ่งต่างๆ ทีท่านพบบนท้องถนนจนถึงทีหมายได้อย่างปลอดภัย  

การปฏิบัติภาวนาก็เช่นเดียวกันกับการขับรถทีผมยกตัวอย่างให้ท่านเห็น  

ทุกข์ในชิวิตนั้นมีมากมาย  การปฏิบัติด้วยเส้นทางแห่งมรรคนั้นจะทำให้ท่านมีประสิทธิภาพสูงในการปฏิบัติตนจนสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้  

ถ้าท่านพบความสุขสงบอย่างยิ่งในการนั่งสมาธิหลับตาภาวนาตามสำนัก เมื่อท่านออกจากสมาธิหรือกลับมาบ้าน กลับไปทำงานแล้ว ท่านยังคงสุขสงบอย่างนั้นได้หรือไม่  ท่านตอบคำถามตัวเองได้  ยิ่งท่านบอกว่า ท่านนั่งมาหลายปีแล้วทำไมยังพ้นทุกข์ไม่ได้  ท่านน่าจะ**ฉุกคิด**อะไรได้บ้างว่า  สิ่งทีท่านทำอยู่มาหลายปี มันคือสิ่งทีพระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ ก่อนทีท่านจะตัดสินเองว่า สิ่งทีสอนกันในพุทธศาสนาน้้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ทีจะพ้นทุกข์

นักภาวนาทีปฏิบัติตามแนวทางแห่งอริยมรรคมาได้อย่างโชกโชน ก็จะเหมือนนักขับรถทีมีชั่วโมงขับรถมานานจนชำนาญ  เมื่อนักภาวนาพบทุกข์ ก็จะสามารถจะจัดการอะไรบางอย่างเพื่อให้พ้นไปจากทุกข์ที่เกิดมาได้อย่างรวดเร็ว  เช่นเดียวกับนักขับรถทีหลบหลีกภัยต่างๆ ทีเกิดขึ้นบนท้องถนนได้

เมื่อการภาวนาตามองค์อริยมรรคมาถึงจุดทีเป็นทางแห่งมรรค  นักภาวนาจะมีสภาวะแห่งการตื่นของจิต เป็นจิตทีว่องไว สามารถรู้ทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว และ จิตจะว่องไวมากเป็นพิเศษ ที่ทุกข์ทียังไม่เกิด แต่กำลังจะเกิด เขาก็จะรู้และปรับตัวได้ทันควันเพื่อให้พ้นไปจากทุกข์ นี่คือ ผลแห่งการภาวนาทีได้จากอริยมรรค

พระอริยบุคคลทั้ง 4  เป็นเพียงการสมมุติเรียกขึ้นมาว่า ท่านเหล่านั้น มีความตื่น หรือ ไวต่อการแก้ไขในทุกข์ได้เร็วมากขนาดไหน  ถ้าเร็วมาก ไวมาก ก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นทีสูงกว่า

เจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์ทรงใช้อาณาปานสติเป็นเครื่องมือปฏิบัติ ซี่งพระองค์กระทำอย่างนี้ ก็เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของจิต   โดยใช้อาณาปานสติเป็นเครื่องมือ  พระองค์ไม่ได้ต้องการทีจะไปรู้ลม  แต่พระองค์ทรงรู้ลมเพือให้จิตมีประสิทธิภาพ ซี่งเป้าหมายมันต่างกัน

สติปัฏฐาน 4  ทุกบรรพ (บรรพ คือ หมวดหมู่ ) เป็นแนวทางเพื่อให้จิตพัฒนาประสิทธิภาพทั้งนั้น
จิตทีมีประสิทธิภาพจะมีคุณสมบัติอย่างหนี่ง คือ ลื่นไหล ไม่เกาะเกียวสิ่งใด  ถ้าท่านบอกว่า ปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 มานานมาก ยังไม่เห็นผลสักที ท่านควรจะพิจารณาว่า สิ่งทีท่านฝีกฝนนั้น มันใช่สติปัฏฐานจริงๆ หรือไม่

ถ้าท่านบอกว่าฝีกสติปัฏฐาน แต่จิตไปจับยีดในฐานใดในสติปัฏฐาน นั้นไม่ใช่การฝีกทีตรงทางแห่งสติปัฏฐาน

แต่ถ้าท่านฝีกสติปัฏฐาน เพียงให้จิตรู้อยู่ในฐาน แล้วไม่จับยีดในสิ่งใด นั้นคือ สติปัฏฐาน

เจ้าชายสิทธัตถะทางใช้ลมหายใจเป็นเครื่องรู้ แต่ไม่จับยีดลมหายใจ นั้นคือ พระองค์ทรงปฏิบัติสติปัฏฐาน แล้วจิตของเจ้าชายก็ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น รู้แจ้งในกองทุกข์ อันเป็นขันธ์ 5 และสภาวะแห่งการไม่ทุกข์ หรือ นิโรธ ได้จากจิตทีทรงประสิทธิภาพนีเอง

******************
ในพระไตรปิฏก สมาธิสูตร  ได้มีข้อความย่อ ๆ ดังนี้ว่า
ภิกษุ เจริญสมาธิเถิด เมื่อจิตตั้งมั่น จักรู้เห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง

เจริญสมาธิอย่างไร จิตจึงจะตั้งมั่น  ท่านต้องลงมือวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนครับ



Create Date : 13 สิงหาคม 2556
Last Update : 13 สิงหาคม 2556 11:04:35 น. 0 comments
Counter : 1536 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.