รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
3 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
เวทนาคืออะไร เวทนานุปัสนาทำอย่างไร

บทความนี้ลงใน fb เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2555 ขอบคุณคุณหนุ่มที่ส่งมาให้ครับ

ผมมีความเห็นให้ท่านที่อ่านเรื่องของผมอยู่ได้พิจารณาเอาเองด้วยปัญญาของท่าน


1. ในการภาวนาจริงๆ นั้น ไม่อาจจะแบ่งได้ว่า จะเลื่อกภาวนาอะไร ใน 4 หมวดของสติปัฏฐาน 4 เพราะในความเป็นจริง ทั้ง 4 หมวดจะเกิดขี้นทั้งหมดพร้อม ๆ กันเสมอ ถ้าท่านเลือกกายานุปัสสนา มันก็จะมี เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมมานุปัสสนา เกิดอยู่พร้อมกันเสมอ เพียงแต่ว่า... ท่านนักภาวนามองเห็นได้หรือไม่ เข้าใจได้หรือไม่เท่านั้นว่า มีสติปัฏฐาน 4 เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วในตัวท่าน


2. เวทนานุปัสสนา การรับรู้อาการเวทนาทางกายและใจ กายไม่ทุกข์ก็รู้ กายทุกข์ก็รู้ ใจทุกข์ก็รู้ ใจไม่ทุกข์ก็รู้ แต่สำหรับมือใหม่แล้ว การรู้กายใจ ในขณะที่ไม่ทุกข์ จะ**ไม่รู้**เพราะกำลังแห่งสัมมาสติยังไม่แรงพอ แต่จะรู้ได้ในอาการที่ กายใจ นั้นเป็นทุกข์ แต่พอกายใจเป็นทุกข์ขึ้นมา ด้วยกำลังแห่งสัมมสติทียังอ่อนปวกเปียกเป็นโจ๊กเหลว ๆ จะไม่สามารถต่อสู้กับแรงของตัณหาได้ เมื่อสู้ตัณหาไม่ได้จิตก็จะถูกดึงไปยึดติดกับเวทนาที่เป็นทุกข์ทันที จึงเป็นว่า กายเป็นของฉัน ฉันเป็นทุกข์ทรมานเจ็บปวดทางกาย ใจเป็นของฉัน ฉันเป็นทุกข์ทรมานทางใจมันจะเป็นซะอย่างนี้


แต่ทีนี้ จะมีบางสำนักหรือบางท่าน ที่ต้องการจะชนะทุกขเวทนาไปทนนั่งสมาธิ ปวดก็ทนเอา แต่ใจมันยึดไปแล้วด้วยตัณหา มันก็ไม่ได้ผลออกมา ก็จะมีบางท่าน ที่นั่งจนชนะได้ แต่ชนะแบบนี้ ก็จะไม่เห็นตัวสภาวะอยู่ดี ก็จะเป็นว่า ฉันชนะเวทนาแล้ว กลายเป็นมีตัวฉัน ตัวตนไปอีก และข้อควรระวังอย่างยิ่งจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมพบมา ระวังขาของท่านเอง นั่งทนแบบนี้บ่อยๆ มีสิทธิเดี้ยงได้ แทนที่ท่านจะเดินได้อย่างคนปรกติ ท่านอาจจะพิการได้นะครับ


3. แล้วเวทนานุปัสสนาควรเจริญเมื่อไร ในข้อ 2 ผมกล่าวถึงมือใหม่ไม่ควรเจริญเวทนานุปัสสนา เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่เหมาะกับมือใหม่เป็นอย่างยิ่ง ในการภาวนาสำหรับมือใหม่นั้น เนื่องด้วยกำลังสัมมาสติไม่แรงพอ การภาวนาด้วยเวทนานุปัสสนา ก็ไม่เหมาะดังข้อ 2 ที่ได้เขียนไว้ ครั้นจะไปที่จิตนานุปัสสนา ก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะพอจิตปรุงแต่งเกิด ก็จะไม่เห็นอีก แล้วก็ถูกตัณหาดึงไปเกาะยึดอีก กรรมฐานที่เหมาะสุดสำหรับมือใหม่ คือ กายานุปัสสนา


เมื่อมือใหม่เจริญกายานุปัสสนาไปเรื่อย เกิดกำลังสัมมาสติแรงขึ้น อันดับแรกสุดคือ เขาจะพบกับอาการจิตแยกตัวออกจากสิ่งที่ถูกรู้ พอจิตแยกตัวออกได้ เขาจะพบกับสภาวะของความคิดปรุงแต่ง (จิตปรุงแต่ง) อันเป็นจิตตานุปัสสนาได้แล้ว และเมื่อจิตแยกตัวออกได้ นักภาวนาก็จะสามารถที่จะแยกทุกขเวทนาทางกายได้เช่นกันในบางครั้ง นักภาวนาในช่วนนี้ จะเห็นเองว่า จิตปรุงแต่งและทุกขเวทนาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ ๆ เรา แต่ก็มีบางครั้งที่พ่ายแพ้ตัณหาได้อยู่


พอเขาพบกับจิตตานุปัสสนาได้แล้ว ต่อไปเขาจะพบ มโน พบจิตผู้รู้ เมื่อทำลายจิตผู้รู้ได้แล้วนั่นแหละ เขาจะพบอาการหนึ่งของจิต เป็นจิตที่มีอุเบกขา จิตไม่ทุกข์ เบาสบาย ปลอดโปร่ง อันเป็นเวทนานุปัสสนาที่ไม่ทุกข์ จะเห็นว่าเวทนานุปัสสนาที่ไม่ทุกข์ ก็จะพบได้ตอนท้าย ๆ ของขีวิตการภาวนา นักภาวนาทีชำนาญมาก ๆ ในชีวิตประจำวัน เขาจะอยู่กับเวทนานุปัสสนาที่ไม่ทุกข์ อยู่กับอารมณ์อุเบกขา และ สภาวะแห่งสุญญตา แต่ก็ยังคง กายานุปัสสนาอยู่ด้วย เรียกว่า พบกันครบเครื่องทั้ง 4 หมวดของสติปัฏฐาน 4 ในตอนจบ

**อธิบายเพิ่มเติมจากที่เขียนไว้ใน fb**

การพบกับเวทนานุปัสสนานั้น ถ้านักภาวนายังต้องส่งจิตเพื่อไปรับรู้ถึงเวทนาว่าตอนนี้เป็นอย่างไร  อย่างนี้ยังไม่ใช่นะครับ  เมื่อนักภาวนาได้ภาวนาถึงระดับ กำลังสัมมาสติแรงขึ้นพอ เขาจะรับรู้เวทนาได้เองโดยที่เขาไม่ต้องส่งจิตเพื่อไปรับรู้อาการของเวทนาเลย  ซึ่งถ้าจะเปรียบก็จะคล้าย ๆ  กับ ท่านนั่งอยู่แล้วมีลมกระโชกมาโดนกาย ท่านไม่ต้องส่งจิตเพื่อไปรับรู้เลยว่ามีลมมากระโชก แต่ท่านรู้ได้เองใช่ใหมครับ การรับรู้เวทนาในสติปัฏฐานก็เช่นกันจะเป็นแบบรู้สึกได้แบบลมกระโชกมาโดนกาย ซึ่ง จะเป็นว่า ท่านนักภาวนาต้องรับรู้ได้เองโดยที่ไม่ต้องส่งจิตไปรับรู้อาการของเวทนา

*****


การเลือกเส้นทางการภาวนา อยู่ทีนักภาวนาเอง อยากจะเดินแบบสบายๆ ไปเรื่อย ๆ หรืออยากจะสู้กับทุกข์ตั้งแต่แรกโดยที่ยังไม่มีความสามารถที่จะสู้กับมันได้ เรืองนี้ นักภาวนาเลือกได้เอง


** ข้อคิด
ทหารที่ไม่เคยฝึกฝน ออกสนามรบ มักจะไม่รอดชีวิตกลับมา
นักมวยที่ไม่มีความชำนาญ ย่อมถูกคู่ต่อสู้น๊อคคาเวทีเสมอ

นักภาวนาที่ไม่มีกำลังจิตพอ มีหรือจะสู้กับทุกข์เวทนาได้

 




Create Date : 03 มิถุนายน 2555
Last Update : 7 มิถุนายน 2555 8:30:38 น. 1 comments
Counter : 2652 Pageviews.

 


โดย: papisong วันที่: 3 มิถุนายน 2555 เวลา:6:46:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.