รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
1 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
ความสุขที่เกิดขึ้นในการภาวนา

บทความนี้ลงใน fb เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2555

ในตำราได้กล่าวถึงความสุขที่เกิดขึ้นมี 2 อย่างคือ 

1.สุขที่เจืออามิส 
2.สุขที่ไม่เจืออามิส

สุขเจืออามิส คือ สุขที่เกิดจากการรับรู้การกระทบสัมผัสที่เป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย สุขแบบนี้ ต้องมีเหยื่อมาล่อ เมื่อคนมารับการสัมผัส จิตใจกินเหยือล่อเข้าไปแล้ว ก็เกิดการปรุงแต่งขึ้นเป็นความสุข ถ้าการสัมผัสนั้นน่าพอใจ น่ายินดี นี่คือการปรุงแต่งขึ้นในจิตใจคนเรา แต่ถ้าการสัมผัสนั้น ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ ผลก็จะเป็นตรงข้ามคือ ไม่เป็นสุข แต่จะเกิดทุกข์ขึ้นมาแทน 

ในแง่ปรมัตถธรรม สุขเวทนา และ ทุกข์เวทนา เหมือนกัน แต่ในทางสมมุติบัญญัตินั้นต่างกัน คนจะชอบสุข แต่มักเกลียดทุกข์

นักภาวนาที่สามารถเห็นจิตปรุงแต่งที่เป็นปรมัตถ์ได้แล้ว จะเข้าใจในสิ่งนี้ได้ว่าทำไมมันถึงเหมือนกัน

สำหรับสุขไม่เจืออามิส เป็นสุขที่เกิดขึ้นในการภาวนา ที่เป็นความสุขระดับ*ฌาน* สุขแบบนี้จะปราณีตมากทีเดียว ในความสุขระดับฌานนั้น ก็จะมี 2 แบบอีกเช่นกัน คือ มิจฉาฌาน และ สัมมาฌาน
มิจฉาฌาน เป็นความสุขที่เกิดจากมิจฉาสมาธิ จิตยึดติดในสุขที่เกิดขึ้น ใครที่ได้มิจฉาฌานแล้วจะพบว่า สุขนี้สุดยอดเปรียบไม่ได้กับสิ่งใด อธิบายให้ใครฟังไม่ได้ ต้องพบเอง ถ้าพบแล้ว ก็อยากได้ตลอดไป ไม่อยากจากมันไป เหมือนปานประหนึ่ง ยาเสพย์ติดที่มีฤทธิอย่างแรง ทำให้นักภาวนาแบบมิจฉาสมาธิมักมีจิตใจที่ร้อนรุ่ม จิตใจรุนแรงในทางโทสะ เพราะการที่จิตได้สัมผัสกับสุขในมิจฉาฌานเข้า แล้วต้องการอีก แต่ไม่ได้มา ก็จะมีจิตใจเช่นนี้ เหมือนถูกขัดใจ ที่ไม่ให้ได้พบกับความสุขในสิ่งทีตนต้องการ

สุขอีกแบบที่ต่างกันสุดขั้วคือ สุขในสัมมาฌานนั้นต่างจากมิจฉาฌาน และ มักเป็นสุขแบบอุเบกขา ไม่หวือหวาแบบมิจฉาสุข สุขนี้เกิดจากจิตที่เป็นอิสระไม่ยึดเกาะกับสิ่งใด มันเป็นสุขที่เยือกเย็น อ่อนนุ่ม ระมุมระไม นักภาวนาจะสัมผัสสุขแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อ จิตได้แยกตัวออกมาแล้วและนักภาวนาได้พบเองว่าจิตอิสระนั้นคือมีสภาวะอย่างไร ความเป็นอิสระของจิต ผลที่ได้รับ คือ สุขแบบสัมมาฌาน เมื่อจิตไม่ยึดติดสิ่งใด จิตก็ไม่ติดสุข เมื่อจิตไม่ติตสุข จิตก็จะไม่ติดทุกข์เช่นกัน

การเดินทางของนักภาวนานั้น เริ่มจากจิตที่ยังมีตัณหา ยึดติดในอารมณ์อยู่ นักภาวนาต้องฝึกตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา แล้วได้ผล คือ จิตแยกตัวออกมาจากอารมณ์ เมื่อจิตแยกตัวออกมาได้ ให้ฝีกต่อไปจนจิตควบคุมไม่ให้จิตไปสร้าง มโน ขึ้น จิตพบสุญญตาสภาวะแล้ว ต่อจากนั้น จึงจะพบกับสุขที่เกิดจากความเป็นอิสระของจิต

ความสุขที่เป็นอิสระของจิต ไม่สามารถเห็นได้ แต่รับรู้ความรู้สึกถึงได้ เมื่อนักภาวนาอยู่ในสภาวะเช่นนี้ สติปัฏฐาน 4 ก็จะบริบูรณ์ เพราะนี่คือ สติปัฏฐาน 4 เต็มเปี่ยมในจิตใจของนักภาวนาแล้ว ในตำราได้กล่าวว่า สุขแบบนี้คือ ยิ่งกว่าสุข เป็นสุขเหนือสุขทั้งปวง ในความเข้าใจของผม ที่ว่า ยิ่งกว่าสุข เพราะมันไม่มีทุกข์เลยนั้นเอง เพราะการยึดติดได้ถูกทำลายสิ้นลงไปแล้วนั้นเอง

หลวงพ่อเทียน ครูบาอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องในด้านการเจริญสติ ได้กล่าวถึงการปฏิบัติไว้สั้น ๆ ว่า * ให้รู้สึก * คำ ๆ นี้ น้อยคนนักจะเข้าใจในคำสอนของท่าน จึงไม่อาจเข้าสู่เส้นทางตรงตามที่ท่านสอนได้ เมื่อนักภาวนาฝึกใหม่ๆ *ให้รู้สึก* คือ การรู้สึกที่กายที่เป็นการรับรู้การสัมผัสทางกาย พร้อมไปกับการรับรู้ทางอายตนะ นี่คือจุดเริ่มต้น นักภาวนาในสายหลวงพ่อเทียนมักเข้าใจเพียงคำว่า *รู้สึกตัว* นี่ก็ถูกในสิ่งที่หลวงพ่อเทียนท่านได้สอนไว้ แต่ว่า ยังไม่ครบ นอกจาก *รู้สึกตัว*แล้วยังต้องมี *ให้รู้สึก*อีกด้วย จึงจะครบถ้วน
การรับรู้ด้วยการรู้สึกลงที่กายสำหรับนักภาวนามือใหม่
การรับรู้ความรู้สึกที่กาย ก็ยังมีสิ่งละเอียดและสิ่งที่หยายในการรับรู้ นักภาวนาต้องสังเกตถึงความรู้สึกละเอียด หยาบ ที่ต่างกันนี้ได้ ถึงจะมีการพัฒนาการของกำลังของสัมมาสติต่อไปได้
แต่เมื่อฝึกปรือจนถึงบินได้ระดับสูง ก็ไปรับรู้ความรู้สึกทีจิตใจอีกประการหนึ่ง ที่มันละเอียดกว่าความรู้สึกที่กาย เมื่อถึงจุดนี้ นักภาวนาไม่ใช่ว่าจะทิ้งการรับรู้การรู้สึกที่กายลงไป แต่จะเป็นว่า เป็นการรับรู้ความรู้สึกที่กาย + ความรู้สึกที่ใจ นี่คือทางตรงทีนักภาวนาจะเดินต่อไปได้เองจนถึงจุดหมายปลายทาง
ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า รู้สึกตัว อย่างเดียวไม่พอนะครับ ต้องมีให้รู้สึกด้วย จึงจะตรงกับคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา



Create Date : 01 มิถุนายน 2555
Last Update : 7 มิถุนายน 2555 8:29:02 น. 0 comments
Counter : 1463 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.