รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2560
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
29 สิงหาคม 2560
 
All Blogs
 
ขอโทษครับ ท่านกำลังหาอะไรอยู่ครับ



ท่านทีเข้าสู่วงการภาวนาแล้วลงมือปฏิบัติธรรม 
ท่านเคยเอะใจตัวเองไหมว่า ทีท่านเข้ามาภาวนาและมาปฏิบัติธรรม
ท่านกำลังหาอะไรอยู่ 

ชาวพุทธไทย ยกให้อริยสัจจ์ 4 เป็นแก่นแห่งพุทธศาสนา
ซึ่งอริยสัจจ์ 4 เป็นการรวมคำสอนเพื่อการพ้นทุกข์ของพระพุทธองค์

อริยสัจจ์ 4 มี 4 ข้อ

ข้อที 1 คือ ทุกข์  
ซี่งคำสอนก็คือ  ทุกข์ คือ สิ่งทีควรรู้ได้เมื่อเกิดขึ้น

ข้อที 2 คือ สมุทัย
คือ การยีดติดในทุกข์ทีเกิดขึ้น 
เรื่องนี้ จะมีปัญหาก็คือ คนมักไม่รู้จักทุกข์ เมื่อไม่รู้จักทุกข์ ก็จะยึดทุกข์
เปรียบเหมือนเด็กน้อย ทีไม่รู้จักงูเห่า  เมื่อเห็นงูเห่าเลื้อยมาใกล้
ก็ไม่กลัวภัย กลับเดินไปจับงูเล่นเสียอีก

ดังนั้น อริยสัจจ์ ข้อ 1 และ 2 จึงสัมพันธ์กัน 
ถ้ามีทุกข์เกิด แล้ว รู้ว่า ทุกข์เกิดแล้ว ก็อย่าไปยีดในทุกข์นั้นเสีย
นี่คือ การปฏิบัติธรรมตามคำสอนในอริยสัจจ์ 4 แล้ว

แต่ถ้าไม่รู้จักทุกข์ ก็จะไปยีดดังทีเปรียบไว้เรื่องเด็กน้อยและงูเห่า

การฝึกฝนหรือทีเรียกว่าการปฏิบัติธรรมนั้น คือ การฝีกฝนมรรค 8 อันเป็น
อริยสัจจ์ข้อที่ 4  เมื่อฝีกฝนมรรค 8 อย่างถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธองค์
ผลก็คือ ผู้ภาวนาจะมีความสามารถในการรู้จักทุกข์ได้ 
เมื่อรู้จักทุกข์ได้แล้ว  ก็จะมีความสามารถในการปลดปล่อยทุกข์ทีเกิดขึ้นมานั้นได้
เมื่อมีการปลดปล่อยทุกข์ได้ ผลก็คือ การไม่ทุกข์ปรากฏขึ้น ซี่งก็คือ อริยสัจจ์ 4 ข้อที 3
ซี่งเรียกว่า นิโรธ หรือ ความไม่ทุกข์ นั่นเอง

นี่คือ การปฏิบัติธรรมทีเดินตามคำสอนในอริยสัจจ์ 4 ทีเป็นแก่นแห่งพุทธศาสนา

การเดินตามนี้ คือ รู้จักทุกข์ ไม่ยีดติดในทุกข์  ผลก็คือ ความไม่ทุกข์ 
เป็นสัจจธรรมทีปรากฏตลอดกาล ไม่เสื่อมหายไปไหนเลย

ถ้าท่านยังมองไม่ออกว่า ท่านตั้งใจมาปฏิบัติธรรมแล้ว  ท่านไม่รุ้ว่า ท่านกำลังมองหาอะไรละก็
ผมแนะนำให้ท่านพิจารณาคำสอนของพุทธศาสนา อริยสัจจ์ 4

ศึกษาให้เข้าใจในอริยสัจจ์ 4 ก่อน  
รู้จัก ทุกข์ให้ได้ก่อนว่า ทุกข์ คืออย่างไร  
รู้จัก สมัทุยหรือตัณหา 3 อย่างคืออย่างไร มีสภาพอย่างไรจึงเรียกว่า ตัณหา 3 อย่าง
แล้วลงมือ ปฏิบัติมรรค 8 อย่างตรงคำสอน 
ท่านควรรู้ความแตกต่างระหว่างมรรค 8 และการปฏิบัติแบบฤาษ๊ 
เพื่อจะได้ไม่ปฏิบัติผิดทางไปจากคำสอนของพระพุทธองค์


ท่านทำอย่างนี้อยู่เนือง ๆ ก็คือ ให้รู้จักทุกข์ และ ไม่ยึดในทุกข์ นีคือการปฏิบัติธรรม
ผลแห่งการปฏิบัติคือ ความไม่ทุกข์ หรือ นิโรธ ท่านก็จะพบได้เอง




Create Date : 29 สิงหาคม 2560
Last Update : 29 สิงหาคม 2560 9:38:48 น. 0 comments
Counter : 1866 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.