รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 มกราคม 2565
 
All Blogs
 
กลไกการเรียกใช้ สัมมาสติ

1.. บทความเรื่อง  "กลไกการเรียกใช้ สัมมาสติ " เป็นความเข้าใจส่วนตัวของผู้เขียน
ที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริง ที่ได้ภาวนามานาน นำมาเขียนไว้ เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในด้านการปฏิบัติสติปัฏฐานสำหรับนักปฏิบัติธรรมท่านอื่น
คำแนะนำ ขอให้อ่านด้วยการพิจารณาด้วยปัญญา

2..คำว่า สติ มีด้วยกัน 2 อย่าง คือ 1..สติทางโลก  2..สติทางธรรม

3..สติทางโลก คือ อย่างไร
สติทางโลก ก็คือ การทำงานหรือทำสิ่งใดอยู่ จะประกอบด้วยความจงใจที่จะกระทำในสิ่งนั้น
เช่น เมื่อ กำลังหั่นผักทำอาหาร ก็ต้องมีความตั้งใจ มีความจงใจ ที่จะทำงานหั่นผัก จึงจะหั่นผักได้ดี ตรงตามความต้องการ และ ไม่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาดมือ

แต่ถ้า เมื่อใด ที่กำลังหั่นผัก จิตใจก็นึกถึงเรื่องการไปท่องเที่ยว นี่คือ การหลุดจากสติทางโลกแล้ว
ถ้าเป็นงานที่มีอันตราย เช่น กำลังทำงานอยู่ในที่สูง หรือ กำลังขับรถยนต์ ก็อันตรายมากต่อชีวิต

สติทางโลก มีการใช้งานมาตั้งแต่เกิด เช่น เด็กเกิดมา ก็รู้จักการดูดนมจากแม่
และมีการใช้งานอยู่เสมอ อยู่ตลอดเวลา เพราะคนเราต้องมีการทำอะไรอยู่เสมอในชีวิต
ประจำวัน เช่น การทำงานหาเลี้ยงชีพ การอาบน้ำ การซักผ้า  รีดผ้า เป็นต้น

4..สติทางธรรม คือ อย่างไร
สติทางธรรม คือ " ความสามารถในการรู้ความรู้สีก "ไปที่อาการของ กาย /  เวทนา / จิต / ธรรม ( เช่น สัมผัสที่เกิดขึ้นที่ร่างกาย )

สติทางธรรม ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด 
ที่มีชื่อเรียกว่า  สมถะ  และ วิปัสสนา

********
สมถะ เป็นการรู้ความรู้สีก ไปที่อาการของ กาย /  เวทนา / จิต / ธรรม ( เช่น สัมผัสที่เกิดขึ้นที่ร่างกาย ) แต่มีเจือด้วยการมีความตั้งใจ หรือ มีความสนใจ 

ถ้ากล่าวในการปฏิบัติธรรม การฝึกฝนการปฏิบัติ ก็เป็นสมถะ เพราะการเจือด้วยความสนใจ หรือ ความตั้งใจอยู่  ซึ่งการปฏิบัติที่เจือด้วยความตั้งใจ หรือ สนใจ นี่ยังแบ่งออกได้เป็น 2 แบบด้วยกัน

แบบที่ 1..ตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรม ในขณะปฏิบัติ ให้ความสำคัญในการรู้ความรู้สีกไปที่อาการของ กาย / เวทนา / จิต / ธรรม  (((อยู่ที่ว่า ท่านกำลังฝีกปฏิบัติในหมวดใดอยู่ )))

ขอยกตัวอย่าง
ถ้าท่านกำลังฝึกเดินจงกรม  ท่านมีความตั้งใจในการรู้ความรู้สีกที่เกิดขึ้นที่ อาการก้าวของเท้า
หรือ รู้สึกไปที่อาการกระทบสัมผัสของฝ่าเท้ากับพื้นดิน หรือ รู้สีกไปที่อาการสั่นสะเทือนของร่างกาย ที่เกิดขึ้นจากการเดิน โดยจะรู้ความรู้สีกแบบใดก็ได้ ใช้ได้ทั้งหมด เพียงแต่ 
การรู้ความรู้สีกนี้ ท่านต้องไม่ได้ไปจ้องที่เท้าหรือที่ขาเลย แต่ท่านสามารถรู้สีกได้เอง
เพราะการรู้สีกได้เองนี่เป็นธรรมชาติของการมีสติทางธรรมที่เกิดอยู่ จึงทำให้รู้สีกได้

ถ้าท่านทำแบบนี้ได้ ท่านกำลังปฏิบัติฝึกฝนสติปัฏฐานที่ตรงตามพุทธศาสนา
ถ้าท่านเป็นมือใหม่ หัดภาวนา ใหม่ ๆ อาจจะยากสำหรับท่าน แต่ก็ฝีกเดินไปเรื่อยๆ 
แล้วความชำนาญก็จะมาเอง แล้ว ก็จะรู้ได้ว่า ไม่ยากเลย
***
แบบที่ 2 จะต่างจากแบบที่ 1 ที่ท่านไปสนใจที่จะจองรู้ ที่เท้าหรือที่ขา ในขณะเดินจงกรม
แบบนี้ ทำแล้วจะง่าย เพราะปกติ คนมักจะไปจ้องเป็นนิสัยอยู่แล้ว  แต่แบบนี้เป็นแบบที่ผู้เขียนไม่ขอแนะนำให้ทำ

*****
วิปัสสนา เป็นการรู้ความรู้สีก ไปที่อาการของ กาย /  เวทนา/ จิต / สัมผัสสที่เกิดขึ้นที่ร่างกาย แต่ ไม่เจือด้วยความตั้งใจหรือสนใจ ที่จะไปรู้อาการนั้น ๆ 
ขอยกตัวอย่าง
สมมุติว่า ท่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ตาก็มองไปที่หน้าจอและก็อ่านไป  ในขณะเดียวกัน ถ้าท่านอ่านอยู่ในขณะที่ท่านกำลังนั่งอยู่  ท่านควรจะสามารถรู้สีกได้ถึงการสัมผัสของก้นกับที่นั่งอยู่ได้ด้วย แต่เนื่องจากท่านกำลังสนใจการอ่านในมือถือหรือคอมพิวเตอร์อยู่ ความรู้สีกผัมผัสที่ก้นกับที่นั่ง ก็จะรู้สีกได้แต่อาจจะแผ่วเบามาก สำหรับ คนที่มีกำลังสติทางธรรมที่ไม่แข็งแรง (ขอเรียกชื่อว่า สติอ่อน )  แต่สำหรับ คนที่มีสติทางธรรมที่แข็งแรง ( ขอเรียกชื่อว่า สติแข็งแรง ) การรู้สีกสัมผัสได้นี้ ก็จะไม่อ่อนและรู้สีกได้ดี เหมือนตอนที่กำลังฝึกสมถะแบบที่ 1 อยู่

สติอ่อน และ สติแข็งแรง นี้ จะบอกได้ถึงกำลังสติทางธรรมของท่านได้ว่ามีการพัฒนามากขึ้นหรือยัง  วิธีนี้ใช้เป็นการตรวจวัดความก้าวหน้าในด้านการปฏิบัติของท่านได้

*****

5...เมื่อท่านฝึกฝนสติทางธรรมแบบที่ 1 อยู่เสมอ และ ท่านฝีกวิปัสนนาในชีวิตประจำวันอยู่ไม่ขาด
ผลที่จะตามมาก็คือ เมื่อท่านฝึกไปมากพอและได้ผล  สติแข็งแรง จะเกิดขึ้นแก่ท่านขึ้นมาได้เอง
แต่การพัฒนาจากสติอ่อนเป็นสติแข็งแรง จะเป็นแบบค่อยๆ  เป็นไป ค่อย ๆ พัฒนาอย่างช้า ๆ 
แต่การปลุกสติจนเป็นสติที่แข็งแรงนี้ ไม่ใช่จะทำได้ในเวลาสั้นๆ  ท่านต้องมีความอดทน ในการฝึกฝนทั้งสมถะแบบที่ 1 และ วิปัสสนา ฝีกไปแบบไม่ย่อท้อ ฝึกไปเรื่อยๆ   ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านทุกข์ผ่านสุข ไปเรื่อยๆ  อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีขึ้นไป  วันหนี่ง เมื่อท่านทำกิจได้ตรงในธรรม
ผลที่ตรงก็จะออกมาให้แก่ท่านได้เอง ท่านก็รู้ได้เองว่า ท่านได้แล้ว ไม่ต้องไปถามใคร 
ท่านใช้วิธีการตรวจสอบตัวเองได้  ((( ที่ได้เขียนไว้ที่ประโยคตอนท้ายของข้อ 4 ในบทความนี้)))

เมื่อท่านมีสติที่แข็งแรงดี ท่านจะพบว่า ท่านจะไม่ค่อยมีทุกข์เกิดขึ้น แต่ทุกข์ก็ยังมีได้
ถ้าเมื่อใดที่สติของท่านเกิดอ่อนตัวลงไป ((สติเป็นอนัตตา)  ทุกข์ก็จะเกิดมาได้เอง
ถ้าท่านมีทุกข์ หรือ รู้สีกว่า ตอนนี้ สติของท่านอ่อนแอ อยู่ (((ถ้าท่านมีสติทีแข็งแรงแล้ว ท่านจะสามารถรู้ตัวเองได้ว่า ตอนนี้ สติของท่านอ่อนอยู่หรือแข็งแรงอยู่ )))  ท่านเพียงพูดกับตัวเองในใจว่า  **ให้มีสติ**  ท่านทำแค่นี้ สติที่อ่อน ก็จะกลับมาเป็นสติที่แข็งแรงได้อีกครั้ง
นี่เป็นกลไกธรรมชาติของสติที่แข็งแรงที่ท่านเรียกใช้ได้ ในยามที่ต้องการ
เหมือนท่านฝากเงินในธนาคาร เมื่อใดที่เงินสดในกระเป๋าท่านหมด ทานก็สามรถ
ไปถอนได้จากธนาคารได้ทุกเมื่อ 

6..สติทางธรรมที่แข็งแรง จะช่วยตัดทุกข์ใจได้เป็นอย่างดี  ทุกข์ใจเกิดขึ้นได้
แต่สติทางธรรมที่แข็งแรงนี้ ก็จะตัดทุกข์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าแลบ
และเป็นการตัดที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ โดยท่านยังไม่ทันตั้งตัวเลย สติทางธรรมก็ตัดทุกข์ให้ดับลงไปได้แล้ว
และเมื่อท่านมีสติทางธรรมที่แข็งแรง ท่านก็จะเห็นทุกข์เกิดการดับลงไปได้เองเป็นไตรลักษณ์แบบนี้ได้
ท่านก็จะมีปัญญาเกิดเองว่า ทุกข์นั้นเกิดแล้วก็ดับไปเองได้เป็นไตรลักษณ์ ท่านจะหมดสงสัยในศาสนาพุทธว่า มีจริงไหม ท่านจะไม่สงสัยในคำสอนของพระศาสดาเลย ไม่ใช่ว่า ท่านคิดเอง หรือ ไปอ่านทีไหนมา หรือ ไปฟังใครเขามา  แต่เพราะท่านพบเองว่า สิ่งที่พระศาสดาสอน เป็นจริง ทำได้จริง และท่านก็ทำได้แล้ว

**
ขอความเจริญในธรรม จงมีแด่ท่านที่มีสติที่แข็งแรง ยิ่งๆ  ขึ้นไปด้วยเทอญ
 


Create Date : 24 มกราคม 2565
Last Update : 24 มกราคม 2565 9:07:53 น. 0 comments
Counter : 638 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.