รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
นั่งสมาธิจิตนิ่งไม่ได้ ไปดูความคิดแทนได้ไหม

มีคนถามเข้ามาว่า นั่งสมาธิทำจิตนิ่งไม่ได้ ก็เลยเปลี่ยนไปดูความคิดแทน เห็นความคิดมันเกิดแล้วดับไป ทำอย่างนี้ถูกทางไหม

คำถามนี้ มีจุดที่นักภาวนาสมควรทำความเข้าใจให้ตรงก่อนคือ เรื่องของการทำสมาธิ

คำว่า สมาธิ ในความหมายของคนไทยทั้ง ๆ ไปมักเข้าใจไปในทางสมาธิของฤาษีที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาลเสียอีก คือ การไปทำสมาธิให้จิตนิ่งโดยการไปกดไว้ หรือ ให้จิตไปยีดกับอะไรสักอย่างหนี่งเช่นยีดกับคำบริกรรม หรือ ยีดลมหายใจ หรือ ยีดการกระทบสัมผัสที่เท้าบ้าง ที่ท้องบ้าง ทีมือบ้าง หรือ ไปยีดความว่างของอากาศ

ในพุทธประวัติมีกล่าวไว้ว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ไปเรียนวิชากับอาจารย์ฤาษี 2 ท่านจนเจนจบสมาบัติ 8 อันเป็นวิชาที่สูงสุดในสมัยนั้น แล้วพระองค์ก็ทรงรู้ว่า วิชาที่อาจารย์ทั้ง 2 สอนนั้นไม่ใช่ทางแห่งการพ้นทุกข์ แล้วพระองค์ก็ทรงจากอาจารย์ทั้ง 2 ท่านไป แสวงหาทางหลุดพ้นต่อไป
แล้วเจ้าชายก็ได้ทรงค้นพบทางใหม่ ทีเรียกว่า ทางสายกลาง และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในทางสายกลางนั้น ถ้าพูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ก็คือ มรรคมีองค์ 8 หรือ มรรค 8
(รายละเอียดของ มรรค8 ขอให้ท่านไปหาอ่านเองใน google)

ในมรรค 8 นั้นจะมี 8 ข้อโดยมีข้อ 7 คือ สัมมาสติ และ ข้อ 8 คือ สัมมาสมาธิ
ซึ่งสัมมาสมาธิในมรรค 8 นั้นต่างกับสมาธิแบบฤาษี นี่คือสาเหตุใหญ่ที่บรรดาฤาษีไม่สามารถเข้าสู่เส้นทางแห่งการหลุดพ้นได้ เพราะสมาธิที่ใช้นั้นต่างกัน 
ความแตกต่างระหว่างสมาธิแบบฤาษีและสัมมาสมาธิ อ่านได้ที่ link นี้

ในสัมมาสมาธิที่เป็นแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น คือ การทำสมาธิที่มีลักษณะของ**จิตตั้งมั่น** จิตเป็น**อิสระ**และไม่ไหลไปยีดเกาะกับ*อารมณ์ (*คำว่า อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตไปรับรู้เข้า)  เมื่อจิตไม่ไหลไปยึดเกาะติดกับอารมณ์ จิตจะสามารถสัมผัสกับอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นไตรลักษณ์ของ*สังขตธรรม (*สังขตธรรม คือ สภาวะธรรมที่แปรแปลี่ยนได้ เช่น ขันธ์ 5 ) แต่ถ้าจิตตั้งมั่นอย่างมาก ๆ  ก็จะสามารถสัมผัสได้ถึง   *อสังขตธรรม (*อสังขตธรรม คือ สภาวะธรรมที่ไม่แปรเปลี่ยน ) ได้อีกอย่างหนี่งด้วย 

ซี่งสมาธิแบบฤาษี ไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ เพราะสมาธิแบบฤาษี เป็นสมาธิแบบกดข่มจิต จิตไร้อิสระ
จิตถึงแม้จะนิ่งได้ แต่ก็นิ่งเพราะการกดข่มเอาไว้

ในคนใหม่  ๆ ที่เพิ่งฝีกฝนแบบสัมมาสมาธิ  เนื่องจากกำลังของจิตยังไม่ตั้งมั่นได้มากพอ จิตจึงยังวิ่งไปวิ่งมาเพื่อไปยีดเกาะของสภาวะธรรมบ้าง และ ตั้งมั่นบ้างเป็นจังหวะเป็นครั้ง ๆ ไปแต่ไม่นานนัก อาการนี้ จะเรียกว่า ขณิกสมาธิ

ในจังหวะที่จิตเป็นขณิกสมาธิ ตั้งมั่นเพียงชั่วครู่ แล้วในจังหวะนั่นเอง นักภาวนาเกิดมีความคิดที่หยาบ ๆ  โผล่ขึ้นมา นักภาวนาจะสัมผัสได้ถึงความคิดหยาบ ๆ นั้นได้และเมื่อสัมผัสความคิดหยาบ ๆ นั้นได้ ความคิดหยาบ ๆ นั้นจะดับลงไปทันที  นี่คืออาการของวิปัสสนาที่จิตไปพบความจริงของจิตปรุงแต่งหรือสังขารขันธ์ ในขันธ์ 5 ทีเป็นแปรปรวนเป็นไตรลักษณ์
(หมายเหตุ  ความคิดนั้น จะมีแบบละเอียด ที่สัมผัสได้ยาก และ ความคิดหยาบ ทีสัมผัสได้ง่าย สำหรับนักภาวนาที่เพิ่งเริ่มต้น จิตยังไม่ตั้งมั่นมากนั้น จะสามารถสัมผัสความคิดหยาบ ๆ ได้ก่อน )

อาการที่จิตเห็นไตรลักษณ์แบบนี้คือ ปัญญา ที่เกิดขึ้นในจิต

******

กลับมาที่คำถามทีว่า ทำสมาธิให้จิตนิ่งไม่ได้ แล้วไปดูความคิดแทน ถูกหรือไม่

เรื่องนี้ มีประเด็นทีต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1... ทำสมาธิให้จิตนิ่งไม่ได้

ในคนที่จิตยังมี อวิชชา จิตจะแบ่งเป็น 2 ฝาก ฝากที่หนี่ง เรียกว่า จิต หรือ บางท่านเรียกว่า จิตผู้รู้ และ อีกฝากหนี่ง เรียกว่า มโน 

ถ้านักภาวนายังไม่มีกำลังจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิอย่างพอเพียง  จิตผู้รู้ มักจะไหลรวมเข้าไปเกาะยีดกับสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน มโน  ซี่งใน มโน นั้น อาการต่าง ๆ ของขันธ์ 5 จะแปรปรวนอยู่ในนั้นอยู่แล้ว ทำให้นักภาวนารู้สึกว่า จิตไม่นิ่ง 

แต่สำหรับนักภาวนาที่มีสัมมาสมาธิพอสมควร จิตเป็นอิสระบางครั้ง จิตไม่ไหลเข้าไปเกาะติดกับสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน มโน  ถ้าเป็นอาการอย่างนี้ นักภาวนาจะสัมผัสกับตัว จิตผู้รู้ ที่เป็นอิสระอยู่ และ จะเห็นได้เองว่า จิตผู้รู้ นี่นิ่งอยู่แล้ว โดยไม่ต้องไปทำอะไร มันก็นิ่งโดยธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง

สำหรับการทำสมาธิแบบฤาษี  ที่ให้จิตไปยีดเกาะกับอะไรสักอย่างหนี่ง การยีดเกาะแบบนี้ ถ้าจิตยีดเกาะกับสภาวะที่ไม่ใช่เป็นสังขารขันธ์หรือจิตปรุงแต่งหรือความคิด นักภาวนาจะรู้สึกได้ว่า จิตมันนิ่ง เพราะการไปยีดเกาะของจิตนี้ จะไปกดความคิดเอาไว้ ไม่ให้โผล่ขึ้นมา แล้วนักภาวนาจะรู้สึกว่าดีจริง จิตนิ่งดีมาก  แต่ว่า การทำแบบนี จิตไม่เป็นอิสระ จิตยังไปยีดเกาะกับอารมณ์ ซี่งไม่ใช่สัมมาสมาธิ แต่ก็มีคนพูดว่า นีคือการทำสมถภาวนา  คำกล่าวนี้ไม่ผิด แต่ทว่ามีข้อควรพิจารณาต่อไปให้ละเอียดสักหน่อยในการใช้งานของสมถภาวนา......

สมถภาวนานั้น จิตสงบขึ้น นี่คือเป้าหมาย แต่อาการจิตสงบนั้น มี 2 แบบ คือ แบบที่ไม่เกื้อหนุนให้เกิดวิปัสสนาปัญญา คือ จิตไม่เป็นอิสระ จิตถูกกดข่มไว้  และอีกแบบ คือ จิตสงบแต่เกื้อหนุนวิปัสสนา ที่จิตสงบเพราะจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ จิตไม่เข้าเกาะติดกับสภาวธรรมต่างๆ  

สงบทั้ง 2 แบบไม่เหมือนกัน และ ผลที่ได้ก็ต่างกัน

การทำความสงบแบบกดข่มจิตนั้น เป็นสิ่งทีดีสำหรับทางโลกสเหมาะสำหรับคนทั่วๆไปที่กำลังจิตยังอ่อนแออยู่  ที่คนต้องกดข่มจิตใจตนเองไม่ให้ตกลงไปในความชั่วที่สังคมจะมองว่าการกระทำอย่างนั้นไม่ดี แต่ไม่เหมาะสำหรับทางธรรมเพื่อการหลุดพ้นออกจากกองทุกข์

แต่ถ้าคนที่มีกำลังจิตเป็นสัมมาสมาธิทีตั้งมั่นดี เขาไม่ต้องกดข่มจิตเลย เพราะจิตเขาเป็นอิสระ สงบอยู่แล้วโดยธรรมชาติของจิตเอง เป็นสมาธิที่ตั้งอยู่ได้เอง โดยไม่ต้องไปทำอะไร

ประเด็นที่ 2  เมื่อทำจิตนิ่งไม่ได้ ไปดูความคิดแทน ถูกหรือไม่

ประเด็นนี้ จะต่อเนื่องจากประเด็นที่ 1 ต่อไป  การไปดูความคิดนั้น มีหลักการอยู่ว่า ถ้านักภาวนาไปเฝ้าดูความคิดด้วยความจงใจ  ถ้าอย่างนี้ ผมไม่แนะนำให้ทำ

แต่ถ้าการไปเห็นความคิด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง นักภาวนาเพียงแต่มีความรู้สึกตัวอยู่ ไม่ได้จงใจเฝ้าดูอาการสิ่งใดสิ่งหนี่งโดยเฉพาะ แล้วนักภาวนาเห็นความคิดมันโผล่มาแล้วดับลงไปในเวลาไม่นานนัก ถ้าเป็นอย่างนี้ คือ สิ่งที่ผมแนะนำให้ทำ

**********

สรุปสิ่งที่ถามมา

ในการฝีกฝนสัมมาสมาธิเพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นอิสระจากการยีดเกาะนั้น นักภาวนาไม่สมควรมีความอยากที่จะรู้สภาวะธรรม เช่น เวลาเดินจงกรม ก็ส่งจิตไปที่เท้าเพื่อดูอาการกระทบสัมผัสที่เท้า หรือ เวลาดูลมหายใจ ก็ส่งจิตไปรู้ลมที่ปลายจมูก เพราะการส่งจิตไปดังกล่าว จิตจะไม่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ จิตรู้สัมผัสก็จริง จิตรู้ลมหายใจก็จริง แต่จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปที่เท้าบ้าง ไหลไปที่ปลายจมูกบ้าง ถ้าทำอย่างนี้ ความก้าวหน้าสู่สัมมาสมาธิจิตตั้งมั่นจะไม่เกิดขึ้นเลย แต่จะได้สมาธิแบบฤาษีขึ้นมาแทน

เมื่อนักภาวนาฝีกฝนสัมมาสมาธิบบนี้ไปเรื่ีอย ๆ นักภาวนาจะเริ่มมีขณิกสมาธิเกิด พบสภาวะธรรมเป็นไตรลักษณ์เป็นครั้ง ๆ ไป การพบสภาวะธรรมแบบนี้ จะทำให้จิตมีปัญญา เมื่อจิตเริ่มมีปัญญา ก็จะส่งผลให้จิตตั้งมั่นมากขึ้น เมื่อจิตตั้งมั่นมากขึ้นอีก จิตก็จะพบกับสภาวธรรมทีเป็นไตรลักษณ์มากขึ้นอีก จิตก็ยิ่งมีปัญญามากขึ้นอีก มันจะส่งผลเสริมกันไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จนจิตสามรถพบกับอสังขตธรรมได้ แล้วการพ้นทุกข์ก็จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้

จิตตั้งมั่นเป็นอิสระอย่างถึงที่สุด ธรรมก็จะปรากฏให้สัมผัสได้เอง







Create Date : 26 สิงหาคม 2555
Last Update : 26 สิงหาคม 2555 7:09:08 น. 0 comments
Counter : 2121 Pageviews.

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.