เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวจากที่ได้พบเห็นเองในการปฏิบัติมา นำมาเขียนเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่พบมาเอง ผมไม่รับประกันความถูกต้องทั้งหมดในเนื้อหา ท่านที่ปฏิบัติมาแนวทางอื่น อาจพบไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ผมพบอย่างไรผมก็เขียนอย่างนั้น ถ้าท่านว่าผมผิด ผมก็ไม่ขอโต้แย้งท่านครับ ผมเพียงฝากไว้ ให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเองด้วยปัญญา ******************************* เรื่องสมาธิตามตำรา ก็จะมีกล่าวไว้ว่า มีอยู่ 2 ประเภท คือ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ แต่คำว่า สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ ต่างก็เป็นเพียงคำสมมุติแทนอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้าไม่เข้าใจในเนื้อหาว่าอย่างไร จึงเป็นสัมมา อย่างไร จึงเป็นมิจฉา แต่ถ้าไปถามใคร ๆ เขาก็มักจะตอบกันว่า ฉัน/ผม/หนู/ ทำสัมมาสมาธิกันทั้งนั้น เพราะใคร ๆ ต่างก็รังเกียจ มิจฉาสมาธิ กัน แต่จริงๆ เป็นมิจฉาหรือสัมมา กันแน่ ดูกันต่อไป ผมจะพูดเรื่อง มิจฉาสมาธิ ก่อน เพราะง่ายต่อการเข้าใจ ** มิจฉาสมาธิ (บางท่านจะเรียกว่า สมาธิจดจ่อ) คือ สมาธิที่ไม่เกื้อหนุนต่อการพ้นทุกข์ทางใจอย่างเด็ดขาด แต่อาจใช้สำหรับการพ้นทุกข์ทางใจได้เป็นครั้งคราว ด้วยการกดข่มภาวะแห่งจิตใจ ที่กำลังปวดร้าวนั้น แต่ถ้ากดข่มไม่สำเร็จ จิตใจที่ปวดร้าว ก็จะเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุน แรงมากกว่าปรกติ เพราะมีพลังแห่งการกดดัน กดข่มบังคับอยู่ แต่ถ้ากดข่มสำเร็จ ก็จะลดอาการปวดร้าวใจได้ชั่วคราว แต่แล้ว อาการปวดร้าวใจ ก็จะกลับมาอีก ถ้าเหตุแห่งการปวดร้าวนั้นยังอยู่ สมาธิแบบฤาษีั ก็จะเข้าข่ายมิจฉาสมาธิเช่นกัน ลักษณะของมิจฉาสมาธิ คือ การที่จิตจอจ่อเข้าไป .ยึดติดแนบแน่น.กับอะไรสักอย่างหนึ่ง อย่างจงใจที่จะให้เข้าไปยึด ยิ่งยึดแนบแน่นมากดังกาวตราช้างที่ไม่ยอมหลุดเลย ก็เป็นมิจฉาสมาธิที่แข็งแกร่งมาก ท่านเคยเห็นปลาท่องโก๋ไหมครับ ปลาท่องโก๋ จะมาเป็นคู่ ที่ยึดติดกัน นั่นแหละครับ ยึดแบบปลาท่องโก๋ คือ ซึกหนึ่งของปลาท่องโก๋ จะเป็นจิต อีกซึกหนึ่งจะเป็นวัดถุที่ยึดติดกัน มาพูดกันในแง่การปฏิบัติธรรม แบบใดคือปลาท่องโก๋ ถ้าท่านดูลมหายใจ ก็มักจะมีคนมาเขียนในอินเตอร์เนทบ่อย ๆ (ผมเห็นประจำไม่เคยขาด กับเรื่องนี้ ) ให้ส่งจิต ไปรับรู้ลมหายใจ ที่ปลายจมูก ในกรณีนี้ จิต คือปลาท่องโก๋ ท่อนหนึ่ง ไปเกาะติดยังปลายจมูก ซึ่งเป็นปลาท่องโก๋อีกข้างหนึ่ง ถ้าท่านเดินจงกรม ก็มักมีคนมาเขียนบอกว่า ให้ส่งจิตไปจับขาที่กระทบพื้น จิต คือ ปลาท่องโก๋ ท่อนหนึ่ง ขาก็ปลาท่องโก๋อีกท่อนหนึ่ง นี่คือ การยึดติดเพื่อให้เป็นสมาธิแบบมิจฉา ครับ ทำไมผมจึงว่า นี่คือ มิจฉาสมาธิ... ต้องย้อนดูจุดมุ่งหมายก่อนว่า เราปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้ันั้น จิตต้องเป็นอิสระ ไม่มีการยึดติดต่อสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น แล้วการที่ฝึกสมาธิแบบปลาท่องโก๋ มันเป็นการยึดติดหรือไม่ครับ ถ้าเป็นการยึดติด มันก็คือ มิจฉาสมาธิ ครับ มิจฉาสมาธิ ไม่ใช่ว่า ไม่ดี มันดีสำหรับงานทางโลก ที่ต้องทำกิจกรรมอะไรโดยมีความตั้งใจจดจ่อกับงาน แต่ว่า มันไม่ดี สำหรับงานทางธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ซึ่งงานทางธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ท่านต้องใช้ สัมมาสมาธิ ซึ่งผมจะได้กล่าวต่อไป *** สัมมาสมาธิ คือ สมาธิแบบพุทธ ที่ใช้สำหรับการพ้นทุกข์ มันจะตรงข้ามกับมิจฉาสมาธิ ซึ่งผมจะยกให้เห็น มิจฉาสมาธิ .. ยึดติดกันระหว่าง จิต และ สิ่งที่จิตไปยึด สัมมาสมาธิ .. ไม่ยึดติดกันระหว่าง จิต และ สิ่งที่จิตไปรับรู้ มิจฉาสมาธิ .. จงใจให้มีการยึดติดกัน เป็นความต้องการ สัมมาสมาธิ .. ไม่มีความจงใจที่จะรู้ แต่เป็นการรู้ได้เองของจิต ผมจะยกตัวอย่างทางโลก เพื่อท่านจะได้เข้าใจลักษณะของการไม่ยึดติด กันของ จิต และ สิ่งที่จิตไปรับรู้ให้ท่านเห็น ถ้าท่านอยู่ในบ้านท่าน ท่านจะเห็น เพื่อนบ้านของท่าน ได้ยินเสียงที่มาจากเพื่อนบ้านของท่าน ท่านก็เห็นได้ ได้ยินได้ จากที่ท่านอยู่ในบ้านท่านนั้่นแหละ โดยที่ท่านไม่ต้องเข้าไปที่บ้านของเื่พื่อนบ้านเลย นี่คือ การรับรู้ที่อยู่ห่างออกจากสิ่งที่ถูกรู้ อาการสัมมาสมาธิ จะเป็นแบบนี้ รู้แบบห่าง ๆ จากสิ่งที่ถูกรู้ ไม่เกาะติดกันแบบปลาท่องโก๋ ท่านเห็นความต่างกันแล้วใช่ใหมครับว่า การรู้แบบสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ มันต่างกัน ตรงนี้เอง คือ รู้แบบติดกันเป็นปลาท่องโก๋ คือ มิจฉา รู้แบบห่างกัน คือ รู้แบบสัมมา แล้วในการปฏิบัติละ จะทำอย่างไร ให้รู้แบบสัมมาได้ ง่้ายมากครับ ขอเพียง ท่านรู้สึกตัวเท่านั้น ไม่ต้องส่งจิตไปรับรู้อะไรที่ปลายจมูก ไม่ต้องส่งจิตไปรับรู้อะไรที่ขาที่สัมผัสพื้น เพียงท่านรู้สึกตัว เฉย ๆ ไม่ต้องอยากรู้อะไร ท่านจะรับรู้ได้เองอย่างสัมมา เพราะกลไกแห่งจิต เขาทำงานนี้ได้อยู่แล้ว ท่านลองเดินดูก็ได้ครับ เพียงรู้สึกตัว เดินแบบธรรมดาเป็นธรรมชาติ ท่านจะรับรู้การสัมผัสได้ เวลาเดิน จะรับรู้ได้เบา ๆ มันจะเป็นอย่างนั้นเอง ทีนี้ลมหายใจละ ลมหายใจ จะยากหน่อย เพราะมันอ่อนมาก ท่านต้องช่วยนิดหนึ่ง ขอให้ท่านนั่งกอดอก รู้สึกตัว เฉย ๆ ท่านจะรู้สึกได้ถึงอาการกระเพื่อม กระเพื่อม ไหว ๆ ได้ นี่คือลมหายใจ ***** นี่สำคัญ **** การรับรู้แบบสัมมา นั้น ขอให้ท่านสังเกต การรับรู้นี้จะเบา ๆ ไม่มีตำแหน่ง มันจะลอยๆ รู้ว่ามีการรู้ แต่ไม่รู้ว่า อยู่ที่ไหน แต่ถ้าท่านยังเป็นมือใหม่ ท่านอาจรู้ที่มีตำแหน่งได้ เช่น เดิน ก็รู้สึกที่ขาถึงการสัมผัสว่าอยู่ที่ขา อย่างนี้ ก็ไม่ผิด แต่ท่านอย่าส่งจิตไปทีจับที่ขาก็แล้วกัน แต่ถ้าท่านฝึกมามาก ๆ ท่านจะรู้สึกได้เอง ว่า มันจะลอย ๆ ไม่มีจมูก ไม่มีมือ ไม่มีขา เลย ไม่มีร่างกายเสียด้วยซ้ำไป มันมีแต่รู้ที่เบา ๆ แต่ไม่มีตำแหน่งที่อยู่ มาดูรูป เพื่อความเข้าใจกันระหว่าง มิจฉา และ สัมมา จากในภาพ ท่านจะเห็นความต่าง ขอให้ท่านที่เป็นมือใหม่ ศึกษาเรื่องมิจฉา และ สัมมา ให้เข้าใจ ท่านจะปฏิบัติไม่ผิด เมื่อปฏิบัติไม่ผิด ผลก็จะเกิดตามมาที่ถูกคือ จิตรู้ ท่านจะแยกตัวออก มาได้จากการฝึกแบบสัมมาครับ ท่านอ่านมาแล้ว ท่านลองพิจารณาตัวเองซิครับ ท่านกำลังทำสมาธิแบบสัมมา หรือ แบบมิจฉา กันแน่ หมายเหตุ ท่านที่สังกัดหมู่คณะ ท่านอ่านได้ ศึกษาได้ แต่อย่านำไปถกเถึยงกันในสำนัก ท่านอาจโดน ขับไล่ออกจากสำนักได้ง่าย ๆ ครับ ในฐานะกบฏสำนัก ******** เรื่องท้ายบท เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงเรียนสมาธิกับดาบสทั้ง 2 คน จนได้สมาบัติแปดแล้ว พระองค์ทรงพบว่า ในยามที่ทรงสมาธิอยู่ จิตใจจะมีความสงบและมีความสุข แต่เมื่อไม่ได้ทรงสมาธิอยู่ จิตใจก็ยังหวั่นไหวได้ เมื่อพระองค์ทรงพบแบบนี้ ก็ทรงทราบ ้ด้วยปัญญาว่า สมาธิแบบที่ทรงเรียนนี้กับอาจารย์ทั้ง 2 ยังไม่ใช่ หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง พระองค์ก็ทรงลาจากอาจารย์ทั้ง 2 เพื่อแสวงหาทางต่อไป ในวันเพ็ญ เดือน วิสาขะ เจ้าชายทรงระลึกถึงตอนเยาว์วัย ในวันแรกนา ที่พระองค์ทรงเจริญอาณาปานสติ พระองค์ทรงระลึกได้และได้เจริญ อาณาปานสติจนกระทั้งสำเร็จพบหนทางแห่งความเป็นอริย พระพุทธองค์ทรงทราบมาก่อนว่า สมาธิแบบใดที่เกื้อหนุนต่อการเป็นอริย แบบใดไม่ใช่ เพียงให้ความสงบสุขเป็นครั้งคราวเท่านั้น แล้วจึงประกาศ คำสอนนี้ออกไปและเรียกสมาธิแบบที่ทรงค้นพบว่า สัมมาสมาธิ **** บทความต่าง ๆ ใน blog นี้ ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
Create Date : 02 กรกฎาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:08:35 น.
26 comments
Counter : 6037 Pageviews.
โดย: นมสิการ วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:19:09 น.
โดย: nawiya วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:30:33 น.
โดย: lek IP: 221.128.72.70 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:56:32 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:15:16 น.
โดย: เพื่อนธรรม IP: 180.180.76.226 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:33:38 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:03:52 น.
โดย: pintip IP: 118.174.28.30 วันที่: 3 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:46:17 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 4 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:48:30 น.
โดย: ผู้ไม่รู้ IP: 58.8.41.211 วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:31:47 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:23:42 น.
โดย: fatnomore IP: 202.137.151.2 วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:38:32 น.
โดย: คนแก่ใฝ่ธรรม IP: 124.122.74.117 วันที่: 23 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:39:22 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 23 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:55:43 น.
โดย: คนแก่ใฝ่ธรรม IP: 115.87.70.167 วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:30:16 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:34:50 น.
โดย: ธัมมทีโป IP: 125.27.221.14 วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:9:47:57 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:12:22:29 น.
โดย: ธัมมทีโป IP: 125.27.221.14 วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:18:27:40 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:19:01:24 น.
โดย: ธัมมทีโป IP: 125.27.221.14 วันที่: 19 สิงหาคม 2553 เวลา:3:37:26 น.
โดย: ramai IP: 125.25.144.5 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:16:26:21 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:16:57:19 น.
โดย: จิตทำงาน IP: 125.26.79.39 วันที่: 24 ธันวาคม 2553 เวลา:10:53:16 น.
โดย: weera IP: 111.84.242.245, 82.145.211.127 วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:10:06:03 น.
โดย: weera IP: 111.84.242.245, 82.145.211.127 วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:10:06:29 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [? ]
หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน.... จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ... บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้ เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ ** ****** บทความต่าง ๆ ใน blog นี้ ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ****