รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
เรื่องของ สมาธิ ภาค 2 -ลักษณะอาการความตั้งมั่นของสมาธิ

บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวจากที่ได้พบเห็นเองในการปฏิบัติมา
นำมาเขียนเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่พบมาเอง
ผมไม่รับประกันความถูกต้องทั้งหมดในเนื้อหา
ท่านที่ปฏิบัติมาแนวทางอื่น อาจพบไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ผมพบอย่างไรผมก็เขียนอย่างนั้น ถ้าท่านว่าผมผิด ผมก็ไม่ขอโต้แย้งท่านครับ
ผมเพียงฝากไว้ ให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเองด้วยปัญญา

****************
บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้าเรื่อง
เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=02&group=8&gblog=53

ท่านที่ยังไม่ได้อ่าน ผมแนะนำให้ท่านอ่านก่อนครับ เพื่อความเข้าใจที่ต่อเนื่อง

*******
เมื่อท่านได้ทราบลักษณะของสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ จากบทก่อนหน้านี้แล้ว
ในบทนี้ ผมจะได้เขียนเรื่องลักษณะอาการของสมาธิที่ตั้งมัี่่นว่ามีอาการอย่างไร

1..อาการความตั้งมั่นแห่งมิจฉาสมาธิ

มิจฉาสมาธิ (หรือจะเรียกว่า สมาธิฤาษี หรือ สมาธิจดจ่อ ก็ได้) จะมีลักษณะเป็นปลาท่องโก๋
ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่แล้ว

**ลักษณะความตั้งมั่นแห่งมิจฉาสมาธิ ก็คือ ปลาท่องโก๋จะไม่แยกจากกัน
อย่างเด็ดขาด จะติดกันตลอดไปไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม **

เมื่อเริ่มลงมือทำสมาธิแบบนี้ นักปฏิบัติต้องเลือกอารมณ์ของสมาธิก่อนว่าจะ
จะใช้อะไรเป็นเครื่องมือให้จิตเข้าไปจดจ่อจับยึด เมื่อได้คู่ปลาท่องโก๋แล้ว
ก็ส่งจิตไปจับยึดสิ่งนั้น บังคับจิตให้จับยึดให้แน่น ไม่ให้หลุดไปจากสิ่งนั้นเลย


เมื่อนักภาวนาได้ลงมือกระทำสมาธิแบบนี้จนจิตตั้งมั่นแน่วแน่ ก็จะเข้าสู่องค์ฌาน
แต่เป็นองค์ฌานแบบมิจฉาสมาธิ คือ จิตจะจมดิ่ง การรับรู้ต่าง ๆ แห่งอายตนะจะถูกปิดตาย
ไม่มีการรับรู้อะไรทั้งสิ้น เหมือนตัวตนได้หายไปจากโลกนี้
สมาธิแบบนี้จะคงทิ้งไว้แต่ความสุขที่ได้สัมผัส ที่นักภาวนาที่ปฏิบัติถึงจะรู้ว่าสุขในสมาธิ
หาที่เปรียบไม่ได้เลย

การทำสมาธิแบบนี้ จะใช้ท่าในอิริยาบทที่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว เพราะถ้าเคลื่อนไหว
การทำสมาธิแบบนี้จะไม่แนบแน่นพอถึงตั้งมั่นระดับฌานได้

** การทำสมาฺธิแบบนี้ จิตใจจะสงบได้เฉพาะเวลาที่ยังทำสมาธิอยู่
แต่ถ้าออกจากสมาธิเมื่อไร พลังสมาธิก็หายเกลี้ยง เหมือนยาโด๊ปที่ฉีดเข้าไป
หมดฤทธิ์ยาแล้ว

2..อาการตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิ

ดังได้กล่าวไว้ในบทก่อนแล้วว่า สัมมาสมาธิ จิต และ สิ่งที่จิตเข้าไปรู้จะแยกกัน
ไม่ติดกันเป็นปลาท่องโก๋

***ลักษณะความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิ ก็คือ
2.1) การรู้ที่ต่อเนื่อง และ 2.2) จิตนิ่งรู้อยู่ที่ฐาน จิตไม่วิ่งไปมา

ผมจะขยายความข้อ 2.1 และ 2.2

2.1) รู้ที่ต่อเนื่อง รู้อะไรละ ?
อาการของสัมมาสมาธินั้น จะมาจาก สัมมาสติ ที่ต้องมี .ความรู้สึกตัว. อยู่ด้วย
เมื่อ.รู้สึกตัวอยู่. แต่ไม่มีการบังคับจิตใด ๆ อยู่ จิตจะเป็นอิสระในการรับรู้ และต้องเป็น
การรู้ที่สด ๆ ในขณะนั้น ๆ คือ

ตาก็มอง
หูก็ได้ยิน
จมูกก็ได้กลิ่น
ลิ้นก็รู้รสได้
กายก็รู้อาการทางกายได้
ใจก็รู้อาการทางจิตใจได้ ***

การรับรู้ทั้ง 6 โดยผ่าน อายตนะทั้ง 6 จะเป็นอิสระและรับรู้อย่างถี่ยิบ
จนปานประหนึ่ง รู้ได้พร้อม ๆ กันทีเดียว และ จะรู้เหมือนไม่รู้อะไรเลย
ถ้าท่านสังเกตตัวเอง ในการรับรู้ในขณะที่จิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง มันจะเป็นอย่างนี้เสมอ
(ยกตัวอย่างให้ท่านเห็นภาพ..ขอให้ท่านนึกถึงการไปพักผ่อนตากอากาศที่ชายทะเล ท่านนั่งที่เก้าอี้ผ้าใบที่สบาย อากาศดี ไม่ร้อน ลมทะเลพัดสบายตัว มีเสียงคลื่นมาเป็นระยะ ๆ ท่านไม่มีอะไรต้องทำ มองดูทิวทัศน์ จิตใจสบาย ปลอดโปร่ง อาการมันจะเป็นแบบนั้น )

***แต่สำหรับ .มือใหม่การภาวนาบางคน. การรับรู้อาการทางจิตใจอย่างสด ๆ ที่เ็ป็นปัจจุบันขณะ
ในขณะที่จิตใจไม่มีอะไรอยู่ อาจจะไม่มีความสามารถพอที่จะรับรู้ได้ ซึ่งมือใหม่อย่าได้กังวลใจ
ในเรื่องนี้ เพราะเมื่อได้ฝึกฝนด้วยการสติปัฏญาน 4 ในหมวด กายานุปัสสนา หรือ เวทนาุนุปัสสนาไปเรื่อย ๆ กำลังความตั้งมั่นจะตามมาเองภายหลัง แล้วจะรับรู้อาการทางจิตใจได้อย่างสด ๆ ก็จะมีการพัฒนาขึ้น

ทีนี้ จะมีอาการหนึ่งที่ .ต้อง.เกิดขึ้นเสมอกับคนที่ยังไม่ตาย ก็คือ จะมีความคิดโผล่มา
เป็นขาจร บางคนโผล่มาบ่อย บางคนโผล่มานาน ๆ ครั้ง ถ้าความคิดแบบขาจรนี้โผล่มา
ท่านเพียงรู้ว่า มีความคิดโผล่มา แล้วอย่าไปติดกับความคิดเป็นปลาท่องโก๋ ก็ใช้ได้แล้วครับ
อย่าไปห้ามความคิด ไม่ให้มันมา ท่านจะเครียดเพราะความคิดมันคือธรรมชาติที่จะมีขึ้น

2.2) จิตนิ่งรู้อยู่ที่ฐาน จิตไม่วิ่งไปวิ่งมา

เรื่องนี้เพื่อให้ท่านเข้าใจ ท่านสมควรจะทดลองด้วยตัวเอง เพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้
ถ้าท่านอยู่ที่บ้าน ขอให้ท่านนั่งสบาย ๆ นั่งท่าไหนก็ได้ที่สบาย ไม่ต้องทำอะไร
ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องอยากรู้อะไร ถ้าบ้านท่านมีพัดลม ให้เปิดพัดลมให้มีลมพัด
ไปมาและให้ลมพัดโดนร่างกายของท่านได้ ถ้าท่านมีวิทยุหรือทีวี ให้เปิดให้มีเสียง
เบา ๆ พอได้ยินเบา ๆ ก็พอ เมื่อท่านอยู่ในลักษณะนี้ เพียงท่านรู้สึกตัวอยู่เท่านั้น
ท่านจะพบว่า

**ตาท่านก็จะมองเห็น (ท่านเพียงลืมตาอยู่ ไม่ต้องการมองอะไร แต่ตาจะเห็นภาพได้อยู่)
**หูท่านจะได้ยินเสียงวิทยุหรือทีวี ที่เปิดไว้เบา ๆ ท่านเพียงได้ยินเสียงแต่ไม่ต้องไปสนใจว่า
นี่คือเสียงพูดอะไร หมายความว่าอย่างไร
**ร่างกายท่านก็จะรู้สึกได้ถึงลมจากพัดลมที่พัดไปมาอยู่ได้
**จิตใจท่านก็จะเฉยๆ เพราะไม่มีเรื่องอะไรต้องทำ ไม่มีเรื่องอะไรต้องคิด

ลักษณะที่ท่านรู้อย่างนี้ พร้อม ๆ กันในหลาย ๆ อายตนะในขณะเดียวกัน
ตามธรรมชาติแล้ว จิตจะตั้งอยู่ที่ฐาน ไม่วิ่งไปวิ่งมาแล้ว

//////////////////

ถ้าที่ผมเขียนข้างต้น ท่านอ่านไม่เข้าใจ ทดลองแล้วมองจิดนิ่งไม่ออก
ให้ทดลองต่อไปนี้แทน วิธนี้จะเห็นจิตนิ่งได้ดีกว่า แต่ข้อเสีย คือ
มันไม่เป็นธรรมชาติเท่านั้น

ขอให้เตรียมของเหมือนข้างบนที่เขียนไว้ ท่านยังเปิดเสียงทีวีอยู่ เปิดพัดลมอยู่
ขอให้ท่านหายใจเข้าลึก ๆ แล้วกลั้นลมหายใจไว้ เมื่อท่านกำลังกลั้นลมหายใจไว้
ขอให้ท่านสังเกตตัวเอง ตาท่านยังมองเห็นได้อยู่ เสียงก็ได้ยิน ลมพัดมาโดนกาย
ก็รู้ และ ท่านสังเกตใจตัวเองว่า มันจะนิ่ง ๆ อยู่ ไม่วิ่งไปวิ่งมา
ท่านเห็นได้ใช่ใหมครับ

/////////////////

เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ท่านสมควรทดลองว่าจิตวิ่งไปวิ่งมานี่เป็นอย่างไร
(ท่านต้องสังเกตตัวเองด้วยในขณะทดลอง) สมมุติว่า เมื่อท่านรู้ลักษณะของจิต
ที่อยู่ที่ฐาน ไม่วิ่งไปวิ่งมาแล้ว ทีนี้...
ให้ท่านจงใจมองอะไรสักอย่างหนึ่งอย่างตั้งใจ เช่นมองภาพในทีวี
เพื่อต้องการรู้ว่าภาพในทีวีเป็นอะไร ในขณะที่ท่านตั้งใจมองภาพในทีวี
ขอให้ท่านสังเกตว่า สภาพของจิตจะไม่เหมือนเดิม ที่เคยนิ่ง แต่จิตจะวิ่งออกไป
จับภาพในทีวีแทนแล้ว ถ้าท่านมองไม่ออก ขอให้ทดลองหลาย ๆ ครั้ง
แบบสลับไปมา ระหว่าง จิตนิ่งอยู่ที่ฐาน กับ จิตวิ่งออกไปทางสายตา

หมายเหตุ จิตวิ่งออกจากฐานนี้ บางสำนักจะเรียกว่า จิตส่งออก หรือ เรียกว่า จิตออกนอก

ทีนี้ ขอให้ท่านสังเกตดู (เรื่องที่เขียนต่อไปนี้ เป็นความเห็นส่วนตัว
ที่ผมจะถูกโจมตีหนักจากหลายสำนักปฏฺิบัติ )
ว่า อาการของจิตส่งออก หรือ จิตไม่อยู่ที่ฐาน คือ การต้องการที่จะรู้ที่มีตัณหาผสม
จึงส่งจิตออกไปรับรู้ เมื่อใครก็ตามที่ดูลม แล้ว ส่งจิตไปจับที่ปลายจมูก หรือ เวลาเดินจงกรม
ส่งจิตไปรับรู้อยู่ที่เท้าเวลาเดิน ล้วนแต่เป็นการรับรู้ที่จิตไม่อยู่ที่ฐานทั้งสิ้น
แต่จิตจะวิ่งไปรับรู้ที่ปลายจมูก เพือดูลม หรือ วิ่งไปที่เ้ท้าเพื่อรับรู้สัมผัสเวลาเดินจงกรม
นี่คือจิตจะไม่นิ่งอยู่ในฐาน แต่จะวิ่งไปวิ่งมาเพื่อยึดกับอารมณ์ของจิต

ยังมีอีกอาการหนึ่งของผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับจิตส่งออก จะเกิดขึ้นเพราะการเผลอตัว
จิตไม่มีสมาธิ เช่น ชายหนุ่มเห็นหญิงสาวหน้าตาดี จิตเกิดตัณหาขึ้น ขาดสติสัมปชัญญะ
จิตก็ส่งออกผ่านทางตาไปยังหญิงสาวที่เห็นทัีนที

******************

ถ้าท่านเรียนพระอภิธรรม ครูที่สอนจะสอนว่า สมาธิแบบนี้จะเป็นได้เฉพาะขณิกสมาธิ
เพราะการรับรู้ผ่านทางอายตนะจะมีการแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ถ้าครูกล่าวแค่นี้ก็ถูกของคุณครู
อภิธรรม
แต่จากที่ผมปฏิบัติมา ผมพบว่า เมื่อปฏิบัติได้ดี สมาธิตั้งมั่น ผู้ปฏิบัติจะพบเห็น
ของอีกสิ่ง ๆ หนึ่ง เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากการรับรู้ผ่านทางอายตนะตามปรกติของคนทั่ว ๆ ไป ของสิ่งนี้จะตั้งมั่นแสดงตัวให้เห็นได้ตลอด ไม่หายไปไหนเลยตราบเท่าที่เรายังมีสมาธิไม่เผลอ
เดินก็เห็น กินข้าวก็เห็น อาบน้ำก็เห็น ทำอะไรในชีิวิตประจำวันก็เห็น แต่อย่าตั้งใจคิดก็แล้วกัน
เพราะถ้าตั้งใจคิดงานที่กำลังทำอย่างจดจ่อ เจ้าสิ่งนี้จะไม่เห็นเลย ถ้่าิิคิดเล่น ๆ ไม่จดจ่อ ก็จะยังเห็นได้อยู่ และเป็นการเห็นเองที่ไม่ใช่ต้องการเห็น จึงไม่ใช่ตัณหาที่ต้องการเห็น มันจะปรากฏให้เห็นอย่างนั้นแหละ ที่อยู่ตรงหน้าไม่หายไปไหน ไม่หนีไปไหนด้วย การเห็นของสิ่งนี้ จะเข้าข่ายการมีสมาธิระดับฌานเช่นเดียวกัน ซึ่งในพระไตรปิฏกก็มีกล่าวไว้ ถึงองค์ฌานต่าง ๆ ในสัมมาสมาธิ
ดังนั้น ผมจึงสรุปว่า การปฏิบัติแบบสัมมาสมาธิ ถ้าปฏิบัติถึงจริง จิตจะตั้งมั่นได้ถึงระดับฌาน
และเป็นฌานที่ถาวรยาวนาน เป็นฌานที่ไม่ต้องทำอะไร เกิดในทุกอิริยาบท จิตก็อยู่ในฌานได้เองอยู่แล้ว

ท่านเห็นความแตกต่างขององค์ฌานระหว่างมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิได้ใช่ใหมครับว่า
องค์ฺฌานในสัมมาสมาธิ จะตั้งมั่นอยู่ตลอดในทุกอิริยาบท ไม่ต้องทำอะไรเลย
แต่องค์ฌานในมิจฉาสมาูิธิ จะต้องมีการทำ เมื่อเลิกทำ องค์ฌานของมิจฉาสมาธิ
ก็หมดลงไปทันที

แนะนำอ่านเพิ่มเติม
ฌาน ใน สัมมาสมาธิ
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=06-2010&date=15&group=8&gblog=32


%%%%%%%%
ท่านผู้อ่านลองอ่านย้อนกลับไปกลับมาหลาย ๆ เที่ยวซิครับ เพื่อหาจุดว่า ลักษณะอาการของสัมมาสมาธิ อันเป็นสมาธิที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและประกาศให้ชาวพุทธได้รู้มีอาการอย่างไร
ผมแนะนำให้ท่านนักปฏิบัติศึกษาให้เข้าใจ เพราะสิ่งนี้ ถ้าเข้าใจ ปฏิบัติได้ถูก
ท่านจะไปได้เร็วกว่า การปฏิบัติที่ผิดพลาด

*****
ผมแนะนำว่า เมื่อท่านอ่านแล้ว ถ้าต้องการความเ้ข้าใจอย่างถูกต้อง ท่านสมควร
ทำสรุปออกมาเองว่า คล้าย ๆสรุปบทเรียนของท่านเองว่า มิจฉาสมาธิ ต่างจาก สัมมาสมาธิ อย่างไร
การทำสรุปออกมาเอง จะทำให้ท่านคิดและศึกษาได้ลึกกว่าเพียงอ่านผ่าน ๆ ไป
แต่ถ้าท่านไม่สนใจในเรื่องที่ผมเขียนนี้ เพียงอ่านก็ปวดหัวแล้ว ก็ผ่านไปก็แล้วกันครับ

*****




Create Date : 04 กรกฎาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:08:27 น. 8 comments
Counter : 3352 Pageviews.

 
ทดสอบ


โดย: นมสิการ วันที่: 4 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:16:42 น.  

 
ขอบคุณครับ ขออนุโมทนาครับ


โดย: ชาดีครับ (shadee829 ) วันที่: 4 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:24:44 น.  

 
เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ในฐาน ไม่วิ่งไปวิ่งมาแล้ว
จิตจะเห็นได้เองว่า กาย(ความเป็นธาตุดิน/ไฟ/ลม) - เวทนาขันธ์ - สัญญาขันธ์ - สังขารขันธ์ - วิญญาณขันธ์
นั้นมันแยกออกเป็นส่วน ๆ และ สิ่งที่แยกออกนั้น
จิตมันจะเห็นเองว่า ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของ ๆ เราเลย

***
เมื่อจิตตั้งมั่นในฐาน
ลองเอามือลูบหัวตัวเอง หรือ เกาหัวดูซิ ท่านอาจสะดุ้ง
เพราะแม้แตัวหัว ยังหายไปเลย (ไม่มีหัวอยู่ เหลือแต่ความรู้สึกที่
ไปจับเข้า หรือ ไปเกาเข้าเท่านั้น )


โดย: นมสิการ วันที่: 4 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:30:09 น.  

 
สาธุ .. มาขออนุโมทนาบุญด้วยจ๊ะ


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:47:18 น.  

 
...สาธุค่ะ...


โดย: คนดีคนเก่ง วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:36:00 น.  

 
อนุโมทนา สาธุครับ


โดย: fatnomore IP: 202.137.151.2 วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:48:49 น.  

 
อ่านเพิ่มเติม
การทดลองเพื่อให้รู้จัก.physical ของอาการจิตตั้งมั่น.
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=13-04-2011&group=13&gblog=89


โดย: นมสิการ วันที่: 14 เมษายน 2554 เวลา:8:27:51 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:37:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.