รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
30 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
เมื่อเห็นภัยของวัฏฏะเมื่อไร ความเพียรในการปฏิบัติจึงจะเกิดขึ้น

ท่่านที่บอกว่า ไม่มีความเพียรในการปฏิบัติจะทำอย่างไร
จากประสบการณ์ ผมพบว่า ถ้าท่านไม่รู้จักทุกข์อย่างแท้จริง
ยังไม่เห็นภัยวัฏฏะอย่างแท้จริง ความเพียรที่แท้จริงจะยังไม่เกิดขึ้นครับ

ปัญหาก็คือ จะเห็นภัยวัฏฏะได้อย่างไร
เรื่องนี้ก็คงตอบได้ว่า ต้องเห็นได้ด้วยตนเอง โดยตัวเองได้พบเอง
โดยการเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น

มาดูภัยในชีวิตมนุษย์กัน
1.ภัยจากโรค ไม่สบาย เจ็บป่วย ทั้งของตนเองและคนใกล้ชิด คนที่เคารพนับถือ
ภัยจากการหิวอาหาร จากแมลงกัดต่อย จากความร้อน ความเย็น และ อื่นๆ
2.ภัยจากภัยพิบัติธรรมชาติ ฝนตกหนัก น้ำท่วม บ้านโดนไฟใหม้ไม่มีที่อยู่
พายุลมแรงพัดบ้านพังเสียหาย แผ่นดินไหว ซินามิ และ อื่น ๆ
3.ภัยจากการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะจะไม่มีรายได้มาเลี้ยงชีพ
ตนเองและคนใกล้ตัว
4.ภัยจากสัตว์ร้าย มนุษย์ด้วยกัน เช่น สุนัขกัด หัวหน้างานที่เข้าดัวยกันไม่ได้ เพื่อนร่วมงาน หญิงสาวเดินในที่ไม่เปลี่ยวไม่ปลอดภัยโดนข่มเหงรังแกจิตใจ
และคงมีือื่น ๆ อีกที่จะพบได้มากมาย

เรื่องภัยต่าง ๆ นี้ คนส่วนมาก เมื่อพบก็จะเลยไป หลายคนไม่คิดอะไรเลย
มีชิวิตต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าได้ฉุกคิดมาเืมื่อไร ว่าการเกิดอีกทุกภพชาติ ก็จะต้องมาพบภัย
อย่างนี้อีก เมื่อฉุกคิดนี้เกิดเมื่อไร ดังที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ฉุกคิดเมื่อได้พบเห็นคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความรู้สึกอย่างแรงกล้าที่จะหนีจากสังสารวัฏนี้จะเกิดขึ้นทันที
แล้วความเพียรก็จะเกิดตามมา

อยากฝากไว้ว่า ถึงแม้ความรู้สึกอย่างหนีจากภัยแห่งสังสารวัฏจะเกิด แต่ถ้าไม่รู้จักวิธีการพากเพียรที่ถูกต้อง ก็ไม่มีทางหนีออกจากสังสารวัฏได้เลยครับ

แด่ผู้มีความเพียรทุกท่าน >> อาตาปี สัมปชาโน สติมา

ถ้าท่านเป็นมือใหม่ ยังไม่เข้าใจดีนักในการปฏิบัติเพื่อการหนีภัย
แนะำนำอ่านที่ blog นี้ก่อนครับ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=17-04-2010&group=7&gblog=1

*******










Create Date : 30 เมษายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:13:29 น. 1 comments
Counter : 1348 Pageviews.

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:50:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.