รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
สติในการดูจิตอย่างนี้ถูกหลักหรือไม่

เรื่องการระลึกรู้ อารมณ์นามธรรม เช่น
สภาวะโกรธ สภาวะกำหนัดทางเพศ 2 ตัวนี้

1. ถาม : การระลึกรู้ สภาวะ 2 นี้ โดยอาศัย
การระลึกรู้ (รู้จิต) อย่างเป็นกลาง ไม่แทรกแซง
เช่นนี้แล้ว เป็นการระลึกรู้ที่ถูกหลัก หรือไม่ อย่างไร?

2. ถาม : จากประสบการณ์ การระลึกรู้สภาวะ 2 นี้
เมื่อเฝ้าสังเกต ด้วยความเป็นกลาง ไม่แทรกแซง
(นั่งสังเกตดู สบายๆ)
สภาวะ 2 ตัวนี้ จากที่เข้มข้น ค่อยๆ ลดลง จนคลายไป
เช่นนี้แล้ว เป็นการระลึกรู้ที่ถูกหลัก หรือไม่ อย่างไร?


คุณนมสิการ สามารถตอบหลักที่ว่า ในทางปฏิบัติ
ที่คุณนมสิการ ปฏิบัติได้เลย แบบปิดตำราเลยก็ได้ครับ
ผมเข้าใจ : )


ขอบคุณมากครับ

************************
คำถามมาจากห้องสนทนา โดยคุณหมีติดปีก เป็นคำถามที่น่าสนใจ
ผมเดาเอาว่า คุณหมีติดปีกคงเอะใจอะไรบางอย่างในการปฏิบัติ จึงถามมาอย่างนี้
มาดูความเห็นของผมครับ ผมจะตอบจากประสบการณ์ในการปฏิบัติของผม
ดังที่คุณหมีติดปีกต้องการให้ตอบอย่างนี้

ก่อนที่ผมจะตอบ มาดูสภาวะของปุถุชนและกัลยาณชนกันก่อนเพื่อความเข้าใจ
ดังรูป



จากภาพ
ส่วนที่เหนือเส้นประ - นี่คือสภาวะแห่งจิตวิญญาณในปุถุชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ฝึกฝน สัมมาสติ สัมมาสมาธิ .ตัวจิตรู้.จะแนบสนิทแน่นกับตัว .มโนวิญญาณ.และตัว .จิตปรุงแต่ง.

การที่แนบสนิทแน่น เพราะมี .ตัณหา. ที่เป็นแรงยึดเกาะที่เหนี่ยวแน่นเป็นตัวประสานไว้

การที่ .จิตรู้. แนบสนิทกับ .มโนวิญญาณ และ ตัว.จิตปรุงแต่ง. นั้น ถ้าเปรียบก็เหมือนนักมวย
ที่เข้ากอดรัดกันแน่น นักมวยจะรู้ว่า เขากำลังกอดรัดอยู่ แต่เขาจะ ไม่เห็นนักมวยอีกฝ่ายได้ เพราะการแนบสนิทกัน

แต่ผู้ที่เป็นกรรมการห้ามมวย ที่อยู่ห่างนักมวยออกไป เขาจะเห็นนักมวยทั้งสองฝ่ายได้

เมื่อเขาไม่เห็นอาการของจิตปรุงแต่ง เขาจะเข้าใจว่า อาการจิตปรุงแต่งนั้นเป็นตัวเขา เป็นของเขา
ถ้าจิตปรุงแต่งเป็นทุกข์ เขาก็จะเป็นทุกข์ ถ้าจิตปรุงแต่งเป็นสุข เขาก็จะเป็นสุข

*********

ทีนี้มาดูส่วนที่อยู่ใต้เส้นประ - นี่คือสภาวะแห่ง .กัลยาณชน.ผู้เจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิ (แต่ยังไม่บรรลุึพระอรหันต์ ) ด้วยกำลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ทำให้ .จิตรู้.นั้น แยกตัวถอยออกห่างจาก มโนวิญญาณและจิตปรุงแต่ง

การแยกตัวของจิตรู้ กับ มโนวิญญาณและจิตปรุงแต่ง ทำำให้จิตรู้เห็น อาการต่างๆ ของมโนวิญญาณ และจิตปรุงแต่งได้ ตอนนี้เปรียบเหมือนกับนักมวยที่ถอยห่างกัน ที่เขาเห็นตัวนักมวยอีกฝ่ายหนึ่งได้ชัดเจน เนื่องจากอยู่ห่างกัน

เมื่อจิตรู้แยกตัวออก จิตรู้จะเห็นอาการปรุงแต่งต่าง ๆ ของจิตปรุงแต่ง จิตรู้จะเข้าใจได้ว่า
จิตปรุงแต่งนี้ ไม่ใช่ตัวเขา ไม่ใช่ของ ๆ เขา ดังนั้น จิตปรุงแต่ง จะเป็นสุขหรือทุกข์อย่างไร
จิตรู้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องไปด้วย คงเพียงการรู้อย่างเดียวแต่ไม่สุข ไม่ทุกข์ตามไปกับการปรุงแต่งนั้น
ถ้าจะเปรียบอาการนี้ ก็เหมือน คนที่กำลังดูบ้านคนอื่นที่ถูกไฟไหม้ คนดูก็ดูไป แต่ไม่เดือนร้อนอะไรกับไฟไหม้นั้นเลยเพราะบ้านที่กำลังไฟไหม้ไม่ใช่บ้านของเขา

******************
ต่อไป ผมขอให้อ่านเรื่องนี้ ก่อนครับ
การฝึกฝนการปฏิบัตินั้นเพื่ออะไร ได้ประโยชน์อะไร
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2010&date=26&group=8&gblog=107

จากเรื่องที่ให้อ่านนี้ ท่านจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เจริญ สัมปชัญญะและสติ อยู่เนื่อง ๆ
(อาตาปี สัมปชาโน สติมา) ซึ่งก็คือ การปฏิบัติ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ ในอริยมรรค 8 นั้นเอง

การเจริญ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ จนได้ผลนั้น จะทำให้ผู้เจริญเปลี่ยนจาก ปุถุชน เป็น กัลยาณชน ผลแห่งการเป็น กัลยาณชน จะทำให้เขาเกิดดวงตาปัญญา(ปัญญาจักษุ) ทำให้กัลยาณชนมีความสามารถเห็นสภาวะแห่ง มโนวิญญาณและจิตปรุงแต่ง ได้
ซึ่งปุถุชนเห็นไม่ได้เลย การเห็น มโนวิญญาณและจิตปรุงแต่ง ทำให้เกิด .การตัดการยึดเหนี่ยว
แห่ง มโนวิญญาณและจิตปรุงแต่ง . ออกจาก จิตรู้ ซึ่งก็คือ ตัณหาเบาบางลง

การตัดการยึดเหนี่ยวนี้ ก็คือ ปัญญา ที่ได้จากความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิ ทำให้กัลยาณชน
ไม่สุข ไม่ทุกข์ ตามจิตปรุงแต่งไปด้วย

ในความเห็นส่วนตัวของผม การปฏิับัตินั้น ไม่ใช่การไปดูจิตปรุงแต่งใด ๆ ไม่ว่า
เป็นตัวโกรธ หรือ ตัวราคะ แต่การปฏิบัตินั้น นักภาวนาต้องสร้างเหตุให้ตรงคือการเพิ่มกำลังแห่ง
สัมมาสติ/สัมมาสมาธิ/ปัญญาจักษุ ทำให้เกิดผลคือมีความสามารถเห็น
จิตปรุงแต่งต่าง ๆ เช่นตัวโกรธ / ตัวราคะ ได้ ต่างหาก

ยิ่งกำลังแห่งสัมมาสติ/สัมมาสมาธิ/ปัญญาจักษุ มีพลังมากขึ้นเท่าใดจากการฝึกฝน
ก็จะยิ่งทำให้เห็น จิตปรุงแต่งที่ละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป จากหยาบไปจนละเอียดสุด ๆ คือการเห็น รังของอวิชชาได้

การที่เห็นสภาวะธรรมใด ๆ ได้ หมายความว่า การละในสภาวะธรรมนั้่นได้เกิดขึ้นแล้ว
ดังภาพด้านล่างของเส้นประ

แต่ถ้าไม่เห็นสภาวะธรรม ก็จะเกิดการควบรวมของสภาวะธรรมตามภาพด้านบนของเส้นประ
อันมีตัณหาเป็นแรงยึดเกาะให้แน่น

ในตำรากล่าวไว้ถึงพระอริยบุคคล 4 ระดับ ซึ่งก็คือ การที่มีความสามารถเห็นสภาวะธรรม
ที่ละเอียดได้ต่าง ๆ กันของพระอริยบุคคลในแต่ระดับ

****
ตอบคำถามครับ

1.. จากที่อธิบายไว้ข้างบนแล้ว การปฏิบัตินั้น ไม่ใช่การเห็นสภาวะธรรมด้วยใจที่เป็นกลาง
แต่การเห็นสภาวะธรรมที่ใจที่เป็นกลาง .เป็นผล. ที่มาจาก .การสร้างเหตุ.แห่งการปฏิบัติที่มาจากการเจริญสัมมาสติ/สัมมาสมาธิ

นักปฏิบัิติที่ ไม่มีกำลังแห่ง สัมมาสติ/สัมมาสมาธิ จะเป็นไป .ไม่ได้เลย. ที่จะดูสภาวะใด ๆ ได้ ดังเช่นที่ถามมาคือ ความโกรธ/ราคะ แต่เขาจะรู้เพียงว่ามีโกรธ มีราคะ เกิดแล้ว ดังเช่นภาพด้านบนเส้นประ และเขาก็จะหลงเข้าไปผสมเล่นกับความโกรธ/ ราคะ และก็หยุดความโกรธ/ราคะ ไม่ได้ด้วย เขาก็จะหลงไปกับการปรุงแต่งที่เกิดขึ้น มารก็สิงสู่ตัวเขาทันที

2.. คำตอบก็เหมือนข้อ 1 ที่ตอบแล้ว แต่การที่ท่านว่า .ความเข้มข้น. ค่อย ๆ จางคลายไป
นั้น เรื่องนี้ มีจุดที่น่าจะกล่าวถึงอีกคือ

2.1 ในระยะ 2 ปีที่ท่านผ่าน ท่าน เห็น สภาวะแห่งความโกรธ / ราคะ ได้หรือไม่ (ดังภาพใต้เส้นประ ) หรือ เพียงแต่ว่ารู้ ว่ามีสภาวะนี้เิกิดขึ้นแต่ไม่เห็น (ดังภาพเหนือเส้นประ)

ที่ว่า.เห็น ท่านจะเห็นจริง ๆ จะมีการเห็นด้วยจิตรู้ อาการเห็นจะคล้าย ๆกับ การเห็นดาวตก ทีวูบขึ้นมาแป๊บเดียวเพียงเสี้ยววินาทีที่สั้นมาก ๆ แล้วสภาวะโกรธ/ราคะจะหายไปทันที

แต่ถ้าไม่เห็น เพียงแต่รู้ จะเพียงรู้ว่า มีโกรธ/ราคะ เกิดแล้ว แต่มันจะไม่หายไปทันที แต่จะค้างอยู่นานอยู่เช่น เกิดสัก 1 นาที หรือนานกว่าจึงสลายไป และการสลายนี้ ก็อาจไม่ใช่การเองที่เป็นธรรมชาติแต่เป็นการจงใจสลายเช่นการกดข่มจิตใจเอาไว้

ถ้าท่าน เห็นได้ และ สภาวะ โกรธ/ราคะ น้อยลงไปเรื่อย ๆ ก็แสดงว่า การปฏิบัีติของท่านได้ผล
และกำัลังแห่งสัมมาสติ/สัมมาสมาธิของท่านตั้งมั่นได้มาก ๆ

แต่ถ้าท่านเพียงแค่รู้ แต่ไม่เห็นสภาวะ แต่ว่า สภาวะ โกรธ/ราคะ น้อยลงไปเรื่อย ๆ นี่แสดงว่า ท่านมีการกดข่มจิตใจไว้ (คล้าย ๆ กับการติดดี ที่ว่า นักภาวนาต้องไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ) โดยทีตัวท่านไม่รู้ว่ากำลังกดข่มจิตใจไว้อยู่

การติดดี ทำให้เกิดการหลงผิดและไม่เกิดปัญญาในการปฏิบัติ

2.2 จากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมา ในสภาวะแห่งกัลยาณชน ผมพบว่า สภาวะโกรธ/ราคะ นั้นที่ว่าละได้ หมายความว่า จะเป็นแบบภาพด้านล่างเส้นประ แต่การปรุงแต่งโกรธ/ราคะ นี่ยังมีเกิดได้อยู่ แต่ว่ามันทำอะไรเราไม่ได้่ต่างหาก มันเกิดสักแต่ว่าเป็นสภาวะอย่างหนี่ง เหมือนลมพัดที่พัดมาแล้วก็หายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักภาวนาจะไม่เดือนร้อนอะไรกับมันเลย

ซึ่งจะเห็นว่า ไม่ใช่ว่า สภาวะโกรธ/ราคะ จะเกิดไม่ได้นะครับ แต่จริง ๆ มันเกิดได้ แต่จิตรู้ไม่เข้าไปผสมกับมัน จุดนี้นักภาวนาส่วนมากมักคิดว่า เมื่อปฏิบัติแล้ว จะไม่มีโกรธ ไม่มีราคะ ซึ่งจริง ๆไม่ใช่แบบนั้นเลย แต่นักภาวนาจะเ็ห็นมันเป็นเพียงธรรมชาติ สักแต่ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรทีต้องไปใส่ใจ หรือ ไม่ต้องทำอะไรกับมันทั้งสิ้น เดียวมันก็หายไปเอง

เพียงแต่ว่า อาการโกรธ/ราคะ นี้จะเกิดได้ก็จริง แต่เกิดได้ยากกว่าปุถุชนเท่านั้น ยิ่งกัลยาณชน
ทีมีกำลังแห่งสัมมาสติ/สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นแน่วแน่มากเท่าใด การเกิดได้ของ โกรธ/ราคะ ยิ่ง
เกิดได้ยากขึ้นเท่านั้น

แต่ถ้าในบุคคลที่ทำลายรังอวิชชาลงได้แล้ว อาการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย

2.3 ที่สอนกันว่าให้ ดูจิตกันนั้น ต้องเข้าใจกันให้ท่องแท้
กันก่อนว่า

2.3.1 อาการของจิตปรุงแต่ง เช่น โกรธ/ราคะ นี่ไม่ใช่จิต แต่เป็นจิตปรุงแต่ง และต้องเห็นเท่านั้น จึงจะใช้ได้ ถ้าเพียงรู้ว่าเกิดแล้วยังใช้ไม่ได้
2.3.2 เมื่อนักภาวนา .เห็น.จิตปรุงแต่งได้แล้ว ต่อมาเมื่อกำลังแห่งสัมมาสติสัมมาสมาธิตั้งมั่นมากขึ้นอีก ต่อมา นักภาวนาจึงจะ .เ็ห็น.ตัวจิตจริง ๆ ได้ คือ มโนวิญญาณ ซึ่งเห็นได้ยากกว่า การเห็นโกรธ/ราคะ มาก

การเห็น มโนวิญญาณ นักภาวนาจะเห็นได้ในลักษณะของ.จิตว่าง.ที่คล้าย ๆ กับเห็นหมอกจาง ๆ ที่จางมาก ๆ (จากมาก ๆ เลยครับ )

2.3.3 เมื่อเห็น มโนวิญญาณ ได้ด้วยจิตรู้แล้ว ต่อไป กำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิทีตั้งมั่นยิ่งขึ้นไปอีก เขาจะเห็นการก่อตัวขึ้นแห่งกิเลสที่มันโผล่มาให้เห็นใน มโนวิญญาณ นักภาวนาก็จะรู้และเ้ข้าใจว่า รังของอวิชชา นี่มันหลุดจากจากมโนวิญญาณนี่เอง
เมื่อ นักภาวนาเห็นแดนเกิดแล้ว ก็เพียงหมั่นเจริญสัมมาสติสัมมาสมาธิต่อไปให้มั่นคง จิตใจไร้ตัณหาและทิฐิ แล้วรอเวลาที่รังอวิชชาถูกทำลายลงไปเท่านั้น อันเป็นกลไกธรรมชาติของเขาเอง การภาวนาก็จะถึงที่สุดแห่งทุกข์

**********
กล่าวโดยสรุป การปฏิบัติที่ตรงนั้น คือ การเจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่เป็นการสร้าวเหตุ
แล้วผลตามมาก็คือ การเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

อันสภาวะธรรมนั้น ถ้าไปให้สุดทางแห่งทุกข์ ก็คือการทำลายรังอวิชชา ถ้าไม่สร้างเหตุให้ตรง
ก็จะไม่มีทางไปถึงที่ปลายทางได้

จะเห็นได้อีกอย่างหนี่งว่า ในการปฏิบัตินั้น ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติหมด ไม่มีการ.ต้องทำ.อะไรในธรรมที่ปรากฏให้เห็น เพียงแต่ว่า นักภาวนาให้เจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เท่านั้น

**********
เรื่องท้ายบท

มีเรื่องหนึ่ง ที่ผมขอทำควาเข้าใจกับท่านผู้อ่านก็คือ

เมื่อนักภาวนาได้เจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่แนบแน่นจนเห็น
มโนวิญญาณได้ด้วยจิตรู้แล้ว การที่จิตรู้เห็นมโนวิญญาณนี้
จะเป็นการเห็นได้เองตามธรรมชาติของเขาที่มีกำลังอยู่ ไม่ใช่เกิดจาการจงใจไปเห็น หรือ ต้องการเห็น

แต่จิตรู้ เขาจะเห็นของเขาได้เองด้วยสภาวะที่มีกำลังและจะเห็นได้ตลอดเวลาเสียด้วยซิ ทำอะไรก็เห็น กินข้าว อาบน้ำ เห็นได้อยู่อย่างนั้นแหละ

ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจ ก็เหมือนตอนกลางวัน ที่มีแสงอาทิตย์อยู่
ท่านเพียงเปิดตาขึ้นเท่านั้น ไม่ต้องอยากจะมอง แต่ก็เห็นแสงอาทิตย์ได้เองตลอดเวลา

ที่ผมเขียนให้เข้าใจ เพราะมีคำสอนของบางครูบาอาจารย์ว่า ให้มองลงไปที่จิตบ้าง ให้กำหนดลงไปที่จิตบ้าง ให้ใช้สติจ่อลงไปที่จิตบ้าง
ซึ่งคำสอนเหล่านี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็จะคิดว่าท่านอาจารย์ .ให้กระทำ.อะไรสักอย่างลงไปที่จิต ซึ่งในการปฏิบัติจริง ๆ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย

การปฏิบัตินั้น ให้ไร้ตัณหาและทิฐิ นะครับ แต่ให้มีความเพียร มีสัมชัญญะ มีสติ ต้องเข้าใจให้ตรง ถึงจะเดินได้ถึงปลายทาง


Free TextEditor




Create Date : 04 กันยายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:01:20 น. 7 comments
Counter : 2286 Pageviews.

 
สวัสดีครับ..พี่หนุ่ย มาเยี่ยมวันหยุดครับ


โดย: nuyect วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:9:17:48 น.  

 

ขอบคุณมากครับ ทีอุตส่าห์ตอบ
แบบตั้งเป็นอีกหนึ่ง บทความ

ผมอ่านหมดทุกตัวนะครับ แต่ก็ตามได้ไม่หมด
ที่สรุปได้ชัดเจนคือ เราต้องสร้างเหตุในการภาวนา

ทำให้ สัมมาสติ สัมสมาธิ เข้มแข็ง


ขอบคุณอีกคร้าบ


โดย: หมีติดปีก IP: 118.172.5.201 วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:17:10:04 น.  

 
ตอนได้ค่อนข้างชัดเจนเลยครับ


โดย: ramai IP: 125.25.150.87 วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:17:54:23 น.  

 
โมทนาสาธุค่ะ ท่านพี่ตอบได้ชัดเจนดีแล้ว

แต่เรามีสถาวะแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

มันจะมีช่วงที่ติดดีจริงๆ คือเวลาเรามีกำลังสติ มองเห็นราคะ แล้วเราพยายามจะหยุดมัน แบบหน้าเขียวหน้าเหลือง.. แล้วเราหยุดได้ เราก็จะรู้สึกว่าโอเค..ชั้นทำได้

ต่อมาการเกิดของมันจะสั้นขึ้น เราก็เห็นเร็วขึ้น มันก็หยุดเร็วขึ้น เราก็รู้สึกว่า..เราแน่มาก.. เราคงเอาชนะมันได้แล้ว

ต่อมามันมาหลอนในความฝัน ซึ่งเราก็มีสติอีก ก็หยุดได้แม้ในความฝัน.. ตื่นขึ้นมายิ่งดีใจ ตรูเอาชนะราคะได้แล้วจริงๆ... เหอๆๆๆ

แต่ที่จริงเปล่าเลย.. วันนึงไปกราบอาจารย์
มันโผล่ขึ้นตรงหน้า เชื่อไหม กำลังฟังธรรมอยู่ท่านยกมือขึ้นมา เหมือนกับว่าราคะมันโผล่พรวดตรงหน้า ถึงกับร้องออกมาในใจดังมากว่า เฮ้ย.. ช็อคอย่างแรง แล้วก็อายมาก แล้วก็จิตตก สิ่งที่ทำคือขอขมาท่านในใจ ท่านก็ทราบหยุดเทศน์แล้วบอกให้กราบเลย..

หลังจากนั้นก็เฟลไปหลายวัน ก่อนจะเข้าใจที่หลวงปู่ชาบอกว่ากิเลสน่ะเราสู้ไม่ได้หรอก ต้องยอม.. เพราะถ้าสู้ก็มีแพ้ชนะ แต่ถ้า "รู้" แบบแยกตัวออกมาเป็นกรรมการได้อย่างที่ท่านนมสิการบอก มันจะต่างคนต่างอยู่

และก็ใช้เวลาอีกหลายวัน กว่าจะยอมรับว่าถูกมันหลอก คือเรายังคิดว่าราคะนี้เป็นตัวเรา เราเลยอาย..ตกใจ เสียหน้า..กลัวบาป ที่จริงแล้ว พระท่านไม่ว่าอะไรหรอก เพราะว่าท่านรู้ว่ากิเลสมันไม่ใช่ของเรา มันจรมาให้รู้ว่าตรูยังอยู่เท่านั้นเอง..

พอปัญญารู้ได้อย่างนี้ ก็เลยไม่กลัวมันแระ.. เข้าใจแระ

คราวนี้วันนึงมันก็ผุดขึ้นมาอีก อาศัยกำลังสติเห็นได้ทัน แต่ไม่ทันพอ(คือยังตกใจเบาๆ) ก็รีบกระโดดตะครุบ.. มันก็หลุบหัวลงไป เป็นอย่างนี้สักพัก (เราก็ยังชอบใช้หินทับหญ้ากับเรื่องนี้นะ..คงเพราะเป็นหญิง) พอตะครุบบ่อยๆ มันชิน กระเพื่อมขึ้นมาก็รู้แล้ว

พอรู้แล้วมันก็ดับไปตามนั้นจริงๆ แค่รู้มันก็หยุด..

และเราก็รู้อีกว่า ที่เรารู้แล้วหยุดได้นี้ เพราะมันไม่มีความกลัวในกิเลสตัวนี้ หรือรังเกียจรังงอนแล้ว คือปัญญามันยอมรับตามความเป็นจริง ว่ามันเป็นสิ่งที่มีในตัวเรา เป็นธรรมดา (คือเลิกติดดีแล้วนั่นเอง) พอมันโผล่ขึ้นมาก็เหลือบมอง.. มันก็หายไป

ทีนี้ล่าสุดก็มีสภาวะที่ได้เรียนรู้ คือมันมาในความฝันและในความฝันนั้นเราก็ไม่ได้ใช้หินทับหญ้าอะไรเลย เกือบจะเรียกว่าไม่มีสติก็ได้ แต่พอตื่นมาก็เฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไรกับมัน คือรู้ว่าสังขารมันปรุง จิตเราก็เฉยๆ

ก็เลยเข้าใจว่า...อ๋อ.. ที่พี่นมสิการบอกว่ารู้เฉยๆ อย่างเป็นกลางมันเป็นอย่างนี้นี่เอง คือมันไม่ ไม่ชอบ และไม่ ชอบ มันเฉยๆ แล้วก็จบ..

กว่าจะได้อย่างนี้ก็ใช้เวลาประมาณ 5 เดือนมั้ง กับเรื่องนี้..

เราลดกำลังมันด้วยวิธีหินทับหญ้า แต่การละมันได้จริงๆ ก็เป็นอย่างที่ท่านพี่บอก คือรู้อยู่เฉยๆ (โหย..กว่าจะได้..)

การรู้อยู่เฉยๆ ได้ นี่ ต้องอาศัยปัญญาด้วยน่ะ สติอย่างเดียว หรือสติกับสมาธิก็ไม่พอนะสำหรับเรา..


โดย: ธัมมทีโป IP: 125.27.217.190 วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:22:15:16 น.  

 
เรียนอาจารย์ครับ
ขอบพระคุณมาก ที่ชี้แนะแนวทางที่เข้าใจง่าย อีกทั้งยกเอาบทความที่เกี่ยวข้องและหลงลืมไปแล้วมาให้ทบทวนอีก รออ่านบทความของท่านต่อไปเพื่อเพิ่มเติมปัญญาและกำลังใจ คงเหลืออยู่อย่างเดียวคือ เพียรต่อไปให้มากที่สุด


โดย: คนใหม่ IP: 222.123.82.193 วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:23:24:50 น.  

 
ขอบคุณ คุณ ธัมมทีโป ที่เขียนมาแบ่งปันประสบการณ์ในการปฏิบัติครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:6:27:22 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:25:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.