รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
21 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
การปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ เพียงรูุ้ว่ามีหรือไม่มี

เมื่อนักภาวนาลงมือฝึกฝนการเจริญ.สัมมาสติ.จนเกิดความตั้งมั่นเป็น.สัมมาสมาธิ.แล้ว

การปฏิบัติต่อไปจากนี้ คือ การที่.สัมมาสมาธิ. เห็น.อาการของกาย.และ.อาการของจิต.ซึ่งเป็นไปเองตามธรรมชาติของเขา

ในตอนนี้ ผมจะเขียนวิธีการปฏิบัติที่เนื่องด้วย.อาการของจิต.หรือ ในตำราเรียกว่า .จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

อาการของจิตนั้น ถ้าจะพูดง่าย ๆ ให้เข้าใจแบบชาวบ้านก็คือ มีอารมณ์ในจิตใจอยู่หรือไม่
จะเป็นอารมณ์ใด ๆ ก็ได้ ถือว่าเป็นอาการของจิตทั้งสิ้น เช่น อารมณ์ดีใจ เสียใจ โกรธ หงุดหงิดใจ ราคาญใจ สงสัย ไม่พอใจ พอใจ และอื่นๆ อีกสารพัดจะเรียกกันซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักกันดีอยู่แล้ว

หลักการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ใช้ปฏิบัติจริงๆ เลยมีดังนี้

1..ห้ามจงใจที่จะเฝ้าดูจิต แต่ให้จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธินั้น.เห็นเอง.

ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ จะมีคุณสมบัติที่เป็นธรรมชาติของเขาอย่างนั้นอยู่แล้ว
ไม่ต้องตั้งใจดูเลย แต่เขาก็เห็นของเขาเองได้ คล้าย ๆ กับเราเพียงลืมตาขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจมองดู แต่ตาก็เห็นภาพได้เอง

การตั้งใจเฝ้าดูจิต จะมีผลในทางลบ 2 อย่างคือ

***1.1 เกิดอัตตาตัวตนที่เป็นการกระทำขึ้น เพราะ ในการภาวนานั้น จุดมุ่งหมายเพื่อการเห็นสุญญตา เข้าใจในความว่างเปล่าแห่งสุญญตา แต่เมื่อเกิดอัตตาตัวตนขึ้นจากการกระทำที่เป็นการพยายามไปเฝ้าดู สภาวะสุญญาตาก็จะไม่เกิดให้นักภาวนาเห็นแจ้งได้

อาจมีบางท่านทีโต้แย้งในเรื่องนี้ จริงอยู่ที่ว่า การเข้าถึงสภาวะแห่งสุญญาตานั้นจะใช้ในตอนหลังๆ มาก ๆ ของการภาวนา (บางพระอาจารย์เรียกขั้นนี้ว่า การทำลายผู้รู้ ) แต่การจงใจนี้ ก็จะติดเป็นนิสัยของนักภาวนาไป แล้วจะส่งผลให้เปลี่ยนแปลงนิสัยใหม่ที่ไม่จงใจในการภาวนาเป็นไปได้ยากในอนาคต

***1.2 จิตจะนิ่ง ไม่แสดงอาการทางจิตออกมา เพราะเป็นการจ้องจิตไว้ไม่ให้ไหวติง ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ นักภาวนาจะไม่เกิดปัญญาในการภาวนา ซึ่งข้อนี้ นักภาวนาชาวไทย ชอบกันมาก การทำให้จิตนิ่ง แต่เป็นการนิ่งที่ไร้ปัญญาครับ

2.. เพียงแต่เห็น ก็พอแล้ว ไม่ต้องไปแยกแยะ หรือ หาชื่อเลยว่า อาการนี้มีชื่อว่าอะไร เป็นบาป หรือ บุญ ก็ไม่ต้องไปแยกแยะด้วย

3.. เห็นแล้วอย่าตามไป แล้วอาการที่เห็นเขาจะหายไปเองเป็นไตรลักษณ์

*********
ท่านจะเห็นว่า การปฏิบัติที่ผมเขียน 3 ข้อนี้ จะไม่ตรงตามพระไตรปิฏกในหมวดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในตำรานั้น ท่านกล่าวไว้ว่า จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ และ อื่นๆ
ที่ต่างกันเพราะว่า ตำราต้องเขียนแบบนั้น เพื่อให้ผู้อ่านที่เข้ามาศึกษาจะได้เข้าใจ แต่จริงๆ ในการปฏิบัติ นั้นไม่ต้องไปทำแบบนั้นเลย

การที่จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิแล้วเห็น.จิต หรือ อาการของจิต. นี่เป็นการเห็นแบบปรมัตถ์ ซึ่งเป็นปัญญา แต่การเข้าไปรู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร ส่วนการรู้จักชื่อว่าสิ่งนี้คือชื่ออะไร นี่เป็น.สัญญาอารมณ์. ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติ จึงไม่มีผลต่อการรู้แจ้งของนักภาวนา เพียงแต่นักภาวนาสามารถนำชื่อที่เป็นสมมุติบัญญัติมาใช้สนทนาธรรมกันเพื่อให้เข้าใจกันได้ด้วยภาษาพูด แต่ถ้านักภาวนาจะไปรู้ชื่อว่าชื่ออะไร รู้ว่านี่คือบุญหรือบาป ก็ไม่ผิด แต่เป็นสิ่งไม่จำเป็นครับ

เมื่อนักภาวนาได้ฝึกฝนจนชำนาญมาก ๆ การภาวนาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเหลือเพียงว่า .มีอาการของจิตอยู่หรือไม่มีอาการของจิตอยู่. ส่วนเรื่องอย่างอื่น นักภาวนาจะปล่อยผ่านไปหมดสิ้น โดยไม่ใส่ใจเลย

*********
การปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานมีเพียงง่าย ๆ ดังที่เขียน ไม่ต้องทำอะไรด้วย ไม่ต้องไปคิดมาก ไม่ต้องไปรู้ชื่อ ไม่้ต้องไปรู้อะไรเลย เพียงรู้ว่า มีอาการของจิตอยู่หรือไม่มี และเป็นการรู้ด้วยสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นเท่านั้นเอง

ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ถ้าสงสัย ให้ไตร่ถามให้หายสงสัยในวันกิจกรรม เพราะนี่คือการนำผลที่ฝึกฝนมาใช้จริง ๆ แล้ว เพราะถ้าเข้าใจการปฏิบัติที่ไม่ตรง จะทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ไหน ๆ ก็ลงทุนลงแรงตั้งหน้าตั้งตาฝึกฝนจนเกิดสัมมาสมาธิแล้ว ถ้าเดินผิดพลาดเป้าหมายไปเพราะความไม่เข้าใจ ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

ถ้าเห็นจิตไม่เป็น ก็ไม่เห็นจิต เมื่อไม่เห็นจิต ก็จะไม่เห็นสุญญาตา ถ้าไม่เห็นสุญญาตา ก็จะไม่รู้แจ้งครับ.....






Create Date : 21 ตุลาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:56:45 น. 2 comments
Counter : 7111 Pageviews.

 
ถ้าเห็นจิตไม่เป็น ก็ไม่เห็นจิต เมื่ไม่เห็นจิต ก็ไม่เห็นสูญญาตา ถ้าไม่เห็นสูญญาตาก็ไม่รู้แจ้ง
สาธุ


โดย: บุษบา IP: 202.12.97.116 วันที่: 22 ตุลาคม 2553 เวลา:8:36:23 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:19:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.