รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
Do and Don't ขณะฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน -มุมมือใหม่

บทความนี้ ผมเขียนขึ้นสำหรับท่านมือใหม่โดยเฉพาะ
ท่านมือใหม่ที่เข้ามาอ่าน blog นี้แล้ว แต่ยังไม่อาจเ้ข้าใจได้ดีในการฝึกฝนจริง ๆ ของท่าน
ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมาให้ท่านเป็นแบบสรุปที่ท่านนำไปใช้ได้จริงๆ ในการฝึกฝน

ผมมีบทความที่เกี่ยวข้อง ที่ท่านมือใหม่ทั้งหลายสมควรจะอ่านก่อนมีดังนี้
1.. วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี - มุมมือใหม่
2.. เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
3.. เรื่องของ สมาธิ ภาค 2 -ลักษณะอาการความตั้งมั่นของสมาธิ
4..หลักการเบื้องต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบชาวบ้าน
5..ตัวอย่างการฝึกเพือการรู้กาย
6..วิธีพิจารณา กาย ฉบับชาวบ้านเขียน ชาวบ้านอ่าน

จากประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่ผ่านมาของผม ผมพบว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ สำหรับการฝึกฝนเพื่อการปฏิบัติธรรม ด้วยเหตุผลทีว่า

A..การฝึกฝนจะเป็นแบบที่ไม่ลำบาก ไม่ทรมานกาย สามารถใช้ได้ทั่ว ๆ ไป และในชีิวิตประจำวันนี่ก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วย ดังที่ผมเขียนไว้ในบทความข้อ 6

ฺB..การฝึกฝนกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อฝึกได้ผล จะเกิดสัมมาสติและสัมมาสมาธิตั้งมั่น เมื่อสัมมาสติและสัมมาสมาธิตั้งมั่นแล้ว นักภาวนาก็จะเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งหมายความว่า นักภาวนาจะเห็นว่า กายนี้ จิตใจนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นไตรลักษณ์
มันไม่เที่ยง มันแปรปรวน มันเป็นอนัตตา

อนึี่ง ท่านมือใหม่อาจมีความลังเลและสงสัยว่า
ฺ *** B1 เพียงการฝึกกายาึนุปัสสนาสติปัฏฐานจะสามารถนำไปสู่การพ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่ ซึ่งผม.กล้ายืนยัน.ได้อย่างเต็มปากเต็มใจว่า .ได้.อย่างแน่นอน ถ้าท่านมือใหม่มีความเพียรในการฝึกฝน และมีการฝึกฝนที่ถูกต้อง

*** B2 การฝึกฝนกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สู้การฝึกฝนการดูจิตไม่ได้
ซึ่งเรื่องนี้ ผม.กล้า.ยืนยันอีกเช่นกันว่า ไม่ใช่อย่างที่ท่านมือใหม่เข้าใจ การฝึกฝนทุกอย่างในสติปัฏฐานนั้นก็เพื่อให้เกิด .สัมมาสติและสัมมาสมาธิ. เมื่อสัมมาสติและสัมมาสมาธิเกิดแล้ว
นักภาวนาจะได้ครบหมดทั้ง 4 หมวดของสติปัฏฐาน 4 เอง

******************
ผมให้ความมั่นใจในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว สิ่งที่ผมเน้นอยู่เสมอก็คือ ท่านมือใหม่.ต้อง.ฝึกอย่างถูกต้อง และ สิ่งที่ผมจะเขียนสรุปให้ในขณะฝึกฝนต่อไปนี้ คือ สิ่งที่ท่านมือใหม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในขณะฝึกฝน

ในการฝึกฝนนั้น ถ้าท่านมือใหม่ มีแบบฝึกของท่านเอง จะเป็นอะไรก็ได้ของกายาุนุปัสสนา ท่านก็ใช้อันนั้นไป ถ้าท่านไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะใหม่จริง ๆ ท่านอาจเลือกข้อใดข้อหนึ่งในเรื่อง ตัวอย่างการฝึกเพือการรู้กาย มาใช้ก็ได้ ให้เลือกสิ่งทีท่านสดวก
และง่ายต่อการฝึกฝน ง่ายอย่างใดใช้อย่างนั้น จะใช้เพียงแบบเดียวก็ได้ จะใช้หลาย ๆ แบบก็ได้เช่นกัน

### สิ่งที่ต้องมีในขณะฝึกฝน (Do) ###

1...ความรู้สึกตัว เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ

2...จิตใจที่เป็นปรกติ จิตใจที่สบาย ไม่ขุ่นมัว หรือ จะเรียกว่า ใจเฉย ๆ ก็ไ้ด้
ถ้าท่านมือใหม่กำลังไปทะเลาะกับใครมาอยู่ จิตใจขุ่นมัว ขอให้ท่านมือใหม่ไปทำธุระหรืออะไรก่อนก็ได้ เพื่อให้ใจมันคลายความขุ่นมัวก่อน เมื่อใจเป็นปรกติแล้วก็มาฝึกก็ได้

3.. ในณะฝึกฝนนั้น ขออย่าให้มีความอยากที่จะรู้อะไร เพียงรู้สึกตัวแล้วเฉยๆ ก็พอ

เมื่อทั้ง 3 ข้อท่านมีแล้ว ขอให้ท่านมือใหม่สังเกตดูสภาวะที่เิกิดขึ้นกับท่านมือใหม่ด้วยว่า
ในขณะัที่ท่านกำลังฝึกนั้น
**ตาก็ยังมองเห็นอยู่ใช่ใหม
**หูก็ยังได้ยินเสียงอยู่ใช่ใหม
**กายก็ยังรู้สัมผัสได้ใช่ใหม่ เช่นลมพัดมาก็รู้สึกได้ ถ้าฝึกโดยการลูบแขน ในขณะที่ลูบแขนอยู่ก็รู้สึกถึงการลูบได้ ใช่ใหม
**จิตใจยังเฉยๆ อยู่ใช่ใหม

ถ้าท่านตอบว่าใช่ ก็ใช้ได้เลย ฝึกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเครียด ฝึกสบาย ๆ
จะหยุดเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ท่านมือใหม่ ถ้าว่างก็มาฝึกใหม่ ให้ฝึกบ่อย ๆ ถ้ามีเวลาน้อย
เป็นช่วงสั้น ๆ ก็ฝึกได้ ครั้งละ 5 นาที 10 นาทีก็ฝึกได้ ไม่จำเป็นเป็นว่าต้องฝึกรวดเดียวเป็นชั่วโมง ๆ

ง่ายไหมครับท่านมือใหม่วิธีฝึก

///////////////////////////////////////////////

### สิ่งที่ต้องอย่าให้มีในขณะฝึกฝน (Don't) ###

4..อย่าอยากรู้ อย่าบังคับจิตไปที่ต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อการรับรู้สภาวะ เช่น
ต้องการรู้ลมที่ปลายจมูก ก็บังคับจิตไปที่ปลายจมูก
ต้องการรู้การกระทบที่เท้าขณะเดินจงกรม ก็ส่งจิตไปที่เ้ท้าเพื่อต้องการรู้การกระทบ
ต้องการรู้การเคลือนไหวของมือเมื่อเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน ก็ส่งจิตไปที่มือ

5..ในขณะฝึกอย่าได้คิดสิ่งใด ถ้ามีความคิดสิ่งใดเกิดขึ้น ขอให้สลัดความคิดนั้นทิ้งไป อย่าไปใส่ใจมัน ให้กลับมาที่ข้อ 1 / 2 / 3 ที่เขียนไว้ข้างต้น

6..ความเครียด เวลาฝึกฝน สมควรฝีกแบบสบาย ๆ ด้วยความผ่อนคลาย
ฝรั่งเขาพูดว่า Relax Relax Relax

////////////////////////////////////////////

Tips..สำหรับเรื่องการลืมตาฝึกฝน
การลืมตาฝึกฝน เป็นสิ่งที่เหมือนจริงในชีวิตประจำวันของท่านมือใหม่ ผมแนะนำให้ท่านมือใหม่ฝึกด้วยการลืมตา ไม่ต้องหลับตา ทีนี้เมื่อลืมตาฝึกฝนนั้น มีหลักการง่าย ๆ ก็คือ
เพียงลืมตาขึ้นเฉยๆ ไม่ต้องอยากมองอะไร เท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว

ขอให้ท่านมือใหม่ สัีงเกตด้วยว่า เมื่อท่านมือใหม่ เพียงลืมตาขึ้นเฉยๆ ไม่ต้องการมองอะไรเป็นพิเศษ ภาพทีท่านมือใหม่จะเห็น จะเป็นแบบภาพที่เป็นมุมกว้่าง ๆ

//////////////////////////////////////////

ผมขอเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การฝึกฝนสติัปัฏฐาน 4
นั้นก็เพื่อการมีสัมมาสติและสัมมาสมาธิที่ั้ตั้งมั่น ไม่ใช่การไปทำจิตให้นิ่งแบบที่คนทั่ว ๆ ไปเขาพูดกัน

เมื่อสัมมาสติและสัมมาสมาธิที่ั้ตั้งมั่นแล้ว ก็จะพบเห็นกับสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
ดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวและมีปรากฏไว้ในพระไตรปิฏก

เชื่อพระพุทธเจ้าแล้วไม่ผิด พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ทำจิตให้นิ่ง
การทำจิตให้นิ่ง นั่นมันเหล่าฤาษีดาบสสอน ไม่ใช่พระพุทธเจ้าสอนครับ




Create Date : 03 ตุลาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:58:38 น. 10 comments
Counter : 2051 Pageviews.

 
ขอบคุณข้อมูลครับ


โดย: หน่อย - ตั้ม (tumauto ) วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:9:21:38 น.  

 
ขอเสนอแนะครับ
อธิบายดีมากสำหรับ
ผู้ที่อยากจะเริ่มทำ
เพราะ มีความทุกข์

แต่สำหรับ คนปกติไม่ทุกข์
คือ มันยากที่จะอยากทำ

เพราะว่า มือใหม่ จะ
เชื่อว่า เค้าก็รู้ตัวอยู่แล้ว ทำไปทำไม
ได้อะไรหนะ

ความยากไม่ใช่อยู่ที่ กระทำ
แต่อยู่ที่ ให้อยากทำ มากกว่า


โดย: billy IP: 119.46.176.222 วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:9:55:59 น.  

 
Blog นี้ ผมพร้อมเสมอจะช่วยเหลือ สนับสนุน สำหรับคนที่เห็นคุณค่า
ในวิชาของพระพุทธเจ้า


โดย: นมสิการ วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:10:29:19 น.  

 
อนุโมทนาสาธุ ท่าน มนสิการครับ


โดย: shadee829 วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:12:48:26 น.  

 
ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตที่ปรารถนาจะสงเคราะห์ในฐานะเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายจะได้ทดลองฝึกเพื่อเดินทางไปลิ้มรสแห่งธรรม ตามที่ท่าน "นมสิการ" ได้ไปพบมาก่อน โดยมีป้ายบอกทางเดินอย่างชัดเจน ซึงนับว่าเป็นประโยชน์ครับ.


โดย: PoohPP IP: 118.173.241.24 วันที่: 4 ตุลาคม 2553 เวลา:8:41:11 น.  

 
บางทีคนที่ไม่รู้คุณค่า
อาจเป็นเพราะเค้าไม่ได้
สร้างสมบุญ ทาน บารมี
เพียงพอ ที่จะ รู้คุณค่า

บางทีของอยู่ตรงหน้าแท้ๆ
เค้าก็ไม่รู้คุณค่า

มีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น
ที่รู้คุณค่า ไม่งั้นคนก็เป็น
คนดีกันหมด นี่กระมังผล
ของกรรม บางคนเห็นธรรมได้ง่าย
บางคนเห็นธรรมได้ยาก

แค่มาสนใจธรรม ก็แสดงว่า
คงได้สั่งสมกรรมดี บุญ มา
เพียงพอ เพื่อมาพบ ธรรมที่
ถูกที่ควรแล้ว


โดย: billy IP: 119.46.176.222 วันที่: 4 ตุลาคม 2553 เวลา:17:08:38 น.  

 
ได้อ่านทบทวนแล้วเป็นข้อแนะนำสำหรับมือใหม่(จริง ๆ) ที่ดีมาก ความจริงในทางโลกกับทางธรรมนั้นเหมือนกัน

การให้ความรู้ธรรมแก่ผู้ที่สนใจ(ทำ)นั้นการอยู่ในสมณเพศจะมีข้อจำกัดอยู่บางประการ เคยอ่านผ่านๆว่าหลวงพ่อเทียนท่านเคยคิดจะสึกเพราะว่าเมื่อสมัยเป็นฆราวาสท่านสอนญาติโยมได้ถนัดกว่า

สำหรับผมนั้นจะอยู่ในเพศใดก็ได้ ขอให้(มีเวลา)แนะนำแล้วเดินทางต่อไปได้นับว่าเพียงพอแล้ว

ขอขอบคุณและอนุโมทนากับท่าน "นมสิการ" ที่สละเวลาจัดทำ Blog ด้วยเล็งเห็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้มาพบเห็น/อ่าน และแม้แต่เพียง "คนเดียว" ก็ตาม ต่อไปอาจจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ๆได้สมเจตนาของท่าน "จขบ."


โดย: ลุง 'บุรีราช' IP: 125.27.179.238 วันที่: 5 ตุลาคม 2553 เวลา:7:41:59 น.  

 
ข้อ 5 ที่ว่า 'ขอให้สลัดความคิดนั้นทิ้งไป' สำหรับผมแล้วรู้สึกกายอย่างเดียว บางทีคิดไปต่างๆยังไม่รู้เลย บางทีรู้บางทีก็ไม่รู้ คือไม่ค่อยสนใจความคิดนั่นเอง ไม่สนใจที่จะตัดความคิดทิ้งไป แบบนี้ได้เปล่าครับ

ส่วนเรื่องความอยากปฏิบัตินั้นผมพบว่ามันนำมาซึ่งความจงใจ ผมเพิ่งจะสังเกตุตัวเองเมื่อไม่นานนี้เองเพราะสงสัยว่าทำไมมันรู้สึกไม่โล่ง พอดีได้ฟังเทศน์เรื่องความอยากปฏิบัติเลยดูตัวเองเลยรู้ ผมเลยทำใจสบายๆแบบปฏิบัติไม่หวังผลตัดใจทิ้งความคาดหวังต่างๆ ผมพบว่าใจมันเบาขึ้นเหมือนลอยๆแต่พอเอามือลูบแขนมันกลับรู้สึกชัดและเป็นธรรมชาติขึ้นมาเอง แต่ว่ากลับไม่รู้สึกยินดีในความรู้สึกนั้น มันเฉยๆ ซึ่งอาการแบบนี้มันเกิดขึ้นไม่นานเท่าไหร่นัก ความรู้สึกอยากปฏิบัติหรือความจงใจที่เคยทำมามันก็ไหลเข้ามาอีกและมาเองซึ่งผมไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรทั้งๆที่ทำใจสบายๆไม่หวังผลแล้ว จากนั้นผมก็มาเดินจงกรมโดยทำสบายๆแต่อาการความอยากดังกล่าวมันก็กลับมาอีกเป็นพักๆอาการของมันคือร้อนที่ระหว่างหน้าอกกับท้องมันอัดขึ้นมาเองจนออกอาการร้อนจนผมอยากจะร้องออกมาเลยทีเดียว ซึ่งผมไม่รู้ว่าเพราะอะไร

เมื่อตอนที่ผมตั้งใจหรือจงใจอยากดูความคิดโดยการเดินจงกรม ผมจะเริ่มเห็นความคิดผุดขึ้นมาเรื่อยๆแม้แต่มองต้นไม้มันยังคิด เมื่อเริ่มเห็นผลก็คือความตื่นเต้นดีใจกับผลที่ได้รับ แต่สุดท้ายก็หายไปหมด
แต่เมือผมปล่อยแบบไม่หวังผลเมื่อเห็นความรู้สึกตัวชัด แต่ว่ามันรู้สึกเฉยๆไม่ได้ตื่นเต้นอะไร



ผมพบว่า
เมื่อมีความอยากปฏิบัติทำให้เกิดความจงหวังผลและจงใจ
เมื่ออยากแล้วไม่สมอยากทำให้เกิดพยาบาทคือความขุ่นใจ ความขัดเคืองใจ พร้อมทั้งความสงสัยต่างๆไม่มีที่สิ้นสุด

การปฏิบัติมันยากตรงนี้ครับ คือยากที่จะปล่อยนั่นเอง เพราะธรรมชาติของคนเมื่อทำการงานอะไรต้องมีความอยากและความตั้งใจ จงใจ จึงจะสำเร็จผล แต่นี่มันตรงข้ามกัน

เมื่อผมปล่อยใจสบายๆบางครั้งมันเหมือนกับลอยๆหลุดไปเลยก็มี แต่ผมก็ต้องเน้นไปทางปฏิบัติแบบสบายๆเข้าไว้เพราะเมื่อก่อนเน้นไปทางเพ่งจงใจซะมากกว่า ถ้าจงใจรู้สึกแม้นิดเดียวผมระรู้สึกว่ามีความอยากแล้วก้เพ่งทันทีเพราะเคยชินมาแบบ และก็พอรู้แล้วว่าอาการอยากปฏิบัติจะมีอาการแบบได และหวังว่ามันจะเข้าตรงกลางพอดีได้ซักวัน




โดย: viroot วันที่: 5 ตุลาคม 2553 เวลา:12:11:54 น.  

 
ตอบ คุณ Viroot

1....ข้อ 5 ที่ว่า 'ขอให้สลัดความคิดนั้นทิ้งไป' สำหรับผมแล้วรู้สึกกายอย่างเดียว บางทีคิดไปต่างๆยังไม่รู้เลย บางทีรู้บางทีก็ไม่รู้ คือไม่ค่อยสนใจความคิดนั่นเอง ไม่สนใจที่จะตัดความคิดทิ้งไป แบบนี้ได้เปล่าครับ

**** ถ้าเรารู้สึกตัวอยู่ แล้ว รู้กายอย่างเดียว ผลที่เกิดขึ้นก็คือว่า ความคิดไม่จะไม่เกิดครับ เพราะว่า ในขณะนั้นจิตมันยังไม่เป็นกลางพอ แต่สำหรับการฝึกฝนสำหรับคนใหม่ ๆ นั้น ก็ใช้ได้ครับ ไม่ผิดครับ

แต่ถ้าคุณฝึกอยู่ ถ้ามีความคิดเกิดขึ้น แต่.ไม่รู้ว่า.มีความคิดเกิดนี่แสดงว่า .ความรู้สึกตัว.ของคุณกำลังมีปัญหาครับ หรือจะพูดว่า คุณไม่รู้สึกตัวก็ได้ เพราะ ถ้าความรู้สึกตัวมีอยู่ และฝึกแบบรู้กายอย่างเดียว ผู้ฝึกจะรู้ว่า มีความรู้สึกทางกายแต่ไม่มีความคิดเกิดขึ้น

ขอให้คุณเริ่มอย่างนี้ครับ อันดับแรก อย่าทำอะไร นั่งเฉยๆ ก่อน
หาพัดลมสักตัวเปิดเบา ๆ ส่ายไปมา ถ้ากลัวจะเ็ซ็ง เปิดเพลงฟังก็ได้ สบาย ๆ

แล้วให้คุณนั่งเฉย ๆ รู้สึกตัวอย่างเดียว ทำใจสบาย ๆ คุณจะสังเกตเห็นว่า
ตาคุณต้องมองเห็นได้
หูก็ได้ยินเสียงเพลง แต่อย่าได้สนใจในเพลง ฟังเหมือนคล้าย ๆ กำลังขับรถ คือ รู้เรื่องแต่ไม่ใส่ใจมัน
พอลมพัดมาโดนกาย คุณต้องรู้สึกได้ถึงลมกระทบ

ถ้าคุณรู้สึกได้แบบนี้ ก็คือ คุณรู้สึกตัวได้แล้ว ขอให้นั่งสักพัก แล้วลองเอามือกำแบ กำแบ คุณจะรู้ึสึกเพิ่มได้ของอาการขณะที่คุณกำแบ กำแบนั้นเพิ่มขึ้นจากตาเห็น หูได้ยิน กายสัมผัสลมได้

การที่ผมบอกอย่างนี้ ก็เพื่อให้คุณรู้จึกความรู้สึกตัวและการฝึกฝนว่าอาการมันจะออกมาอย่างไร ถ้าเข้าใจแล้ว จะฝึกท่าไหนก็ได้ครับ แต่ว่า มันก็จะเหมือนกันที่ว่า ตาก็มองเห็นได้ หูก็ได้ยินอยู่ ถ้ามีลมมาโดนก็รู้สึกได้ และ การรับรู้อื่น ๆ ที่เกิดจากการฝึก

2...บางคนก็ยากครับ เรื่องจิตใจที่ไม่ให้มีความอยากในขณะฝึก แต่ผมแนะนำว่า ขอให้ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปครับ คล้าย ๆ กับหัดขับรถ ต้องหัดบ่อย ๆ จึงจะขับได้คล่อง ที่เล่ามานั้นถูกแล้วครับ ถ้ารู้สึกแล้วไม่อยาก มันจะเบา ๆ สบาย ๆ นี่คือสิ่งที่นักภาวนาสมควรจะฝึกเพื่อให้อยู่ในสภาวนะนีได้บ่อย ๆ และเคยชิน และบางครั้ง เมื่อได้พบแล้วถ้าอยากจะพบอีก มันก็จะไม่มาให้พบครับ เพราะมันเป็นความอยากที่ปิดบังสภาวะนี้เอาไว้

บางคนนะครับ ถ้าฝึกแบบว่าต้องมีการทำอะไร เช่น การเดินจงกรม หรือ เคลือนมือ เขาจะฝึกไม่ได้ครับ เพราะว่า การฝึกฝนนั้น เขาไม่สามารถจะตัดเรื่องความอยากฝึกให้ออกไปได้ แต่ถ้าเขาไม่ฝึก เขาเพียงนั่งเฉยๆ สบาย ๆ อย่างที่ผมเขียนไว้ในข้อ 1ข้างบน เขากลับรู้สึกตัวได้ดีกว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ขอให้ใช้แบบไม่ฝึกตามข้อ 1 ที่เขียนไว้ก่อนก็ได้สำหรับการเริ่มต้น แต่พอกำลังจิตเขา่ดีขึ้น เขาจะรู้จักการฝึกที่ไร้อยากอยู่ในจิตใจได้ ค่อยมาฝึกฝนในรูปแบบต่อไปอีกครับ



โดย: นมสิการ วันที่: 5 ตุลาคม 2553 เวลา:13:16:20 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:21:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.