รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
การฝึกฝนการปฏิบัตินั้นเพื่ออะไร ได้ประโยชน์อะไร

นี่เป็นพื้นฐานที่ชาวพุทธที่สนใจการปฏิบัติธรรมสมควรเข้าใจให้ตรงก่อน
ที่จะลงมือฝึกฝนการปฏิบัติธรรม ถ้าเข้าใจผิดพลาด การฝึกฝนก็จะผิดพลาด

นักปฏิบัติเป็นจำนวนมาก มักเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม คือ การทำให้จิตสงบบ้าง
การนั่งสมาธิบ้าง การดูลมหายใจบ้าง การเดินจงกรมบ้าง การเพ่งกสิณบ้าง
การบริกรรมบ้าง

สิ่งที่เข้าใจดังกล่าวนั้น คือ การเข้าใจที่ไม่ตรงครับ

....ไม่ตรงอย่างไรกัน ใคร ๆ ก็สอนกันอย่างนี้
หลวงปู่ หลวงพ่อ ที่ท่านละสังขาร กระดูกเป็นพระูธาตุ ก็สอนกันอย่างนี้ทั้งนั้น ??

ไม่ตรง คือ สิ่งที่กล่าวถึงข้างบนเป็น เครื่องมือ (tools) ที่ใช้ในการปฏิบัติธรรม
ไม่ใช่จุดมุงหมายในการปฏิบัติธรรม

... ไม่ตรงแล้วไงละ มีผลอย่างไร ??

เมื่อเข้าใจไม่ตรง สมมุิติว่า การดูลมหายใจก็แล้วกัน
นักภาวนาก็มัวจะสนใจแต่การรับรู้ลมหายใจ พอจิตเผลอว๊อกแว๊กไป ก็มาตัดพ้อ
ตนเองทันทีเลยว่า ปฏิบัติไม่ดีเลยวันนี้ จิตว๊อกแว๊กตลอด นี่เพราะเป็นการเข้าใจผิดพลาด
แต่แรก เมื่อผิดพลาดแต่แรก การภาวนาก็ผิดพลาดเพราะเข้าใจเป้าหมายผิดไป
เมื่อผลออกมาเป็นอีกอย่างก็เข้าใจผิดอีกว่า ภาวนาแล้วไม่ดี

.... แล้วที่ถูกเป็นอย่างไรละ ??

้ถ้าท่านเข้าไปอ่านในพระไตรปิฏกในเรื่อง มหาสติปัฏฐานสูตร ขอให้ท่านอ่านหัวเรื่อง
ก่อนที่ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ชัดเจนแจ่มแจ้งเลยว่า

ให้มีความเพียร-มีสัมปชัญญะ-มีสติ เพื่อ ขจัดความพอใจและไม่พอใจในโลกลงเสียได้

//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1754&Z=2150

นี่คือเป้าหมายหลักที่นักภาวนาสมควรเ้ข้าใจกันก่อนว่า ที่ลงมือฝึกฝนกันอย่างหนักทุกวันก็เพื่อ
สิ่งนี้ (มีสัมปชัญญะ มีสติ) และ การมีสิงนี้ ก็เพื่อ ขจัดความพอใจและไม่พอใจออก

ย้อนกับมาดูอีกที ในกรณีเรื่องดูลมหายใจ ทีนี้ผมจะกล่าวในสิ่งที่นักภาวนาเข้าใจถูกกับคำสอน
นั้นเป็นอย่างไร

การดูลมหายใจนั้น ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาดูลมหายใจ แต่การปฏิบัตินั้นการรับรู้ลมหายใจ จะมาจาก
การมีสัมปชัญญะ แล้ว สติไปรับรู้ลมหายใจเอง เมื่อ นักภาวนาเกิดใจว๊อกแว๊กออกไป จิตไม่ไปรับรู้ลมหายใจอีก แต่ถ้านักภาวนามีสติรู้อยู่ว่า ใจมันว๊อกแว๊กไป ก็จะเข้าใจเองว่า นี่ไม่ใช่การปฏิบัติไม่ดีแต่อย่างไร เพราะถึงใจจะว๊อกแว๊ก แต่ก็ยังมี สัมปชัญญะ มีสติ ที่ยังรับรู้อาการใจทีว๊อกแ๊ว๊กไปได้อยู่ นักภาวนาก็ไม่เกิดการตัดพ้อตนเองว่า ปฏิบัติไม่ดี เพราะเข้าใจในจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ

อนึ่ง นักภาวนาที่ไม่เข้าใจ การตัดพ้อตนเองว่า วันนี้ภาวนาไม่ดี ก็คือ การที่มีความไม่พอใจ
เกิดขึ้นในจิตใจอีกด้วย ยิ่งเป็นการขัดแย้งกับคำสอนในสติปัฏฐานสูตร

ท่านเห็นความแตกต่างไหมครับ ระหว่าง การเ้ข้าใจจุดมุ่งหมาย และการเข้าใจผิดในจุดมุ่งหมายในสติปัฏฐานสูตร

ว่าจะกล่าวกันไป เมื่อพระพุทธองค์บอกจุดมุ่งหมายแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงบอกเครื่องมือ
ในการลงมือปฏิบัติให้แก่ชาวพุทธอีกด้วย ซึ่งก็คือ หมวดต่างๆ ในสติปัฏฐานสูตร นั่นเอง

ในการปฏิบัติจริง ๆ ในหมวดต่าง ๆ ของสติปัฏฐานนั้น เมื่อนักภาวนาลงมือปฏิบัติในหมวดใดหมวดหนึ่้ง หมวดอื่น ๆก็จะมาด้วยเสมอ ไม่ใช่่ว่า จะปฏิบัติมีเพียงหมวดเดียว

ผมยกตัวอย่างให้ดู

ถ้านักภาวนานั่งดูลมหายใจ อันเป็นหมวดกาย
เมื่อเขานั่งอยู่ ขาปวดเมื่อย นี่เป็นหมวดเวทนา
ถ้าใจเขาว๊อกแว๊กไป เขาก็รู้ นี่เป็นหมวดจิต
เมื่อจิตเขาหยุดว๊อกแว๊กลง เขาก็รู้ นี่เ็ป็นหมวดธรรม

ท่านจะเห็นว่า ถ้าท่านเข้าใจจุดประสงค์ของการภาวนาเสียแล้ว
หมวดอะไรในสติปัฏฐาน มันก็สักแต่ว่าเป็นเครื่องมือให้สติเข้าไปรู้เท่านั้น

*************

.... ทีนี้ ท่านอาจสงสัยว่า การปฏิบัติอย่างนี้ จะำนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

ผมจะชี้ให้ท่านเห็น

การปฏิบัตินั้น จุดมุ่งหมาย เพื่อให้มี สัมปชัญญะก็คือ ความรู้สึกตัว และมีสติ
จะต้องมีพร้อมทั้ง 2 อย่างจึงจะใช้ได้

ท่านเคยโกรธใครไหมครับ ในขณะที่ท่านโกรธ ท่านจะรู้ว่า ฉันนี่โกรธแล้วนะ
โกรธมันไม่ดีนะ แต่ฉันก็หยุดโกรธไม่ได้ด้วย

ท่านเคยอกหักไหมครับ ท่านก็จะรู้ว่า การอกหักนี่ทุกข์จริงๆ ฉันอกหักแล้วนะ
อกหักไม่ดีเลย แต่ฉันก็หยุดมันไม่ได้ด้วย

และอารมณ์อื่นๆ อีกมาก ที่ท่านเป็นแล้วรู้ว่าไม่ดี แต่ก็หยุดไม่ได้

**** ที่ท่านหยุดไม่ได้ เพราะว่า กำลังสติของท่านมันอ่อนครับ ****
**** ถ้่ากำลังสติของท่านแข็ง ท่านจะหยุดอาการเหล่านี้ได้ครับ ****

อาการทีกำัลังของสติแข็ง ที่ใช้หยุดอาการเหล่านี้ได้นั้นจะต้องประกอบด้วย 2 อย่าง
คือ 1.การมีความรู้สึกตัว 2. การมีสติที่แข็งแรง

ซึ่งถ้าท่านหมั่นฝึกฝนด้วยเครื่องมือในสติปัฏฐานสูตร ก็เท่ากับเป็นการหมั่นเติมไวตามิน
เข้าไปในจิตใจท่าน ให้ทวีขึ้นใน 1.การมีความรู้สึกตัว 2. การมีสติที่แข็งแรง
แล้วท่านจะสามารถกำจัดอาการพอใจและไม่พอใจออกจากจิตใจของท่านได้อย่างง่ายดาย
มาก ถ้าท่านแข็งแรงพอ







Create Date : 26 สิงหาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:02:20 น. 5 comments
Counter : 1056 Pageviews.

 
สาธุครับ ทำได้แม้เพียงเล็กน้อยความทุกข์ก้กระเด็นไปพอสมวรเลยครับ conferm


โดย: เก่ง ชัยนาท IP: 223.206.7.210 วันที่: 26 สิงหาคม 2553 เวลา:14:27:22 น.  

 
ขออนุโมทนาครับ

เจริญอานาปานสติไม่ใช่ให้ไปรู้ลมหายอย่างเดียว




โดย: palmgang IP: 119.42.74.180 วันที่: 26 สิงหาคม 2553 เวลา:14:49:42 น.  

 
โมทนาค่ะ ขอบคุณนะคะ





โดย: ธัมมทีโป IP: 118.174.59.27 วันที่: 26 สิงหาคม 2553 เวลา:21:57:56 น.  

 
อนุโมทนา ปัญญาในครั้งนี้ อ่านแล้ว กระจ่างใจจริงๆค่ะ
เห็นจริงตาม ที่บอกทุกประการค่ะ ก่อนหน้านี้ เคยสงสัยตัวเอง ว่าทำไมเรา เรานั่งสมาธิมา แต่เราห้ามโทสะ โมหะ ไม่ได้เรย รู้ว่า โกรธ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เป็นทาส โทสะ มา 38 ปี ไม่เคยคิดว่า โกรธ เป็นความทุกข์ ทรมานเลยค่ะ

จนกระทั่ง มาเจริญสติ ตามคำสอน ลพ.ปราโมทย์ ฝึกให้จิตเป็นเพียง ผู้ดู สภาวะอารมณ์ต่างๆ ให้ดูจนเห็น ไตรลักษณ์ เห็นอย่างเดียว ไม่เข้าไปแทรกแทรง เพราะจิต ไม่ใช่ของเรา ห้ามไม่ได้ฝืนไม่ได้ ปล่อยให้เค้าแสดง อาการให้เราดู เห็นว่า ความโกรธ เกิดขึ้นเร็วมาก ทรมานเมื่อตั้งอยู่ และดับไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เห็นสภาวะทางจิต และ ทางกาย ว่ามันร้อน มันทรมานแค่ไหน

ไม่อยากเชื่อเลยค่ะว่า เราอยู่กับความทรมานนี้มาได้ยังไง 38 ปี เพิ่งเห็นความน่ากลัวของความโกรธ เพิ่งเห็น โมหะ ว่าหลงไปนานแค่ไหน เห็นว่าจิตวิ่งเข้าไปปรุงแต่ง เหมือนวิ่งไปเอาน้ำมันมาราดตัวเอง

วันนี้ กลายเป็นคนกลัวความ โกรธ พอรู้สึกว่า จิตวิ่งไปแตะ ปัจจัยให้โกรธ แล้วรู้ทันทีค่ะ รู้แล้ว ก็มองดูเฉยๆ ไม่ปรุงแต่ง ไม่แทรกแทรง จิตจะมีการทรงตัวของโทสะ อีกไม่นาน ก็ดับไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
วันนี้ ต้อง กราบขอบพระคุณ หลวงพ่อปราโมทย์ ที่ทำให้ ดิฉัน มีความสุขและ มีสติในการดำเนินชีวิต อย่างแท้จริงค่ะ แต่ก็ยังรู้ตัวอีกเหมือนกันค่ะว่า ตัวเองมีปัญญาเพียงถ้วยน้ำใบเล็กๆ แต่มีความโง่เท่าตุ่มใบใหญ่ๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้า ใสเย็นดังสายน้ำ เราเพียงได้แต่เพียรพยายาม เป็นถ้วยเปล่าที่ขยันตักน้ำ เผื่อซักวันจะเต็มตุ่มใบใหญ่ซักที


โดย: pitimon IP: 183.89.218.118 วันที่: 27 สิงหาคม 2553 เวลา:19:32:45 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:26:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.