รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
16 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
การฝึกฝนกรรมฐานนั้น ต้องฝึกด้วยอาการผ่อนคลาย

มีท่านผู้อ่านเขียนถึงผมว่า เขาได้อ่านเรื่องใน blog แล้ว
ไปทดลองปฏิบัติดู วันแรก รู้สึกถึงการปฏิบัิิติได้ผลดี
แต่วันต่อมา ไม่ดีเหมือนวันแรก ทำอย่างไรก็ไม่ได้อีก ขอคำแนะนำ

ท่านผู้อ่านครับ นี่คือความจริงแห่งสภาวะของสังขารธรรม
คือ ธรรมที่ยังมีการปรุงแต่ง มีการแปรปรวน มันจะไม่นิ่ง
เมื่อวันนี้ดี พรุ่งนี้ก็อาจไม่ดีเหมือนเมื่อวาน แล้ววันต่อไป
ก็อาจดีกว่าวันโน้นอีก มันจะวนเวียนไปอย่างนี้ตลอด

ถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านก็จะเกิดการเบื่อหน่ายว่า ทำแล้วไม่ได้ดี
นี่เป็นเพราะท่านกำลังมีความอยากให้มันดี เมื่อมันไม่ได้ดั่งใจท่าน
ท่านเลยเบื้อ ท้อแท้ ผมไม่อยากใช้คำว่า .มาร. มันมาหลอกท่าน
แต่ถ้าผมใช้แล้ว ท่านเข้าใจได้ดีกว่าคำพูดอื่น ก็ขอให้ท่านเข้าใจ
ดังนั้นก็ได้ว่า .มาร.มันมาหลอกให้ท่านเบื่อ ท้อแท้

แต่ในความเป็นจริง ถ้าท่านฉุกคิดขึ้นมาว่า อ๋อ นี่เอง
ที่พระพุทธองค์ท่านบอกว่า สัพเพ สังขาร อนัตตา
มันไม่เที่ยงอย่างนี้เอง เมื่อวานนี้ดี วันนี้แย่ เพราะมันเป็น
อย่างนี้เอง นี่ท่านอาจคิดเหมือนได้ว่า .เทพ.มาบอกท่านเรื่องธรรม
แล้ว ให้ท่านเห็นธรรมของจริง ๆ เลย ไม่ใช่การคิดเอาเอง

เืรื่องเดียวกัน สิ่งเดียวกัน จะเป็น.มาร.ก็ได้ ถ้ามีตัณหาเข้าแทรก
จะเป็น.เทพ.ก็ได้ เมื่อมีปัญญาผสม

ในการฝึกฝนกรรมฐานนั้น ท่านสมควรฝึกด้วยอาการผ่อนคลายและมีสัมมาสติ
กำกับอยู่เสมอ มันจะดี ไม่ดี ไม่ใช่เรื่องของท่านเลย
แต่เป็นเรื่องของการมีปัจจัย การปรุงแต่งต่าง ๆ
ถ้าท่านฝึกด้วยความอยาก มันก็จะเข้าทางแห่ง.มาร.อย่างไม่รู้ตัว

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่่อง อริยสัจจ์ 4 ในอริยสัจจ์ข้อที่ 2 ว่า
ตัณหา คือสมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ถ้าท่านฝึกแบบมีความอยาก
ไม่ผ่อนคลาย ฝึกด้วยตัณหา ท่านจะทุกข์ไปกับการฝึก

เป้าหมายสุดท้่ายแห่งการฝึกฝนนั้น คือ การทำลายความรู้สึกที่เป็น
อัตตาตัวตนให้พังพินาศ ซึ่งแน่นอนว่า การทำลายตัณหาได้นั้น
จะทำให้อัตตาตัวตนพังไปเอง

ขอให้ท่านหมั่นฝึกฝนด้วยความถูกต้องที่ประกอบด้วยสัมมาสติ สัมมาสมาธิ
และฝึกด้วยอาการผ่อนคลาย
นี่คือการสร้างเหตุทีีตรง ผลการฝึกจะดีไม่ดี มันเป็นผล
ีที่ยังมีการแปรปรวน ท่านไม่สมควรไปยึดมั่นกับมันเลย
การหัดไม่ยึดมั่นกับผลแห่งการฝึก ก็เหมือนหัดการ
ปล่อยวางเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ท่านติดนิสัยในการ
ทำลายอัตตาตัวตนของท่านนั้นเอง




Create Date : 16 กรกฎาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:07:17 น. 13 comments
Counter : 1019 Pageviews.

 
ทดสอบ


โดย: นมสิการ วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:02:55 น.  

 
อนุโมทนาครับสาธุ


โดย: ชาดี (shadee829 ) วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:04:07 น.  

 
อนุโมทนา


โดย: ปลาน้ำใส วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:41:23 น.  

 
รบกวนสอบถามคุณ นมสิการ....ว่าสิ่งที่คิดถูกต้องหรือไม่

เราเคยปฏิบัติมาหลายแบบ ไม่มีปัญหาอะไร...

เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา เพิ่งไปฟังเขาสอนเรื่องอภิธรรม

เรื่องทิฐิมานะ การถือตัวตน...ฟังแล้วปวดหัวจนไมเกรนขึ้น เพราะคิดตามเขาเพื่อให้เข้าใจ ศัพท์อภิธรรม มีความรู้สึกว่า ถกเถียงกันเพื่ออะไร ทำไมหาความจริงกันจริงจังขนาดนั้น....ฟังแล้วเครียด ดูเป็นทฤษฏีหลักการเต็มไปหมด

จะถามว่า....หากเราเรียนปฏิบัติ ฟังจากครูบาอาจารย์ รู้อภิธรรมจากตำรา...ไม่จำเป็นต้องไปเรียน หรือไม่จำเป็นต้องรู้อภิธรรม จะได้ไหมถ้าเราจะรู้เฉพาะตัวเรารู้ว่าทำ คิด พูด อย่างไร...

รบกวนชี้แนะ แสดงความคิดเห็นด้วย...ขอบพระคุณอย่างสูง





โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:46:16 น.  

 
....ขอสรุปที่จะถามใหม่....

จะถามว่า ถ้าเราปฏิบัติในการรู้ดูกาย จิต เราโดยการปฏิบัติ สมาธิ แบบที่เราทำอยู่ เพียงรู้...ผ่อนคลาย โดยมีการฟังธรรมจากพระสงฆ์ทั่วไปบ้าง พ่อแม่ครูอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติตามสมควร...จำเป็นหรือไม่ ที่เราต้องเรียนรู้อภิธรรม

และหากจำเป็นต้องรู้อภิธรรมบ้าง ไม่ต้องไปฟังเขาถกเถียงเพื่อหาความจริง จะได้ไหม....เพราะฟังแล้วรู้สึกว่า มันจะไม่ถูกกับจริตของเรา อ่านจากหนังสือไม่มีปัญหาแต่มีปัญหาตรงที่ว่า...ไม่ชอบฟังคนถกเถียงกัน ดูไม่มีประโยชน์

ขอความชี้แนะแนวทางด้วย....ขอบพระคุณอย่างสูง


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:56:22 น.  

 
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในปัจจุบัน คือ ถูกสิ่งที่ตนเรียนรู้นั้นครอบงำ

มีแต่ ธรรมปฏิบัติ เท่านั้นที่สามารถล้างแม้แต่สิ่งที่ตนเรียนรู้


ด้วยบุญบารมีที่เราได้กระทำแล้วตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันนี้ ส่งผลให้เราเข้าถึงสภาวะธรรมใด ขอให้ท่านทั้งหลายได้รับผลแห่งบุญบารมีนั้น เช่นเดียวกันทุกประการเทอญ


โดย: ตามพันธสัญญา IP: 119.46.43.78 วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:15:55 น.  

 
ขอบคุณมากเลยค่ะ

มีหลายครั้งที่เบื่อแล้วก็ท้อแท้เหมือนกันค่ะ

เพิ่งรู้นี่เองว่าความจริงแล้ว มาร เข้าแทรกได้ตลอดเวลา แต่ก็ยังมีธรรมแอบแฝง

หลายครั้งที่เหมือนระลึกได้แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ

พยายามจะผ่อนสายของตัวเองลง แต่มันตึงทุกครั้งเลย

ขอบคุณมากเลยค่ะสำหรับวิธีการปฏิบัติ

ตอนนี้ได้แค่ฝึกรู้กาย ส่วนจิตค่อยว่ากันอีกที เพราะรู้สึกว่ามันจะควบกันไปโดยไม่รู้ตัวเลยค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งจริงๆ นะคะ ^^



โดย: มาโอ (osunu ) วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:16:17 น.  

 
ตอบคุณต้นกล้าแห่งหัวใจ

ผมก็เคยเรียนพระอภิธรรมมา 3 ปี แต่ก็ไม่จบหลักสูตร
เพราะหลักสูตรเขา 9 ปริเฉท ผมเรียนแ่ค่ 3 ปริเฉท
ก็ไม่ได้เรียนต่อ

พระอภิธรรม จะแสดงความละเอียดของกลไกแห่งจิตว่ามันทำงานอย่างไร
ส่วนจำเป็นหรือไม่ อันนี้แล้วแต่บุคคลครับ แต่ตัวผมเองนั้น ผมเห็นว่า ไม่จำเป็น แต่เมื่อเราเรียนมา แล้วลืมมันซะ เวลาเราปฏิบัติออกมา ผลของมันจะเหมือนกับตำราในอภิธรรม แต่ในขณะที่เราเรียน เราจะไม่เข้าใจในตำรา เพราะเราไม่รู้จักมันนั้นเอง

ผมจะเปรียบเทียบกับการขับรถ คนที่ขับรถไม่เป็น ก็ไปเรียนขับรถ
ครูเขาจะสอน ว่าให้เหยียบคลั๊ซแล้วเข้าเกียร์ก่อน มิฉะนั้นเกียร์จะขบกัน
แล้วเสีย แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลั๊ซแล้วเหยียบคันเร่ง รถก็จะวิ่งได้
นี่คือการปฏิบัติการขับรถ แต่ในอภิธรรมจะอธิบายละเอียดลงไปว่า
เมื่อเราเหยียบคลั๊ซ จะเกิดกลไกตัวไหนทำงานบ้าง พอเราเหรียบคันเร่ง
ตัวไหนจะทำงาน เมื่อเรารู้อย่างนี้ จะช่วยเสริมให้เราขับรถได้ดีขึ้น
เพราะเราเข้าใจกลใกแห่งรถนั้นเอง
แต่คนที่เขาไม่รู้กลไกของรถอย่างลึกซึ้ง เขาเรียนแต่ขับอย่างเดียวเขาก็ขับได้ แต่คนที่เรียนกลไกรถอย่างเดียว ไม่หัดขับรถ เขาก็จะขับไม่ได้
เพราะไม่เคยฝึกฝนการขับรถนั้นเอง คือ รู้แต่ทฤษฏี แต่ปฏิบัติไม่ได้ครับ

ที่ผมไปเรียนมา ผมรู้สึกว่า ปริเฉทที่ 4 จะดีมาก ๆสำหรับการปฏิบัติ
เพราะมันจะเข้าถึงความเป็นปรมัตถ์ธรรม และเมื่อเราฝึกเห็นการทำงานของวิญญาณขันธ์ เราจะเข้าใจได้ดีมาก ๆ เพราะมันช่วยเสริมกัน
แต่ขณะที่เรียน ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน มาเข้าใจอีกทีก็ตอนเห็น
จากการปฏิบัตินี่แหละ


โดย: นมสิการ วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:50:54 น.  

 
ปฏิบัติ ควบคู่กันไปก็น่าจะได้เน๊อะ....เด็กศิลป์ อย่างเรา ไม่เก่งเหมือน เด็กวิทย์ (ทฤษฏีแน่นปึ๊ก)
ที่ผ่านมาเรามาปฏิบัติดูสภาพของอารมณ์ รู้ ตาม ทันบ้างไม่ทันบ้าง เผลอไปเล้ว อ้าว...เริ่มใหม่...ยอมรับว่าได้อะไรจากการปฏิบัตินะ...ทั้งจากคนที่เราสอนเขา และจากที่เราทำเอง

วันนั้นก็ถาม อาจารย์ที่สอนอภิธรรมเขาอยู่เหมือนกัน
ว่า ปัญหาเกิดขึ้นตอนนี้ต้องการการแก้ไข ณ ปัจจุบัน....
หากศึกษาอภิธรรมจะแก้ปัญหาได้เมื่อไหร่....ท่านตอบอยู่ครึ่งชั่วโมง....
สรุปตามที่เราเข้าใจ คือให้วาง แล้วว่างทุกอย่างมีเกิดมีดับ

เหมือนที่คุณนมสิการ บอกคือจุดหมายเหมือนกัน แต่ต่างกันที่วิธี....เราก็เลือกวิธีไหน...อยู่ที่เรา ที่สำคัญถ้ารู้แล้วต้องทำ มันก็ทำให้ถึงจุดหมายได้....

เวลาขับรถมันก็ต้องวางตำราลง คงทำไม่ได้ถ้ากางตำราแล้วขับรถ ตำราคงบังถนนหนทาง....อาจจะขับไม่ถึงที่หมายอย่างปลอดภัยก็ได้ อิอิ

อยากให้การคุยทางธรรมะ เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ฟังได้ คุยกันได้...ไม่ต้องซีเรียส มากกว่า...

เป็นเด็กน้อยในธรรม มิใช่ ผู้คงแก่เรียน...มันคงดีกว่านะ

ขอบพระคุณ...คุณนมสิการ+คุณตามพันธสัญญา มา ณ ที่นี้ ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน....


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:57:25 น.  

 
เรื่องการวางนั้น นั้นคือทฤษฏีครับ แต่ถูกต้อง
แต่ในความเป็นจริงนั้น มันขึ้นกับระดับของตัณหาในจิตใจว่ามากหรือน้อย

ถ้าเรื่องใด ตัณหา หนักแน่นหนาปึ๊ก มัีนก็วางไม่ได้ หรือ วางยากมาก
เช่น หญิงสาวที่แต่งงานพอรู้ว่า สามีไปมีภรรยาคนอื่น อย่างนี้ก็วางยากมาก
แต่ถ้าเรื่องใด ตัณหา มันเบาบาง มันก็วางได้ไม่ยากนัก เช่น เพื่อนยืมเงินไป 20 บาท เขาไม่ยอมคืน ก็วางได้ง่าย

การฝึกฝน สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่แหละ จะทำเป็นตัวเกลาให้ ตัณหา
ในจิตใจ มันบางลง ยิ่งมีสัมมาสติ ตั้งมั่นแน่นปั๋งเท่าใด ตัณหา เข้าไม่ได้เลย เมื่อ ตัณหามันถูกสัมมาสติขัดเกลาให้บางลงเรื่อย ๆ
พอถึงจุดหนึ่ง ตัณหามันขาดกระเด็นออก ตอนนั้นแหละ ไม่ต้องวางอีกแล้ว เพราะไม่มีอะไรเป็นตัวยึดนั้นเอง


โดย: นมสิการ วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:21:21 น.  

 
มันเป็นเช่นนั้นแล....มันเป็นเช่นนี้เอง...เด๋ววันจันทร์มาอ่านต่อนะ...เสาร์อาทิตย์ ขอให้มีความสุข...แล้วจะไปปฏิบัติธรรมด้วยความตั้งใจ จะได้เอาบุญมาฝากเยอะ ๆๆๆๆๆ ให้ประเทศ รามีความสุข....


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:23:46 น.  

 
...แวะมาอ่านค่ะ ปฎิบัติได้บ้างไม่ได้บ้างค่ะ แต่ก้อพยายามเจียดเวลาค่ะ ...


โดย: คนดีคนเก่ง วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:26:04 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:36:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.