รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 

สัมมาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่น ไม่ใช่ไปทำจิตให้นิ่ง ฉบับชาวบ้านอ่าน

คงเป็นเวรกรรมของคนไทยกระมัง ที่คนไทยที่รักพุทธศาสนาเกือบทั้งประเทศ
เข้าใจกันว่า การทำสมาธิแบบพระพุทธเจ้า คือ การทำให้จิตนิ่ง
แล้วก็หลงไปทำสมาธิแบบจิตนิ่งกันอย่างแพร่หลาย

เืมื่อเจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนวิชากับฤาษี 2 ท่าน จนสำเร็จวิชาสมาบัติ 8
วิชาที่เ้จ้าชายไปเรียนคือการเข้าฌานแบบทำจิตให้นิ่ง
ต่อมาเจ้าชายก็ทรงปัญญา ทราบความจริงว่า วิชาแบบนี้ ไม่ใช่หนทางแห่ง
การพ้นทุกข์ จึงได้ออกไปแสวงหาโมกขธรรมด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้
และค้นพบทางสายกลาง ดังมีปรากฏในพระไตรปิฏกให้อ่านกันในปัจจุบัน

ท่านผู้อ่านครับ สมาธิแบบพุทธ คือ สมาธิที่จิตตั้งมั่น ไม่ใช่จิตนิ่งครับ

ผมมีเขียนเรื่องนี้ไว้บ้างแล้วที่ เรื่อง
สมาธิ ภาค 1
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=02&group=8&gblog=53
สมาธิ ภาค 2
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=04&group=8&gblog=55

ในบทนี้ ผมจะเขียนซ้ำอีกครั้ง โดยการยกตัวอย่างให้เข้าใจมากขึ้น เพื่อการปฏิบัติจะได้
ตรงทางในแนวพุทธ

สมมุติว่า ตัวท่านชื่อ นายจิต ท่านมีเพื่อนอยู่ 6 คน ชื่อ
1.วิญญาณทางตา 2.วิญญาณทางหู 3.วิญญาณทางจมูก
4.วิญญาณทางลิ้น 5.วิญญาณทางกาย 6.นายคิดฟุ่งซ่าน

เพื่อนทั้ง 6 คนของท่าน มีนิสัยอย่างหนึ่ง ก็คือ ชอบเที่ยวเตร่นอกบ้านเสมอ
และเพื่อนทั้ง 6 นี้ก็รักท่านมาก พอจะไปเที่ยวก็มักจะมาชวนท่านเสมอ ๆ

เมื่อท่านมาอยู่หอพักในกรุงเทพ ห่างพ่อแม่ พอเพื่อนคนใดคนหนึ่งใน 6 คนมาชวนท่านไปเที่ยว
ท่านก็จะตอบตกลงทัีนที และก็ออกจากหอพักไปเีที่ยวเตร่กับเพื่อนคนใดคนหนึ่งเสมอ
เรียกว่า ไม่เคยขัดศรัทธาเพื่อนเลย

เรียกได้ว่า ถ้าเห็นท่านคือ นายจิต ก็จะต้องเห็นเพื่อนคนใดคนหนี่งเสมอ ๆ ไม่เคยขาด
ท่านและเพื่อน จะสนิทสนมแบบชิดแบบปลาท่องโก๋ ไปไหนไปด้วยกันเสมอ

อาการแบบนี้ เปรียบได้กับ สมาธิแบบจิตนิ่งแบบฤาษี ครับ
กล่าวคือ ตัวจิตจะวิ่งแนบชิดกับวิญญาณตัวใดตัวหนึ่ง ไม่ขาดจากกัน

เมื่อท่านดูลมหายใจ เมื่อท่านส่งจิตไปที่จมูกเพื่อพยายามรับรู้ลม
จิตของท่านก็จะวิ่งไปแนบชิดที่จมูก
เมื่อท่านเดินจงกรม ท่านส่งจิตไปที่เท้าเพื่อพยายามรู้การสัมผัสที่เท้า
จิตของท่านก็จะวิ่งไปแนบชิดที่เท้า

ท่านจะเห็นว่า จิตท่านจะ่ท่องเที่ยวไปตลอดเวลา ด้วยการนำพาของวิญญาณทั้ง 6

นี่คือวงจรอุบาทว์ ทีทำให้เกิด การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ไม่จบสิ้น

ต่อมา เืมื่อพ่อของท่านทราบเรื่องว่า ท่านชอบเที่ยวเตร่กับเพื่อนเสมอ
พ่อของท่าน ชื่อ นายสัมมาสติ ก็ได้เดินทางมาพบท่านและค้างอยู่กับท่านที่หอพักด้วย

เมื่อพ่อของท่าน คือ นายสัมมาสติ มาพักกับตัวท่าน คือ นายจิต
ตอนนี้ จะเป็นว่า จิตจะถูกควบคุมด้วยสัมมาสติ แล้ว

เมื่อเพื่อนของท่านมาเรียกท่านออกไปเที่ยวเหมือนอย่างเคยอีก
พ่อของท่าน คือ นายสัมมาสติ ก็จะควบคุมท่าน คือ นายจิต ไม่ให้ออกไปเที่ยวเหมือนเคย
เมื่อเพื่อนท่านมาเรียกแล้วท่านไม่ไป เขาก็จะกลับบ้านของเขาไปเอง เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป

เมื่อตัวท่าน คือ นายจิต อยู่ที่หอพัก ไม่ออกไปเที่ยวอีก ก็เกิดความคุ้นเคยกับการไม่ออกไปเที่ยว
และเห็นโทษภัยของการออกไปเที่ยวข้างนอก ตัวท่านคือ นายจิต ก็จะเปลี่ยนนิสัยใหม่
ไม่ออกไปเที่ยวอีก พอเพื่อนมาชวน ท่านจะเห็นเพื่อนเสมอว่ามาชวนไปเที่ยวอีกแล้ว แต่ท่านก็ไม่ไปกับเขาอีกแล้ว การที่ท่านอยู่ที่หอพัก ไม่ออกไปเที่ยวข้างนอก นี่คือ อาการของจิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน ซึ่งในที่นี้ หอพัก คือ ฐานของจิต

ท่่านจะมองความต่างออกนะครับว่า

เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน ไม่วิ่งไปวิ่งมาเหมือนก่อน
เมื่อท่านดูลมหายใจ จิตก็จะคงตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน
เมื่อท่านเดินจงกรม จิตก็จะคงตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน
เมื่อท่านฝึกฝนจนเคยชิน ท่านทำอะไร เกิดอะไรขึ้น จิตก็จะยังคงตั้งมั่นอยู่ที่ฐานเสมอ

เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน จิตจะมั่นคง หนักแน่น ไม่แปรปรวนไปมา
นี่คือ อาการของสัมมาสมาธิ อันเป็นสมาธิแบบพุทธศาสนา

เมื่อจิตตั้งมั่น ผลของมันก็คือ การรู้เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
และ ความสามารถในการกำจัดกิเลสอย่างกลางได้
อ่านเรื่อง
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=30-07-2010&group=8&gblog=74


ในการฝึกฝนให้จิตตั้งมั่น ก็คือ ขอให้ท่านฝึกด้วยการมีความรู้สึกตัว อย่าเพ่งจ้องไปยังจุดใด

เมื่อท่านเดินจงกรม ก็คือ เดินด้วยความรู้สึกตัว ท่านจะสัมผัสได้อย่าง.เบา ๆ . ของระบบประสาทต่าง ๆ
ตาก็มองเห็น แต่จิตไม่ไหลออกไปทางตา
หูก็ยังได้ยิน แต่จิตไม่ไหลออกไปทางหู
ร่างกายก็รู้การสัมผัสได้ แต่จิตไม่ไหลออกไปกับการสัมผัสนั้น

เมื่อท่านดูลมหายใจ ก็คือ ให้รู้สึกตัว แล้วรับรู้อาการหายใจที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ
ไม่จ้องส่งจิตไปที่ปลายจมูก หรือ ไปที่ท้อง หรือ ไปที่ลิ้นปี่
ท่านเพียงนั่งเฉยๆ ใจสบาย ๆ แล้วรู้สึกตัว ท่านจะรับรู้อาการหายใจได้เองอย่างเบา ๆ

เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน จิตจะรวมตัวเป็นสัมมาสมาธิที่ทรงพลัง เปล่งแสงของจิตออกมา
ให้ท่านสัมผัสได้ และ กิเลสใด ๆ ก็ไม่สามารถเข้ามาแทรกในจิตใจของท่านได้เลย
แสงสว่างแห่งจิต จะตัดขาดการดึงรั้งยึดเหนี่ยวแห่งวิญญาณ 6 ที่เกิดขึ้นให้ขาดสะบั้น
เมื่อท่านฝึกจนเคยชิน จิตก็เป็นอิสระจากวิญญาณทั้ง 6 ไม่ตกเป็นทาสของมันอีกต่อไป

นี่คือ ผลแห่งสัมมาสมาธิ ที่จิตเป็นอิสระจากวิญญาณ 6






 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2553
17 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:05:14 น.
Counter : 3367 Pageviews.

 

มาอ่านครั้งแรก ชอบมากค่ะ เข้าใจง่าย

ขอบคุณนะคะที่มีข้อเขียนดีๆมาให้อ่าน

 

โดย: Kluaytub 31 กรกฎาคม 2553 11:58:17 น.  

 

เข้ามาอ่านแล้วค่ะ

ช่วงท้ายเรื่องดูลมหายใจ ใช่เลย
เป็นอย่างนั้นจริงๆ

 

โดย: pintip IP: 110.49.193.176 31 กรกฎาคม 2553 12:51:59 น.  

 

โอ้..รสพระธรรมชนะรสทั้งปวง

 

โดย: franky IP: 112.142.100.94 31 กรกฎาคม 2553 16:46:07 น.  

 

Thank you very interesting detail

 

โดย: pinky IP: 112.143.10.97 31 กรกฎาคม 2553 22:01:57 น.  

 

ดูเหมือนขัดๆ กับที่เคยอ่านมา แต่ก็ดูเป็นเหตุเป็นผลนะค่ะ บอกตามตรงนะค่ะ ตรงที่บอกว่า
"เมื่อท่านดูลมหายใจ ก็คือ ให้รู้สึกตัว แล้วรับรู้อาการหายใจที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ
ไม่จ้องส่งจิตไปที่ปลายจมูก หรือ ไปที่ท้อง หรือ ไปที่ลิ้นปี่.."
ถ้าฝึกแบบส่งจิตไปจะกลายเป็นสมถะใช่หรือไม่ แต่ถ้าเป็นแบบที่อาจารย์แนะนำ เป็นการฝึกวิปัสสนาใช่หรือไม่คะ

 

โดย: Mat IP: 58.8.153.120 5 สิงหาคม 2553 22:43:53 น.  

 

รบกวนอีกคำถามหนึ่งค่ะ

"เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน ไม่วิ่งไปวิ่งมาเหมือนก่อน
เมื่อท่านดูลมหายใจ จิตก็จะคงตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน
เมื่อท่านเดินจงกรม จิตก็จะคงตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน
เมื่อท่านฝึกฝนจนเคยชิน ท่านทำอะไร เกิดอะไรขึ้น จิตก็จะยังคงตั้งมั่นอยู่ที่ฐานเสมอ

เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน จิตจะมั่นคง หนักแน่น ไม่แปรปรวนไปมา
นี่คือ อาการของสัมมาสมาธิ อันเป็นสมาธิแบบพุทธศาสนา"

ฐานที่ว่านี้หมายถึงสติปัฏฐาน 4 คือ
ถ้าฐานกาย ก็ดูกาย
ฐานเวทนา ก็ดูเวทนา
ฐานจิต ก็ดู(อาการของ)จิต
ฐานธรรม ก็ดูธรรม
หรือเปล่าคะ
(ขออนุญาตพูดแบบภาษาชาวบ้านนะคะ)
เช่น ถ้าปกติดูลมหายใจ (ดูกาย) อยู่ที่ฐานก็คือรับรู้ลมหายใจตลอดไม่ว่าทำอะไรหรือเปล่าคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 

โดย: Mat (MAT9 ) 5 สิงหาคม 2553 22:52:35 น.  

 

ตอบคุณ Mat

ถ้าเราส่งจิตไปที่ปลายจมูก หรือ ไปทีท้อง หรือ ไปที่ลิ้นปี่ เพื่อที่จะรู้
ลม การส่งจิตนี้ จะเป็นการเคลื่อนจิตออกนอกฐานของจิตไป เมื่อจิตออกนอกฐานไป จิตก็จะไม่ตั้งมั่น เมื่อไม่ตั้งมั่น การแยกตัวระหว่างจิตและสิ่งทีถูกรู้ ก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้น การปฏิบัติก็ไม่ได้ผลในการเข้าถึงธรรม

วิธีส่งจิตไปที่จมูก ที่ท้อง ที่ลิ้นปี่ นี่จะเป็นการฝึกฝนสมาธิแบบฤาษีครับ
ที่พระพุทธองค์ทรงเรียนกับดาบส 2 องค์แล้วก็ทรงทราบว่าวิธีนี้ไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ เป็นสมาธิแบบปลาท่องโก๋ ดังที่เขียนไว้ใน
เรื่อง ของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=02&group=8&gblog=53


เมื่อสมาธิเป็นปลาท่องโก๋ ก็จะไม่มีทางเกิดวิปัสสนาได้เลย

ที่ถามมาว่า ถ้าฝึกโดยการส่งจิตไปทีจมูก ทีท้อง ที่ลิ้นปี่
นี่เป็นสมถะใช่หรือไม่ เรื่องนี้ ผมจะขยายความ
ให้ครับว่า คำว่า สมถะ นั้น คือ ทำจิตให้สงบ ซึ่งมี 2
อย่างด้วยกัน

1.สมถะ เพื่อสนับสนุนวิปัสสนา คือ วิธีการฝึกฝนที่รับรู้ลมหายใจ
ด้วยความรู้สึกตัว อันเป็นธรรมชาติ อย่างนี็็ก็ยังเป็นสมถะ เพราะยังมีการ
จงใจกระทำให้เิกิดอยู่ แต่สมถะอย่างนี้จะดีกว่า เพราะเกื้อหนุนวิปัสสนา
เพราะการทำสมถะแบนี้ จะเป็นการฝึกให้จิตตั้งมั่นในฐานของจิต
เมื่อจิตตั้งมั่นได้แล้ว วิปัสสนาจึงจะเกิดซึ่งจะเกิดในขณะที่ไม่มีการจงใจกระทำใด ๆ เลย

2.สมถะ ที่ไม่เกื้อหนุนวิปัสสนา แต่เป็นการทำสมถะให้จิตสงบลงไป
อันนี้จะใช้สำหรับแก้จิต เวลาที่จิตตกต่ำ เช่น เรากำลังทำงานอยู่
แต่ใจไม่สงบ คิดฟุ่งซ่านตลอด ทำงานไม่ได้เลย ก็ใช้สมถะแบบนี้ได้
คือ ส่งจิตไปที่ปลายจมูกซะ ให้รู้ลมหายใจซะเลย พอทำไปสักหน่อย
ใจก็จะมาอยุ่ทีปลายจมูก การคิดฟุ่งซ่านก็จะน้อยลง หรือหายไปได้
เมื่อใจสงบก็มาทำงานทางโลกได้ต่อไป

อ่านเรื่อง สมถะ วิปัสสนา ในแนวทางที่ตำราไม่กล่าวถึง ภาค 2
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=04-2010&date=20&group=5&gblog=99

 

โดย: นมสิการ 6 สิงหาคม 2553 8:22:24 น.  

 

ที่ว่า จิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐานนั้น

ผมจะหมายถึง ฐานที่อยู่ของจิตครับ
ดังที่ผมอุปมาไว้ในเรื่อง จิตใจ และ 3 ก๊ก
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=06-2009&date=30&group=1&gblog=48

แล้วถ้าจะถามว่า อยู่ที่ไหน อันนี้ตอบอยากครับ
แต่ผมจะแนะนำให้คุณรู้จักกับอาการนี้ได้ว่า จิตอยู่ที่ฐานอาการเป็นอย่างไร

ผมขอให้คุณทำดังนี้ครับ
ให้เปิดพัดลมพัดส่ายไปมา
ให้เปิด TV หรือ วิทยุก็ได้ ให้มีเสียงพอสมควร
จากนั้นให้หายใจเข้าแล้วกลั้่นลมหายใจไว้ัสักครู่

ขอให้คุณสังเกตดู เมื่อคุณกลั้นลมหายใจอยู่

ตาคุณก็มองเห็นสิ่งรอบ ๆ ได้ใช่ไหม
หูคุณก็ได้ยินเสียอยู่ใช่ใหม
เวลาพัดลมพัดมาโดนตัวก็รู้สึกได้ใช่ใหม
จิตใจคุณจะรู้สึกว่ามันนิ่ง ๆ อยู่ใช่ใหม

ในขณะที่คุณรู้ได้หลาย ๆ อย่างนี้แหละครับคือ อาการทีจิต
ตั้งอยู่ที่ฐานแล้ว ทีนี้ขอให้คุณหายใจตามปรกติ

ขอให้เพียงรู้สึกตัว ไม่ต้องอยากรู้อะไรเลย หายใจตามปรกติ
ตาคุณก็มองเห็นได้อยู่ใช่ใหม
หูก็ยังได้ยินอยู่ใช่ใหม
พัดลมพัดมาก็รู้สึกได้อยู่ใช่ใหม
จิตใจก็รู้ว่าไม่มีอะไรอยู่ใช่ใหม

นี่ก็คือจิตตั้งมั่นที่ฐานเช่นกันแต่เป็นไปอย่างธรรมชาติเพราะเีพียงรู้สึกตัวอยู่เท่านั้น และจิตใจสบาย ๆ ไม่มีอความอยาก ไม่มีความต้องการทีจะรุ้อะไรเลย แต่ที่เกิดขึ้นล้วนรุ้ได้เองท้งสิ้น (ตาเห็น หุได้ยิน กายรู้สึก ใจรู้สึก )

ในการฝึกฝนก็ขอให้ฝึกฝนแบบนี้ คือ ตาเห็น หูได้ยิน กายรู้สึก ใจรุ้สึก
และรุ้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ พอฝึกแบบนี้บ่อย จิตจะตั้งมั่นที่ฐานทีละนิดได้เอง

 

โดย: นมสิการ 6 สิงหาคม 2553 8:34:42 น.  

 

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ ตอนนี้ดิฉันฝึกวิธีนี้โดยการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เดิน ดูทีวี หรือขณะที่พิมพ์อยู่นี้ ก็ไม่ได้ส่งจิตทั้่งหมดไปที่ตัวหนังสือ แต่รับรู้ว่าเราหายใจเข้าออกไปด้วย รวมถึงรับรู้ผัสสะอื่นๆ ไปด้วย แต่จะเน้นดูลมหายใจมากกว่าหูฟังเสียง ฯลฯ แต่ไม่ถึงกับว่ารู้ว่าตอนนี้หายใจเข้า หรือ ออกอย่างนี้ เพียงแต่รู้ตัวว่าหายใจอยู่ อย่างไรก็ตาม หากดิฉันนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมจะส่งจิตไปที่ลมหายใจและการเดินไปเลย เพราะขณะนั้นไม่ได้ทำอย่างอื่น ไม่ทราบว่าพอจะถูกทางหรือไม่คะ ขออภัยนะคะ ต้องการทราบวิธีปฏิบัติอย่างละเอียดค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 

โดย: Mat IP: 58.8.160.73 7 สิงหาคม 2553 23:41:57 น.  

 

ดิฉันมีปัญหาที่จิตติดจะขี้เกียจ ไม่ค่อยชอบคิดอะไร คืองานก็ทำไปปกตินะคะ แต่ใจจะไม่ค่อยชอบคิด ขี้เกียจคิด ซึ่งมีผลทำให้ สมองช้า คิดอะไรไม่ทันคนอื่น คิดว่าเป็นเพราะอย่างนี้นะคะ แต่เคยฝึกดูลมหายใจมานานแล้ว จึงจะพยายามอยู่กับลมหายใจ เมื่อจิตไม่มีงานอะไรให้ทำ ดิฉันอยากให้จิตตื่นมากกว่านี้ คือมีความว่องไว คล่องแคล่วกว่านี้ ท่านอาจารย์มีคำแนะนำไหมคะ หรือทำแบบนี้รวมทั้งข้างบนจะช่วยได้ใช่ไหมคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

 

โดย: Mat IP: 58.8.160.73 7 สิงหาคม 2553 23:46:58 น.  

 

ตอบคุณ Mat คำถาม 1
ตอนนี้ดิฉันฝึกวิธีนี้โดยการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เดิน ดูทีวี หรือขณะที่พิมพ์อยู่นี้ ก็ไม่ได้ส่งจิตทั้่งหมดไปที่ตัวหนังสือ แต่รับรู้ว่าเราหายใจเข้าออกไปด้วย รวมถึงรับรู้ผัสสะอื่นๆ ไปด้วย แต่จะเน้นดูลมหายใจมากกว่าหูฟังเสียง ฯลฯ แต่ไม่ถึงกับว่ารู้ว่าตอนนี้หายใจเข้า หรือ ออกอย่างนี้ เพียงแต่รู้ตัวว่าหายใจอยู่

>>>>>>> ตอบคำถาม.. การปฏิบัติอย่างนี้ก็ใช้ได้ครับ และดีครับที่ไปรับรู้กายที่ลมหายใจ สำหรับการฝึกฝนอย่างนี้เพื่อเพิ่มกำลังสัมมาสติ แต่ขอให้เป็นธรรมชาติ ที่รู้สึกผ่อนคลาย อย่าเครียด ก็แล้วกัน

แต่ถ้า คุณฝึกไปมาก ๆ เข้าในอนาคต จนสัมมาสติตั้งมั่นแล้ว ขอให้เีพียงรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติก็พอ ไม่ต้องไปเน้นอะไรเลย เพราะกำลังสติทีตั้งมั่นนั้น มันจะทำให้คุณรับรู้ลมหายใจได้เองโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
การที่ไม่เน้นอะไรเพราะกำลังสัมมาสติตั้งมั่นมาก ๆ นี้ จะทำให้จิตเป็นกลางอย่างแท้จริง แต่ความรู้ที่โผล่งขึ้นมาจากจิต จะโผล่ขึ้นมาได้
เมื่อจิตเป็นกลาง แต่อย่างตั้งความหวังให้ความรู้จากจิตมันโผล่งขึ้นมานะครับ เพราะถ้าตั้งความหวังไว้ มันจะไม่โผล่งเลย เพราะการตั้งความหวัง จิตไม่เป็นกลางนั้นเอง


อย่างไรก็ตาม หากดิฉันนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมจะส่งจิตไปที่ลมหายใจและการเดินไปเลย เพราะขณะนั้นไม่ได้ทำอย่างอื่น ไม่ทราบว่าพอจะถูกทางหรือไม่คะ ขออภัยนะคะ ต้องการทราบวิธีปฏิบัติอย่างละเอียดค่ะ

>>>>> ตอบ.. การส่งจิตไปจับลมหายใจ หรือ การเดินนี้ ขอให้คุณ Mat ดูก่อนว่า ที่ส่งจิตไปที่ลมหายใจนั้น เป็นการส่งจิตไปที่ปลายจมูก หรือ ที่ท้อง หรือ ที่ลิ้นปี่ หรือไม่ ถ้าเป็นการส่งจิตอย่างนี้ .ใช้ไม่ได้.ครับ

แต่ถ้าส่งจิตแล้ว ไม่มีตำแหน่งของกายที่แน่ชัด แต่รับรู้ลมหายใจ คล้าย ๆ มันลอย ๆ อยู่ เพียงแต่รู้ลมหายใจ แต่ไม่รู้ว่า มันอยู่ตำแหน่งแห่งใดในร่างกาย อย่างนี้ .ใช้ได้.ครับ อันนี้เป็นการเน้นลมหายใจ ที่เพิ่มกำลังสัมมาสติในการฝึกตามรูปแบบ

สำหรับการเดินจงกรมก็เช่นกัน ถ้ารับรู้การเดิน โดยส่งจิตไปทีเท้า อย่างนี้ .ใช้ไม่ได้. ครับ แต่เพียงแต่รู้สึกถึงการเคลื่อนการไหว โดยที่ตำแหน่งที่มีการเคลื่อนการไหว มันลอย ๆ อยู่ อย่างนี้ใช้ได้ครับ

ผมขอให้คุณลองอย่างนี้เพื่อความเ้ข้าใจ คำว่า ตำแหน่งทีมันลอย ๆ อยู่
ตอนที่คุณอ่าน blog ผมนี้ ขอให้คุณเอามือไว้ล่าง ๆ อย่าให้ตามองเห็นแล้วให้ตาอ่าน blog ผมนี้ แล้วคุณก็กำมือ แบบมือไปด้วย
คุณจะรุ้สึกได้ถึงการขยับการเคลื่อนไหว อันเนื่องจากการกำมือแบบมือไปด้วยในขณะที่ตาก็อ่าน blog ไปด้วย
อาการที่มันรุ้การขยับการเคลื่อนการไหวเมื่อกำมือแบบมือ ขอให้สังเกต ครับว่า มันจะลอย ๆ ที่ไม่มีตำแหน่งของมืออยู่ด้วย

ถ้าคุณกำมือแบบมือ แล้วรุ้สึกลอย ๆ อย่างนี้ได้ ก็ขอให้ลองเดินจงกรมดูว่า รุ้สึกลอย ๆ ได้ไหม แล้วลองหายใจดู ว่ารุ้สึกลอย ๆ อย่างนี้ได้ไหม ถ้ารุ้สึกได้ถึงลอย ๆ อย่างนี้ ดีมากครับ คุณจับทางได้แล้ว
ขอให้ฝึกลอย ๆ อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ กำลังสัมมาสติ จะตั้งมั่นอย่างรวดเร็วครับ เพราะการฝึกอย่างนี้ จิตมันตั้งมั่้นอยู่ที่ฐานดีแล้ว เพียงฝึกให้ชำนาญเท่านั้น ผลของการฝึกก็จะตามมาในไม่ช้า

กว่าผมจะเข้าใจ เรื่อง ความรุ้สึกที่มันลอย ๆ นี้ ผมใช้เวลาตั้งหลายปี
และก็ไม่ใครเขาบอกกันด้วย เพราะถ้ารู้ได้ จะไปได้เร็วมาก ๆ

 

โดย: นมสิการ 8 สิงหาคม 2553 6:47:15 น.  

 

ตอบ คุณ Mat คำถามที่ 2
ดิฉันมีปัญหาที่จิตติดจะขี้เกียจ ไม่ค่อยชอบคิดอะไร คืองานก็ทำไปปกตินะคะ แต่ใจจะไม่ค่อยชอบคิด ขี้เกียจคิด ซึ่งมีผลทำให้ สมองช้า คิดอะไรไม่ทันคนอื่น คิดว่าเป็นเพราะอย่างนี้นะคะ

>>>ตอบ.. ไม่ใช่ครับ คนที่คิดช้า คิดเร็ว นี่มันเป็นกึ้นของแต่ละคนครับ คุณเคยอยุ่พวกตลกคาเฟ่ไหมครับ หรือ นักการเมือง คนพวกนี้ สมองเขาจะเร็ว พอใครพูดอะไร เขาก็พูดแย้งได้ หรือ พูดขัดได้อย่างรวดเร็ว มันเป็นพรสวรรค์ของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน


แต่เคยฝึกดูลมหายใจมานานแล้ว จึงจะพยายามอยู่กับลมหายใจ เมื่อจิตไม่มีงานอะไรให้ทำ ดิฉันอยากให้จิตตื่นมากกว่านี้ คือมีความว่องไว คล่องแคล่วกว่านี้ ท่านอาจารย์มีคำแนะนำไหมคะ หรือทำแบบนี้รวมทั้งข้างบนจะช่วยได้ใช่ไหมคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

>>> ตอบ.. อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ พอคุณฝึกสัมมาสติไปจนมีความตั้งมั่นมากขึ้น จิตมัีนจะว่องไวขึ้นเองครับ แต่คุณอาจไม่รุ้สึกว่ามันว่องไวขึ้น เพราะมันจะปรับตัวอย่างช้า ๆ โดยที่คุณไม่รู้สึกตัว
แต่ถ้าถามคนข้างตัว เขาจะรุ้สึกได้ แต่ขอให้เป็นไปเอง อย่าได้เร่งร้อนต้องการทันที จะเป็นผลเสียมากกว่า

 

โดย: นมสิการ 8 สิงหาคม 2553 6:53:56 น.  

 

ผมขอเิพิ่มเติม เรื่องการรู้ลมหายใจ แล้วรู้สึกลมที่ไม่มีตำแหน่งแต่มันลอย ๆ

การฝึกนั้น ผมแนะนำใ้ห้ลืมตาฝึก ใหม่ ๆ ขอให้มองไปไกล ๆเช่น ท้องฟ้า เพียงลืมตาขึ้น แต่อย่าไปจ้องมองอะไรในท้องฟ้า ตาจะเหมือนเม่อ ๆ นิดหน่อย แล้วรู้สึกตัว ก็จะรับรุ้ลมหายใจที่มันไหว กระเพื่อมๆ ที่ลอย ๆ ไม่มีตำแหน่งในกายได้ ถ้าจับลมไม่ได้ ให้นั่งกอดอกช่วยก่้อนก็ได้ในระยะใหม่ ๆสัก 3 เดือน พอรุ้สึกถึงลมที่มันไหว กระเพื่อม ๆ ได้ที่ลอย ๆ ได้ ก็ไม่ต้องกอดอกช่วยแล้ว นั่งสบาย ๆ ก็พอ

การฝึกลมหายใจโดยการลืมตา นี้จะดีตรงที่จะทำให้เราชำนาญการรู้ลมในชีิวิตประำจำวันได้เ็ป็นอย่างดี เพราะในชีิวิตประำจำวัน เราำทำงานลืมตาอยู่แล้ว ไม่ต้องไปกลัวว่า จิตจะไม่เป็นสมาธิครับ เพราะถ้ารู้ลมลอยๆ อย่างนี้ได้ จิตเป็นสัมมาสติอยู่แล้ว พอฝึกให้คล่องก็เป็นสัมมาสมาธิที่แข็งแกร่งเอง

 

โดย: นมสิการ 8 สิงหาคม 2553 7:26:26 น.  

 

สาธุค่ะ ชัดเจนมากค่ะ ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
_/|\\_

 

โดย: Mat IP: 58.97.35.132 9 สิงหาคม 2553 9:30:58 น.  

 

ไม่ได้อ่านความเห็นต่างๆนะ
แต่ว่าที่คุณเขียนนั้นถูกต้องเลยยยย
ดีครับ มีสัมมาทิฏฐิแล้วอย่างนึง

ผมสงสารคนอื่นๆเหมือนกัน ก็กำลังเผยแพร่มรรค๘ที่ถูกต้องต่อไป

 

โดย: อู๋ IP: 202.91.18.194 11 สิงหาคม 2553 20:43:16 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 16:33:38 น.  

 

เรื่องทีเกี่ยวเนื่องกัน
.
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2009&group=1&date=28&gblog=68
.
ชื่อเรื่อง ชักกะเย่อ

 

โดย: นมสิการ 16 กันยายน 2561 17:58:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.