รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
21 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
จิตรู้ แยกตัวออกมา แต่มี อกุศลจิต ปรากฏอยู่

เรียน คุณนมสิการ
รบกวนสอบถามดังนี้ครับ
หลังๆ ผมรู้สึกเหมือนจะมีตัวรู้แยกออกมาอยู่ห่าง ๆ แต่มีอยู่ 2 กรณี ครับ คือถ้า
จงใจรู้จิตมันจะหนัก ๆ แต่ก็เห็นตัวรู้แยกออกมานะครับ แต่พอหมดแรงมันก็รวมเข้าไปหรือไม่ก็ความหนักมันก็หายไป
แต่บางทีมันก็แยกออกมาเอง ไม่ได้เจตนาส่วนมากจะเป็นตอนเช้าๆ พึ่งอาบน้ำเสร็จหรือสบายใจ
ปัญหาของผมคือ
ตอนผมทำงาน ผมมึความรู้สึกว่าผมเห็นความซึมเซา กับความเบื่อมันอยู่ห่าง ๆ ออกมา ผมสงสัยว่าผมทำอะไรผิดหรือเปล่าครับเพราะ
เหมือนเห็นอกุศลมันแยกออกมา จริงๆ แล้วมันควรหายไปหรือเปล่าครับ
ขอบคุณมากครับ

**********************
นี่เป็นคำถามที่่น่าสนใจครับ
ผมมีความเห็นดังนี้

1..จิตตัวรู้ นี้ถ้าไป .จงใจ. สังเกตดูมัน หรือ พยายามจะมองให้เห็นมัน นักภาวนา
จะรู้สึกว่าหนัก และ ไม่โปร่งเบาเท่าใด ที่หนักเพราะว่า .การจงใจ. นี้มันเป็นความอยาก
ครับ

2.. ผมมีข้อแนะนำที่เกี่ยวกับ จิตตัวรูุ้ นี้ดังนี้
สมมุติว่า ท่านรู้จักภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาไทย
แต่ถ้าในเวลาที่ท่านไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
เช่น ไม่ต้องอ่านภาษาอังกฤษ หรือ ฟัง หรือ พูด ภาษาอังกฤษ ท่านจะดูเหมือนว่า
ความรู้ภาษาอังกฤษนี้ มันไม่ปรากฏตัวออกมาให้ท่านเห็นว่าท่านมีวิชานี้อยู่
ซึ่งในขณะนั้น มันอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ได้
แต่ถ้าท่านต้องการใช้ภาษาอังกฤษเมื่อไร มันจะโผล่มาให้ใช้ได้ทันทีทันใด

ตัวจิตรู้ นี่ก็เช่นกันครับ ในแง่การปฏิบัตินั้น ท่านอย่าได้สนใจในจิตตัวรู้นี้
ไม่ต้องไปดูุมันเลยด้วยซ้ำไป ท่านมีหน้าที่อย่างเดียว ก็คือ ให้มีความรู้สึกตัวเข้าไว้ให้เสมอ ๆ
ท่านปฏิบัติเพียงเท่านี้ จิตรู้ เขาจะทำงานของเขาเองอย่างเงียบ ๆ โดยทีท่านอาจไม่รู้
ด้วยซ้ำไปว่า ตัวจิตรู้ นี้กำลังทำงานอยู่แบบซ้อนเล้น ในสภาวะเช่นนี้ มันจะเหมือนท่านไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษอยู่

แต่ถ้าเมื่่อใดก็ตาม ที่ จิตรู้ จะทำงาน เช่นในสภาวะที่จิตรู้ไปเห็นกิเลส หรือ เห็นทุกขเวทนาทางกาย มันจะปรากฏตัวของมันขึ้นมาเองอย่างอัตโนมัติ แล้ว มันจะไปดูกิเลส ไปดูทุกขเวทนาทางกายเอง โดยทีท่านนักปฏิบัติก็ไม่ต้องไปทำอะไรด้วย เพราะทุกอย่างมันจะเป็นอัตโนมัติทั้งสิ้นในสภาวะเช่นนี้ จะเหมือนกับว่า ท่านจะใช้ภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาอังกฤษมันจะโผล่มาให้ท่านใช้เอง โดยที่ท่านก็ไม่ต้องไปเรียกหามันด้วย
ซึ่งสภาวะเช่นนี้ จะเกิดได้ เมื่อนักภาวนามีกำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิที่ดีพอในระดับหนึ่งแล้ว

3..ถ้านักภาวนาไม่มีความอยากทีจะไปดูุตัวจิตรู้ และนักภาวนานั้นมีกำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิตั้งมั่นพอ นักภาวนาจะรู้สึกถึงความโปร่งโล่ง เขาเพียงทำงานตามหน้าที่ไปตามธรรมชาติของความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานเท่านั้น ในสภาวะเช่นนี้ จิตใจของนักภาวนาจะสบาย ไม่มีกิเลสอยู่

4..แต่ทีีท่านบอกว่า รู้สึกได้ถึงความเบื่อ ความซึมเซา อันเป็น .อกุศลจิต. ที่เกิดขึ้น ท่านต้องแยกก่อนว่่า อกุศลจิตที่ว่า นี้เกิดอยู่นานหรือไม่ ถ้าเกิดเพียงแป๊บเดียวแล้วหายไปทันที และ จิตตัวรู้ ไปเห็น .อกุศลจิต.นี้ได้ก่อนที่มันจะหายไป ถ้าอย่างนี้ ไม่เป็นไร ครับ มันเป็นธรรมชาติ ทีีกำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จะไปทำลาย .อกุศลจิต. ที่เกิดขึ้นนั้นเองอย่างอัตโนมัติ อาการนี้ นักภาวนาจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนเสมอ
ถ้ามีใครมาบอกท่านว่า เขาภา่วนาแล้วไม่มีอกุศลจิตเกิดเลย มีแต่กุศลจิตเกิดเท่านั้น
จะมี 2 อย่างคือ เขาเป็นพระอรหันต์แล้ว หรือ ไม่ก็เขาไม่เข้าใจในวิธีการภาวนา
คือเขาภาวนาผิดทางแล้ว

การเกิดเพียงแป็บเดียวของอกุศลจิต แล้วหายไปเองนั้น มันอาจเกิดซ้ำได้เช่นกัน หมายความว่า
พอเกิดแป๊บเดียวแล้วหายไป แล้วสักครู่ ก็มีเกิดแป๊บเดียวอีกแล้วหายไปอีก เป็นการเกิดซ้ำ
ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่เป็นปัญหาอะไรครับ ขอให้สบายใจได้


แต่ถ้ารู้สึกถึง .อกุศลจิต.ว่าเกิดนานแล้วไม่ยอมหายไป อย่างมีจะมี 2 กรณีครับ

กรณีที่ 1..กำลังสัมมาสติ ของท่านยัง .ไม่กล้าแข็ง. พอ ไม่อาจทำลาย .อกุศลจิต.
ที่เกิดขึ้นนั้นได้ ถ้าท่านเป็นอย่างนี้ ผมแนะนำให้ท่านฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มากขึ้น
เพราะกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ฝึกถูกต้อง จะเพิ่มกำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ได้เป็นอย่างดี

กรณีที่ 2..ท่านมีความจงใจในการพยายามจะไปรับรู้สภาวะธรรม เช่น ต้องการดูุ จิตตัวรู้
ที่ท่านเล่ามา ในสภาวะเช่นนี้ ความอยากที่เกิดขึ้นที่ต้องการไปดูจิตตัวรู้ จะทำให้เกิดการปรุงแต่งที่เป็น อกุศลจิต ขึ้นและมันจะค้างปรากฏตัวอยู่นานเพราะใจท่านมีความอยากอยู่
ิวิธีแก้ใข ก็ขอให้อ่านดูุข้อ 2 ที่ผมเขียนข้อแนะำนำเกี่่ยวกับจิตตัวรู้

5..ถ้าอกุศลจิตเกิดนานไม่ยอมหายไป ผมแนะนำว่า ท่านต้องหาทาง .หยุด.มันโดยเร็ว
อย่าให้มันเกิดค้างอยู่ในใจท่าน มันจะไม่ดีครับ มีผลเสีย ทั้งจิตใจและหน้าที่การงาน
วิธีหยุดมัน ถ้าท่านทำงานอยู่ ก็ขอให้สนใจในงานให้มากขึ้น

แต่ลองแล้วก็ไม่ยอมหาย ท่านอาจต้องเปลี่ยนอารมณ์ เช่น เดินไปห้องน้ำ
ล้างหน้า ไปดื่มน้ำสักแก้ว มองไปนอกหน้าต่างดูทิวทัศน์สักครู่ หรือ ฟังเพลงโปรดที
ท่านฟังแล้วสบายใจ พอจิตใจมันดีแล้ว สบายแล้ว ก็กลับมาทำงานต่อไป

ส่วนนอกเวลางาน ผมแนะนำให้ท่านฝึก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้มาก ๆ
ซึุ่งผมมีเขียนแนะนำไว้แล้วที่
วิธีพิจารณา กาย ฉบับชาวบ้านเขียน ชาวบ้านอ่าน


*****
เรื่องท้ายบท

ผมมีข้อแนะนำการปฏิบัติที่เกี่ยวกับจิตตัวรู้นี้

ในการภาวนานั้น ท่านอย่าได้สนใจ จิตตัวรู้ ท่านมีหน้าที่อยู่คือ การฝึกฝนเพื่อเพิ่มกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เท่านั้น เมื่อกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นแล้ว จิตตัวรู้ เขาจะทำหน้าที่ของเขาเองอย่างอัตโนมัติ ท่านไม่ต้องไปสั่งหรือทำอะไรเลย และการทำหน้าที่ของ จิตตัวรู้นี้
เอง ที่เขาจะไปเห็นการทำงานของ ขันธ์ 5 / กิเลส / ตัณหา / อวิชชา
เมื่อ จิตตัวรู้นี้เห็นการทำงานดังกล่าว จะเกิดปัญญาขึ้นเองอย่างอัตโนมัติเช่นกันสำหรับนักภาวนา
เกิดการตัดกิเลสเองอย่างอัตโนมัติ และ ทำลาย ตัณหา อวิชชา อย่างอัตโนมัติ เช่นเดียวกัน

ทุกอย่างล้วนดำเนินไปเองตามวิถีแห่งธรรมชาติ โดยนักภาวนาไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น เมื่อกำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอย่างพอเพียง

แต่ถ้านักภาวนาที่ไม่เข้าใจ ยังมีความจงใจ ทำโน่น ทำนี่เพื่อให้กิเลสมันหาย หรือเพื่อไม่ให้กิเลสมันไม่เกิดอีก ถ้าเป็นอย่างนี้ นักภาวนาที่ไม่เข้าใจวิถีทางแห่งมรรค ก็จะคิดว่า ฉันมาถูกทางแล้วนี่ไง กิเลสมันไม่มาอีกแล้ว แต่นั้นเป็นเพียงทำให้กิเลสมันหลบใน แต่ไม่ใช่การทำลายมันอย่างเด็ดขาด พอวันดีคืนดี นักภาวนาผู้ไม่เข้าใจ จะพบกับความจริงของกิเลส เมืี่่อกิเลสที่เขาเข้าใจมาก่อนหน้าว่า มันไม่มารบกวนเขาแล้วโผล่มาเล่นงานเขาจนได้

การเดินทางเข้าสู่การทำลาย กิเลส อวิชชา นั้น นักภาวนาต้องหมั่นฝึกฝนกำลังสัมมาสติ
สัมมาสมาธิให้ตั้งมั่น แล้วให้ จิตรู้ ที่ซ่อนตัวอยู่นี้เห็นการเกิดขึ้นของกิเลสบ่อย ๆ
แล้ว จิตรู้ จะไปพบรังของกิเลส อันเป็นที่ผลิตกิเลสออกมาจากที่นั้น แล้วขบวนการทำลาย
รังกิเลส ก็จะดำเนินต่อไปเองโดยอัตโนมัติด้วยกำลัง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่แข็งแกร่งตั้งมั่้น
ดังภูผาใหญ่






Create Date : 21 กันยายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:59:30 น. 1 comments
Counter : 1488 Pageviews.

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:23:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.