รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
28 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
ละกิเลส คือ การไม่ยึดติดกับ กิเลส

ผมขอทำความเข้าใจกับท่านนักปฏิบัติเรื่องการละกิเลส
ก่อนที่ท่านนักปฏิบัติจะอ่านต่อไป ผมขอให้ท่านเปิดใจให้กว้างก่อน
อย่าได้อ่านด้วยการนำเอาทิฐิส่วนตัวของท่านที่มีอยู่แล้ว
เพราะผมมั่นใจอย่างมากว่า สิ่งที่ผมจะเขียนนี้ มันไม่ตรงกับทิฐิของท่านอย่างแน่นอน
เพราะว่า....

ในชาวพุทธในไทย เชื่ออย่างหัวชนฝาว่า การละกิเลส ได้หมายความว่า ต้องไม่มีกิเลสนั้้น ๆ
เกิดขึ้นในจิตใจเลย ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า ใครหนอ เป็นคนต้นเรื่องที่นำความเห็นนี้มาสู่คนไทย
ทำให้ชาวไทยที่เป็นนักภาวนาเกิดการกลุ้มอกกลุ้มใจว่า ภาวนาแล้วทำไมกิเลสจึงยังมีอยู่

สิ่งที่ท่านกำลังเข้าใจนั้น มันไม่ใช่อย่างนั้นครับ ท่านกำลังเข้าใจธรรมชาติของของจิตใจท่าน
ผิดไปแล้ว

มาดูสภาวะธรรมของกิเลสกันครับว่า เป็นเช่นไร

1...ในคนปุถุชนทั่ว ๆ ไป ในยามที่เขาปรกติอยู่ จิตใจของเขาจะไม่มีอะไร และแน่นอนว่า
ในยามนั้น จิตใจของเขาก็ไม่มีกิเลสอยู่ แต่เมื่อไรก็ตาม ที่เขาไปพบกับสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจ
กิเลสในจิตใจของเขาจะเกิดขึ้นทันที เนื่องจากในปุุถุชน การยึดติดคือตัณหายังหนาแน่นและมีประสิทธิภาพสูง ในขณะที่กำลังสัมมาสติสัมมาสมาธิกลับอ่อนปวกเปียก เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้ว ตัณหานี้จึงยึดให้กิเลสกับจิตใจของเขาเข้าด้วยกันอย่างเหนี่ยวแน่น ทำให้ปุถุชนเกิดความเข้าใจไปว่า...
ฉันกำลังโกรธ ฉันกำลังไม่พอใจ ฉันกำลังพอใจ และอื่นๆ อีกมาก แต่ทุกอย่างเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน ทั้งสิ้น

2..สำหรับกัลยาณชน คือ คนทีฝึกฝนสัมมาสติสัมมาสมาธิ จนมีพลังจิตที่กล้าแข็งขึ้นกว่าปุถุชน
หรือ นักภาวนาทั้งหลาย ที่ภาวนามาได้ผลบ้างแล้ว ที่เห็นจิตปรุงแต่งได้แล้ว

ในยามปรกติ เขาจะเหมือนปุถุชน คือ จิตใจไม่มีอะไร และไม่มีกิเลสอยู่
แต่ในยามที่เขาไปพบกับอะไรสักอย่าง แล้วจิตใจเกิดการปรุงแต่งขึ้นจนมีกิเลสเกิดขึ้น
แต่ด้วยพลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จิตใจของเขาจะไม่ไหลไปรวมเข้าไปกับกิเลสที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้นักภาวนากัลยาณชนเห็นอาการของกิเลสที่เกิดขึ้นได้ แต่ด้วยกำลังแห่งสัมมาสมาธิที่มีอยู่ กิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ั้ตั้งอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วจึงดับลงไป ซึ่งเป็นธรรมชาติ
ของมันที่เป็นไตรลักษณ์

อาการที่กัลยาณชนเห็นกิเลสดังนี้ จะต่างจากปุถุชนที่ว่า
กิเลสนั้น มันเป็นไตรลักษณ์
กิเลสนั้น มันไม่ใช่เรา กิเลสนั้นมันไม่ใช่ของเรา

แต่เนื่องด้ว กิเลส มีความหยาบละเอียดต่างกัน กัลยาณชนที่มีกำลังสัมมาสติสัมมาสมาธิ
ที่ตั้งมั่นมากกว่า จะเห็นกิเลสได้มากกว่า กัลยาณชนที่มีกำลังสัมมาสติสัมมาสมาธิที่อ่อนกว่า
กิเลสตัวใดที่กัลยาณชนเห็นได้ กิเลสตัวนั้นจะไม่เข้ารวมกับจิตใจ และ นี่คือ การละกิเลสตัวนั้น
ได้แล้ว

แต่ถ้ากัลยาณชนเห็นกิเลสเกิดขึ้น แต่พลังแห่งสัมมาสติไม่ตั้งมั่นพอเป็นสัมมาสมาธิ จิตใจไหลเข้ารวมกับกิเลสที่เกิดได้เมื่อใด หมายความว่า กิเลสนั้นยังละไม่ได้

ขอให้นักภาวนาเข้าใจว่า การที่ท่านเห็นกิเลสเกิดในจิตใจ และเห็นมันดับเป็นไตรลักษณ์
และเห็นมันว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา นั้นคือการละกิเลสในทางปฏิบัติ มันจะเป็นอย่างนี้

กิเลส มันจะมีเกิดขึ้น แต่มันไม่เที่ยง มันไม่ใช่ท่าน มันไม่ใช่ของท่าน ท่านเห็นแค่นี้ก็คือ
ท่านได้ผลการปฏิบัติแล้ว อย่าไปคิดหาว่า จะทำอย่างไร ไม่ให้กิเลส มันเกิดขึ้นมาได้อีก
ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ครับ

การหาว่าจะทำไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นได้เลย นี่ก็ืคือกิเลสอย่างหนึ่งเช่นกัน

3..สำหรับพระอรหันต์ ละกิเลส ผมจะไม่ขอกล่าวถึง ถ้าท่านกัลยาณชนปฏิบัติถึง ก็จะทราบเองว่าเป็นเช่นไร

*****
ขอให้ท่านทำความเข้าใจเรื่องการละกิเลสนี้ให้ดี และหมั่นปฏิบัติฝึกฝนสัมมาสติสัมมาสมาธิต่อไป
เรื่อย ๆ ยิ่งกำลังตั้งมั่นแห่งสัมมาสติสัมมาสมาธิมากเท่าใด การละกิเลส ก็ยิ่งมีมากขึ้นไปเ่ท่านั้น

*****








Create Date : 28 กันยายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:58:57 น. 7 comments
Counter : 1503 Pageviews.

 
เห็นด้วยกับท่านนมสิการ เรื่องกัลยานชน ในขั้นสาสวาสัมมาทิฎฐิ ย่อมต้องเพียรดำเนินตามมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาสมาธิ ที่แวดล้อมด้วยบริขารทั้งเจ็ด
เมื่อมีสติในสมาธิ มีสัมปชัญญะ ที่มีกำลัง ย่อมตามเห็นดังพระสูตรหนึ่ง

ที่ว่า
ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า

ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ (อาการที่) เวทนา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้ง แก่ภิกษุ (อาการ) ที่เวทนาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง (อาการที่) เวทนาดับลงก็แจ่มแจ้ง


ขอบคุณมากครับ


โดย: บุญเรือง IP: 119.31.22.117 วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:15:01:00 น.  

 
ขออนุโมทนาครับ


โดย: palmgang IP: 119.42.68.135 วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:15:36:15 น.  

 
สาธุ ถูกทางละครับ คุณมนสิการ
ปุถุชนคนธรรมดา - จิตควบแน่นกับกิเลสจนแยกกันไออก
ผู้มีศีลสมาธิ - จิตเริ่มห่างกิเลส จนเห็นกิเลสเป็นแขกผู้มา
อาศัยจิตอยู่ หรือแขกมาๆไปๆ หรือแขกที่นานมาเยี่ยม
ผู้เป็นพระอริยะ - จิตแยกจากกิเลบางตัว ถาวร และไม่ต้อนรับกิเลสให้เข้ามาอยู่ในจิต
ถ้าเ็ป็นพระอรหัตเจ้า - จิตท่านว่างจากกิเลสทุกตัว

นี่เป็นความเข้าใจที่อ่านจากหนังสือพระและเห็นตามครับ


โดย: เมี่ยง IP: 180.180.12.243 วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:16:03:41 น.  

 
ได้ยินครูบาอาจารย์ว่า "กิเลสมี แต่ไม่เอา" เช่นกัน

ท่านว่าพระอรหันต์ คือผู้ไกลจากกิเลส คือ จิตกับกิเลสอยู่ไกลกัน.. ไกลกันแค่ไหน ก็แล้วแต่ว่าจะมีสติตลอดสายได้หรือไม่ มีสติตลอดสาย ก็ไกลจากกิเลสตลอดกาล..

ท่านเป็นผู้ทรงฌานและจิตสิ้นอาสวะ ท่านก็เลยปลอดกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยเหตุนี้ แต่เราๆ นั้นยังอยู่ในโลก คงจะทำได้แค่ มีแต่ไม่เอาค่ะ..

โมทนากับท่านพี่ค่า..


โดย: ธัมมทีโป IP: 113.53.133.91 วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:19:10:28 น.  

 
มาอ่านเป็นประจำเหมือนกัน
ในความคิดเห็นของผม การละกิเลส
คือความมีสติตลอด ใช่เลย
มันคือการฝึกฝนชั่วชีวิต ที่จะละ
มันไม่ใช่สามารถตัดได้หายไป มันไม่ใช่สวิตไฟฟ้า
ที่ ดับได้ มันมีอยู่ตลอดเมื่อไม่มีสติ

ขออนุญาติช่วยขยายครับ
www.wellasia.com


โดย: billy IP: 119.46.176.222 วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:7:16:41 น.  

 
เข้ามาอ่าน blog ของคุณนมสิการเสมอๆ มีประโยชน์มากค่ะ สำหรับมือใหม่อย่างดิฉัน


โดย: ไตรโสภณ IP: 58.8.10.221 วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:11:22:10 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:22:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.