รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
11 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
รู้ทันกิเลส คือ เห็นกิเลส รู้ทันความคิด คือ เห็นความคิด

เมื่อ อวิชชา ยังไม่ถูกทำลายลง กิเลส และ ความคิดชั่ว ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ

เมื่อไม่สามารถบังคับไม่ให้ กิเลส และ ความคิดชั่ว หยุดเกิดได้ มีอยู่ทางเดียวก็คือ
ต้องไม่ให้ จิต เข้าไปผสมรวมกับกิเลส และ ความคิดชั่ว ที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้น

การที่จะไม่ให้ จิต เข้าไปผสมรวมกับกิเลส และ ความคิดชั่ว มีอยู่ทางเดียวก็คือ
การมีสัมมาสติที่ว่องไว และ ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ

เมื่อสัมมาสติที่ว่องไว และ ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ จิต จะเห็น กิเลส และ ความคิดชั่้ว
ที่เกิดขึ้น เมื่อ จิต เห็นแล้ว กิเลส และ ความคิดชั่ว ก็จะสลายตัวลงไปทันที

การเป็นนักภาวนา อย่าได้กลัวการเกิดของกิเลส และ ความคิดชั่ว เพราะอย่างไรเสีย
มันต้องเกิดขึ้นอันเป็นธรรมชาติของจิตใจที่ยังมีอวิชชาครอบงำอยู่
แต่นักภาวนามีทางแก้ใข ก็คือ การหมั่นฝีกฝนสัมมาสติจนตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ

เมื่อนักภาวนาฝึกฝน จนเกิดความมั่นใจได้มากเท่าใดว่า สัมมาสติจะทำงานทุกครั้ง
ที่เกิดกิเลส และ ความคิดชั่ว เมื่อนั้น นัำกภาวนาก็จะมั่นใจในจิตใจว่า จะไม่หลงไปกับ
มารอีกแล้ว

นี่คือ ความเข้าใจผิดอย่างมากของชาวพุทธที่เป็นนักภาวนาที่ว่า เมื่อภาวนาแล้ว
จิตใจจะมีแต่ คิดดี ไม่คิดชั่วอีก ซึ่งในความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นเช่นนั้นเลย

ในความเป็นจริงนั้น เมือนักภาวนาได้ภาวนาจนมีกำลังสัมมาสติที่ตั้งมั่นอย่างมั่นคง
ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นเองในจิตใจ นั้นคือ การหยุดการตีความใด ๆ
ในความคิดที่เกิดขึ้นว่า นี่คือความคิดดี นี่คือความคิดชั่ว เป็นแต่เพียงรู้อยู่่
แต่ไม่แยกแยะให้ค่าดีชั่วกับมันเท่านั้นเอง เมื่อไม่แยกแยะดีชั่ว มันก็จะเป็นสักแต่ว่า
เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และหยุดลงไปเท่านั้น

การหยุดการแยกแยะตีความในความคิดนี้ ยังเป็นคุณแก่นักปฏิบัติ ที่จิตใจเริ่มเป็นกลางมากขึ้น
ในการรับรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง

เมื่อจิตใจเป็นกลางมากขึ้น ความสามารถของจิตใจก็เพิ่มมากขึ้น การรับรู้สภาวะธรรมที่ละเอียด
ขึ้นก็มีขึ้นได้เรื่อย ๆ

การเห็นสภาวะธรรมนี้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ไม่ผสมรวมเข้าไปกับสภาวะธรรมที่่ำเกิดขึ้นนั้น
นักภาวนาก็จะเห็นได้ชัดว่า อันว่าสภาวะธรรมต่าง ๆ นั้นมันไม่ใช่ตัวเขา ไม่ใช่ของเขา
มันสักแต่ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ หยุดลงไป อันเป็นธรรมชาติของเขาเอง

***************
เรื่องท้ายบท

ในการภาวนานั้น จะมีอาการหนึ่งเกิดขึ้น ก็คือ อาการคิดไม่หยุด
ซึ่งอาการคิดไม่หยุดนี้ ขอให้พิจารณาให้ดี จะมีอยู่ 2 อย่างคือ
1. คิดไม่หยุด แต่ .ไม่เห็น.ความคิด เพียงรู้ว่า คิดไม่หยุด คิดเรื่องนี้ ต่อเรื่องโน้น
ถ้าเป็นอย่างนี้ นักภาวนาจะเข้าใจว่า ความคิดนี่เป็นของเขา เขาเป็นคนคิด
และเขากำลังคิดฟุ่งซ่านอยู่
อาการนี้เป็นความคิดฟุ่งซ่าน เป็นนิวรณ์ ที่นักภาวนาสมควรดับมันเสีย

2. คิดไม่หยุด แต่นักภาวนา .เห็น. ความคิดที่เกำลังผุดออกมาดังราวกับน้ำจากท่อประปาแตก
นักภาวนาจะเห็นความคิดที่ฟุ่งขึ้นตลอด แต่เขาจะเห็นได้ชัดว่า ความคิดนั้นไม่ใช่ของเขา
ไม่ใช่ตัวเขาที่เป็นคนคิด อย่างนี้จะเป็น .ปัญญา. แก่นักภาวนา ความคิดแบบนี้ นักภาวนาไม่ต้องไปดับมัน มันจะคิดก็ปล่อยมันคิดไป เพียงรู้อยู่ เห็นอยู่ เท่านั้นเอง

************************************

การภาวนาจนเห็นความคิดที่เกิดขึ้นได้ด้วยกำลังสัมมาสติที่ตั้งมั่น คือ การแก้ใข ในทุก ๆ คำถาม
ที่เป็นเรื่องของการทุกข์ใจ อาทิ เช่น อกหัก ตกงาน ลูุกติดยา ถูกโกงเงิน และ อีกหลาย ๆ ปัญหาเมื่อยังไม่ตายจากการเป็นคน

ปัญหาต่างๆ ยังมีอยู่ แต่เมื่อเห็นความคิดเสียแล้ว การแก้ใขปัญญาจะไม่ใช่การผสมโรงด้วย
การใช้อารมณ์ อันเป็นการสะใจของกิเลสโดยไม่รู้ตัว แต่จะเป็นการแก้ปัญหา ด้วยปัญญาล้วน ๆ


Create Date : 11 กันยายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:01:05 น. 8 comments
Counter : 3365 Pageviews.

 
ยาก...
ทำได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้

สาธุ ค่ะ


โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:15:27:54 น.  

 
ถ้าเราเห็นสิ่งหนึ่ง จนบังเกิดความสังเวชสลดใจ เห็นความคิดว่า ทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ เห็นความคิดไหลอยู่ตลอดเวลา จนสะเทือนใจ และน้ำตาไหล รู้แต่ก็ไม่ยอมหยุด แต่เป็นเวลาช่วงเวลาสั้นๆก็สงบ ความคิดเช่นนี้ฟุ้งซ่านหรือเปล่าคะ แต่น่าจะมาจากความที่สติไม่ตั้งมั่น และ ยังไม่เป็นกลาง ใช่มั๊ยคะ


โดย: กาแฟเย็น IP: 183.89.205.124 วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:18:52:14 น.  

 
บางครั้งเมื่อปฏิบัติอยู่ผมก็คิดไม่หยุดแบบข้อแรก จู่ๆความคิดมันก็ไหลมาดั่งสายน้ำ ผมจะดับมันอย่างไรครับ ที่ว่าให้นักภาวนาดับมันเสีย


โดย: viroot วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:21:53:16 น.  

 
ตอบ คุณกาแฟเย็น
ในความเห็นของผม
ที่เขียนมาเล่านั้น แสดงว่า ปิติมีกำลังแรงครับ ถ้าคุณเห็นความคิดอยู่ ไม่เป็นฟุ่งซ่านครับ

แต่ที่ถามมาว่า ยังไม่ตั้งมั่นใช่หรือไม่
เรื่องนี้ ผมคิดว่า ไม่ใช่ ครับ
เพราะสภาวะธรรมนั้น มีการปรุงแต่งเกิดขึ้นได้
เมื่อเกิดมันก็จะมีผลให้เห็น อย่างกรณีของคุณที่เขียนมา
เมื่อสภาวะธรรมเกิดอยู่ ขอเพียงนักภาวนา
.เห็น.มันเท่านั้น ก็พอแล้ว เพราะการเห็นสภาวะธรรมที่กำลังเกิดสด ๆ อยู่ แสดงว่า
จิตไม่ไหลเข้าไปรวมกับอาการที่เกิดนั้นแล้ว



โดย: นมสิการ วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:0:07:55 น.  

 
ตอบคุณ Viroot
ที่เขียนมาผมรู้สึกแปลก ๆ ครับ
ที่ว่าแปลก็คือว่า ความฟุ่งซ่านนั้น ถ้าไม่ยอมหยุด
เกิดตลอด มักจะเกิดในขณะที่ผู้ภาวนากำลังเผลอ ไม่รู้สึกตัว ความฟุ่งซ่านจึงเกิดแบบนั้น แต่ถ้ารู้สึกตัว จะเป็นแบบนี้ต่อไปนี้ครับ

ถ้ารู้สึกตัวอยู่ แต่ฟุ่งซ่าน มันจะคิดแล้วหยุด คิดแล้วหยุด แต่ไม่ติดต่อกันดังสายน้ำไหล และไม่เห็นความคิดเพียงแต่รู้ว่า มีความคิดเกิดเป็นระยะ ๆ แต่หยุดมันไม่ได้

ถ้าเป็นอย่างนี้ ให้ตั้งใจในการฝึกฝนที่แรงขึ้นกว่าเดิม เช่น ถ้าฝึกแบบหลวงพ่อเทียน ก็ให้ตั้งใจมากขึ้นในการเคลื่อนมือ เช่น เคลื่อนช้าลงกว่าเดิม หรือ เวลามือลูบลำตัว ก็ให้กดน้ำหนักมือลงไปที่ลำตัวให้หนักขึ้น ทำให้รู้สึกถึงการลูบได้ชัดขึ้น การตั้งใจมากขึ้น จะหยุดได้ครับ

แต่การหยุดได้นี้ ผมหมายถึงว่า หยุดได้นานขึ้น ไม่ใช่หยุดเด็ดขาดทีเดียว การหยุดนานขึ้น แล้วมีคิดเกิดสลับอยู่ อันนี้เป็นการฝึกที่ดีนะครับ คือ พอมันคิด ให้รู้ว่ามันคิด ( ในกรณีที่เห็นความคิดยังไม่ได้ของนักภาวนา) แล้วก็สลัดความคิดนั้นทิ้งไป ให้ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ ให้ชำนาญ
คือ คิดแล้วสลัดมันทิ้ง คิดแล้วสลับมันทิ้ง ...ไปเรื่อย ๆ
อย่างนี้ดีมาก มันจะเหมือน ทหารที่ซ้อมรบคล้ายของจริงในชีวิต

แต่ถ้าไม่คิดเลย นี่ไม่ดีครับ เพราะมันจะขาดประสบการณ์จริง เมื่อความคิดเกิดจริงๆ เหมือนทหารไม่เคยซ้อมรบ



โดย: นมสิการ วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:0:19:58 น.  

 
ความคิดที่เห็นจะมีสองแบบคะ่. คือจิตไปคิดเองพอเราเห็นว่ามีคิดก็ตัดเลย. แต่บางทีก็นานกว่าจะเห็น. อีกแบบก็คือเรานั่นแหละไปคิดอันนี้จะรู้ได้เร็วกว่าค่ะ ทุกครั้งที่เห็นมีความคิดก็จะตัดทันที. แต่เดี๋ยวมันก็คิดใหม่ค่ะ. ทำถูกไหมคะ


โดย: จิตติ IP: 124.122.10.57 วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:14:55:43 น.  

 
ถูกแล้วครับ

เรามีหน้าที่รู้เห็นว่ามันคิด พอมันคิดก็ตัดมันก็เท่านั้น
ถ้ามันตัดแบบอัตโนมัติได้ นี่ก็ดีครับ แสดงว่า จิตมีกำลังสัมมาสติทีีตั้งมั่นพอ

แต่ถ้ามันไม่ตัดอัตโนมัติ แต่เห็นมันคิดอยู่ ก็ใช้ได้เหมือนกัน
ก็ปล่อยมันคิดไป เพราะตอนนั้น เราไม่เผลอ มีสติเห็นอีกด้วย
อย่างนี้เป็นปัญญาครับ

แต่ถ้าไม่เห็นความคิด เพียงรู้ว่ามีการคิดเกิดแล้ว เราต้องหยุดมันด้วยสมถะครับ

การที่บางครั้งนานกว่าจะเห็น ก็แสดงว่า ตอนนั้นกำลังเผลอไปครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:16:07:40 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:24:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.