รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
27 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
การปฏิบัติธรรม ที่เปรียบกับ ตำรวจจราจร

.

ในภาพเป็นตำรวจจราจรที่แยกกลางสี่แยก ในกรุงเทพเมื่อผมเป็นเด็ก ก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน
แต่ตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว ที่ผมยังเห็นอยู่ ก็มีที่เมืองภูเก็ต

ตำรวจจราจรที่ยืนอยู่กลางสี่แยก ถ้าตำรวจปฏิบัติหน้าที่อยู่ เขาก็จะเห็นรถที่ผ่านสี่แยกวิ่งไปวิ่งมา เขาเห็นรถมากมายที่ผ่านสี่แยก แต่เขาจะไม่จำเลยว่า มีรถใครบ้างที่ผ่านมาผ่านไป แต่ถ้ารถคันใด มีการผิดปรกติขึ้นมา เขาจะสังเกตรถคันนั้นเป็นพิเศษและจะจดจำรถคันนั้นได้ดี

ถ้าเขาพบรถที่ทำผิดกฏหมาย เขาจะลงไปจับ ในขณะที่เขาลงไปจับรถผิดกฏหมาย เขาจะไม่เห็น
รถคันอื่น ๆ ที่วิ่งไปวิ่งมา ซึ่งรถคันอื่น พอเห็นตำรวจไปสนใจรถคันอื่นอยู่ รถคันอื่นก็อาจย่ามใจ
ทำผิดกฏหมายทันที

ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้ท่านมือใหม่ ที่ยังไม่เข้าใจการปฏิบัติธรรมให้เข้าใจมากขึ้น
ผมจะเปรียบเทียบให้ฟังดังนี้ครับ

1..เมื่่อตำรวจทำหน้าที่ของเขา เขาย่อมไม่หลับ ไม่ยืนคุยกับใคร ไม่ใจลอย แต่เขาจะมองไปรอบๆ มองทั่ว ๆ รับรู้สภาพจราจร สภาพท้องถนนไปมาอย่างสบาย ๆ ไม่จดจ้องรถคันใดที่เป็นพิเศษ รถวิ่งไปวิ่งมาเป็นพัน เป็นหมื่นคัน เขาเห็นรถจริงแต่เขาจะจำไม่ได้ว่ามีรถอะไรบ้าง สีอะไรบ้าง

ซึ่งนี้คือ สภาพปรกติของคนที่ปฏิบัติธรรมเช่นกัน เมื่อเขาทำหน้าที่ดูสภาวะธรรมที่วิ่งเข้ามาให้จิตรับรู้ นักภาวนาจะเห็นว่า สภาวะธรรมนั้นจะวิ่งผ่านไปผ่านมาตลอดเวลา เหมือนรถที่ผ่านสี่แยกที่ตำรวจยืนอยู่นั้นเช่นกัน
นักภาวนาจะจำสภาวะธรรมไม่ได้เลย เช่นว่า วันนี้ มีลมมาโดนกายกี่ครั้ง เห็นภาพนี้กี่ครั้ง ได้ยินเสียงนี้กี่ครั้ง เขาจำไม่ได้ เขารับรู้แต่ไม่จดจำ

2..แต่ถ้าสภาวะธรรมใดที่ผิดปรกติ เช่้น สภาวะธรรมของกิเลส เป็นสภาวะธรรมที่ปรกติจะไม่มี
ซึ่งเหมือนปรกติ รถจะไม่ทำิผิดกฏหมาย แต่พอกิเลสเกิด ก็เหมือนกับรถผิดกฏหมายเกิดขึ้น
ถ้าตำรวจยังทำหน้าที่อยู่อย่างปรกติของเขา เขาจะเห็นรถผิดกฏหมาย เช่นเดียวกับนักภาวนาที่ยังปรกติ เขาจะเห็นสภาวะแห่งกิเลสได้

3..คนขับรถ ถ้าไม่เห็นตำรวจ หรือ เห็นตำรวจเผลอ มักจะนอกแถวบ่อย ขับขี่ผิดกฏหมายบ่อย
แต่ถ้าเห็นตำรวจยังทำหน้าที่ คนขับรถก็จะไม่ทำอะไรผิดกฏหมาย
เช่นเดียวกัน ถ้านักภาวนายังปรกติ คือ สภาวะแห่งการมีสติัสัมปชัญญะอยู่ กิเลสจะเกิดแล้วเข้าสิ่งสู่จิตใจนักภาวนาไม่ได้เลย

4..แต่ในคนทั่ว ๆ ไป ที่เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นปรกติกัน แต่จริง ๆ เขาไม่ปรกติ คนทั่ว ๆ ไปมักใจลอย หลงคิด ซึ่งถ้าตำรวจใจลอย หลงคิด ก็ไม่เห็นรถทำผิดกฏหมายเช่นกัน
คนใจลอย หลงคิด ก็ไม่เห็นสภาวะของกิเลสเช่น เช่นกัน

5..การฝึกฝนทุกอย่างในสติปัฏฐานนั้น ที่ลงทุนฝึกฝน ก็เพื่อให้มีความคุ้นเคยกับสภาพปรกติ
ที่มีความรู้สึกตัว ไม่ใจลอย ไม่หลงคิด นี่คือสภาพที่ดี ที่นักภาวนาต้องรักษาไว้ ถ้านักภาวนารักษาไว้ได้ เขาจะเห็นสภาวะของกิเลสที่เกิดขึ้นได้เสมอ และ กิเลส ก็ทำอะไรเขาไม่ได้ด้วย

แต่นักภาวนาทีไม่เข้าใจ กลับคิดว่า การภาวนานั้น คือ การตามติดสภาวะธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การตามติดลมหายใจตลอด โดยไม่ให้คลาดเคลื่อน การเข้าใจเช่นนี้ ไม่ถูกต้องกับการปฏิบัติ
เพราะถ้านักภาวนาตามลมหายใจตลอด เขาจะไม่เห็นสภาวะธรรมตัวอื่น ซึ่งถ้าเปรียบกับตำรวจ ถ้าตำรวจมัวแต่ติดตามรถคันหนึ่งอยู่เป็นพิเศษ เขาจะไม่เห็นรถคันอื่นเลยว่า รถคันอื่นกำลังทำถูกกฏหมายหรือผิดกฏหมายกัน

นี่เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากและอาจไม่ยอมรับได้ของนัำกภาวนามือใหม่ เพราะใคร ๆ ที่ไหนเขาก็สอนให้ตามติดสภาวะธรรมกันทั้งนั้น ผมยกตัวอย่างเรื่องตำรวจตามรถคันหนึ่งอยู่ให้ท่านเห็นแล้่ว ถ้าท่านมัวตามลมหายใจ ท่านก็จะไม่กิเลส ผมฝากไว้ให้ท่านพิจารณาก็แล้วกัน

6..การลงทุกฝึกฝนนั้น จุดมุ่งหมายก็คือ การมีสติสัมปชัญญะ เมื่อมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ นักภาวนาจะเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง คือ สภาวะธรรมมีการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การดับลงไป
เป็นไตรลักษณ์ และสภาวะธรรมนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

ในสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฏก ท่านกล่าวว่า ให้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
แล้วให้สติระลึกรู้สภาวะธรรมของกาย ของเวทนา ของจิต
เมื่อมีสติ ระลึกรู้สภาวะธรรมดังกล่้าวแล้ว นักภาวนาย่อมเห็นด้วยตนเองได้ว่า สภาวะธรรมของกาย เวทนา จิต คือเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ ๆ เรา

7..ในคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ฝึกฝน กำลังของสติสัมปชัญญะจะอ่อนมาก เมื่อใดก็ตามทีเกิด
สภาวะธรรมในจิตใจขึ้น เช่นอารมณ์โลภ โกรธ หลง คนทั่วๆ ไปจะไม่เห็นสภาวะธรรมเหล่านี้
และสภาวะธรรมเหล่านี้จะเกิดแล้วตั้งอยู่นาน และคนทั่ว ๆ ไปก็จะเข้าใจไปว่า โลภ โกรธ หลง
เป็นของฉัน เป็นตัวฉัน

ที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เป็นเพราะว่า เมื่อคนทั่ว ๆ ไปที่มีกำลังแห่งสติสัมปชัญญะ่อ่อนแอ
อยู่แล้ว เมื่อเกิดความหลงหรือโมหะ อาการหลงหรือโมหะนี้จะทำลายสติสัมปชัญญะทีอ่อนแออยู่แล้วลงไปโดยง่าย เมื่อสติสัมปชัญญะถูกโมหะครอบงำเสียแล้ว โกรธ ราคะ ก็จะเกิดตามมาได้โดยง่าย

8..แต่ถ้าคนที่เขาฝึกฝนจิตใจให้มี สติสัมปชัญญะมั่นคงตั้งมั่น เมื่อโมหะได้เกิิดขึ้น โมหะจะพยายามเข้าครอบงำจิตใจและทำลายสติสัมปชัญญะลง แต่เนื่องด้วยกำลังความตั้งมั่นแห่งสติสัมปชัญญะ ที่มีมากกว่ากำลังของโมหะ โมหะก็ไม่สามารถต่อสู่กับกำลังของสติสัมปชัญญะได้ เมื่อโมหะสู้ไม่ได้ โมหะก็แพ้และสลายตัวไปเองโดยธรรมชาติ

ความตั้งมั่นของสติสัมปชัญญะนี้ นี่คือสัมมาสมาธิ ในมรรค8

9..ผมได้ชี้ให้ท่านเห็นแล้วว่า จุดผิดพลาดของการภาวนานั้นอยู่ที่ไหน ถ้าท่านเข้าใจได้ตรงในการฝึกฝนว่าเพื่อการเจริญสติสัมปชัญญะให้ตั้งมั่น ไม่ใช่การไปติดตามสภาวะธรรมตัวใดเป็นพิเศษ
ท่านจะเดินได้ตรงจุด ตรงทางแห่งมรรค

คน ๆ หนึ่งที่เขาว่าทำอาณาปานสติ ถ้าเขาไม่เข้าใจ เขาไม่ใช่ทำอาณาปานสติ แต่เขากำลังจดจ่อติดตามลมหายใจ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่อาณาปานสติ

การรับรู้ลมหายใจแบบอาณาปานสติ นอกจากนักภาวนาจะรู้ลมแล้ว นักภาวนาจะรู้การสัมผัสอย่างอื่นด้วยเสมอ เช่น ถ้านั่งลืมตา ตาก็ยังเห็นภาพ หูก็ยังได้ยิน จมูกก็ยังได้กลิ่น กายก็ยังรู้สัมผัสได้อยู่

อาณาปานสติ ไม่ใช่การรู้ลมเพียงอย่างเดียว แล้วอย่างอื่นไม่รับรู้อะไรเลย ถ้าเข้าใจอย่างนี้
คือเหมือนกับตำรวจติดตามรถคันพิเศษอยู่ โดยไม่สนใจรถคันอื่นเลย

*************************

เข้าใจยาก เข้าใจลำบาก เพราะมีอะไรที่ตนเองเข้าใจอยู่ก่อนหน้าแล้วยึดความเข้าใจนั้นไ้ว้หรือเปล่า




Create Date : 27 กันยายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:59:10 น. 2 comments
Counter : 1114 Pageviews.

 
ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้อีกแล้ว พูดง่าย ๆ คือ ไม่เพ่ง ไม่จ้อง นั่นเอง


โดย: คนแก่ใฝ่ธรรม IP: 115.87.67.242 วันที่: 27 กันยายน 2553 เวลา:11:11:11 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:22:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.