รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
15 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 

รู้แบบสัมมาสมาธิ รู้แบบวิปัสสนา ต่างกันอย่างไร

ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสติ คือ ข้อ 7 และ สัมมาสมาธิ คือ ข้อ 8

ถ้านักภาวนาฝีกฝนสติปัฏฐาน 4 โดยมีแก่นนำคือ อริยสัจจ์ 4 ทีมีมรรคมีองค์ 8 สิ่งทีนักภาวนาสามารถสัมผัสได้ทันทีแบบไม่ต้องเสียเวลารอคอย คือ การรู้กายที่เป็นธาตุดิน และ ธาตุลม นี่เกิดจากการสัมผัสที่เข้ามาที่กาย

เมื่อนักภาวนาฝีกปรือต่อไปอย่างถูกต้องตามองค์มรรค 8 พอจิตมีกำลังตั้งมั่นมากขึ้นอันเนื่องมาจาก สัมมาสมาธิที่เริ่มตั้งมั่น ถ้านักภาวนาไปเกิดจิตปรุงแต่งขึ้นมาใน มโน สิ่งทีนักภาวนาจะพบก็คือ การเห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่ง แต่นักภาวนาจะไม่เห็นตัวจิตผู้รู้ อาการนี่คือ การรู้แบบสัมมาสมาธิ

เมื่อนักภาวนายังฝีกต่อไปอีกตามมรรค 8 จิตมีกำลังตั้งมั่นมากขี้น นักภาวนาจะเกิดอาการหนี่งขึ้น คือ จิตเดินวิปัสสนาของจิตเอง ในเหตุการณ์ที่จิตเดินวิปัสสนานี่ นักภาวนา จะเห็นตัวจิตผู้รู้ ที่เป็นผู้ดูอยู่ และเห็นอาการที่จิตผู้รู้ไปดูเข้า ซี่งส่วนมากมักจะเป็นจิตปรุงแต่ง เหตุการณ์นี้คือ การรู้แบบวิปัสสนา

ท่านจะเห็นข้อแตกต่างกันก็คือ รู้แบบสัมมาสมาธิ ไม่เห็นจิตผู้รู้
แต่ รู้แบบวิปัสสนา จะเห็นตัวจิตผู้รู้ที่เป็นผู้รู้ผู้ดูด้วย

การรู้แบบวิปัสสนา เกิดได้ยาก แต่การรู้แบบสัมมาสมาธิเกิดได้ง่ายกว่า

การรูุ้แบบวิปัสสนาเมื่อเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง ก็เป็นปัญญาที่ให้แก่จิตอย่างแท้จริง
แต่การรู้แบบสัมมาสมาธิ ยังไม่เกิดปัญญาให้แก่จิตอย่างแท้จริง เพียงแต่เป็นปัญญาสะสม
ให้จิตสะสมความรู้นี้ไว้ พอถึงจังหวะดี ก็เกิดการรู้แบบวิปัสสนาเสียครั้งหนี่งขึ้นมา

ในตำรามักจะเขียนว่า วิปัสสนาญาณ เพราะการรู้แบบนี้จะมีตัวจิตผู้รู้โผล่มาด้วย จึงเป็นญาณเห็นจิตผู้รู้

นักภาวนาที่ภาวนามานานแล้ว มีการรู้แบบสัมมาสมาธิเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีการรู้แบบวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นเลยสักที ก็ขอให้ฝีกฝนต่อไป บ่มรู้แบบสัมมาสมาธิให้มากขึ้นไปอีก แล้วรอเวลาที่วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

ผมจะไม่กล่าวถึงการฝีกปรือที่ผิดทาง ซี่งไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาญาณได้เลยครับ




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2555
1 comments
Last Update : 15 ธันวาคม 2555 11:05:35 น.
Counter : 2071 Pageviews.

 

วิดิโอ กิจกรรมครั้งที่ 4 ช่วงที่ 1 ได้นำขึ้น youtube แล้ว
link อยู่ทีกิจกรรมครั้งที่ 4

หมายเหตุ ช่วงที่ 2 ยังทำไม่เสร็จที่จะขึ้น youtube

 

โดย: นมสิการ 15 ธันวาคม 2555 11:45:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.