ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 

สมัชชาปฏิรูป ๒๔-๒๖ มี.ค. : วิธีแก้ความเหลื่อมลํ้าและความไม่เป็นธรรม

สมัชชาปฏิรูประดับชาติได้ประชุมครั้งที่ ๑ กันไปแล้วเมื่อ ๒๔-๒๖ มี.ค. ๕๔ ที่เมืองทองธานี
แล้วผมก็ได้เห็นการประขุมวาระที่ ๙ มีมติสำหรับการประชุมครั้งที่ ๒-๓ ออกมาดังนี้
(จาก //reform.or.th/assembly-reform ตอน smachchaaptiruup_1.mti_9_waara9.pdf )

สมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑
สมัชชาปฏิรูป ๑. มติ ๙
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔
ระเบียบวาระในการพิจารณาสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓

สมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่หนึ่ง ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ ๑-๘ ของสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั ้งที่ ๑
สนับสนุน เป้าหมายเชิงอุดมคติเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนไทยที่กําหนดโดยคณะกรรมการปฏิรูป
๓ ประการ คือ
๑. เป็นชีวิตที่มีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ มีส่วนร่วมทางสังคม มีสํานึกต่อ
ประโยชน์สุขของส่วนรวม และมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตน ทั้งทางกาย ใจ ภูมิปัญญา และ จิต
วิญญาณ
๒. เป็นชีวิตที่สงบสุขตามวิถีวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ปราศจากภัยคุกคามจากผู ้อื่น หรือการคุกคาม
ซึ่งกันและกัน ตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะ
๓. เป็นชีวิตที่มีหลักประกันในด้านเงื่อนไขการครองชีพและมีกลไกการคุ ้มครอง ทางสังคม

ตระหนัก ถึงความซับซ้อนและความเชื่อมโยงของปัญหาต่าง ๆ ที่สั่งสมอยู่ในสังคมไทย อันเป็น
ต้นเหตุของ “ความเหลื่อมลํ้าและความไม่เป็นธรรม” ในสังคม การปฏิรูปสังคมไทยเพื่อสร้างความเป็นธรรม
และลดความเหลื่อมลํ้า จึงต้องดําเนินการปฏิรูปในประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นปัญหารากฐานของปัญหาทั ้งมวล
หากดําเนินการปฏิรูปเฉพาะบางประเด็นในลักษณะแยกส่วน ย่อมไม่สามารถแก้ปัญหาให้ได้ผลในภาพรวม
และอย่างยั่งยืนได้

ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จึงได้มีมติ

๑. กําหนดประเด็นต่าง ๆ ที่ควรพิจารณาในการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลด
ความเหลื่อมลํ้า ซึ่งจะพิจารณาในสมัชชาปฏิรูประดับชาติ หรือสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น ดังนี้
๑.๑ ประเด็นหลัก เรื่อง การปฏิรูประบบภาษีและมาตรการการคลัง
๑) ภาษีมรดก
๒) ภาษีสิ่งแวดล้อม
๓) ภาษีที่จัดเก็บจากธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Tobin Tax)
๔) ภาษีสินค้าที่มีผลต่อสุขภาพ
๕) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
๖) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
๗) ค่าภาคหลวง / รายได้จากการให้สัมปทานทรัพยากรธรรมชาติ/ระบบการจัดเก็บรายได้จาก
ทรัพยากรธรรมชาติ
๘) ทบทวนมาตรการลดหย่อนและสิทธิพิเศษทางภาษี
๙) การป้องกันการผูกขาดการค้าและการแก้ไขกฎหมายการแข่งขันทางการค้า
๑๐) มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
๑๑) การเก็บภาษีเมื่อทรัพย์สินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น (Capital Gain Tax)
๑๒) การปฏิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาการกู ้หนี้นอกระบบ
๑๓) ภาษีอบายมุข/การพนัน

ฯลฯ… ฯลฯ… ฯลฯ

สำหรับผมเอง ในส่วนที่ต้องการเก็บภาษีเพื่อให้มีรายได้ โดยไม่เกี่ยวกับบุหรี่ เหล้าในข้อ ๔) และอบายมุขในข้อ ๑๓) แล้ว สนับสนุนเฉพาะภาษีที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ตามข้อ ๕) ข้อ ๗) ภาษีทรัพยากรธรรมชาติ และ ๒) ภาษีสิ่งแวดล้อม เท่านั้น นอกนั้นไม่สนับสนุน รวมทั้ง Capital Gain Tax ตามข้อ ๑๑)

เหตุผล
เพราะการเก็บภาษีเช่นนี้ไม่มีหลักการแยกว่าทรัพย์สินหรือรายได้นั้น ๆ เกิดจากการลงแรงลงทุนผลิตขึ้นมาของแต่ละบุคคล หรือจากการมารวมตัวกันเป็นชุมชน มีโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การขนส่งสินค้า มีกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมส่วนรวมที่ร่วมมือกันประกอบอาชีพโดยการแบ่งงานกันทำ ทำให้เกิดความรู้ความชำนาญในสาขาการผลิตหลากหลาย ทำให้ความสามารถและประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นมหาศาล

แต่ความเป็นชุมชนและพลังความสามารถประสิทธิภาพการผลิตเหล่านี้กลับไปเพิ่มให้ค่าเช่า-ราคาที่ดินสูงขึ้น เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ไปเปล่า ๆ ที่ดินว่าง ๆ ในเมืองราคางานละหลายล้านบาท

ถ้าเราพิจารณาให้ดีก็จะเห็นได้ว่าระบบภาษีของเราและแทบทุกประเทศเป็นตรงข้ามกับที่ควรเป็นมานานแล้ว
คือรังแกผู้ทำงานผู้ลงทุนก่อผลผลิตและบริการ แทนที่จะส่งเสริม เช่น
ขั้นที่ 1 ภาษีเงินได้ภาษีกำไรไปลดรายได้ ภาษีการผลิตการค้าทำให้ของแพง แข่งต่างชาติก็ยาก
ขั้นที่ 2 การเก็บภาษีที่ดินในอัตราต่ำ ทำให้มีการเก็งกำไรสะสมที่ดินกันทั่วไป ราคา-ค่าเช่าที่ดินแพงเกินจริง
ซึ่งไปลดผลตอบแทนส่วนที่เหลือสำหรับเจ้าของปัจจัยการผลิตอีก 2 ปัจจัย คือ ผู้ใช้แรงงาน (กาย+สมอง) และผู้ลงทุน ให้ต่ำเกินจริงลงไปอีก ยิ่งเป็นการถ่วงการก่อผลผลิตและบริการ
ขั้นที่ 3 ที่ดินที่กักตุนไว้โดยไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ ทำให้ที่ดินที่จะใช้ประโยชน์ได้ของชาติลด
แรงงานและทุนพลอยหางานทำไม่ค่อยจะได้ ผลผลิตของชาติจึงต่ำกว่าที่ควร
คนว่างงานมากขึ้น ค่าแรงยิ่งต่ำ ที่สาหัสคือคนจน
ซึ่งยิ่งเดือดร้อน อ่อนแอ กลายเป็นเหยื่อนายทุนผู้จ้าง นายทุนเงินกู้ และผู้หลอกลวงอีกต่อหนึ่ง
ขั้นที่ 4 การเก็งกำไรกักตุนที่ดิน ผสมกับสาเหตุทางการเงิน ยังก่อวิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่
ทำความเสียหายใหญ่หลวงซ้ำซากเป็นระยะ ๆ เรื่อยมา บริษัทล้ม คนว่างงาน
ดังเช่นปี 2551-52 ในสหรัฐฯ และลามไปทั่วโลกจนถึงเดี๋ยวนี้

ถ้าเราแก้ไขระบบภาษี โดยมุ่งเก็บแต่ภาษีที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และเก็บค่าการก่อความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม
พร้อมกับลด-เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้าสินค้าและบริการชดเชยกันไป อาจทำเป็นโครงการระยะยาวสัก 30 ปี เพื่อมิให้เจ้าของที่ดินเดือดร้อนเกินไป ปัญหาสังคมต่าง ๆ จะลดลงมาก การหางานทำยาก ค่าแรงต่ำ ความยากจน จะแทบหมดไป อาชญากรรม ศีลธรรมเสื่อม ภัยโจรผู้ร้ายที่คุกคามคนรวยจะลดต่ำ ความต้องการการสวัสดิการจากรัฐจะเหลือเพียงน้อยนิด

หมายเหตุ
การเป็นเจ้าของที่ดินต่างกับการเป็นเจ้าของเศรษฐทรัพย์ (wealth) ใน 4 ประการสำคัญ คือ:
1. ผู้ใดใช้แรงงานของตนผลิตสิ่งใด ผู้นั้นย่อมมีสิทธิในสิ่งนั้นโดยชอบ แต่สำหรับที่ดิน ไม่มีผู้ผลิต
2. ผู้ลงทุนซื้อผลผลิตจากผู้ผลิตหรือจากผู้มีสิทฺธิในผลผลิตโดยชอบ ย่อมมีสิทธิในสิ่งนั้น
3. เมื่อเกิดความต้องการสินค้าหรือบริการมากขึ้น จะมีผู้ผลิตแข่งขันกันผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เพิ่มขึ้น ราคาจะกลับสู่ดุลยภาพ แต่เมื่อเกิดความต้องการตำบลที่หรือทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ไม่มีใครผลิตเพิ่มได้ ราคาจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น เจ้าของที่ดินบางคนกักตุนที่ดินไว้หวังราคาที่จะสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ราคาที่ดินยิ่งสูงขึ้นไปอีก
4. แต่เมื่อเราต้องการผลิตเศรษฐทรัพย์บางอย่าง เราก็ต้องมีที่ดิน อันเป็นแหล่งกำเนิดของทั้งชีวิตและเศรษฐทรัพย์
ถ้ามีการกักตุนสินค้า แม้จะเป็นจำนวนมาก ผู้อื่นสามารถผลิตเพิ่ม แต่ถ้ากักตุนทรัพยากรธรรมชาติ - แหล่งที่มาของสินค้า - และที่ดิน - ตำบลที่ซึ่งใช้ทำงาน – จะเป็นการกีดกันผู้อื่นมิให้ทำงานผลิต
(จาก //www.progress.org/geonomy/Earth.html ).




 

Create Date : 28 มีนาคม 2554    
Last Update : 28 มีนาคม 2554 0:33:57 น.
Counter : 666 Pageviews.  

การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงที่สุด

การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงที่สุดคือการปล่อยให้ที่ดินตกเป็นของเอกชนทั้งที่ที่ดินควรเป็นของส่วนรวมทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะที่ดินไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ผลิต และขาดที่ดินมนุษย์ตาย มูลค่าที่ดินก็มิใช่แต่ละคนทำให้เกิด เช่น ที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรก 100 ตร.วากลางเมืองมีราคาสูงขึ้นเรื่อยมาจนเป็นหลายล้านบาท

"ที่ดิน" ใน The Devil’s Dictionary ปี 1911 ของ Ambrose Bierce อธิบายว่าสังคมสมัยใหม่ถือว่าที่ดินคือทรัพย์สินที่เอกชนสามารถเป็นเจ้าของได้ ซึ่งถ้าพิจารณากันจนถึงข้อยุติทางตรรกะ (logical conclusion) แล้ว ก็หมายความว่า คนบางคนมีสิทธิกีดกันคนอื่นไม่ให้มีชีวิต เพราะสิทธิเป็นเจ้าของมีนัยถึงสิทธิครอบครองเด็ดขาด ประเทศที่รับรองกรรมสิทธิ์ของเอกชนในที่ดินจะมีกฎหมายป้องกันการบุกรุก ผลก็คือถ้านาย ก, นาย ข, และนาย ค เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด ก็จะไม่มีที่สำหรับให้ ง, จ, ฉ, ช เกิด หรือเกิดมากลายเป็นผู้บุกรุก

แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินก็จำเป็นต่อการใช้ทำประโยชน์และดูแลเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
วิธีที่ดีจึงควรเป็นการปฏิรูปภาษี

เชื่อหรือไม่ ทุกคนไม่ควรต้องเสียภาษีเงินได้หรือภาษีอื่น ๆ จากการลงแรงลงทุนที่ก่อผลผลิตและบริการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนค้าขายของตน เพราะการแลกเปลี่ยนทำโดยสมัครใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเป็นวิถีชีวิตที่ช่วยให้ส่วนรวมสบายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาทำงานทั้งวันแล้วยังไม่ได้สิ่งที่ต้องการครบ

ระบบรัฐสวัสดิการสามารถทำได้โดยเก็บแต่เพียงภาษีที่ดิน ซึ่งถ้าไม่เก็บหรือเก็บน้อยไปจะเกิดการเก็งกำไรสะสมที่ดินอย่างปัจจุบัน ไปไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว แต่มักถูกทำประโยชน์น้อยเกินไป ผลผลิตและความเจริญก้าวหน้าของชาติต่ำกว่าปกติ ซึ่งหมายถึงมีคนต้องว่างงานมาก ค่าแรงต่ำ คนจนไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ ต้องเช่าที่อยู่ที่ทำกินในอัตราแพงกว่าที่ควรเป็น (ส่วนแบ่งการผลิตลดต่ำกว่าปกติ)

ลัทธิภาษีเดี่ยว (Single Tax) จากที่ดิน ของเฮนรี จอร์จ จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมขั้นฐานราก แก้ความยากจน ไม่มีการเก็งกำไรที่ดิน จึงไม่เกิดวิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่ที่รุนแรงก่อความเสียหายย่อยยับซ้ำซากแก่ทั้งคนจนและคนรวยอีกต่อไป

และเกิดผลดี คือ
1. ให้เสรีมากขึ้น ลดการถูกเรียกตรวจสอบจากเจ้าพนักงานภาษีของรัฐ เพราะเหลือแต่ภาษีที่ดิน (ควรมีภาษีหรือค่าชดเชยการทำความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญหมดเปลืองไปด้วย)

2. เกิดความยุติธรรม ใครทำงาน ใครลงทุน ได้เท่าไรก็เป็นของเขาทั้งหมด โดยตัดความได้เปรียบเสียเปรียบจากการได้ครองที่ดินมากน้อยดีเลวผิดกัน ออกไปด้วยภาษีที่ดิน

3. เกิดผลดี คือที่ดินไม่เสียเปล่ามากมายมหาศาลจากการเก็บกักเก็งกำไร การว่างงานจะลด ค่าแรงเพิ่ม และเมื่อคนไม่เสียภาษีเงินได้ก็ได้ค่าจ้างเงินเดือนกลับบ้านเต็มที่ สินค้าของกินของใช้ไม่ถูกภาษี เงินก็ไม่เฟ้อไม่เสื่อมค่า ราคาก็ต่ำลง คนจนก็สบายขึ้น สินค้าขายแข่งกับต่างประเทศได้ดีขึ้น คนต่างชาติก็จะอยากมาเที่ยวมาใช้จ่ายมาลงทุนที่เมืองไทยมากขึ้น
(ที่อาจเป็นปัญหาก็คือแรงงานต่างด้าวจะทะลักเข้าไทย)

แต่เมื่อระบบปัจจุบันกลายเป็นความเคยชิน จนกระทั่งเราไม่รู้สึกถึงความอยุติธรรมของการปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากที่ดินไปโดยไม่ต้องลงแรงลงทุน (unearned income) เราจะเปลี่ยนระบบทันที เจ้าของที่ดินก็จะเดือดร้อนเกินไป จึงควรเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ค่อย ๆ เพิ่มภาษีที่ดิน เช่น ปีละ 3 % ของค่าเช่าศักย์หรือค่าเช่าที่ดินที่ควรเป็น 33 ปีก็ได้ 99 % ขณะเดียวกันค่อย ๆ ลดภาษีจากการทำงานและการลงทุนลงชดเชยกัน

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //utopiathai.webs.com




 

Create Date : 04 มีนาคม 2554    
Last Update : 4 มีนาคม 2554 6:56:39 น.
Counter : 829 Pageviews.  

ภาษีที่ยุติธรรมอย่างยิ่ง มีเหตุผล และ กระจายตัวอย่างชอบธรรม

Sun Yat-sen (ซุนยัตเซ็น 1866-1925): คำสอนของเฮนรี จอร์จจะเป็นมูลฐานแห่งโครงการปฏิรูปของเรา . . . . [ภาษีที่ดิน] ในฐานะวิธีเดียวสำหรับให้รายได้แก่รัฐบาล เป็นภาษีที่ยุติธรรมอย่างยิ่ง มีเหตุผล และ กระจายตัวอย่างชอบธรรม และเราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยภาษีนี้

ที่ซุนยัตเซ็นผู้สถาปนาระบอบสาธารณรัฐจีนกล้ากล่าวเช่นนี้เพราะได้เห็นและประทับใจในผลของการที่ Ludwig Wilhelm Schrameier ผู้ปกครองอาณานิคม Kiaochow หรือ Chiaochou (ต่อมาเรียกว่า Jiaoxian) ของเยอรมันใน Shangdong (เดิม Shantung) ของจีนริมฝั่งทะเลเหลือง ได้นำระบบภาษีมูลค่าที่ดินตามแนวของเฮนรี จอร์จมาบังคับใช้ในอาณานิคมของตน เนื้อที่ราว 200 ตารางไมล์ (เทียบสิงคโปร์ 274 ตารางไมล์) ในทศวรรษที่เริ่มแต่ ค.ศ.1900 โดยเก็บ 6 % (ของราคาประเมิน ? ) ได้ภาษีราวครึ่งหนึ่งของค่าเช่า (ปกติหมายถึงค่าเช่าที่ควรเป็น แม้จะไม่ได้ให้เช่า) ทำให้การเก็งกำไรกักตุนที่ดินหายไป และทำให้ Kiaochow เจริญขึ้นมาก โดยเฉพาะคือ นคร Qingdao หรือ Tsingtao เยอรมันเสียอาณานิคมนี้ไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (จากลำดับ 5 ใน Where a Tax Reform Has Worked: 28 Case Summaries //www.progress.org/geonomy/Numbers.html )

ราคาที่ดินไม่ได้เกิดจากเจ้าของที่ดิน แต่เกิดจากกิจกรรมของส่วนรวม การเป็นชุมชน รวมทั้งสิ่งอำนวยความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วในการทำมาหากิน เช่น การมีรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน ฯลฯ ที่ดินว่างเปล่าในเมืองใหญ่จึงมีราคาเป็นแสนเป็นล้านขึ้นมา และยิ่งมีราคาสูงขึ้นเพราะการเก็งกำไรกักตุนที่ดินถึง 70 % เลยเหลือที่ดินที่จะทำประโยชน์ได้น้อย แปลว่าต้องมีคนว่างงาน หางานทำยาก ค่าแรงต่ำ

การพยายามถ่ายเทภาระภาษีจากการทำงานและการลงทุนก่อผลผลิตและบริการ ไปมุ่งเก็บภาษีการถือครองที่ดินตามมูลค่าของที่ดิน น่าจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ทำงานและผู้ลงทุนนะครับ เพราะจะไม่ต้องเสียภาษีจำพวกภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อสินค้าไม่มีภาษีราคาก็ต่ำลง ความยากจนและอาชญากรรมก็ลด
ภาษีที่ดินจะช่วยขจัดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเนื่องจากการได้ครองที่ดินมากน้อย ดีเลว ต่างกัน ให้หมดไป

จาก //utopiathai.webs.com




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2554 8:49:22 น.
Counter : 604 Pageviews.  

ความอยุติธรรมขั้นฐานรากที่กว้างใหญ่ของสังคม

สุธน หิญ ยินดีให้เผยแพร่ต่อได้ด้วยความขอบคุณ

ความอยุติธรรมขั้นฐานรากที่กว้างใหญ่ของสังคมคือการปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ไปจากการที่ที่ดินมีค่าเช่า/ราคาสูงขึ้น
ทั้งๆ ที่ความเป็นเจ้าของที่ดินไม่มีส่วนทำให้ที่ดินมีค่าเช่า/ราคาขึ้นมา และไม่มีส่วนร่วมในการผลิตเหมือนผู้ทำงานและผู้ลงทุน
แต่กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมกลับให้อำนาจที่จะเรียกเอาส่วนแบ่งจากการผลิต

ที่ดินนั้นเจ้าของที่ดินไม่ใช่ผู้สร้าง และมีค่าเช่า/ราคาขึ้นมาเพราะการกระทำของประชาชนส่วนรวม
เช่น การมีประชากรเพิ่มทำให้ต้องขยายที่ทำกินออกจากชายขอบ (ขอบริมแห่งการผลิต – margin of production) อันเดิม
ไปยังชายขอบอันใหม่ซึ่งให้ผลผลิตต่ำลงกว่าที่ดินชายขอบเดิม (นั่นคือให้ค่าแรงต่ำลง) ที่ดินเดิมๆ ก็มีค่าเช่า/ราคาขึ้นมา
หรือที่ดินในย่านที่มีผู้คนหนาแน่น น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีท่อระบายน้ำ การสื่อสาร การขนส่งรวดเร็วทันใจ
ค่าเช่า/ราคาที่ดินบริเวณนี้ก็ขึ้นสูง นี่ก็เพราะกิจกรรมของส่วนรวม รวมทั้งภาษีต่างๆ ที่พวกเขาเสีย

ที่ดินผิดกับทรัพย์สินอื่น ๆ ที่เกิดด้วยการลงแรงลงทุน เช่น สินค้า
ซึ่งเมื่อแพงขึ้นเพราะมีผู้ต้องการเพิ่ม ก็จะมีผู้ผลิตเพิ่มทำให้ราคากลับสู่ดุล
แต่ตำบลที่หรือทรัพยากรธรรมชาติผลิตเพิ่มไม่ได้ เมื่อความต้องการเพิ่ม ราคาจึงเพิ่ม

และถ้าเราต้องการผลิตทรัพย์สินชิ้นหนึ่ง เราก็จำเป็นต้องมีที่ดิน
ที่ดินเป็นแหล่งกำเนิดของทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ถ้ามีการกักตุนสินค้า แม้จะเป็นจำนวนมาก ผู้อื่นสามารถผลิตเพิ่ม
แต่ถ้ากักตุนทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งที่มาของทรัพย์สิน – และที่ดิน สถานที่ซึ่งใช้ทำงาน
จะเป็นการกีดกันผู้อื่นมิให้ทำงานผลิต

เฮนรี จอร์จได้อธิบายถึงความอยุติธรรมนี้ ซึ่งได้ส่งผลเสียประการหนึ่งที่ร้ายแรงใหญ่หลวงยิ่งขึ้นไปอีก นั่นคือการเก็งกำไรสะสมเก็บกักที่ดิน
ทำให้มีที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์หรือทำประโยชน์ไม่เต็มที่กระจายอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและนอกเมือง และค่าเช่า/ราคาที่ดินยิ่งมีราคาสูง
เป็นการเบียดคนจนออกไปจากโอกาสที่จะเป็นเจ้าของที่ดิน ต้องเช่าที่ดินคนอื่นเป็นที่พักอาศัยและที่ทำกินโดยเสียค่าเช่าแพง
ซ้ำยังต้องเสียภาษีทางอ้อมเมื่อซื้อของกินของใช้และสินค้าทุนสำหรับทำงานหาเลี้ยงชีวิต

การเก็งกำไรสะสมเก็บกักที่ดินยังมีผลถ่วงการผลิตอย่างมากด้วย (ทำให้แรงงานและทุนหางานทำได้ยากขึ้น และว่างงานกันไป ค่าแรงต่ำลง คนจนยิ่งช่วยเหลือตนเองได้น้อยลงไปอีก กลายเป็นเหยื่อแก่นายทุนเงินกู้และนายทุนผู้จ้างอีกต่อหนึ่งโดยง่ายดาย)
และยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองภาษีเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขยายออกไปนอกเมืองเพื่อบริการผู้คนที่สู้ราคาที่ดินในเมืองไม่ไหวต้องออกไปหาที่พักอาศัยห่างเมือง

เฮนรี จอร์จจึงเสนอให้ยกเลิกภาษีทั้งหลายที่เก็บจากการทำงานผลิตและซื้อขายแลกเปลี่ยน (ซึ่งทำให้รายได้สุทธิต่ำแต่ของแพง เป็นตัวถ่วงการผลิตที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง)
และให้หันไปเก็บภาษีที่ดินแทนโดยถือเสมือนว่าเจ้าของที่ดินเป็นผู้เช่าที่ดินจากรัฐ
(ผมเห็นว่าควรให้เวลานานหน่อย ค่อยๆ ขึ้นภาษีที่ดินโดยใช้เวลาสัก 30 ปีภาษีที่ดินจึงเท่าหรือใกล้เคียงกับค่าเช่าที่ควรเป็น เพื่อมิให้เจ้าของที่ดินเดือดร้อนเกินไป แต่ถ้าเจ้าของที่ดินยังจะขอค่าชดเชยอีก ก็ต้องคิดว่าคนที่ยากจนเพราะความอยุติธรรมขั้นฐานรากนี้ตั้งแต่ต้นสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลานเหลนในปัจจุบันควรได้รับชดใช้ด้วยหรือเปล่า)

เท่าที่ผมอธิบายมานี้นับว่าเป็นอย่างสั้นมากทีเดียว ซึ่งฝรั่งที่เขาพยายามอธิบายสั้นๆ มาก่อนก็ไม่ได้ผลมาแล้ว แม้แต่เฮนรี จอร์จเอง มาได้รับความสนใจกลายเป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์ที่ขายดีที่สุดในขณะนั้นก็เมื่อขยายความออกจากเดิมที่ยาวเพียง 48 หน้าชื่อ Our Land and Land Policy มาเป็น Progress and Poverty มีความยาวเกือบ 600 หน้าใน ค.ศ.1879 ซึ่งเป็น “การสอบสวนภาวะตกต่ำทางอุตสาหกรรมและการที่ความขาดแคลนเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของเศรษฐทรัพย์” และวิธีแก้ไข มีผู้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และผมก็แปลเป็นภาษาไทยด้วย ชื่อ ความก้าวหน้ากับความยากจน รวมทั้งเขียนเองอีกเล่มหนึ่งสั้นหน่อย 140 หน้า ชื่อ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม – เศรษฐศาสตร์ที่ลงถึงราก ดูได้ที่ //utopiathai.webs.com ทั้งสองเล่มครับ.
--------------

การยกย่องเฮนรี จอร์จและหนังสือ Progress and Poverty
ซุนยัตเซ็น - ข้าพเจ้าตั้งใจจะอุทิศอนาคตของข้าพเจ้าให้แก่การส่งเสริมสวัสดิการของประชาชนจีนในฐานะประชาชนชาติหนึ่ง คำสอนของเฮนรี จอร์จ จะเป็นมูลฐานแห่งโครงการปฏิรูปของเรา . . . . [ภาษีที่ดิน] ในฐานะวิธีเดียวสำหรับให้รายได้แก่รัฐบาล เป็นภาษีที่ยุติธรรมอย่างยิ่ง มีเหตุผล และ กระจายตัวอย่างชอบธรรม และเราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยภาษีนี้

Leo Tolstoy - แผนการที่ยุติธรรมที่สุดและปฏิบัติได้ดีที่สุดในความเห็นของข้าพเจ้าคือแผนของเฮนรี จอร์จที่เรียกกันว่าระบบภาษีเดี่ยว …
ความอยุติธรรมของการยึดเอาที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนตัวเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วในหมู่นักคิด แต่เพิ่งมาเห็นชัดว่าจะยกเลิกความอยุติธรรมนี้ได้โดยวิธีใดก็ต่อเมื่อมีคำสอนของเฮนรี จอร์จแล้ว ประชาชนมิได้โต้แย้งคำสอนของจอร์จ เพียงแต่เขาไม่รู้จักคำสอนนี้เท่านั้น ผู้ที่คุ้นเคยกับคำสอนนี้แล้วย่อมจะได้แต่เห็นดีด้วย

Winston Churchill - การผูกขาดที่ดินมิใช่การผูกขาดเพียงชนิดเดียว แต่ก็เป็นการผูกขาดที่ใหญ่หลวงที่สุด - เป็นการผูกขาดตลอดกาล และเป็นต้นกำเนิดของการผูกขาดอื่นๆ ทุกรูปแบบ . . . . ข้าพเจ้าหมายถึงกระบวนการมากกว่าตัวเจ้าของที่ดินแต่ละคน ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะทำให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังชนชั้นหนึ่งชั้นใดขึ้น ข้าพเจ้ามิได้คิดว่าผู้ที่หาเงินจากส่วนเพิ่มจากที่ดินอันมิใช่เกิดจากการลงทุนลงแรงนั้นเลวกว่าบุคคลอื่นที่หากำไรเท่าที่อาจจะหาได้ในโลกที่มีความลำบากนี้โดยไม่เป็นการผิดกฎหมายและเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันทั่วไป ที่ข้าพเจ้าโจมตีนั้นไม่ใช่บุคคล แต่เป็นระบบ ไม่ใช่บุคคลเลว แต่เป็นกฎหมายต่างหากที่เลว ที่ควรจะถูกติเตียนนั้นไม่ใช่บุคคลผู้กระทำการอันกฎหมายได้อนุญาตไว้และผู้อื่นก็กระทำกัน แต่ควรจะเป็นรัฐที่ถูกตำหนิหากไม่หาทางปฏิรูปกฎหมายและแก้ไขการปฏิบัติ เราไม่ต้องการจะลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย

Theodore Roosevelt - ภาระภาษีนั้นควรจะเปลี่ยนไปให้น้ำหนักแก่มูลค่าที่สูงขึ้นโดยมิได้ลงทุนลงแรงของที่ดินเองมากกว่าที่จะเป็นสิ่งปรับปรุง

Woodrow Wilson - ทั้งหมดที่ประเทศต้องการคือความคิดที่ใหม่และจริงใจ ซึ่งประกาศออกมาอย่างมีเหตุผลสอดคล้องกัน แจ่มชัด และห้าวหาญ โดยผู้ที่เชื่อมั่นในพื้นฐานของตน พลังของบุคคลเช่นเฮนรี จอร์จ ดูจะมีความหมายเช่นนั้น

Franklin D. Roosevelt - เฮนรี จอร์จเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่แท้จริงท่านหนึ่งที่ประเทศเราผลิตขึ้นมา . . . ข้าพเจ้าปรารถนาจะให้งานเขียนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีขึ้นและเข้าใจกันแจ่มแจ้งขึ้น

Dwight D. Eisenhower - ออกเสียงให้แก่ เฮนรี จอร์จ เพื่อให้เข้าสู่ Hall of Fame ใน ค.ศ. 1950

ห้องสมุดทำเนียบขาว - เลือกหนังสือ Progress and Poverty ของจอร์จไว้ในการรวบรวมหนังสืออเมริกันที่ดีเด่นใน ค.ศ.1963.




 

Create Date : 26 มกราคม 2554    
Last Update : 26 มกราคม 2554 14:45:04 น.
Counter : 611 Pageviews.  

จีนจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าที่ดิน

จีนจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าที่ดินโดยนำเอาราคาที่ดินมารวมในการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ทางการพาณิชย์ นักวิเคราะห์คาดกันว่า Shanghai และ Chongqing จะเป็นนครอันดับแรกที่จะเก็บภาษีนี้

ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลจีนในการลดปัญหาการเก็งกำไรทรัพย์สินทำให้บ้าน (และที่ดิน) มีราคาแพง และเพื่อเป็นแหล่งรายได้ประจำขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อลดการต้องพึ่งพารายได้จากการขายที่ดิน

ความพยายามของรัฐบาลจีนที่จะลดความร้อนแรงเกินไปของตลาดอสังหาฯ นับว่าตรงข้ามกับในไอร์แลนด์ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และอีกหลาย ๆ ประเทศที่ปล่อยให้มีการจำนองและกู้เงินโดยถือตามราคาที่ดินที่สูงขึ้นมามาก ทำให้เกิดความพินาศแก่เศรษฐกิจของประเทศและรัฐต้องขาดรายได้

(จาก //urbantools.org/news/chinese-cities-among-the-first-to-implement-new-land-value-tax ซึ่งอ้างข่าวจากเว็บไซต์ของ NASDAQ เมื่อ 8 ม.ค. 54).




 

Create Date : 15 มกราคม 2554    
Last Update : 15 มกราคม 2554 11:10:33 น.
Counter : 583 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com