|
 |
 |
 |
 |
|
เรื่องย่อหนังสือความยากจนที่ไม่เป็นธรรม (ฉบับเต็มอ่านฟรีบนเว็บ)
(ฉบับเต็มอ่านได้ที่ //utopiathai.webs.com/UnjustPoverty.html)
ลัทธิที่ดินนิยมคือกาฝากร้ายของทุนนิยม การที่ฝ่ายทุนนิยมล้มเหลวไม่สามารถขจัดความยากจนได้ การที่วัฏจักรเศรษฐกิจเหวี่ยงตัวขึ้นลงรุนแรงก่อความเสียหายใหญ่หลวง ธุรกิจล้มละลาย ผู้คนสิ้นเนื้อประดาตัว ก็เพราะที่ดินนิยมเป็นสาเหตุหลักให้เกิดการเก็งกำไรที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีที่ดินเป็นส่วนสำคัญ ถ้าเราสามารถขจัดลัทธิที่ดินนิยมออกไปจากลัทธิทุนนิยม ทุนนิยมก็จะเป็นทั้งแรงงานนิยมไปด้วยอีกอย่างหนึ่งคู่กันไป เพราะที่ดินนิยมคือสิ่งขวางกั้นมหึมาต่อมือที่มองไม่เห็นของแอดัม สมิธ อันเป็นหัวใจของทุนนิยมหรือลัทธิเสรีวิสาหกิจ
ที่ดินคือเงื่อนไขแห่งชีวิต การปล่อยให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์แทบจะเต็มที่ในที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ มิได้มีมนุษย์ผู้ใดลงทุนลงแรงสร้างขึ้นมา การไม่เก็บภาษีที่ดินสูง ๆ ทำให้เกิดการเก็งกำไรเก็บกักที่ดิน ทำให้แผ่นดินของประเทศชาติไม่ได้รับการทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ความไม่เท่าเทียมกันในกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื่องจากความยากจนทำให้คนจำนวนมากต้องยอมจ่ายค่าตอบแทนโดยเช่าที่ดินจากผู้อื่น การเก็บภาษีทั้งหลายแหล่ยกเว้นภาษีที่ดิน ได้ก่อผลร้าย เช่น ทำให้ของแพงและค่าแรงต่ำ ถ่วงความร่วมมือในการผลิต ทั้งภายในประเทศด้วยกัน และกับต่างประเทศ ทำให้ผลผลิตลดลง และการว่างงานรุนแรงขึ้น
การที่รัฐบาลออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นการส่งเสริมอภิสิทธิ์อำนาจผูกขาด ทำให้เกิดการกดขี่ขูดรีด ทำให้ราษฎรส่วนใหญ่เดือดร้อน เหล่านี้คือสาเหตุของความยากจนที่เริ่มจากความไม่เป็นธรรม
ภาษีนั้นไม่ควรจะให้เป็นภาระแก่ผู้ลงทุนลงแรงสร้างผลผลิตและบริการ แต่ควรจะเก็บตาม หลักผลประโยชน์ หรือถือตามหลักความยุติธรรม คือส่วนที่เกิดจากเอกชนแต่ละคนก็ต้องเป็นของเอกชนแต่ละคนนั้น ๆ ส่วนที่เกิดจากสังคมก็จักต้องไม่ยอมให้ตกไปเป็นของเอกชน แต่ต้องใช้วิธีการภาษีหรืออื่น ๆ นำกลับมาเป็นของรัฐหรือสังคมส่วนรวม
การเร่งรัดพัฒนาประเทศ จะทำได้ก็แต่โดยรัฐบาลจะต้องเก็บภาษีให้มากขึ้น ผู้เสียภาษีคือราษฎรทั่วไป ผลร้ายของภาษีคือทำให้ของแพง ถ่วงการผลิต และค่าแรงต่ำ แต่ส่วนผลดีของการพัฒนาประเทศ เช่นการสร้างถนน สะพาน การชลประทาน กลับไปตกอยู่กับเอกชนเจ้าของที่ดินแต่ละคน ผู้เช่าที่ดินซึ่งต้องเสียภาษีต่าง ๆ มากขึ้นอยู่แล้ว ก็กลับต้องเสียค่าเช่าที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลของภาษีที่เอาไปพัฒนานั่นเอง นับได้ว่าเป็นการเสีย 2 ต่อ ความอยุติธรรมเช่นนี้ได้ส่งผลพอกพูนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดมาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้น ผลของการพัฒนาประเทศจึงเสมือนลิ่มที่ตอกผ่ากลางระหว่างกลุ่มคนจนกับกลุ่มคนรวย แยกชน 2 กลุ่มนี้ให้เกิดช่องว่างระหว่างกลางมากขึ้น ยกกลุ่มที่ร่ำรวยอยู่แล้วให้ยิ่งร่ำรวยขึ้น และกดกลุ่มที่ยากจนลงให้เกิดความยากแค้นมากยิ่งขึ้น จึงเกิดคำถามกันขึ้นว่า เราพัฒนาไปเพื่อใคร ?
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประเทศเป็นสิ่งที่ดีงาม ควรกระทำต่อไป แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็ควรจะให้กระจายออกไปทั่วหน้ากัน โดยการพยายามลดหรือยกเลิกภาษีต่าง ๆ แล้วเก็บภาษีมูลค่าที่ดินแทน
Create Date : 28 เมษายน 2551 |
Last Update : 19 มิถุนายน 2554 7:54:38 น. |
|
4 comments
|
Counter : 2566 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: สุธน หิญ วันที่: 28 เมษายน 2551 เวลา:7:55:35 น. |
|
|
|
โดย: สุธน หิญ วันที่: 28 เมษายน 2551 เวลา:7:59:39 น. |
|
|
|
โดย: สุธน หิญ วันที่: 28 เมษายน 2551 เวลา:8:06:16 น. |
|
|
|
โดย: ณัฐวรา IP: 202.129.0.158 วันที่: 23 กันยายน 2559 เวลา:14:39:00 น. |
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|
วิธีแก้ไขความยากจนวิธีต่าง ๆ นั้น ไม่มีวิธีใดที่จะเป็นหลักมูลฐานได้ดีไปกว่าระบบภาษีที่ดิน แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเราจะไม่ควรรับใช้วิธีการอื่น ๆ เสียเลย ระบบภาษีที่ดินเป็นแต่เพียงวิธีการสำคัญที่ควรยึดถือไว้เป็นหลัก แต่นอกจากหลักแล้วก็ควรจะมีส่วนประกอบค้ำจุนเพิ่มเติมอีก และวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้นชั่วครั้งชั่วคราวบางอย่างก็ยังมีความจำเป็น
การใช้ระบบภาษีมูลค่าที่ดินมิใช่จะไม่มีผลร้ายเสียเลย แต่ในเมื่อได้พิจารณาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียแล้วเห็นว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เราก็ควรจะช่วยกันสนับสนุนระบบภาษีที่ดินนี้ การใช้ระบบภาษีที่ดินไม่จำเป็นจะต้องถือเป็น ภาษีเดี่ยว ตามที่เฮนรี จอร์จ เสนอ แต่ก็จะทำให้สามารถลดภาษีอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลร้ายลงไปได้มาก ส่วนภาษีใดที่เห็นว่ายังมีความสมควรที่จะเก็บต่อไป ก็สามารถจะกระทำได้โดยไม่มีอุปสรรคแต่อย่างใด เพราะแม้แต่ถ้าจะคงเก็บภาษีต่าง ๆ อยู่ตามเดิม แล้วเพิ่มภาษีที่ดินขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ชนชั้นแรงงานก็จะไม่เดือดร้อนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่กลับจะได้รับประโยชน์ เพราะการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหมดไป เจ้าของที่ดินจะต้องหาทางทำประโยชน์ในที่ดินให้มากขึ้น เพื่อให้คุ้มกับภาษีมูลค่าที่ดินที่ตนจะต้องจ่าย ผลก็คือเป็นการเร่งรัดพัฒนาไปในตัว โดยเอกชน ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องรับภาระ ชนชั้นแรงงานจะมีงานทำมากขึ้น ค่าแรงจะสูงขึ้น ในขณะเดียวกันผลผลิตของประเทศเป็นส่วนรวมก็จะมากขึ้น และมีราคาถูกลงเป็นผลดีแก่คนทั่วหน้ากัน ซ้ำภาษีที่ได้เพิ่มขึ้นก็ทำให้สามารถทำนุบำรุงประเทศได้มากขึ้นด้วย
ยิ่งถ้าภาษีอื่น ๆ ลดลงได้ สิ่งของที่ผลิตภายในประเทศก็จะยิ่งมีราคาต้นทุนต่ำลงอีก สินค้าไทยจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ดีขึ้น เป็นการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ และแก้ดุลการค้าไปในตัว
อุปสรรคที่สำคัญของการลงทุนซึ่งผู้ประกอบการเคยบ่น คือ ที่ดินมีราคาแพง และภาษีต่าง ๆ สูง เพราะฉะนั้นระบบภาษีที่ดินซึ่งทำให้ที่ดินมีราคาหรือค่าเช่าต่ำลง และทำให้ลดภาษีต่าง ๆ ลงได้ด้วย ก็จะเป็นเครื่องส่งเสริมระดมการลงทุนไปในตัวด้วยอีกประการหนึ่ง
พึงระลึกว่า การที่ค่าแรงสูงขึ้นตามธรรมชาติในระบบภาษีมูลค่าที่ดินนั้นจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน เพราะส่วนที่ค่าแรงได้เพิ่มนั้น คือส่วนที่เจ้าของที่ดินต้องยอมเสียไป ซึ่งเจ้าของที่ดินยังต้องยอมเสียอีกส่วนหนึ่งให้แก่เจ้าของทุนอีกด้วย
การรับใช้ระบบภาษีมูลค่าที่ดิน ไม่จำเป็นจะต้องกระทำอย่างฮวบฮาบทันที และไม่จำเป็นจะต้องเก็บภาษีสูงเท่ากับค่าเช่าที่ดินเลยทีเดียว ส่วนจะเก็บเท่าไรก็ควรจะพิจารณาดูจากการทดลองเป็นขั้น ๆ ไป เช่น อาจทำเป็นโครงการ 20 ปี เก็บเพิ่มขึ้นปีละ 3 % ของค่าเช่า แล้วคอยเฝ้าสังเกตดูผลต่อชนทุกชั้น เพื่อปรับแต่งอัตราภาษีให้พอเหมาะ อย่างไรก็ตาม ในขั้นสุดท้าย อัตราภาษีที่ดินควรให้สูงมากพอที่จะทำลายการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ อันส่งผลพลอยทำให้ทุนและแรงงานไม่ได้ทำงานเต็มที่ไปด้วย นั่นก็คือ ทำให้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตทั้ง 3 ปัจจัยของชาติต้องสูญเสียประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ไปเปล่า ๆ ทำให้ผลผลิตส่วนรวมของประเทศลดลง และเกิดการว่างงาน ค่าแรงต่ำ เป็นผลร้ายต่อทั้งราษฎรและประเทศชาติ