ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
ภาษีทรัพย์สินแก้ไขอีกนิด เศรษฐกิจจะอุดมโภคา

(ทั้งสนับสนุนและคัดค้านท่านกรณ์ตามข่าวใน //www.bangkokbiznews.com/home/detail/property/property/20100115/95529/กรณ์-สั่งลุยภาษีทรัพย์สิน.html )

ภาษีที่ดินควรเป็นภาษีที่เก็บแทนภาษีเงินได้และภาษีจากการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งการค้าขาย เพราะมูลค่าหรือค่าเช่าที่ดินนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าของที่ดิน แต่เกิดจากการมีชุมชน กิจกรรมของส่วนรวม รวมทั้งการเสียภาษีต่างๆ ที่รัฐเรียกเก็บ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้การประกอบอาชีพและการกินอยู่ทำได้สะดวกรวดเร็วปลอดภัย ฝรั่งจึงเรียกมูลค่าหรือค่าเช่าที่ดินว่า unearned income หรือ unearned increment

การเก็บภาษีที่ดินแทนภาษีจากการลงแรงลงทุนเช่นนี้ ที่จริง โดยหลักของสำนักจอร์จ ก็คือเมื่อเปลี่ยนแปลงเสร็จสิ้นแล้ว สมมุติว่าค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย ใช้เวลา 30 ปี ภาษีที่ดินจึงเท่าหรือเกือบเท่ากับค่าเช่าศักย์หรือค่าเช่าที่ควรจะเป็นของที่ดินนั้นๆ ทางปฏิบัติก็คือ รัฐเป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนจ้าของที่ดินแต่ละรายกลายเป็นผู้เช่านั่นเอง นี่เป็นข้อเดียวที่จะกล่าว (หา) ได้ว่าเฮนรี จอร์จเป็นสังคมนิยม (แต่พยายามอย่ายุ่งเกี่ยวกับการจัดคนให้ไปอยู่ในที่ดินตามพื้นที่ต่างๆ ให้เขามีสิทธิเลือกที่ดินของเขาเองดีที่สุด)

มีภาษีเกี่ยวกับที่ดิน (ทรัพยากรธรรมชาติ) ที่ควรเก็บอีก 2 อย่าง คือ ค่านำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้หมดเปลืองไป และ ค่าชดเชยก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม

ส่วนกิจการอื่นๆ เอกชนทำได้โดยเสรี ไม่มีภาษีอะไรที่จะต้องจ่าย ทำมาหาได้เท่าไรเป็นของตนเองทั้งหมด ไม่ต้องยื่นแบบเพื่อชำระภาษี แม้กระทั่งภาษีที่ดิน (ภาษีสิ่งปลูกสร้างก็ไม่เก็บ) โดยภาษีที่ดินนั้นรัฐมีโฉนดหรือใบสำคัญอื่นๆ เป็นหลักฐานอยู่แล้วหรือสามารถตรวจสอบเองได้และต้องตั้งแผนที่แสดงราคาประเมินให้เห็นกันทั่วเพื่อความโปร่งใส เช่น ตั้งแสดงไว้ที่แต่ละอำเภอ

เมื่อเก็บภาษีที่ดินเท่ากับค่าเช่าที่ควรเป็น ก็เกิดความยุติธรรม เพราะความได้เปรียบเสียเปรียบกันเนื่องจากการครองที่ดินมากน้อยดีเลวผิดกันจะหมดไป ไม่ต้องจัดสรรที่ดินให้ใคร เพราะตามระบบใหม่นี้ ผู้คนจะไม่ถือครองเก็บกักที่ดินไว้ จนกว่าจะเห็นว่าสามารถทำประโยชน์หรือใช้ที่ดินได้คุ้มกับภาษีที่ดินที่จะต้องจ่าย ที่ดินจะกลายเป็นของหาง่ายและราคาถูก
(เมื่อภาษีเท่ากับค่าเช่าที่ควรเป็น ตามทฤษฎีราคาที่ดินจะเท่ากับศูนย์ เพราะการมีที่ดินเกินกว่าที่ตนจะใช้ประโยชน์ได้คุ้ม จะไม่ก่อประโยชน์อันใดให้แก่เจ้าของที่ดินอีกค่อไป มีแต่จะขาดทุนเพราะต้องจ่ายภาษีที่ดิน)

เมื่อที่ดินกลายเป็นของหาง่ายและราคาถูกแสนถูก ก็ไม่มีเหตุผลที่รัฐจะต้องลงโทษเจ้าของที่ดินให้มากขึ้นไปอีกโดยเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับผู้มีที่ดินมากหรือไม่ใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน (ถึงไม่กำหนดไว้ก็ไม่มีใครเขาจะเก็บที่ดินไว้มากๆ หรือนานๆ ให้เสียภาษีที่ดินไปเปล่าๆ หรอก)
อีกประการหนึ่ง ครอบครัวที่เขาตั้งบริษัทกันเป็นว่าเล่น แล้วแต่ละบริษัทก็มีที่ดินกันมากบ้างน้อยบ้างนั้น (แบ่งที่ดินให้มีขนาดเล็กลง) รัฐมีหนทางแก้เกมแล้วหรือยังครับ ?
เชอร์ชิลล์บอกไว้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะทำให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังชนชั้นหนึ่งชั้นใดขึ้น ข้าพเจ้ามิได้คิดว่าผู้ที่หาเงินจากส่วนเพิ่มจากที่ดินอันมิใช่เกิดจากการลงแรงลงทุนนั้นเลวกว่าบุคคลอื่นที่หากำไรเท่าที่อาจจะหาได้ในโลกที่มีความลำบากนี้โดยไม่เป็นการผิดกฎหมายและเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันทั่วไป ที่ข้าพเจ้าโจมตีนั้นไม่ใช่บุคคล แต่เป็นระบบ” (วาทะของนักคิดเรื่องที่ดินและการกระจายรายได้ //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=182&c=1)

และรัฐก็ไม่ต้องเสียเงินตั้งธนาคารที่ดินเพื่อช่วยคนจน โดยเฉพาะเมื่อปรากฏชัดแจ้งตลอดเวลามาว่า เจ้าหน้าที่รัฐนั่นแหละหาโอกาสฉ้อราษฎร์บังหลวงอยู่ตลอดเวลา

ความคิดที่ว่าจะมีการยกเว้นสำหรับที่ดินขนาดเล็กมูลค่าต่ำนั้น ก็ไม่ควรยกเว้น เพราะจะเสียความยุติธรรมไปเหมือนกันกับการเก็บภาษีก้าวหน้าสำหรับคนหรือบริษัทที่มีที่ดินมาก ขอให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับธุรกิจทั่วไป อย่าใช้วิธีพิจารณาฐานะลูกค้า ธุรกิจคือธุรกิจ อีกประการหนึ่งคือ เราต้องการเงินสำหรับงบประมาณแผ่นดิน ถ้ามีการลดหย่อน ยกเว้น ก็จะต้องเก็บภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตและค้าต่อไป เป็นอันเสียความมุ่งหมาย

เรื่องภาษีมรดกที่ท่านกรณ์ขอรอไว้ก่อนนั้นดีแล้วครับ เพราะมรดกส่วนใหญ่คือที่ดินนั่นเอง เครื่องจักร โรงงาน บ้านเรือนซึ่งเป็นของที่ลงแรงลงทุนสร้างถือว่าเป็นของเอกชนที่เขาควรมีสิทธิเต็มที่ และต้องอาศัยตั้งอยู่บนที่ดิน ซึ่งจะต้องเสียภาษีตามระบบใหม่อยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือของเล็กๆ ที่มีมูลค่าสูงก็เลี่ยงภาษีง่ายและก็ไม่ควรต้องถูกเก็บภาษี เพราะมันไม่ได้ไปขัดขวางการทำมาหาเลี้ยงชีวิตของใคร (ตรงข้ามกับการเก็บกักที่ดิน)

ซ้ำคนจนทั้งหลายก็จะไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ ทำให้สินค้าของกินของใช้ราคาถูกลง ผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ภาษีกำไร และที่ดินก็หาง่ายราคาถูก ก็จะมีกำลังใจลงทุนมากขึ้น กลายเป็นว่านายทุนต้องแข่งขันกันหาคนมาทำงาน แทนที่แรงงานจะต้องง้อนายทุนและถูกกดค่าแรงอย่างระบบปัจจุบัน ค่าแรงก็จะสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่ม กลายเป็น Economy of Abundance ขึ้นแทน Economy of Scarcity นั่นคือ ประเทศของเราจะเป็นอุดมรัฐหรือยูโทเพีย หรือประมาณนั้น อาชญากรรมจากความยากจนและการกลัวความยากจนที่ระบาดเป็นภัยคุกคามคนรวยอยู่มากมายก็จะลดลงอย่างมาก

และเมื่อสินค้าเราราคาต่ำ ก็จะแข่งขันได้สบายกับต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว

เรื่องที่ดินที่เป็นปัญหาสางกันไม่ค่อยจะออก เพราะเจ้าหน้าที่คอร์รัปชัน เกิดปัญหากรรมสิทธิ์ทับซ้อนระหว่างชาวบ้านกับคนรวยที่โลภมาก ปัญหาชาวบ้านบุกรุกที่หลวง ที่รกร้าง ฯลฯ จะแก้ได้โดบง่ายหรือหายไปเองด้วยซ้ำ

ปัญหาใหญ่ก็คือ ท่าน รมว.คลัง กรณ์ จะทำได้หรือ ? บุคคลชั้นนำอื่นๆ เขาจะได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนท่านหรือ ?

ผมได้แต่เอาใจช่วย และถือโอกาสบอกกล่าวให้รู้กันทั่วไปว่า ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป ขอให้พวกเราประชาชนช่วยกันเลือกผู้แทนที่สัญญาว่าจะมุ่งเก็บภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น และลด-เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน นะครับ.

จากเว็บ //utopiathai.webs.com


Create Date : 15 มกราคม 2553
Last Update : 15 มกราคม 2553 19:05:29 น. 0 comments
Counter : 1086 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com