|
 |
 |
 |
 |
|
วิชาเศรษฐศาสตร์ถูกคอร์รัปชัน!
วิชาเศรษฐศาสตร์ถูกคอร์รัปชัน!
เชื่อไหมครับ วิชาเศรษฐศาสตร์ได้ถูกคอร์รัปชันในสหรัฐฯ โดยปัจจัยการผลิตที่มี ๓ ปัจจัย คือ ที่ดิน แรงงาน (กาย+สมอง) และ ทุน ถูกตัดเหลือ ๒ ปัจจัย ส่วนที่ขาดหายไปคือที่ดิน ได้ถูกนำไปรวมกับ ทุน เพราะพวกที่มีผลประโยชน์มากในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องการกลายเป็นเป้าเด่นตามที่เฮนรี จอร์จชึ้ให้เห็น ข้อเขียนและคำปราศรัยของ Henry George (ค.ศ.1839-1897) ในช่วง 20 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เสนอให้ยกเลิกภาษีทั้งสิ้น ยกเว้นให้เก็บภาษีมูลค่าที่ดินเพียงอย่างเดียว ซึ่งได้รับการต้อนรับจากคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มอำนาจต้องหาทางรักษาสถานภาพที่เป็นอยู่ (status quo) ส่วนที่สำคัญก็คือพยายามมีอำนาจควบคุมการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยสำคัญๆ ของสหรัฐฯ ศาสตราจารย์ Mason Gaffney อธิบายว่าเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิกเริ่มขึ้นเมื่อ John Bates Clark (ค.ศ. 1847-1938) ผู้มีชื่อเสียงด้านพัฒนาแนวคิดเรื่องผลิตภาพหน่วยท้ายสุด (marginal productivity) ถือเอาเป็นภาระหน้าที่ของตนที่จะต้องต่อต้าน Henry George ต่อมา Clark ได้รับการย้ายไปยังมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แล้วบรรดาศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ที่คุ้นเคยกับการโต้แย้งทางจริยธรรมก็ถูกแทนที่ด้วยผู้ผ่านการศึกษาด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ สิ่งแรกที่กลุ่มนีโอคลาสสิกทำคือ การถอนเอา ที่ดิน ออกจากสมการเศรษฐกิจ โดยไม่ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่แตกต่างจากทุนและสินค้าที่ผลิตขึ้นมาด้วยการใช้แรงงาน โลกเศรษฐกิจจึงเหลือสิ่งสำคัญพื้นฐานเพียง 2 สิ่ง คือ แรงงาน และ ทุน อิทธิพลความคิดของ Henry George และกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์เดิมที่เรียกว่า political economists แทบจะหมดไปในราวกลางทศวรรษที่เริ่มจาก ค.ศ.1920 ทางดาราศาสตร์มีสสารมืด (Dark Matter) หรือสิ่งที่เราเรียกว่าหลุมดำ (Black Hole) ทางเศรษฐศาสตร์ก็เปรียบผลตอบแทนต่อที่ดินเป็นสสารมืด เช่น ระหว่าง ค.ศ. 1975 ถึง 2005 GDP ของสหรัฐฯ โตมากกว่าร้อยละ3 ต่อปี หลังหักค่าเงินเฟ้อแล้ว รายได้มัธยฐานของครอบครัว (median family income - มีจำนวนครอบครัวที่อยู่เหนือและใต้เส้นมัธยฐานเท่ากัน) กลับมีอัตราการเติบโตเพียง 0.8 % เท่านั้น การเติบโตส่วนอื่น ๆ ไปอยู่เสียที่ไหน ? เรื่องแถม ใครขูดรีดแรงงาน นายทุน หรือ เจ้าของที่ดิน ? โดยอาศัย ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน (labor theory of value) ที่ผิดพลาด คาร์ล มาร์กซ์ได้อ้างว่ามูลค่าทั้งหมดเกิดจากแรงงาน ดังนั้นส่วนเกินจึงต้องเป็นค่าแรงที่ถูก นายทุน ยึดไปโดยไม่เป็นธรรม เฮนรี จอร์จได้แสดงให้เห็นอย่างถูกต้องว่าส่วนเกินคือค่าเช่าที่ดิน เพราะในระบบตลาดเสรี แรงงานจะได้รับชดเชยเต็มที่ตามผลิตภาพ แต่ผลิตภาพนี้ถูกกดอยู่ด้วยภาษีและการเก็งกำไรที่ดินซึ่งทำให้ขอบริมแห่งการผลิตถูกขยายออกไปยังที่ดินที่มีผลิตภาพต่ำลง และที่ดินเดิมมีค่าเช่าสูงขึ้น ค่าแรงจึงลดลง เอกสารที่เกี่ยวข้อง นิยามศัพท์และกฎมูลฐานทางเศรษฐศาสตร์แบบของจอร์จ oknation.net/blog/utopiathai/2011/06/29 ที่ดินไม่เหมือนทุนหรือทรัพย์สินอื่น bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=431&c=1 สสารมืดในเศรษฐศาสตร์ oknation.net/blog/utopiathai/2011/08/18 The Corruption of Economics (excerpt) politicaleconomy.org/gaffney.htm The Corruption of Economics homepage.ntlworld.com/janusg/coe/!index.htm Interview With Mason Gaffney on Corruption of Economics progress.org/gaffnint.htm Neo-classical Economics as a Stratagem against Henry George masongaffney.org/publications/K1Neo-classical_Stratagem.CV.pdf
Create Date : 05 มีนาคม 2555 |
Last Update : 5 มีนาคม 2555 23:40:06 น. |
|
1 comments
|
Counter : 773 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ชาญชัย IP: 202.176.106.3 วันที่: 22 กรกฎาคม 2556 เวลา:19:31:24 น. |
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|
//www.positive4thailand.com/2013/07/international-community-130721.html