|
 |
 |
 |
 |
|
ร้อยแก้วที่ไพเราะที่สุดและใช้เรียนในวิชาวรรณคดีอังกฤษ ม.อ็อกซฟอร์ด
ร้อยแก้วที่ไพเราะที่สุดและใช้เรียนในวิชาวรรณคดีอังกฤษ ม.อ็อกซฟอร์ด
เชื่อไหมครับว่านี่คือหนังสือดีเด่นทางเศรษฐศาสตร์ของเฮนรี จอร์จเรื่อง Progress and Poverty (จากส่วนหนึ่งของคำปราศรัยเรื่อง Henry George and The Reconstruction Of Capitalism โดย ศาสตราจารย์ปรัชญากิตติคุณ ดร. Robert V. Andelson ต่อที่ประชุมสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอเมริกันเมื่อ 9 ก.ค. 1992 แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 2008 และขึ้นเว็บที่ //www.schalkenbach.org/library/andelson-reconstruction.html )
เฮนรี จอร์จเกิดในฟิลาเดลเฟียใน ค.ศ. 1839 และตายที่นิวยอร์ก ค.ศ.1897 เขาเขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มนี้ที่ซาน ฟรานซิสโกในทศวรรษที่เริ่มแต่ ค.ศ. 1870 ชีวิตในวัยผู้ใหญ่ของเขาส่วนใหญ่เป็นการทำงานด้านหนังสือพิมพ์ เริ่มตั้งแต่ฝึกเรียงพิมพ์ แล้วไต่เต้าขึ้นไปจนถึงโต๊ะบรรณาธิการ ชีวิตของเขาเปรียบเสมือนนิยายผจญภัยแบบแคลิฟอร์เนียนที่มีลักษณะพิเศษ ความคิดของเขาหล่อหลอมขึ้นมาจากการช่างสังเกตถึงสภาพในมลรัฐใหม่ที่กำลังเจริญเติบโต ซึ่งเขาสามารถตรวจสอบการกำเนิดและพัฒนาการของกระบวนการทางสังคมและเศรษฐกิจได้ราวกับอยู่ในห้องทดลอง
Progress and Poverty (//www.schalkenbach.org/library/george.henry/ppcont.html ) ได้รับการแปลออกเป็นภาษาต่าง ๆ อย่างน้อย 27 ภาษา (คงจะรวมภาษาไทยที่ผมแปลด้วยแล้ว ซึ่งพิมพ์เพียง 1,000 เล่มใน พ.ศ. 2545 ด้วยเงินของมูลนิธิ Robert Schalkenbach เพื่อแจกส่วนราชการและสถานอุดมศึกษาด้านสังคม และขณะนี้ขึ้นเว็บที่ //utopiathai.webs.com/ProgressAndPoverty.html )
สถิติการจำหน่ายของหนังสือนี้ในบรรดาหนังสือจำพวกสารคดี (non-fiction) เป็นรองแต่เพียงพระคริสตธรรมคัมภีร์เท่านั้นเป็นเวลาหลายทศวรรษ ภาควิชาวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดได้ใช้หนังสือ Progress and Poverty เป็นแบบอย่างของร้อยแก้วที่ไพเราะที่สุดด้วย ชีวิตต่อมาทั้งหมดของเฮนรี จอร์จคือการรณรงค์ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางสังคม ซึ่งตอนจบก็ได้เป็นผู้เสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์ (martyr) โดยเข้าแข่งขันในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กเป็นครั้งที่ 2 แม้แพทย์จะทักท้วงเรื่องสุขภาพ ในที่สุดจอร์จก็ตายก่อนการเลือกตั้ง 4 วัน งานศพของเขามีผู้คนกว่าแสนมาเคารพศพและร่วมขบวนไปยังสุสานใน Brooklyn
ศาสตราจารย์ Andelson แจ้งว่ามีผู้มีชื่อเสียงที่ยกย่องเฮนรี จอร์จจำนวนมาก เช่น ปราชญ์ John Dewey และ Mortimer J. Adler ประธานาธิบดี Woodrow Wilson และ Dwight D. Eisenhower นักวิทยาศาสตร์ Alfred Russel Wallace และ Albert Einstein นักเขียน John Ruskin และ Albert Jay Nock นักกฎหมาย Louis D. Brandeis and Samuel Seabury นักเขียนคอลัมน์ประจำ William F. Buckley และ Michael Kinsley และรัฐบุรุษ Winston Churchill และ Sun Yat-sen ท่านเหล่านี้มึความคิดทางการเมืองหลากหลายครอบคลุมตั้งแต่อนุรักษนิยมไปจนถึงเสรีนิยม แต่ทุกท่านก็มองเห็นบางสิ่งที่มีคุณค่าล้นเหลือในความคิดของเฮนรี จอร์จ ซึ่งเขาขอยกตัวอย่างท่านเดียว คือ คุณหมอซุน ยัตเซ็น
ซุน ยัตเซ็น (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2409 12 มีนาคม พ.ศ. 2467 ตรงนี้ต้องระวังเวลาคิด พ.ศ. จาก ค.ศ. เพราะสากลขึ้นปีใหม่เดือนมกราคม แต่ไทยยังขึ้นปีใหม่เดือนเมษายนจนถึง พ.ศ. 2483 โดยใน พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือนคือ เม.ย. ธ.ค. พอขึ้น ม.ค. ก็กลายเป็น พ.ศ. 2484 ตามระบบสากล) ผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดีคนแรกของจีนในระบอบสาธารณรัฐ ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าตั้งใจจะอุทิศอนาคตของข้าพเจ้าเพื่อสวัสดิการของประชาชนจีน คำสอนของเฮนรี จอร์จจะเป็นมูลฐานแห่งโครงการปฏิรูปของเรา
ศาสตราจารย์ Andelson คิดว่าเราอาจจะพูดได้อย่างปลอดภัยว่าถ้าคุณหมอซุนยังมีชีวิตอยู่เพื่อปฏิบัติตามสัญญาของท่าน แผ่นดินใหญ่จีนวันนี้จะไม่เป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนไต้หวันซึ่งได้ทำ แม้ไม่เต็มที่แต่ก็มากพอควร และก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากความยากจนร้ายแรงมาเป็นความรุ่งเรืองคึกคักที่กระจายตัวออกเป็นประโยชน์แก่ประชากรทุกระดับ.
Create Date : 23 ธันวาคม 2552 |
Last Update : 23 ธันวาคม 2552 7:27:58 น. |
|
2 comments
|
Counter : 829 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: chabori วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:9:02:48 น. |
|
|
|
โดย: สุธน หิญ วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:12:25:46 น. |
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|
ขอให้มีความสุขนะคะ
ขอให้มีโชคหมดทุกข์โศกโรคภัย
พ้นเคราะห์ที่เลวร้าย พันภัยด้วยเทอญ