อันตรายจากลัทธิดาร์วินทางสังคม
อันตรายจากลัทธิดาร์วินทางสังคม
Cliff Cobb แห่งมูลนิธิ Robert Schalkenbach เขียนคำปรารภหรือคำนิยม (Foreword) ในหนังสืออเมริกันดีเด่น Progress and Poverty (ความก้าวหน้ากับความยากจน) ของเฮนรี จอร์จ ฉบับย่อครั้งหลังโดย Bob Drake มีส่วนหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่องลัทธิดาร์วินทางสังคม (Social Darwinism)
เขาเขียนไว้ว่า การจัดพิมพ์ Progress and Poverty ครั้งแรกใน ค.ศ.1879 มีจุดประสงค์ส่วนหนึ่งคือเพื่อลบล้างความเชื่อถือที่มีต่อลัทธินี้ซึ่งมีความคิดว่าควรถือเอา การอยู่รอดของผู้ที่แข็งแรงและเหมาะสมที่สุด (survival of the fittest) เป็นปรัชญาทางสังคมข้อหนึ่ง ลัทธินี้พัฒนาโดย Herbert Spencer, William Graham Sumner และผู้อื่น และเป็นพื้นฐานทางภูมิปัญญา (intellectual basis) สำหรับ
1. ลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกันในกรณีเม็กซิโกและฟิลิปปินส์ 2. การชูแนวคิดสิทธิเด็ดขาดของเอกชนในทรัพย์สินโดยไม่คำนึงถึงสิทธิของสังคม 3. นโยบายภาษีที่มุ่งลดภาระต่อคนรวยด้วยการผลักภาระไปยังคนจนและชนชั้นกลาง 4. การจัดสวัสดิการที่ถือว่าคนจนคือคนที่ล้มเหลวและไม่สามารถปรับตัวเอง 5. การเหยียดผิวในด้านการศึกษาและเคหสงเคราะห์ 6. การปรับปรุงพันธุกรรมเพื่อส่งเสริมเชื้อชาติที่มีความ เหนือกว่า
การแบ่งแยกผิวทางภูมิปัญญาได้หยุดยั้งลง แต่การครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย สิ่งที่บ่งชี้ว่าลัทธิดาร์วินทางสังคมได้กลับฟื้นคืนชีพขึ้นอีกก็คือ การกลับมาเก็บภาษีค่าจ้างและสินค้าผู้บริโภค แทนที่จะมุ่งเก็บภาษีทรัพย์สิน การขยายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และความกระหายแบบจักรวรรดินิยมอย่างกว้างไกล
การฟื้นฟูลัทธิดาร์วินทางสังคมทำให้ยังมีการถือว่าความแตกต่างกันทางสังคมเป็นภาวะที่สมควรมีตามหลักของความเหนือกว่าหรือความเหมาะสมโดยธรรมชาติ ตรงกันข้ามหนังสือความก้าวหน้ากับความยากจนของเฮนรี จอร์จกลับเปิดเผยว่าความแตกต่างกันเหล่านั้นเป็นผลแห่งเอกสิทธิ์พิเศษ นักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองจำนวนมากพยายามส่งเสริมภาพลวงตาที่ว่าโชคลาภมหาศาลและความยากจนเกิดจากการมีหรือขาดทักษะและการเสี่ยงของแต่ละบุคคล ส่วนเฮนรี จอร์จกลับแสดงว่าความแตกต่างด้านทรัพย์สมบัติเกิดเพราะคนไม่กี่คนได้สิทธิผูกขาดโอกาสตามธรรมชาติโดยคนอื่นๆ ถูกปิดกั้น ถ้าเราเอาอำนาจผูกขาดเหล่านั้นคืนมาจากกลุ่มอภิชน ภาพแห่งความเหนือกว่าในเชิง ความแข็งแรงและเหมาะสม จะพังทลายลงมา จอร์จไม่สนับสนุนการมีรายได้เท่าเทียมกัน การบังคับปรับการกระจายทรัพย์สมบัติ หรือ การให้รัฐจัดการด้านเศรษฐกิจ เขาเชื่อว่าในสังคมที่ไม่มีการเรียกร้องของอภิชน ทุกคนจะสามารถมีชีวิตที่สมบูรณ์และน่าพอใจ
หนังสือความก้าวหน้ากับความยากจน (Progress and Poverty) ฉบับย่อครั้งหลังนี้ขึ้นเว็บให้อ่านฟรีอยู่ที่ //henrygeorge.org/pcontents.htm
ฉบับเต็ม //schalkenbach.org/library/henry-george/p+p/ppcont.html ฉบับเต็มภาษาไทย //utopiathai.webs.com/ProgressAndPoverty.html
ฉบับย่อสั้นมาก //unitax.org/progress/ ฉบับย่อสั้นมากภาษาไทย //utopiathai.webs.com/PPsupercondensed.html
Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2550 |
Last Update : 27 ธันวาคม 2554 10:57:27 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1216 Pageviews. |
 |
|
|
เนื้อหานี้มีในข้อสอบด้วยละ
54. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบของลัทธิดาร์วิน
1. การเกิดแนวคิดทางการค้าสมัยใหม่ของระบบทุนนิยม
2. ความเจริญก้าวหน้าทางชีววิทยา
3. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
4. การขยายตัวของลัทธิสังคมนิยม
ตอบข้อ 2 ป่ะครับ...