ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
ค่าแรงมีแนวโน้มต่ำลง ๆ ขณะที่ราคาที่ดินมีแนวโน้มสูงขึ้น ๆ

ค่าแรงในที่นี้คือค่าแรงตามธรรมชาติ มิใช่ค่าจ้างที่กำหนดขั้นต่ำตามกฎหมาย
ผลผลิต = ค่าเช่าที่ดิน + ค่าแรง + ดอกเบี้ย
เมื่อที่ดินชายขอบขยายออกไป ที่ดินชั้นใน ๆ ก็มีค่าเช่าสูงขึ้น
และค่าแรงที่ชายขอบใหม่มักจะลดลง (อย่างน้อยที่สุดก็ลดลงเมื่อเทียบส่วนกับค่าเช่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น)
ความเจริญขึ้นอย่างมากของเครื่องจักรกลทุ่นแรงที่ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในราว ค.ศ.1800
ในที่สุดจึงกลับทำให้ผู้มีแต่แรงงานพื้นฐานเดือดร้อน แทนที่จะเป็นผลดีแก่พวกเขาตามที่หวังกันไว้

ที่ดินชายขอบ หรือ ขอบริมแห่งการผลิต (Margin of Production ) คือ ที่ดินที่เลวที่สุดที่จำเป็นต้องใช้กัน
ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นที่ดินที่ดีที่สุดที่จะหาได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน

กฎวิภาคกรรม (Laws of Distribution) หรือ กฎการแบ่งผลตอบแทนการผลิตออกเป็น ค่าเช่า ค่าแรง และ ดอกเบี้ย
ค่าเช่าที่ดินกำหนดด้วยผลผลิตของที่ดินนั้น ที่เกินกว่าผลผลิตที่ขอบริมแห่งการผลิต เมื่อใช้แรงงานและทุนเท่ากัน
ค่าแรงทั่วไปกำหนดด้วยผลผลิตที่แรงงานสามารถผลิตได้ ณ ขอบริมแห่งการผลิต
ดอกเบี้ยย่อมสูงขึ้นหรือต่ำลงเช่นเดียวกับค่าแรง และขึ้นอยู่กับขอบริมแห่งการผลิตเช่นเดียวกัน

ถ้าคนเราโดยเฉลี่ยเป็นส่วนรวมมีความขยันมากขึ้น ค่าเช่าที่ดินก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
เช่น เดิมเคยทำงานวันละ 5 ชั่วโมง แล้วจะเพิ่มเป็น 10 ชั่วโมง
หรือเดิมสามีทำงานผู้เดียว แต่ต่อมาภรรยาก็ต้องออกทำงานด้วย
หรือเดิมเคยทำนาปีละ 1 ครั้ง แล้วเพิ่มเป็นปีละ 2 ครั้งเป็นต้น
เพื่อให้ง่าย ๆ จะสมมติว่าผลผลิตหรือรายได้ก็เพิ่มเป็น 2 เท่าเหมือนกันหมดทุกที่
ค่าเช่าที่ดินก็จะสูงขึ้นเป็น 2 เท่าทุกที่ด้วยเช่นเดียวกัน โดยเจ้าของที่ดินไม่ต้องทำอะไร

ความเจริญก้าวหน้าในวิชาการหรือเครื่องจักรกลทุ่นแรงที่ช่วยเพิ่มผลผลิตก็มีผลทำให้ค่าเช่าที่ดินสูงขึ้นแบบเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังทำให้ที่ดินชายขอบขยายออกไป ที่ดินเดิม ๆ ก็ยิ่งมีค่าเช่าสูงขึ้น เจ้าของที่ดินได้เพิ่มไปฟรี ๆ

ความเป็นเมืองซึ่งทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงก็ไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าของที่ดิน
แต่เกิดจากการรวมตัวร่วมมือกันของผู้ทำงานและผู้ลงทุนผลิต รวมทั้งภาษีที่พวกเขาจ่าย
และภาษีที่เจ้าของที่ดินจ่ายก็มาจากค่าเช่าที่ดินจากผู้ทำงานและผู้ลงทุน
หาใช่จากการมีส่วนร่วมในการผลิตเศรษฐทรัพย์ไม่

การลงทุนสะสมที่ดินมิใช่การลงทุนผลิต แต่คือการแสวงสิทธิ์เรียกส่วนแบ่งจากผู้ทำงานและผู้ลงทุนผลิต
คนหนึ่ง ๆ อาจมี 1, 2 หรือ 3 ฐานะในฐานะทั้งสาม คือ เจ้าของที่ดิน ผู้ใช้แรงกาย/แรงสมอง และผู้ลงทุน
แต่จะพิจารณาเหตุผลกันก็ต้องคิดแยกฐานะทั้งสาม

ที่ดินต่างกับเศรษฐทรัพย์หรือทุน ไม่ควรจะถือเป็นอย่างเดียวกับทุน
มนุษย์ไม่ได้ใช้แรงงานของตนผลิตที่ดิน ผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของจึงควรเป็นส่วนรวม มิใช่เอกชน
ที่ดินเป็นทั้งที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับมนุษย์ที่จะลงแรงลงทุนผลิตสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
การเก็งกำไรด้วยการเก็บสะสมที่ดินไว้มากกว่าที่ควรมี เป็นการเบียดคนจนออกพ้นที่ดิน
คนจนต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อจ่ายค่าเช่าที่ดินที่สูงเพราะการเก็งกำไร ให้แก่เจ้าของที่ดิน
เจ้าของที่ดินมีแต่จะได้เพิ่มขึ้น ๆ โดยไม่ต้องมีส่วนร่วมในการผลิต
แต่ค่าแรงมีแต่จะต่ำลงอย่างที่ได้กล่าวไว้ ซ้ำร้ายยังหางานทำได้ยากขึ้นด้วย

ส่วนทุนหรือสินค้าทั้งหลาย ถ้ามีการกักตุน เกิดการขาดแคลน หรือราคาแพงกว่าปกติ คนก็จะหันไปหาสินค้าอื่นทดแทน
หรือในไม่ช้าก็จะมีผู้ผลิตรายอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาเพื่อทำกำไรโดยผลิตสินค้านั้น ๆ ขาย สินค้านั้นก็จะลดราคาลง

ถ้าเก็บภาษีจากมูลค่าที่ดินสูงขึ้น ราคา/ค่าเช่าที่ดินจะถูกลง เพราะเจ้าของที่ดินต้องหาทางทำประโยชน์ในที่ดิน
คือต้องแข่งกันหาแรงงานและทุนมาทำงานมากขึ้น หรือต้องแข่งขันกันหาคนมาเช่าหรือซื้อที่ดินที่ตนเก็บกักไว้

การเก็บภาษีที่ดินน้อยไปทำให้รัฐต้องเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการลงแรงลงทุนผลิต
เป็นการถ่วงรั้งการผลิต ความอยู่ดีกินดี และความเจริญของส่วนรวม
ภาษีทางตรงทำให้รายได้หลังภาษีของผู้ทำงานและผู้ลงทุนลด
ภาษีทางอ้อมทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น – ส่งผลร้ายต่อผู้ทำงานและผู้ลงทุนทั้งนั้น
ของแพงความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศก็ลด
เมืองไทยก็ไม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเหมือนฮ่องกง สิงคโปร์
การเก็บภาษีที่ดินน้อยไปทำให้เกิดการเก็งกำไรเก็บกักที่ดิน จึงเสมือนพื้นที่แผ่นดินไทยลดลง
งานที่จะทำก็ลด คนต้องแข่งกันหางานทำ ค่าแรงจึงถูกกดต่ำ
นี่คือ ลดรายได้ – เพิ่มรายจ่าย – สลายโอกาส
ซึ่งตรงข้ามกับนโยบายของรัฐบาล

เมื่อค่าแรงต่ำลงเรื่อย ๆ คนจนที่มีแต่แรงงานขั้นพื้นฐานก็เดือดร้อน
เมื่อพิจารณาร่วมกับเรื่องที่มูลค่าที่ดินไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าของที่ดิน
แต่เกิดจากการทำงานและการลงทุนของส่วนรวม
ผลประโยชน์จากที่ดินก็ควรเป็นของส่วนรวม
ซึ่งรวมถึงผู้มีแต่แรงงานพื้นฐานด้วย
มันจะชดเชยให้พวกเขาสำหรับค่าแรงที่ต่ำลง ๆ

แต่การเปลี่ยนแปลงภาระภาษีจากผู้ทำงานและผู้ลงทุนผลิตไปยังเจ้าของที่ดินก็ควรค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อมิให้เจ้าของที่ดินเดือดร้อนมากนัก อาจต้องใช้เวลาหลายสิบปี



Create Date : 29 ตุลาคม 2550
Last Update : 29 ตุลาคม 2550 22:53:02 น. 0 comments
Counter : 549 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com