ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
คาร์ล มาร์กซ์ กับ เฮนรี จอร์จ

คาร์ล มาร์กซ์ กับ เฮนรี จอร์จ

มาร์กซ์เกิด ค.ศ.1818 ตาย 1883 จอร์จเกิด ค.ศ.1839 ตาย 1897
ปัญหาที่ทั้งมาร์กซ์และจอร์จเห็นคือ สมัยอุตสาหกรรมปฏิวัติ คนงานกลับยากจน ไม่ได้มีชีวิตดีขึ้นตามที่คาดหวังกัน
มาร์กซ์เห็นว่านายทุนขูดรีด เหลือให้แรงงานเพียงที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตต่อไป วิธีแก้คือให้ทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม จากแต่ละคนตามความสามารถ แก่แต่ละคนตามความจำเป็น
จอร์จเห็นว่าเจ้าของที่ดินเป็นผู้ได้ประโยชน์ไปตามกฎการแบ่งผลตอบแทน วิธีแก้คือให้ที่ดินเป็นของส่วนรวมโดยใช้ภาษีมูลค่าที่ดินแทนภาษีจากการลงแรงลงทุน

ข้อความข้างล่างสองย่อหน้า ได้จาก //en.wikipedia.org/wiki/Land_value_tax ครับ

คำวิจารณ์ของมาร์กซ์เรื่องภาษีที่ดิน (ในฐานะที่นอกไปจากการเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้ในระยะเปลี่ยนแปลงสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์) นับว่ามีอิทธิพลมากอยู่ มาร์กซ์แย้งว่า “ทั้งหมดเป็น . . . เพียงความพยายามตกแต่งแสดงร่วมกับลัทธิสังคมนิยมเพื่อรักษาฐานะการมีอำนาจครอบงำของฝ่ายนายทุนไว้และเพื่อก่อตั้งมันขึ้นใหม่ให้กว้างขวางกว่าปัจจุบัน” มาร์กซ์ยังคัดค้านการที่ลัทธิภาษีมูลค่าที่ดินเน้นให้เห็นความสำคัญของมูลค่าที่ดินด้วย โดยโต้แย้งว่า “โดยทฤษฎี ผู้นี้ [Henry George] เป็นคนล้าหลังอย่างสิ้นเชิง! เขาไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับสภาพของมูลค่าส่วนเกิน จึงเฉไฉออกไปในเรื่องการเก็งกำไรที่ดินซึ่งเป็นการเอาอย่างอังกฤษ แต่ปัจจุบันได้ล้าสมัยไปแล้วแม้ในหมู่คนอังกฤษ เรื่องส่วนต่างๆ ของมูลค่าส่วนเกินซึ่งถือว่ามีอยู่จริงโดยอิสระ และ เรื่องความสัมพันธ์ของกำไร ค่าเช่า และ ดอกเบี้ย ฯลฯ คำสอนหลักของเขา [Henry George] คือทุกสิ่งจะเรียบร้อยถ้ามีการจ่ายค่าเช่าที่ดินให้แก่รัฐ” (จาก //www.marxists.org/archive/marx/works/1881/letters/81_06_20.htm )

อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ.1875 [ก่อนมีจดหมายฉบับข้างบน] มาร์กซ์ก็ยอมรับอานุภาพของที่ดิน เขาเขียนในจดหมายอีกฉบับหนึ่งว่า “ในสังคมปัจจุบันเครื่องมือของแรงงานถูกผูกขาดโดยเจ้าของที่ดิน (การผูกขาดกรรมสิทธิ์ที่ดินถึงกับเป็นมูลฐานของการผูกขาดทุน) และนายทุน . . . นายทุนปกติมิใช่เจ้าของที่ดิน แม้แต่ที่ดินอันเป็นที่ตั้งแห่งโรงงานของเขาเอง” (จาก Marginal Notes to the Programme of the German Workers’ Party Written by Karl Marx, เม.ย./พ.ค. 1875 ตีพิมพ์ใน Die Neue Zeit, No. 18, Vol. I, 1891, พร้อมด้วยฉบับตัดย่อ ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน //www.oppressedpeople.org/library/cgp75.html )

และใน Das Kapital, vol. III, p. 901-2 คาร์ล มาร์กซ์ได้กล่าวว่า - "จากมุมมองของรูปแบบทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นของสังคม การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง แม้แต่สังคมหนึ่ง หรือแม้แต่ทุกสังคมรวมกัน ก็ไม่ใช่เจ้าของแผ่นดินโลก พวกเขาเป็นเพียงผู้ครอบครอง ผู้ใช้แผ่นดินโลก และจะต้องส่งต่อไปยังชนรุ่นหลังๆ ในภาวะที่ดีขึ้น เสมือนบิดาที่ดีของครอบครัว" (จาก //www.progress.org/geonomy/thinkers.html )

จาก George on socialism //members.aol.com/_ht_a/tma68/george.htm#socialism
“เราผิดกับพวกสังคมนิยมที่การวินิจฉัยความชั่วร้าย และเราผิดกับพวกเขาที่วิธีแก้ไข เราไม่กลัวทุน โดยถือว่าทุนทำจากฝีมือตามธรรมชาติของแรงงาน เรามองว่าดอกเบี้ย [ผลตอบแทนการลงทุน] เป็นไปตามธรรมชาติและเป็นธรรม เราจะไม่กำหนดขีดจำกัดต่อการสะสม จะไม่ก่อภาระให้แก่คนรวยโดยไม่เป็นภาระเท่าเทียมกันแก่คนจน เราไม่เห็นว่าการแข่งขันเป็นความชั่วร้าย แต่ถือว่าการแข่งขันโดยไม่มีข้อจำกัดเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพแห่งองคาพยพทางอุตสาหกรรมและสังคมประดุจการหมุนเวียนโดยเสรีของโลหิตที่จำเป็นต่อสุขภาพของกายินทรีย์ เป็นตัวกระทำที่จะช่วยให้เกิดการร่วมมือกันเต็มที่” (The Condition of Labor, p. 61)

“สังคมนิยมไม่ได้สนใจกฎธรรมชาติ ไม่แสวงหา และไม่ใช้ความพยายามปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ . . . . ลัทธินี้ขาดแคลนหลักการที่เป็นแกนกลางและเป็นเครื่องนำทางมากกว่าปรัชญาใดๆ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก” (The Science of Political Economy, p. 198)

“ที่จริงแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าการพยายามเข้าใจพวกสังคมนิยมมีแต่ทำให้ท่านเองสับสน ซึ่งข้าพเจ้าไม่ประหลาดใจ ความจริงคือพวกเขาไม่เข้าใจตัวเอง สำหรับคาร์ล มาร์กซ์ เขาคือเจ้าชายผู้ฟุ้งซ่าน” (An Anthology of Henry George's Thought, p. 78)

ในคำนำของหนังสือ Progress and Poverty นั้น Henry George เองกล่าวไว้ว่าสิ่งที่ตนได้พยายามกระทำถือว่าก่อให้เกิดความสอดคล้องต้องกันระหว่างอุดมคติของฝ่ายเสรีนิยมในเรื่อง "เสรีภาพ" และ "ปัจเจกนิยม" (Individualism) กับจุดประสงค์ของฝ่ายสังคมนิยมในเรื่อง "ความยุติธรรม" ทางเศรษฐกิจ "เป็นการเชื่อมสัจจะตามความคิดของสำนัก Smith และ Ricardo กับสัจจะตามความคิดของสำนัก Proudhon และ Lassalle ให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน"

คำโต้วาทีภาษาอังกฤษระหว่าง เฮนรี จอร์จ กับ Serge Schevitch ผู้แทนพรรคสังคมนิยมที่นิวยอร์ก ค.ศ. 1887
และกับ H. M. Hyndman ที่ลอนดอน ค.ศ.1889 สามารถอ่านดูได้ที่
//www.cooperativeindividualism.org/george_socialist_debate.html และที่
//www.wealthandwant.com/HG/debate_hyndman_1889.html ครับ



หมายเหตุ เรื่องหน้าที่ของรัฐบาลนั้น จาก George on government //members.aol.com/_ht_a/tma68/george.htm#govt จอร์จกล่าวไว้บางตอนดังนี้:--

“เพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลฉ้อโกงและกดขี่ การจัดองค์การและวิธีการของรัฐควรให้เป็นแบบธรรมดาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หน้าที่ของรัฐบาลควรจำกัดเฉพาะที่จำเป็นต่อความอยู่ดีกินดีร่วมกัน . . . .
ความมุ่งหมายประการแรกและประการสำคัญของรัฐบาลมีกล่าวไว้อย่างน่าชื่นชมในเอกสารยิ่งใหญ่ซึ่งเราชาวอเมริกันให้เกียรติสูงมาก และละเลยอย่างมาก คือ คำประกาศเอกราช ความมุ่งหมายนี้คือให้มีหลักประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันและไม่อาจโอนกันได้แก่ประชาชนตามที่พระผู้สร้างประทานไว้” (Social Problems, p. 171)

“ . . . . รัฐบาลไม่ควรควบคุมมากเกินกว่าที่จำเป็นในการประกันเสรีภาพด้วยการคุ้มครองสิทธิเท่าเทียมกันของแต่ละบุคคลจากการรุกรานของผู้อื่น และเมื่อการห้ามของรัฐบาลขยายออกล้ำเส้นนี้ ก็อาจมีอันตรายซึ่งเป็นการทำลายจุดหมายปลายทางที่ข้อห้ามเหล่านี้ตั้งใจจะรักษา” (Social Problems, p. 173)



Create Date : 31 ตุลาคม 2549
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2549 7:08:16 น. 2 comments
Counter : 1355 Pageviews.

 
ผ่านเข้ามาอ่านค่ะ บลีอกนี้เนื้อหาเป็นการเป็นงานมั่กๆ

หวัดดีก๊าบบบ


โดย: Mocha Macchiato วันที่: 31 ตุลาคม 2549 เวลา:11:35:37 น.  

 
บทความที่เกี่ยวข้องอีกเรื่องหนึ่ง คือ การประชุมเรื่องอิทธิพลของเฮนรี จอร์จต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ที่ //www.bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=98&c=1&order=numtopic

ผู้ร้ายตัวสำคัญ - เจ้าของที่ดินหรือนายทุน ?

จากเอกสารเรื่อง Henry George and Karl Marx ที่ Frank McEachran เสนอในการประชุมระหว่างประเทศของกลุ่มผู้นิยมจอร์จที่ลอนดอนในเดือนกันยายน ค.ศ.1936 (//www.cooperativeindividualism.org/mceachran_hgeorge_and_kmarx.html)
มีข้อความตอนหนึ่งว่า พวกเสรีนิยมอ้าง และแม้แต่มาร์กซ์เองก็เห็นด้วย ว่ามูลฐานหลักของการขูดรีดโดยทางประวัติศาสตร์คือ การกั้นรั้วล้อมที่ดิน และถ้าที่ดินเป็นเสรีอย่างแท้จริง [น่าจะหมายถึงไม่ถูกเก็งกำไรเก็บกักไว้] การผูกขาด “มูลค่าส่วนเกิน” ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
(The Liberals claim and even Marx himself agreed, that the fundamental basis of exploitation was "historically land enclosure and that if the land had been really free no monopoly of "surplus value" could have grown up.)


โดย: สุธน หิญ วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:11:32:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com