ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
เก็งกำไรอสังหาบวกสินเชื่อสะดวกเหตุวิกฤตฟองสบู่

เก็งกำไรอสังหาบวกสินเชื่อสะดวกเหตุวิกฤตฟองสบู่
(จากเรื่อง Credit Booms Gone Wrong โดย Fred E. Foldvary บรรณาธิการอาวุโส ใน The Progress Report 29 มีนาคม 2010 ที่ //www.progress.org/2010/fold658.htm เผยแพร่ต่อได้โดยระบุชื่อ Fred Foldvary และ The Progress Report)

นักเศรษฐศาสตร์สองท่าน คือ Moritz Schularick และ Alan M. Taylor ได้เขียนงานวิจัยเรื่อง “Credit Booms Gone Bust: Monetary Policy, Leverage Cycles and Financial Crises, 1870–2008" (//www.nber.org/papers/w15512 ) จัดพิมพ์โดย National Bureau of Economic Research ซึ่งเป็นการยืนยันทฤษฎีที่ว่าการเติบโตมากเกินไปของสินเชื่อเป็นตัวโหมการเฟื่องฟูของเศรษฐกิจ
.
สาเหตุสำคัญของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้แก่การเฟื่องฟูของสินเชื่อ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของ Barry Eichengreen และ Kris Mitchener ในผลงานเรื่อง “The Great Depression as a credit boom gone wrong” (BIS Working Paper No. 137, //www.bis.org/publ/work137.pdf) ผลงานนี้แจ้งว่าหนังสือ Progress and Poverty ของ Henry George ให้ทฤษฎีระยะแรก ๆ เกี่ยวกับภาวะเฟื่องฟูและแฟบฟุบ (booms and busts) โดยถือว่าการเก็งกำไรที่ดินเป็นสาเหตุ ผู้เขียนทั้งสองยังให้เครดิตแก่สำนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนซึ่ง Friedrich Hayek และ Ludwig von Mises ได้พัฒนาทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจที่ถือว่าการเฟื่องฟูของสินเชื่อเป็นสาเหตุหลัก ทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจของเฮนรี จอร์จเป็นส่วนเติมเต็มให้แก่ทฤษฎีออสเตรียนในฐานะที่จอร์จชี้ว่าการสูงขึ้นของราคาที่ดินมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

การเพิ่มปริมาณเงินตราและสินเชื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง ซึ่งชักนำให้มีการเพิ่มการผลิตและการซื้อสินค้าประเภททุนที่คงทนและที่ดิน การลงทุนและการเก็งกำไรที่สำคัญที่สุดที่รับผลกระทบคืออสังหาริมทรัพย์ การลงทุนส่วนมากได้แก่อาคารและสินค้าคงทนที่จะใช้ในอาคาร รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับบริการอสังหาริมทรัพย์ ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะไปทำให้ค่าเช่าและราคาที่ดินสูงขึ้น นักเก็งกำไรจึงกระโดดเข้ามาเพื่อหากำไรจากการเก็งกำไรด้วยวิธีกู้ยืม ข้อนี้ทำให้การสูงขึ้นของราคาที่ดินเป็นลักษณะที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งทำให้อสังหาริมทรัพย์มีราคาแพงเกินไปสำหรับการใช้ประโยชน์จริง ดังนั้นขณะที่อัตราดอกเบี้ยและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น การลงทุนก็จะเฉื่อยแล้วลดลง ผลที่ตามมาคือราคาที่ดินตก การลงทุนตก ทำให้ปริมาณงานโดยรวมลด เกิดการว่างงาน แล้วระบบการเงินก็ล่ม

เราอาจจะถามว่าทฤษฎีนี้สอดคล้องกับพยานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไหม หลักฐานด้านหนึ่งคือประวัติวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ที่สืบค้นโดย Homer Hoyt, Fred Harrison, และโดยข้าพเจ้าเอง [Fred Foldvary] อีกด้านหนึ่งคือประวัติการเฟื่องฟูของสินเชื่อดังที่แสดงไว้โดย Schularick และ Taylor ซึ่งได้รวบรวมชุดข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับเงินตราและสินเชื่อของประเทศและดินแดนที่พัฒนาแล้ว 12 แห่งในช่วง ค.ศ. 1870 – 2008 ท่านทั้งสองนี้ได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการขยายสินเชื่อกับการขยายเงินตรา และนวัตกรรมทางการเงินไปเพิ่มสินเชื่ออย่างมากอย่างไร เพราะว่าการขยายสินเชื่อเป็นตัวโหมการเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ Schularick และ Taylor จึงให้ข้อสังเกตว่าเราสามารถใช้การเฟื่องฟูของสินเชื่อเป็นเครื่องทำนายระยะตกต่ำของเศรษฐกิจได้

ฝ่ายที่นิยมเฮนรี จอร์จมุ่งความสนใจไปที่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของภาวะเฟื่องฟูและแฟบฟุบ ขณะเดียวกันสำนักออสเตรียนก็มุ่งความสนใจไปที่สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย และสินค้าประเภททุน คำอธิบายที่ครบถ้วนจะต้องสังเคราะห์ทฤษฎีของทั้งสองสำนักเข้าด้วยกัน ในการจะขจัดวัฏจักรเฟื่องฟู-แฟบฟุบ เราต้องพิจารณาทั้งด้านจริง (อสังหาริมทรัพย์) และด้านการเงิน (เงินตราและสินเชื่อ)

นักเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียนปัจจุบัน เช่น Larry White และ George Selgin ได้สืบค้นทฤษฎีและประวัติของการธนาคารเสรี นโยบายตลาดเสรีอย่างแท้จริงโดยการยกเลิกธนาคารกลาง รวมทั้งข้อจำกัดด้านการธนาคาร เช่น การจำกัดจำนวนสาขาและการควบคุมอัตราดอกเบี้ย ในระบบการธนาคารเสรีที่แท้ จะมีฐานของเงินตราจริง เช่น ทองคำหรือเงินตราของรัฐบาลตามปริมาณที่กำหนด ธนาคารต่าง ๆ จะออกตั๋วของตนเองซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินตราได้ในอัตราที่กำหนด การเปลี่ยนตั๋วเป็นเงินตราได้และโครงสร้างการธนาคารที่มีการแข่งขันจะทำให้มีอุปทานเงินตราที่ยืดหยุ่นควบคู่ไปกับเสถียรภาพด้านราคา ธนาคารจะเข้าร่วมสมาคมกันเพื่อจัดเงินกู้ให้แก่กันเมื่อธนาคารหนึ่งจำเป็นต้องได้ฐานเงินมากขึ้นเป็นการชั่วคราวหรือเป็นผู้ให้กู้ในฐานะหนทางสุดท้าย

ทั้งสมาชิกของสำนักออสเตรียนและนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ศึกษาการเฟื่องฟูของสินเชื่อมาแล้วต่างยังไม่เข้าใจความจำเป็นที่จะต้องป้องกันฟองสบู่ราคาที่ดินด้วยวิธีเก็บภาษีเกือบทั้งหมดของมูลค่าที่ดินรายปี นี่จะเป็นการหยุดการเก็งกำไรที่ดินและทำให้ผู้จะซื้อที่ดินไม่ต้องกู้เงินมาซื้อ

แต่บรรดานักทฤษฎีฟองสบู่สินเชื่อก็ยังไม่เข้าใจว่ากฎระเบียบทางการเงินสำหรับธนาคารกลางทั้งหลายไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้านการเงินของภาวะฟองสบู่สินเชื่อได้ การเฟื่องฟูของสินเชื่อจะก่อปัญหาเสมอ สำนักออสเตรียนได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้รู้ได้ถึงปริมาณเงินตราที่เหมาะสมหรืออัตราดอกเบี้ยที่เหมาะที่สุด ตลาดเสรีเท่านั้นที่จะค้นพบอัตราดอกเบี้ยที่ทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างการออมกับการกู้ยืม และตลาดเสรีเท่านั้นที่จะทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างอุปทานกับอุปสงค์ด้านเงินตรา

วิธีแก้ปัญหาวัฏจักรเฟื่องฟู-แฟบฟุบจึงต้องใช้ทั้งภาษีมูลค่าที่ดินและการธนาคารเสรี ถ้าใช้ระบบธนาคารเสรีอย่างเดียว การเก็งกำไรที่ดินจะลดความรุนแรงลง แต่จะยังก่อความเสียหาย เพราะนักเก็งกำไรที่ดินที่ถูกยั่วยวนจากราคาที่สูงขึ้นของที่ดินจะกู้เงินไปซื้อที่ดิน ทำให้ไม่มีสินเชื่อสำหรับการลงทุนที่ก่อผลผลิต และโดยกลับกัน ถ้าใช้ระบบภาษีมูลค่าที่ดินอย่างเดียวแต่สินเชื่อไม่มีเสถียรภาพ ก็ยังจะมีการก่อสร้างมากเกินไปและสิ้นเปลืองทรัพยากรไปในสินค้าประเภททุนประจำที่ ทำให้ทุนหมุนเวียนลด ซึ่งทุนหมุนเวียนมีความจำเป็นต่อการสร้างผลผลิตและการจ้างงานดังที่ศาสตราจารย์ Mason Gaffney เขียนไว้ ความสุขยิ่งทางเศรษฐกิจจะต้องมีทั้งการเก็บค่าเช่าที่ดินมาเป็นรายได้ของรัฐและระบบตลาดเสรีด้านเงินตรา.


เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผสมสองทฤษฎีสกัดเศรษฐกิจฟองสบู่
//bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=46&c=1

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม
//utopiathai.webs.com


Create Date : 03 เมษายน 2553
Last Update : 3 เมษายน 2553 8:42:49 น. 2 comments
Counter : 896 Pageviews.

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:10:17:49 น.  

 


โดย: thanitsita วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:14:15:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com