|
 |
 |
 |
 |
|
ปฏิทินวันพระ วันหยุดราชการ และ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2554
วันหยุดราชการ และ วันหยุดสถาบันการเงิน พ.ศ. 2554 1. เสาร์ . . . . . .1 ม.ค. 54 วันขึ้นปีใหม่ . . จันทร์ . . . . .3 ม.ค. 54 หยุดชดเชย 2. ศุกร์ . . . . .18 ก.พ. 54 วันมาฆบูชา 3. พุธ . . . . . . 6 เม.ย. 54 วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก . . . . . . . . . . . . . . . . . . มหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 4. พุธ . . . . . 13 เม.ย. 54 วันสงกรานต์ . . พฤหัสบดี . 14 เม.ย. 54 . . ศุกร์. . . . . 15 เม.ย. 54 5. อาทิตย์ . . . .1 พ.ค. 54 วันแรงงานแห่งชาติ (ราชการไม่หยุด) . . จันทร์ . . . . .2 พ.ค. 54 หยุดชดเชย (ราชการไม่หยุด) 6..พฤหัสบดี. . . 5 พ.ค. 54 วันฉัตรมงคล 7. ศุกร์. . . . . .13 พ.ค. 54 วันพืชมงคล (สถาบันการเงินไม่หยุด) * (จันทร์. . . . .16 พ.ค. 54 หยุดเพิ่มพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี 30 พ.ย. 53) 8. อังคาร. . . . 17 พ.ค. 54 วันวิสาขบูชา 9. ศุกร์ . . . . . . 1 ก.ค. 54 วันหยุดภาคครึ่งปี (ราชการไม่หยุด) 10. ศุกร์ . . . . 15 ก.ค. 54 วันอาสาฬหบูชา 11. เสาร์ . . . . 16 ก.ค. 54 วันเข้าพรรษา (สถาบันการเงินไม่หยุด) . . . จันทร์ . . . 18 ก.ค. 54 หยุดชดเชย (สถาบันการเงินไม่หยุด) 12. ศุกร์ . . . . 12 ส.ค. 54 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ . . . . . . . . . . . . . . . . . . .พระบรมราชินีนาถ 13. อาทิตย์ . . 23 ต.ค. 54 วันปิยมหาราช . . . จันทร์ . . . 24 ต.ค. 54 หยุดชดเชย 14. จันทร์ . . . . 5 ธ.ค. 54 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 15. เสาร์. . . . .10 ธ.ค. 54 วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ . . . จันทร์. . . .12 ธ.ค. 54 หยุดชดเชย 16. เสาร์. . . . .31 ธ.ค. 54 วันเริ่มเทศกาลปีใหม่ . . . . . . . . . . . . . . . . . . (สำหรับวันหยุดสถาบันการเงินเรียกว่าวันสิ้นปี) 17. วันเสาร์-อาทิตย์
คลิกตรวจสอบวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันพระปกติได้ที่ //www.onab.go.th/attachments/3989_calendar2554.pdf (เดิมที่ //dra.go.th/download/article/article_20100817120019.pdf คงเปิดดูไม่ได้แล้ว)
พุทธศักราช 2554 ปกติมาส ปกติวาร ปกติสุรทิน
หมายเหตุ 1 ธ.ค.53 มีแก้ไขสองแห่ง คือ
1. วันหยุดเพิ่มพิเศษ จันทร์ 16 พ.ค. 54 ตามมติคณะรัฐมนตรี 30 พ.ย. 53 เพื่อให้ข้าราชการได้อยู่กับครอบครัวติดต่อกัน 5 วัน และส่งเสริมการท่องเที่ยว
2. เว็บตรวจสอบวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันพระปกติอีกแห่งหนึ่ง (เว็บเดิมคงเปิดดูไม่ได้แล้ว)
Create Date : 25 สิงหาคม 2553 | | |
Last Update : 1 ธันวาคม 2553 21:22:06 น. |
Counter : 1576 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
หยุดต่อเนื่องวันศุกร์ 16 เม.ย.และ 13 ส.ค. สถาบันการเงินหยุด 13 ส.ค.เท่านั้น
ปี 2553 ราชการได้หยุดต่อเนื่องวันศุกร์เป็นพิเศษ 16 เม.ย.และ 13 ส.ค. สถาบันการเงินได้หยุด 13 ส.ค.เท่านั้น ตามข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 15 ธันวาคม 2552 (จาก //www.ryt9.com/s/cabt/766310 ) และจาก วันหยุดทำการของสถาบันการเงิน ประจำปี พ.ศ. 2553 (//www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/FIholiday/Pages/2553.aspx )
Create Date : 10 มกราคม 2553 | | |
Last Update : 10 มกราคม 2553 9:02:24 น. |
Counter : 512 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ปฏิทินวันพระ วันหยุดราชการ และ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2553
วันหยุดราชการ และ วันหยุดสถาบันการเงิน พ.ศ. 2553 1. ศุกร์ . . . . . .1 ม.ค. 53 วันขึ้นปีใหม่ 2. อาทิตย์ . . .28 ก.พ. 53 วันมาฆบูชา . . จันทร์ . . . . .1 มี.ค. 53 หยุดชดเชย 3. อังคาร . . . .6 เม.ย. 53 วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก . . . . . . . . . . . . . . . . . . มหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 4. อังคาร. . . .13 เม.ย. 53 วันสงกรานต์ . . พุธ . . . . . 14 เม.ย. 53 . . พฤหัสบดี . 15 เม.ย. 53 . . ศุกร์. . . . . 16 เม.ย. 53 หยุดพิเศษ (สถาบันการเงินไม่หยุด) 5. เสาร์ . . . . . .1 พ.ค. 53 วันแรงงานแห่งชาติ (ราชการไม่หยุด) . . จันทร์ . . . . .3 พ.ค. 53 หยุดชดเชย 6. พุธ. . . . . . . 5 พ.ค. 53 วันฉัตรมงคล 7. พฤหัสบดี . .13 พ.ค. 53 วันพืชมงคล (สถาบันการเงินไม่หยุด) 8. ศุกร์ . . . . . 28 พ.ค. 53 วันวิสาขบูชา 9. พฤหัสบดี . . .1 ก.ค. 53 วันหยุดภาคครึ่งปี (ราชการไม่หยุด) 10. จันทร์ . . . 26 ก.ค. 53 วันอาสาฬหบูชา 11. อังคาร . . .27 ก.ค. 53 วันเข้าพรรษา (สถาบันการเงินไม่หยุด) 12. พฤหัสบดี . 12 ส.ค. 53 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ . . . . . . . . . . . . . . . . . . .พระบรมราชินีนาถ . . . ศุกร์ . . . . 13 ส.ค. 53 หยุดพิเศษ 13. เสาร์ . . . . 23 ต.ค. 53 วันปิยมหาราช . . . จันทร์ . . . 25 ต.ค. 53 หยุดชดเชย 14. อาทิตย์ . . . 5 ธ.ค. 53 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว . . . จันทร์ . . . . 6 ธ.ค. 53 หยุดชดเชย 15. ศุกร์ . . . . .10 ธ.ค. 53 วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ 16. ศุกร์ . . . . .31 ธ.ค. 53 วันเริ่มเทศกาลปีใหม่ . . . . . . . . . . . . . . . . . . .(สำหรับวันหยุดสถาบันการเงินเรียกว่าวันสิ้นปี) 17. วันเสาร์-อาทิตย์
พุทธศักราช 2553 อธิกมาส ปกติวาร ปกติสุรทิน (จาก ปฏิทินตรวจสอบวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันพระปกติ ประจำปี 2553 //www.dra.go.th/images/article/freetemp/article_20090729133358.pdf วันพระทั้ง 49 วันของปี 2553 เปิดเว็บนี้ดูได้ครับ)
1. วันมาฆบูชา อาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4) 2. วันวิสาขบูชา ศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7) 3. วันอาสาฬหบูชา จันทร์ที่ 26 กรกฎาคม ( ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8-8 ) 4. วันเข้าพรรษา อังคารที่ 27 กรกฎาคม (แรม 1 ค่ำ เดือน 8- 8 ) 5. วันปวารณาออกพรรษา เสาร์ที่ 23 ตุลาคม ( มีสังฆกรรมพระสงฆ์ทำพิธีปวารณาออกพรรษาแทนอุโบสถคือสวดพระปาฏิโมกข์ )(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) 6. เทศกาลออกพรรษาตักบาตรเทโว เริ่มกฐินกาล อาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) 7. วันลอยกระทง วันสุดท้ายกฐินกาล อาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
สำนักพระราชวัง, พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และกรมการศาสนา ได้ตรวจตรงกันแล้ว ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา โทร. 0 2422 8804 โทรสาร 0 2422 8801 //www. dra.go.th
ปฏิทินจันทรคติ 120 ปี (เลือกช่วงเวลาที่ต้องการ) //www25.brinkster.com/aquapisces/calendaradvance.asp
Create Date : 18 สิงหาคม 2552 | | |
Last Update : 12 มกราคม 2553 8:16:55 น. |
Counter : 1795 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ปฏิทินวันพระ วันหยุดราชการ และ ธนาคาร พ.ศ. 2552
วันหยุดราชการ และ ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2552 1. พฤหัสบดี . . . 1 ม.ค. 52 วันขึ้นปีใหม่ . . ศุกร์ . . . . . . 2 ม.ค. 52 (เพิ่มพิเศษ ให้กลับบ้าน-ส่งเสริมท่องเที่ยว) 2. จันทร์ . . . . . 9 ก.พ. 52 วันมาฆบูชา 3. จันทร์ . . . . .6 เม.ย. 52 วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก . . . . . . . . . . . . . . . . . . .มหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ . . ศุกร์ . . . . .10 เม.ย. 52 (ราชการเพิ่มพิเศษกรณีกลุ่มเสื้อแดงปิดถนน . . . . . . . . . . . . . . . . . . .รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและอีกบางแห่ง) 4. จันทร์ . . . .13 เม.ย. 52 วันสงกรานต์ . . อังคาร . . . 14 เม.ย. 52 . . พุธ . . . . . 15 เม.ย. 52 . . พฤหัสบดี . 16 เม.ย. 52 (ราชการเพิ่มพิเศษเก็บกวาดทำเนียบรัฐบาล . . ศุกร์ . . . . 17 เม.ย. 52 และถนนบางสายหลังเหตุการณ์คลี่คลาย) 5. ศุกร์ . . . . . .1 พ.ค. 52 วันแรงงานแห่งชาติ (ราชการไม่หยุด) 6. อังคาร . . . . 5 พ.ค. 52 วันฉัตรมงคล 7. ศุกร์ . . . . . .8 พ.ค. 52 วันวิสาขบูชา 8. จันทร์ . . . .11 พ.ค. 52 วันพืชมงคล (ธนาคารไม่หยุด) 9. พุธ . . . . . . .1 ก.ค. 52 วันหยุดภาคครึ่งปี (ราชการไม่หยุด) . . .จันทร์ . . . . 6 ก.ค. 52 (เพิ่มพิเศษ ให้จับจ่าย-ส่งเสริมท่องเที่ยว) 10. อังคาร . . . 7 ก.ค. 52 วันอาสาฬหบูชา 11. พุธ . . . . . .8 ก.ค. 52 วันเข้าพรรษา (ธนาคารไม่หยุด) 12. พุธ . . . . .12 ส.ค. 52 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ . . . . . . . . . . . . . . . . . . พระบรมราชินีนาถ 13. ศุกร์ . . . . 23 ต.ค. 52 วันปิยมหาราช 14. จันทร์ . . . . 7 ธ.ค. 52 ชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ . . . . . . . . . . . . . . . . . . พระเจ้าอยู่หัว 15. พฤหัสบดี . 10 ธ.ค. 52 วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ 16. พฤหัสบดี . 31 ธ.ค. 52 วันเริ่มเทศกาลปีใหม่ . . . . . . . . . . . . . . . . . . (สำหรับวันหยุดธนาคารเรียกว่าวันสิ้นปี) 17. วันเสาร์-อาทิตย์ หมายเหตุ วันตรุษจีนปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 26 ม.ค. ขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 มีความสำคัญมาก แต่มิใช่ทั้งวันหยุดราชการและวันหยุดธนาคาร
ปฏิทินจันทรคติ 120 ปี (เลือกช่วงเวลาที่ต้องการ) //www25.brinkster.com/aquapisces/calendaradvance.asp
ปฏิทินตรวจสอบวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันพระปกติ ประจำปี 2552 (รายละเอียดเชิญดูที่ //religion.m-culture.go.th/download/article/article_20080816143542.pdf)
ปกติมาส อธิกวาร ปกติสุรทิน ( จ.ศ. 1371 ปีฉลู)
- วันมาฆบูชา จันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) - วันวิสาขบูชา ศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) - วันอาสาฬหบูชา อังคารที่ 7 กรกฎาคม ( ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) - วันเข้าพรรษา พุธที่ 8 กรกฎาคม (แรม 1 ค่ำ เดือน 8) - วันปวารณาออกพรรษา อาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม ( มีสังฆกรรมพระสงฆ์ทำพิธีปวารณาออกพรรษาแทนอุโบสถคือสวดพระปาฏิโมกข์ )(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) - เทศกาลออกพรรษาตักบาตรเทโว เริ่มกฐินกาล จันทร์ที่ 5 ตุลาคม (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) - วันลอยกระทง วันสุดท้ายกฐินกาล จันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
สำนักพระราชวัง , พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และ กรมการศาสนา ได้ตรวจตรงกันแล้ว ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา โทร. 0 2422 8802 โทรสาร 0 2422 8806 //www. dra.go.th
Create Date : 07 สิงหาคม 2551 | | |
Last Update : 17 สิงหาคม 2552 22:54:48 น. |
Counter : 1269 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
อาสาฬหบูชา ปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมสาวก
อาสาฬหบูชา จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) //www.dhammathai.org/buddhistdic/buddhistdictionary.php อาสาฬหบูชา การบูชาในเดือน ๘ หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เป็นการพิเศษ เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือพระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะคำรบครบพระรัตนตรัย
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา (จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ //www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=4&A=355 ) เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๓๕๕ - ๔๔๕. หน้าที่ ๑๕ - ๑๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
[๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน? ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑. [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.
ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา. [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล. ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท (จาก //www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=446&Z=478 ) เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๔๖ - ๔๗๘. หน้าที่ ๑๙ - ๒๐.
[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น. [๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา. ท่านทั้งสองนั้นได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น. วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา. ท่านทั้งสองได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
Create Date : 21 กรกฎาคม 2551 | | |
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 2:30:28 น. |
Counter : 560 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|