|
 |
 |
 |
 |
|
สิ่งขวางกั้นสำคัญต่อมือที่มองไม่เห็นของแอดัม สมิธ
ในเศรษฐศาสตร์แนวจอร์จ (เฮนรี จอร์จ) ปัจจัยการผลิตแบ่งเป็น 3 ปัจจัย คือ 1.ที่ดิน 2.แรงงาน (มนุษย์) และ 3.ทุน การจัดการหรือการประกอบการ ซึ่งทางบริหารมักจะถือเป็นปัจจัยที่ 4 นั้น ที่จริงคือแรงงาน ซึ่งมีทั้งทางสมองและทางกาย
จอร์จบอกว่า ที่ดินควรเป็นของส่วนรวม รัฐทำหน้าที่เก็บภาษีที่ดิน (ก็ค่าเช่าที่ดินนั่นเอง) เอามาบำรุงส่วนรวม เพราะมูลค่าที่ดินส่วนใหญ่เกิดจากการมีชุมชน กิจกรรมของแต่ละคนที่กระทำ โดยสุจริต แม้จะเพื่อประโยชน์ตนเอง แต่ที่จริงเป็นความร่วมมือกัน เพื่อบำบัดความต้องการของทุกคนที่เข้ามาร่วมมือกันในการผลิตและค้าสินค้าและบริการ ส่วนมากก็โดยการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ทำให้เกิดความรู้ความชำนาญเฉพาะอย่างแบบที่ต้องเล่าเรียนกันสูง ๆ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งเกิดเครื่องมืออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อธุรกิจและขนส่งสินค้า
การที่คนเราแต่ละคนทำเพื่อตนเองแต่ส่งผลดีต่อส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพเช่นนี้ แอดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ เปรียบว่าเป็น มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) ซึ่งเฮนรี จอร์จบอกว่าทำให้เกิดมูลค่าซึ่งเข้าไปเกาะติดอยู่กับที่ดินในชุมชน ยิ่งชุมชนหนาแน่น ยิ่งเครื่องมืออำนวยความสะดวกก้าวหน้า ประสิทธิภาพการผลิตยิ่งสูง ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่ดินยิ่งสูงขึ้นอีกต่อหนึ่ง มูลค่านี้เป็นผลพลอยได้จากการทำเพื่อประโยชน์ของตนเองซึ่งกลายเป็นการร่วมมือกันโดยอัตโนมัติ คนไหนขายของเลวราคาแพงก็ไม่มีคนซื้อ
ลัทธิจอร์จเป็นสังคมนิยมเมื่อมองในแง่ที่ดิน ถ้าไม่เก็บภาษีที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้รับประโยชน์ไปที่เรียกว่าเป็นรายได้ที่มิได้ลงทุนลงแรง (unearned income) และทำให้ต้องหันไปเก็บภาษี เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีกำไร (ซึ่งทำให้รายได้สุทธิของผู้ทำงานและผู้ลงทุนลดลง) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ทำให้ของแพง) ซ้ำกลับเกิดผลเสียใหญ่หลวงคือการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินหวังราคาที่จะสูงขึ้นในอนาคต ไปที่ไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว ที่ดินกลายเป็นของหายาก ค่าเช่าที่อยู่ที่ทำกินมีอัตราสูงเกินกว่าระดับที่ควร (ส่วนแบ่งการผลิตสำหรับผู้ลงแรงลงทุนต่ำกว่าระดับที่ควร) ผู้คนหางานทำยาก ค่าแรงก็ต่ำ และยังทำให้วัฏจักรเศรษฐกิจแกว่งตัวรุนแรง ขาลงจะก่อความเสียหายมากมาย คนจนยิ่งทุกข์ยากหนักขึ้น (วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ก็เป็นเพราะการเก็งกำไรที่ดินเหมือนครั้งก่อน ๆ แต่รุนแรงกว้างขวางขึ้นจากการมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ขึ้นมา) เหตุดังกล่าวคือสิ่งขวางกั้นสำคัญต่อการทำงานของมือที่มองไม่เห็นของแอดัม สมิธ
แต่ลัทธิจอร์จก็เป็นแรงงานนิยมและทุนนิยมด้วยอย่างแรงเพราะต้องการให้ผู้ทำงานและผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเต็มที่ ไม่มีภาษีประเภทที่ไปลดรายได้และไปเพิ่มรายจ่าย (ราคาสินค้า)
ถ้าเป็นไปตามลัทธิจอร์จ จะไม่มีชนชั้นเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินเป็นของส่วนรวมด้วยวิธีการภาษีซึ่งจะขจัดความได้เปรียบเสียเปรียบจากการมีที่ดินมากน้อย ดีเลว ผิดกันให้หมดไป
นายทุนกับแรงงานมีผลประโยชน์ร่วมกัน //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=96&c=1 แก้ปัญหาที่ดินได้ปัญหานายทุนกดค่าแรงจะหมดไปด้วย //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=4&c=1
จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //geocities.com/utopiathai (ปัจจุบัน 12 มี.ค. 53 เปลี่ยนเป็น //utopiathai.webs.com )
Create Date : 20 ธันวาคม 2551 |
Last Update : 12 มีนาคม 2553 22:03:55 น. |
|
0 comments
|
Counter : 949 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|