ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
ขอให้ขึ้นภาษีที่ดินจะได้ผลดีกว่าขอขึ้นค่าจ้างโดยตรง

ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ

ค่าจ้างแรงงานกับภาษีที่ดินมีความสัมพันธ์กัน แต่คนธรรมดาอาจมองไม่ออก

การเก็บภาษีที่ดินต่ำทำให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากการที่ที่ดินมีราคา-ค่าเช่าสูงขึ้นเรื่อยๆ เกือบตลอดมา
เจ้าของที่ดินไม่มีส่วนในการลงแรงหรือลงทุนผลิต แต่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากการผลิต
ย่อมทำให้ผู้ทำงานและผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนน้อยลง

เมื่อเจ้าของที่ดินได้ส่วนแบ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้ผู้ทำงานและผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนลดลงเรื่อยๆ
อย่างน้อยก็โดยอัตราส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเช่าที่ดิน
เพราะการผลิตมีปัจจัยที่นำมาใช้เพียงสามปัจจัยเท่านั้น แต่ครอบคลุมหมด นั่นคือ ที่ดิน แรงงาน และ ทุน
ผู้จัดการก็เป็นผู้ใช้แรงงานด้านสมองมากกว่าแรงกาย เขาอาจมีส่วนเป็นผู้ลงทุนในกิจการอยู่ด้วยก็ได้
และอาจเป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ในกิจการนั้นอีกด้วย
ถึงแม้คนหนึ่งๆ จะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตครบทั้งสามปัจจัยดังกล่าว แต่เราก็ต้องพิจารณาปัจจัยทั้งสามแยกกัน

การแบ่งผลตอบแทนแก่ปัจจัยการผลิตทั้งสามนี้มีกฎธรรมชาติด้านสังคมเป็นตัวกำหนด นั่นคือ --

ค่าเช่าที่ดินคือผลต่างระหว่างผลผลิตของที่ดินแปลงนั้นกับผลผลิตที่ขอบริมแห่งการผลิตหรือที่ดินชายขอบ เมื่อใช้แรงงานและทุนเท่ากัน
(ที่ดินชายขอบหรือขอบริมแห่งการผลิต คือ ที่ดินเลวที่สุดที่ใช้กันอยู่ ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นที่ดินดีที่สุดที่หาได้โดยไม่เสียค่าตอบแทน
ถ้าการผลิตต้องขยายออกไปจากขอบริมแห่งการผลิตขอบเดิม ขอบริมใหม่มักจะให้ผลผลิตต่ำกว่าขอบริมเดิม ที่ขอบริมเดิมก็มีค่าเช่าเกิดขึ้น
ที่ดินที่มีค่าเช่าอยู่แล้ว ค่าเช่าก็สูงขึ้นไปอีก เป็นส่วนที่เจ้าของที่ดินได้เพิ่มขึ้นมาเฉยๆ)

ค่าแรงคือผลผลิตที่แรงงานสามารถผลิตได้ ณ ขอบริมแห่งการผลิต
(ยิ่งที่ดินชายขอบขยายออกไป ค่าแรงยิ่งลด ยกเว้นไว้แต่ถ้าแรงงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น)

ดอกเบี้ยหรือค่าใช้ทุนจะสูงขึ้นหรือต่ำลงเช่นเดียวกับค่าแรง โดยขึ้นอยู่กับขอบริมแห่งการผลิตเหมือนกัน

ค่าเช่าหรือราคาที่ดินยังสูงขึ้นได้อีกจากการมีประชากรมากขึ้นและความเจริญก้าวหน้าทั้งหลาย
การมารวมตัวของผู้คนเป็นชุมชนที่ค่อยๆ ขยายตัวออกเป็นเมือง นคร มหานคร
การทำงานและการลงทุนของทั้งเอกชนและรัฐ (รัฐก็ใช้ภาษีจากเอกชนนั่นเอง) ช่วยให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย ปลอดภัย การขนส่ง สื่อสาร การผลิต การค้าทำได้รวดเร็วและค่าใช้จ่ายต่ำลง การแบ่งงานกันทำแยกกย่อยมากขึ้น ความรู้ความชำนาญสั่งสมแยกเป็นเฉพาะทางมากขึ้น อารยธรรมและประสิทธิภาพการผลิตก็สูงขึ้นๆ
แต่สิ่งเหล่านี้กลับไปทำให้ค่าเช่า/ราคาที่ดินในเมืองสูงขึ้นมากมาย

ทั้งหมดนี่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินทำ ผู้ทำงานและผู้ลงทุนผลิตต่างหากที่ทำ
ถ้าเจ้าของที่ดินทำเขาก็ทำในฐานะผู้ทำงานหรือผู้ลงทุน
ซึ่งย่อมจะได้รับผลตอบแทนในฐานะผู้ทำงานหรือผู้ลงทุนอยู่แล้ว
การเข้าครอบครองที่ดินหรือหาซื้อที่ดินมาไว้ในครอบครองไม่ใช่การลงทุนผลิต
แต่เป็นการแสวงหาหรือสืบทอดอภิสิทธิ์ที่จะเรียกแบ่งเอาผลตอบแทนจากผู้ทำงานและผู้ลงทุนผลิต
เจ้าของที่ดินจึงถูกเรียกว่า ผู้เก็บเกี่ยวโดยไม่ได้ไถหว่าน
รายได้ของเจ้าของที่ดินจึงถูกเรียกว่า unearned income
และเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งก็เป็นประเภท absentee landlords

เมื่อที่ดินให้ราคาหรือค่าเช่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้ผู้คนที่มีเงินพากันสะสมหาซื้อที่ดินเก็บกันไว้ ที่เรียกว่า การเก็งกำไร
ที่ดินที่เราเห็นว่างๆ ร้างรกอยู่มักมีเจ้าของแล้ว ยกเว้นที่ดินที่ทางราชการสงวนเอาไว้ ซึ่งก็ยังถูกบุกรุก
การเก็งกำไรกักตุนที่ดินคือผลแห่งระบบภาษีที่เอื้อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดิน
ซึ่งส่งผลเสียหายร้ายแรงซ้ำแก่ประเทศชาติและประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้มีแต่แรงงานสามัญ
คือทำให้ราคา/ค่าเช่าที่ดินสูงเกินจริง และเบียดคนจนออกจากโอกาสการเป็นเจ้าของที่ดิน
คนจนต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ได้เงินมาจ่ายค่าเช่าที่ดินและเลี้ยงปากท้องตนและครอบครัว
ส่วนหนึ่งหาได้ไม่พอจ่ายต้องกู้หนี้ยืมสิน จ่ายดอกเบี้ยแพง เพราะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

การเก็งกำไรทำให้ที่ดิน 70 % ทั้งในเมือง ชานเมือง และชนบทไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ก็ไม่เต็มที่
ซึ่งหมายถึงมีการจ้างงานน้อยกว่าที่ควร ค่าแรงก็ต่ำลง ยิ่งเดือดร้อนคนจน ผลผลิตของชาติก็ต่ำ
เมืองมีขนาดใหญ่แต่หลวม ผู้คนต้องหาบ้านอยู่นอกเมือง สาธารณูปโภคต้องขยายไปไกล ต้นทุนค่าใช้จ่ายจึงสูง
ซ้ำต้องมีการใช้พาหนะเดินทางเช้าเข้าเมือง เย็นออก การจราจรติดขัดเสียเวลา สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เกิดมลภาวะ

ถ้ารัฐบาลขึ้นภาษีที่ดินจนเสมือนเจ้าของที่ดินเป็นผู้เช่าจากรัฐ การเก็งกำไรที่ดินจะหมดไป
ที่ดินจะเปิดออกหาคนมาทำประโยชน์ให้คุ้มกับภาษี หรือให้เช่า ไม่ก็ต้องขาย
ราคาที่ดินจะเป็นศูนย์ ค่าเช่าส่วนที่สูงกว่าปกติจะหายไป
ผู้คนจะสามารถซื้อหรือเช่าที่ดินทำกินเป็นนายตนเองได้ง่ายขึ้น
จะมีการจ้างงานมากขึ้น ค่าแรงจะสูงขึ้น นายทุนก็ไม่สามารถกดค่าจ้างไว้ได้
ชาติก็จะเจริญดีขึ้น ภาระของรัฐที่จะต้องช่วยเหลือคนจนจะลดลง

อีกทั้งรายได้จากภาษีที่ดินจะทำให้รัฐบาลสามารถลด-เลิกภาษีจากการลงแรงและการลงทุนชดเชยกัน
ทำให้ผู้ทำงานผู้ลงทุนมีรายได้เพิ่ม ซ้ำราคาของกินของใช้ก็ต่ำลง แข่งขันสู้ต่างชาติได้ดีขึ้น
นี่คือผลดีของการให้ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของแผ่นดินไทยเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องแบ่งที่ดินจริง

การเก็บภาษีที่ดินเสมือนเจ้าของที่ดินเป็นผู้เช่าก็คือการนำความยุติธรรมกลับคืนมาสู่ผู้ลงแรงและผู้ลงทุน
ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าราคา/ค่าเช่าที่ดินที่สูงขึ้นนั้นมิใช่เพราะการกระทำของเจ้าของที่ดิน
แต่เป็นเพราะกิจกรรมของผู้ทำงานและผู้ลงทุน

อย่างไรก็ดี ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงฮวบฮาบ เพื่อมิให้เกิดเดือดร้อนวุ่นวายเกินไป เพราะระบบเก่าให้อภิสิทธิ์เขาไว้เอง
แต่ขอให้ค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดิน เช่น ปีละ 3.3 % ของค่าเช่าที่ดินที่ควรเป็นซึ่งจะกินเวลาราว 30 ปีก็จะครบ 100%.

จาก //www.utopiathai.webs.com



Create Date : 01 สิงหาคม 2554
Last Update : 1 สิงหาคม 2554 23:33:08 น. 0 comments
Counter : 679 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com