ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
รัฐสวัสดิการดีจริงหรือ ?

ระบบรัฐสวัสดิการเป็นสิ่งที่เรียกกันว่า *ทางสายกลาง* ระหว่างคอมมิวนิสต์กับนายทุน ซึ่งก็เลยทำให้ยังมีข้อบกพร่องที่ทั้งคอมมิวนิสต์และลัทธินายทุนต่างก็มีอยู่ นั่นก็คือ การคิดสับสนปะปนกันระหว่าง *ที่ดิน* กับ *ทุน* คอมมิวนิสต์โจมตีชนชั้นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งสองนี้รวม ๆ กันไปไม่พยายามแยกประเภท ส่วนระบบนายทุนหรือเสรีวิสาหกิจปัจจุบันก็พยายามต่อสู้ป้องกันชนชั้นทั้งสองนี้ไว้รวม ๆ กันไปโดยพยายามไม่แยกประเภทเช่นเดียวกัน (จริงอยู่ มีอยู่มากรายที่เจ้าของที่ดินและเจ้าของทุนเป็นบุคคลคนเดียวกัน แต่ในการคิดหาเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ เราจะต้องแยกฐานะความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ต่างกันออกจากกัน) รัฐสวัสดิการ *ทางสายกลาง* ก็เลยยอมให้เอกชนเป็นเจ้าของได้ทั้งที่ดินและทุน แต่ว่าได้เฉพาะรายย่อย ส่วนรายใหญ่ต้องโอนเป็นของรัฐ ซึ่งรัฐวิสาหกิจมักจะมีคอร์รัปชัน ความเป็นเจ้าขุนมูลนาย และ ประสิทธิภาพต่ำ

ทางสายกลางที่แท้จริงน่าจะได้แก่ ระบบภาษีมูลค่าที่ดิน* ซึ่งเปรียบเสมือนโอนปัจจัยการผลิตแต่เพียงปัจจัยเดียวเป็นของรัฐ คือที่ดิน ส่วนทุนจะมากน้อยเพียงใดยังคงยอมให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์อยู่และได้ผลตอบแทนเต็มที่ ไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องหาทางกำจัดการผูกขาด แรงงานก็ไม่ต้องเสียภาษี

การสวัสดิการในสวีเดนและเดนมาร์กนับว่าดี เช่น คนเจ็บป่วย คนชรา คนว่างงาน จะไม่อดตาย มีการรักษาพยาบาลฟรีอย่างดี แต่ถ้ารัฐให้สวัสดิการดีตั้งแต่เกิดลงเปลไปจนถึงตายลงหลุม (from the cradle to the grave) กิจการของรัฐก็จะต้องใหญ่โตมีเจ้าหน้าที่มาก เกิดคอร์รัปชันและระบบเจ้าขุนมูลนายมากขึ้น รัฐจะต้องเข้ามาก้าวก่ายเสรีภาพส่วนบุคคลมากขึ้นและภาษีก็จะต้องสูงตั้งแต่เกิดลงเปลไปจนถึงตายลงหลุมเช่นเดียวกัน ซึ่งราษฎรของทั้งสองประเทศนี้ก็รู้สึกกันทั่วไปว่าตนต้องเสียภาษีแรงมาก เพราะรัฐบาลไม่มีทางได้เงินจากไหนมาทำสวัสดิการ นอกจากจะรีดเอาจากพลเมืองด้วยกัน ภาษีเงินได้สูงทำให้คนที่รายได้สูงย้ายออกนอกประเทศ ไม่เป็นการส่งเสริมการลงทุน ทำให้หางานทำยาก ว่างงานมาก และภาษีที่เก็บจากการลงแรงลงทุนของแต่ละบุคคล เพื่อเอาไปบำรุงคนอื่นนั้นก็ไม่ยุติธรรม ซ้ำยังทำให้ของแพงและถ่วงการผลิต แต่ถ้าเป็นการสวัสดิการโดยใช้ภาษีมูลค่าที่ดินซึ่งควรจะเป็นรายได้อันชอบธรรมของรัฐ (เพราะมูลค่าราคาของที่ดินเกิดจากการกระทำของทุกคนรวมกัน รวมทั้งภาษีที่ทุกคนจ่ายไปบำรุงส่วนรวม) นั่นแหละ จึงจะเป็นการสมควรอย่างยิ่ง

เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน สมองดีบ้าง ทึบบ้าง ร่างกายสมประกอบบ้าง ง่อยเปลี้ยบ้าง ความขยันขันแข็งความรู้สึกรับผิดชอบเอาใจใส่ในหน้าที่การงานก็ไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมบ้าง สิ่งแวดล้อมบ้าง เป็นการยากที่จะวินิจฉัยว่าเป็นความผิดของเจ้าตัวหรือเปล่า และเป็นการยากที่จะช่วยให้ทุกคนเกิดความเท่าเทียมกัน เราจะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันได้ก็เฉพาะในเรื่องของโอกาส ซึ่งระบบภาษีมูลค่าที่ดินจะเปิดโอกาสให้มนุษย์มีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการใช้ที่ดินอันเป็นของธรรมชาติและเป็นรากฐานจำเป็นแก่การอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ การช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันในเรื่องอื่น ๆ บางครั้งก็ไม่สมควร เช่น จะช่วยให้คนเกียจคร้านมีรายได้ฐานะเท่าเทียมกับคนขยันเป็นต้น ทั้งในระบบปัจจุบันก็มิได้มีมาตรการที่ได้ผลแต่อย่างไรในการที่จะแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์เช่นที่กล่าวมานี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ยากไร้มีความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานอันหนึ่ง (ตามที่จะคิดกำหนดขึ้น) ก็ควรจะได้รับการอุ้มชูจากรัฐ (หรือ คือ สังคมส่วนรวมนั่นเอง) แต่มาตรฐานที่กำหนดไว้นี้ก็ต้องระวังไม่ให้ดีเกินไป จนกลายเป็นเครื่องล่อใจให้คนไม่คิดช่วยตัวเอง กลายเป็นภาระของสังคมที่จะต้องคอยอุ้มชูกันเรื่อยไป ตัวอย่างในสิ่งที่ควรจะช่วยเหลือก็เช่นให้การศึกษาพื้นฐาน ที่จะออกไปประกอบอาชีพได้ตามสมควรและประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม (การศึกษาภาคบังคับควรจะตรงตามความมุ่งหมายนี้ แต่ไม่ใช่ให้การศึกษาขั้นปริญญาฟรีโดยในการศึกษาภาคบังคับชั้นประถมกลับหาที่เรียนฟรีที่ดีพอสมควรไม่ได้) เมื่อเจ็บป่วยก็ควรจะให้การรักษาพยาบาลฟรี (แต่ก็ต้องระวังผู้ที่แกล้งทำเป็นป่วยเพราะได้อาหารฟรีและไม่ต้องทำงาน) มีการฝึกอาชีพให้ใหม่เมื่อต้องว่างงาน เช่น เมื่ออุตสาหกรรมในครอบครัวต้องพ่ายแพ้แก่เครื่องจักรกลในอาชีพเดียวกัน มีการสงเคราะห์คนพิการ หูหนวก ตาบอด ปัญญาอ่อน ฯลฯ

ข้อที่ควรระลึก ก็คือ ระบบภาษีเดี่ยวจากการถือครองที่ดิน (ซึ่งไม่เก็บภาษีจากการลงแรงลงทุน เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จะช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ลงไปโดยอัตโนมัติ ทำลายการเก็งกำไรเก็บกักที่ดิน ของกินของใช้จะราคาถูกลง การว่างงานจะลดลง หางานทำได้ง่าย ค่าแรงจะสูงขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้แรงงานมีฐานะดีขึ้นโดยทั่วไป และมีความภาคภูมิใจที่สามารถยืนอยู่ด้วยลำแข้งของตนเอง ประสบผลสำเร็จทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นที่พึ่งแก่ครอบครัวได้ โดยไม่ต้องรอรับ *รัฐสวัสดิการ* เหมือนขอทานอีกต่อไป ถ้าพื้นฐานดีเสียแล้วการจะแก้ปัญหาส่วนที่เหลือก็จะพลอยง่ายขึ้นไปด้วย.

(จาก หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม - เศรษฐศาสตร์ที่ลงถึงราก
//geocities.com/utopiathai/UnjustPoverty หน้า 79-80)

หมายเหตุ ระบบภาษีมูลค่าที่ดิน ดูที่ //th.wikipedia.org/wiki/เฮนรี_จอร์จ
และที่ //th.wikipedia.org/wiki/ภาษีเดี่ยว

บทความเกี่ยวกับเรื่องรัฐสวัสดิการ
รัฐสวัสดิการแบบไทยต้องใช้เงินขั้นต่ำ 4 แสนล้าน
บทสรุปบางส่วนจากบทความเรื่อง คนไทยพร้อมจะจ่ายค่ารัฐสวัสดิการหรือ ?
//www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q4/2007november07p4.htm
สำหรับฉบับเต็ม (ซึ่งมีข้อมูลรายละเอียด) เรื่อง คนไทยพร้อมจะจ่ายค่ารัฐสวัสดิการหรือ? โดย ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ เสนอสำหรับกลุ่มที่ 3 การต่อสู้กับความยากจนด้วยระบบรัฐสวัสดิการ ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 เรื่อง จะแก้ปัญหาความยากจนกันอย่างไร: แข่งขัน แจกจ่าย หรือสวัสดิการ ร่วมจัดโดย มูลนิธิชัยพัฒนา และ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน ชลบุรี ดูได้ที่
//www.tdri.or.th/ye_07/g3_worawan.pdf (27 หน้า)
รัฐสวัสดิการทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย
//www.bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=194&c=1&order=numtopic
รัฐสวัสดิการจะดีทำไมต้องภาษีก้าวหน้า?
//www.bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=109&c=1&order=numtopic


Create Date : 21 พฤษภาคม 2551
Last Update : 21 สิงหาคม 2551 23:54:35 น. 1 comments
Counter : 1027 Pageviews.

 
ที่มีการอ้างกันว่าระบบรัฐสวัสดิการในยุโรปเป็นผลจากการนำทฤษฏีของมาร์กซ์มาปรับใช้นั้น ถ้าจริง การปรับใช้คงผิดไปจากแนวที่พวกนิยมมาร์กซ์ต้องการ เพราะผมเห็นพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ของ อ.วันรักษ์ มิ่งมณีนาคินและคณะท่านบอกว่าพวกมาร์กซิสต์โจมตีรัฐสวัสดิการว่าเป็นการยืดอายุของทุนนิยมที่กำลังร่อแร่ให้พ้นจากวาระสุดท้าย เป็นการถ่วงเวลาในการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ

ส่วนลัทธิภาษีเดี่ยวของเฮนรี จอร์จ เลนินก็โจมตีเหมือนกัน คือบอกว่าเป็น capitalist's last ditch (จาก //www.earthsharing.org.au/2006/10/13/quotations )


โดย: สุธน หิญ วันที่: 21 สิงหาคม 2551 เวลา:23:48:56 น.  
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com