 |
|
ภาษีที่ยุติธรรมอย่างยิ่ง มีเหตุผล และ กระจายตัวอย่างชอบธรรม
Sun Yat-sen (ซุนยัตเซ็น 1866-1925): คำสอนของเฮนรี จอร์จจะเป็นมูลฐานแห่งโครงการปฏิรูปของเรา . . . . [ภาษีที่ดิน] ในฐานะวิธีเดียวสำหรับให้รายได้แก่รัฐบาล เป็นภาษีที่ยุติธรรมอย่างยิ่ง มีเหตุผล และ กระจายตัวอย่างชอบธรรม และเราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยภาษีนี้
ที่ซุนยัตเซ็นผู้สถาปนาระบอบสาธารณรัฐจีนกล้ากล่าวเช่นนี้เพราะได้เห็นและประทับใจในผลของการที่ Ludwig Wilhelm Schrameier ผู้ปกครองอาณานิคม Kiaochow หรือ Chiaochou (ต่อมาเรียกว่า Jiaoxian) ของเยอรมันใน Shangdong (เดิม Shantung) ของจีนริมฝั่งทะเลเหลือง ได้นำระบบภาษีมูลค่าที่ดินตามแนวของเฮนรี จอร์จมาบังคับใช้ในอาณานิคมของตน เนื้อที่ราว 200 ตารางไมล์ (เทียบสิงคโปร์ 274 ตารางไมล์) ในทศวรรษที่เริ่มแต่ ค.ศ.1900 โดยเก็บ 6 % (ของราคาประเมิน ? ) ได้ภาษีราวครึ่งหนึ่งของค่าเช่า (ปกติหมายถึงค่าเช่าที่ควรเป็น แม้จะไม่ได้ให้เช่า) ทำให้การเก็งกำไรกักตุนที่ดินหายไป และทำให้ Kiaochow เจริญขึ้นมาก โดยเฉพาะคือ นคร Qingdao หรือ Tsingtao เยอรมันเสียอาณานิคมนี้ไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (จากลำดับ 5 ใน Where a Tax Reform Has Worked: 28 Case Summaries //www.progress.org/geonomy/Numbers.html )
ราคาที่ดินไม่ได้เกิดจากเจ้าของที่ดิน แต่เกิดจากกิจกรรมของส่วนรวม การเป็นชุมชน รวมทั้งสิ่งอำนวยความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วในการทำมาหากิน เช่น การมีรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน ฯลฯ ที่ดินว่างเปล่าในเมืองใหญ่จึงมีราคาเป็นแสนเป็นล้านขึ้นมา และยิ่งมีราคาสูงขึ้นเพราะการเก็งกำไรกักตุนที่ดินถึง 70 % เลยเหลือที่ดินที่จะทำประโยชน์ได้น้อย แปลว่าต้องมีคนว่างงาน หางานทำยาก ค่าแรงต่ำ
การพยายามถ่ายเทภาระภาษีจากการทำงานและการลงทุนก่อผลผลิตและบริการ ไปมุ่งเก็บภาษีการถือครองที่ดินตามมูลค่าของที่ดิน น่าจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ทำงานและผู้ลงทุนนะครับ เพราะจะไม่ต้องเสียภาษีจำพวกภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อสินค้าไม่มีภาษีราคาก็ต่ำลง ความยากจนและอาชญากรรมก็ลด ภาษีที่ดินจะช่วยขจัดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเนื่องจากการได้ครองที่ดินมากน้อย ดีเลว ต่างกัน ให้หมดไป
จาก //utopiathai.webs.com
Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2554 |
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2554 8:49:22 น. |
|
0 comments
|
Counter : 672 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
 |