ทำไมเศรษฐศาสตร์จึงยังแก้ความยากจนและวิกฤตฟองสบู่ไม่ได้
ตอบ ข้อเขียนและคำปราศรัยของ Henry George (ค.ศ.1839-1897) ในช่วง 20 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เสนอให้ยกเลิกภาษีทั้งสิ้น ยกเว้นให้เก็บภาษีมูลค่าที่ดินเพียงอย่างเดียว ซึ่งได้รับการต้อนรับจากคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มอำนาจที่มีผลประโยชน์มากๆ ในที่ดินต้องหาทางรักษาสถานภาพที่เป็นอยู่ (status quo) ส่วนที่สำคัญก็คือพยายามมีอำนาจควบคุมการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยสำคัญๆ ของสหรัฐฯ
ศาสตราจารย์ Mason Gaffney อธิบายว่าเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิกเริ่มขึ้นเมื่อ John Bates Clark (ค.ศ. 1847-1938 ) ผู้มีชื่อเสียงด้านพัฒนาแนวคิดเรื่องผลิตภาพหน่วยท้ายสุด (marginal productivity) ถือเอาเป็นภาระหน้าที่ของตนที่จะต้องต่อต้าน Henry George ต่อมา Clark ได้รับการย้ายไปยังมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แล้วบรรดาศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ที่คุ้นเคยกับการโต้แย้งทางจริยธรรมก็ถูกแทนที่ด้วยผู้ผ่านการศึกษาด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ
สิ่งแรกที่กลุ่มนีโอคลาสสิกทำคือ การถอนเอา ที่ดิน ออกจากสมการเศรษฐกิจ โดยไม่ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่แตกต่างจากทุนและสินค้าที่ผลิตขึ้นมาด้วยการใช้แรงงาน (ทำให้เกิดความคลุมเครือในความแตกต่างระหว่าง ที่ดิน กับ ทุน) โลกเศรษฐศาสตร์จึงเหลือสิ่งสำคัญพื้นฐานเพียง 2 สิ่ง คือ แรงงาน และ ทุน อิทธิพลความคิดของ Henry George และกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์เดิมที่เรียกว่า political economists แทบจะหมดไปในราวกลางทศวรรษที่เริ่มจาก ค.ศ.1920
จาก //www.cooperativeindividualism.org/dodson-edward_a-century-of-pseudo-scientific-analysis-2003.html
Excerpts from The Corruption of Economics //politicaleconomy.org/gaffney.htm
ที่ดินไม่เหมือนทุนหรือทรัพย์สินอื่น //www.oknation.net/blog/utopiathai/2011/05/26
นิยามศัพท์และกฎมูลฐานทางเศรษฐศาสตร์แบบของจอร์จ //www.oknation.net/blog/utopiathai/2011/06/29
Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555 |
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2555 0:15:04 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1503 Pageviews. |
 |
|
|