ความคิดเห็นที่ 29 อีตา Henry George นี่เป็นขวัญใจของชนชั้นกรรมาชีพเลยนะครับเนี่ย (มีคนยกย่องอย่างนั้นจริงๆ อ่านประวัติดูก็ได้ //www.henrygeorge.org/chp27.htm)
ในบทที่ 18 (//www.henrygeorge.org/chp17&18.htm) แกบอกว่า "No one can be rightfully entitled to the ownership of anything which is not the produce of his labor... and the recognition of private property in land is a wrong. "
ตอบความคิดเห็น ๒๙ - หนังสือ Progress and Poverty ฉบับนี้เป็นฉบับย่อเหลือราว 40% ส่วนที่ผมแปลเป็นฉบับเต็มครับ ประวัติของ Henry George อยู่ใน Appendix I ตอนท้ายของบทที่ 27 และตอนท้ายของประวัติซึ่งคุณ academician กล่าวถึงการยกย่องว่าเป็นขวัญใจของชนชั้นกรรมาชีพนั้น มีดังนี้ (รวมทั้งที่ Henry George ตอบด้วย)
At one the chairman introduced him as "the great friend of labour." George was no demagogue. He played neither to the gallery nor to the boxes. Coming feebly forward, his voice gaining power, however, and expanding till it filled the hall, he exclaimed: "I have never claimed to be a special friend of labour. Let us have done with this call for special privileges for labour. Labour does not want special privileges. I have never advocated nor asked for special rights or special sympathy for working men. What I stand for is the equal rights of all men."
เราต้องแยกความแตกต่างระหว่างนายทุนกับเจ้าของที่ดิน ส่วนที่อยุติธรรมต่อชนชั้นแรงงาน (และผู้ลงทุนด้วย) คือ การปล่อยให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน และสรุปรวมแล้ว Henry George เสนอให้เก็บภาษีเท่าหรือเกือบเท่าค่าเช่าที่ดิน ส่วนกรรมสิทธิ์ไม่แตะต้องครับ และเลิกภาษีอื่นๆ
ที่ Web เดียวกันนี้ยังกล่าวถึง Property Taxes ไว้ดังนี้
"Property Taxes
Taxes on land and the buildings on it are the biggest source of revenue for local governments. They are not imposed by states but by the tens of thousands of cities, townships, counties, school districts and other assessing jurisdictions. .........."
สังเกตว่า Property Taxes คือ biggest sources of revenue นะครับ
Property Taxes เก็บในรูปของ school taxes, local taxes, county taxes, district taxes ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ในพื้นที่ที่ใช้บริการของรัฐมากแค่ไหน.......ไม่ใช่เพียงแค่มูลค่าที่ดิน ประชาชนเสียภาษีในอัตราที่สูงถ้า 1. พื้นที่นั้นมีประชากรเยอะ (local taxes, county taxes, district taxes) ใช้บริการสาธารณะเยอะ เช่น ต้องมี ตำรวจ พนักงานดับเพลิง รถเก็บขยะ รถกวาดหิมะ ฯลฯ มากกว่าที่อื่น 2. พื้นที่นั้นมีโรงเรียนดีๆ เยอะ และโรงเรียนต้องการงบประมาณมาก (School Taxes) ถ้ามีโรงเรียนดีๆ อย่างโรงเรียนสวนกุหลาบ(ที่คุณสุธนเรียน) โรงเรียนเตรียมอุดมฯ และ ฯลฯ อยู่ในพื้นที่ที่คุณอยู่ คุณก็ต้องจ่ายภาษีแพงกว่าพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่มีโรงเรียนตั้งอยู่ 3. อสังหาริมทรัพย์ที่คุณเป็นเจ้าของมีราคาแพง มีมูลค่าจากราคาประเมินสูงกว่าคนอื่น
ขอบคุณที่ยกเหตุผลที่ใครจะต้องเสีย property tax มากเพราะอะไร (บริการสาธารณะที่มากตามส่วนกับประชากร, การมีโรงเรียนดีๆ, อสังหาฯ ในครอบครองมีมูลค่าสูง) ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการของการคิดภาษีที่ดิน ยกเว้นแต่ท้องถิ่นต่างๆ ของสหรัฐฯ เขาคิดจากมูลค่าที่ดินด้วย และ จากมูลค่าสิ่งปลูกสร้างด้วย ไม่ได้คิดแต่มูลค่าที่ดินเพียงอย่างเดียวแบบที่ Henry George เสนอ
ที่คุณว่าต้องเก็บภาษีมากจึงจะเจริญมาก โดยยกตัวอย่างรัฐ California, New York และบอกว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ยังเก็บภาษียุบยับไปหมด ก็ถือเป็นความเชื่อโดยมีเสรีภาพเต็มที่ของคุณ แต่ผมก็ยังพอใจที่ในความเห็นที่ ๔๐ คุณบอกไว้ว่า คุณเห็นด้วย...บางส่วน....กับข้อที่ว่า การไม่เก็บภาษีที่ดินหรือเก็บน้อยไปก็กลับเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจซ้ำเข้าไปอีก เพราะที่ดินถูกเก็งกำไรเก็บกักกันไว้เฉยๆ มากมาย หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
อยากขอร้องให้ดูเพียงแค่สรุปของ Joint Economic Committee, U.S.Congress ซึ่งทำ study เรื่อง Tax Reduction and the Economy เมื่อ July 1999 มี Executive Summary ดังนี้
(www.house.gov/jec/fiscal/tax/reduce2.htm) The current tax system is counterproductive and biased against saving and investment. The tax system imposes large losses on the economy that reduce the economic welfare of households and businesses. The current level of taxation imposes additional costs of about 40 cents at the margin for each dollar collected in revenue. A reduction in the burden imposed by the tax system would make a significant improvement in the economic well-being of American households. Furthermore, if this surplus revenue is not returned to the taxpayers, it appears likely that most of it will be absorbed in federal spending increases. จากคุณ : สุธน หิญ - [ 23 ก.ค. 47 20:25:47 ]
ความคิดเห็นที่ 1
ผมไม่เห็นด้วยครับ การคิดมูลค่าที่ดินอย่างนั้น เป็นการทำลายความมั่นคงทางจิตใจ เกิดความกลัว เพราะมีรายจ่ายตลอดชีพ คนแก่จะอยู่อย่างไร รัฐไม่สนับสนุนโอกาสในการสร้างอาชีพ เพราะไม่มีผลประโยชน์ อาชีพเกษตรกรรมเสียเปรียบ จะตายเพราะอดข้าวกันหละครับ
จากคุณ : Hunkeak - [ 16 ก.ค. 47 15:58:02 ]
ความคิดเห็นที่ 2
น่าสนใจ แต่ยังไม่เห็นทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเชื่อว่าเป็นไปได้ยากมาก ที่เมืองไทยจะมีการออกกฎหมายนี้ เพราะผู้ออกกฎหมาย แทบจะทั้งสภา และผู้สนับสนุกพรรคการเมืองทั้งหลาย คือ ราชาที่ดินตัวจริง ของประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างที่น่าศึกษาอีกมาก เช่น ภาคเกษตรกรรม จะทำอย่างไร ที่ดินที่ให้ผลผลิตต่ำจะทำอย่างไร ที่ดินในเมืองจะทำอย่างไร อันนี้เป็นเรื่องเทคนิค
ความคิดนักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกที่ว่ามา โดยส่วนตัวผมว่าแทบจะรับฟังไม่ค่อยได้ ในแง่การจัดสรรที่ดินแบบเมืองไทย เพราะนักคิดตะวันตก ในยุคก่อนนั้น เขาเอาพื้นฐาน การคิดเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดิน มาจากความคิดของ ฟิวดัลด์ลอร์ด คือ ขุนนางเจ้าของผืนดินขนาดใหญ่ และแพลนเตชั่น ไร่การค้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ในยุโรป อเมริกาบางส่วน อาฟริกา แต่ไม่ใช่ในเมืองไทย
ที่ดินในเมืองไทยมีการตกทอดกันมาแบบครอบครัว ตะกูลชาวสวนชาวนา ไม่ใช่ระบบฟิวดัลด์ลอร์ด ที่ชาวนาไม่มีสิทธิในที่ทำกิน ไม่เหมือนในรัสเซีย ในอังกฤษ หรือที่อื่นๆ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ก็ยิ่งจะทำให้ชาวนา ชาวสวน ขายที่ดินมากขึ้น และที่ดินตกไปอยู่ในมือของนายทุนมากขึ้น ชาวนา ชาวสวนจะกลายมาเป็นกรรมกรในเมือง ที่ต้องจ่ายค่าเช่าต่อหน่วยสูงขึ้น สังคมจะแออัดมากขึ้น หากผืนดินนั้นทำประโยชน์ไม่คุ้มกับค่าภาษีต่อหน่วย หรือราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ เพราะอัตราภาษี ไม่ได้มาจากรายได้ แต่มาจากปริมาณการถือครองที่ดิน
เชอร์ชิล พูดแบบนั้น เพราะหกสิบปีก่อน ชาวนา ชาวไร่ ในอังกฤษแทบไม่ได้เป็นเจ้าของผืนดินทำกินเลย เลยต้องใช้วิธีแบบที่ว่า หรือคาร์ล มาร์กซ์ มองแบบนั้น ก็เพราะได้ความคิดแย้งระบบคลาสสิค ของ อดัมส์ สมิทธิ์ ที่มองว่าที่ดินเป็นทุนประกอบการ ที่คนชั้นแรงงาน ไม่มีทางลงทุนเลย แต่ในเมืองไทย คนชั้นแรงงานในเมือง อาจมีที่ดินต่างจังหวัด ให้พ่อแม่ทำนาอยู่บ้าน หรือให้คนอื่นเช่านา ก็ได้ ซึ่งมันตรงข้ามกัน
มอดิกลิอานีนั้น มองว่า ไลฟ์ ไซเคิล ของชีวิตคนฝรั่งนั้น ไม่ต้องเก็บเงินให้ลูกหลาน ดังนั้น ที่ดินไม่มีบริบทในด้าน การมอบให้ลูกหลานเป็นมรดกอยู่แล้ว ตายแล้วก็ขาย แบบฝรั่งทั่วไป คือใช้เงินตอนแก่ให้หมด เก็บออมเพื่ออนาคตของตัวเอง ไม่ใช่ลูกหลาน
ทฤษฎีที่ว่ามาทั้งหมด มีจุดอ่อนมากมายในการนำมาใช้กับประเทศตะวันออก ที่มีค่านิยม และประวัติศาสตร์แตกต่างกัน การจัดการเรือ่งที่ดินนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นเรื่องทั้งรัฐศาสตร์ และนิติปรัชญา มันเกี่ยวพันกับกฏหมาย และที่มาของกฏหมายอีกมาก ไม่ใช่แค่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สองสามทฤษฎีแล้วจะอธิบายความเป็นไปทั้งสังคมได้
ประเทศไทยออกโฉนดที่ดิน แก่ชาวบ้านทั่วไปมาร่วมร้อยปีแล้ว ก่อนหลายประเทศด้วยซ้ำ จริงอยู่ที่การจัดการยังไม่ดี แต่ก็ยังไม่เห็นด้วยว่าการแก้ปัญหาตรงไปตรงมา แบบกำปั้นทุบดิน แค่เพิ่มอัตราภาษี แล้วจะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ เพราะทำแบบนั้น คนรวยบนยอด ก็ยังจ่ายได้ เพราะใช้การถัวเฉลี่ยจากที่ดินที่ทำรายได้ หรืออาจใช้วิธีแบบปัจจุบัน คือ ออกกฎหมายหรือความคุ้มครองนายทุนออกมา แต่คนจน จะจ่ายไม่ไหว เพราะกลายเป็นภาษีทางตรง และต้องเช่าที่ดิน หรือเช่าบ้านแทน ซึ่งจะทำให้ราคาค่าเช่าสูง และค่าเช่านั้นจะตกกับเจ้าของที่ดินรายใหญ่อยู่ดี การกระจายรายได้ ก็ไม่เกิดขึ้น และน่าจะลำบากมากขึ้น รวมศูนย์มากขึ้น
จากคุณ : De Burgh - [ 17 ก.ค. 47 04:43:01 ]
ความคิดเห็นที่ 3
กรณีซื้อย้าน หรืออสังหามือสอง
ค่าโอนกับค่าภาษีเฉพาะ(ถ้าคนขายซื้อมาไม่เกิน5ปี)แพงจังครับ
ราคาประเมินจากแบ็งค์ให้ต่ำ กว่าราคาประเมินกรมที่ดินมากแถมยังให้กู้แค่ 70-80%ของราคาที่แบ็งค์ประเมินอีก(ถ้าไม่ใช่ข้าราชการก.บ.ข.) และ คนขายมักบวกเพิ่มให้คุมกับที่ต้องเสียภาษี และคนซื้อต้องเพิ่มเงินส่วนต่างมากขึ้น ทำให้คนจนได้ที่อยู่ยากขึ้น
จากคุณ : ThaiHomeMart.com (ยุ่น) - [ 17 ก.ค. 47 15:09:41 ]
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณทั้งสามท่านที่มาร่วมให้ข้อคิดเห็นครับ
ที่ดินปัจจุบันราคา/ค่าเช่าสูงเกินจริงเพราะปัจจัยของการเก็งกำไร ภาษีที่ดินจะทำให้คนที่ใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าต้องคายที่ดินออกมา การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหายไป พวกเขาจะไม่สามารถขึ้นราคา/ค่าเช่าได้ เพราะที่ดินที่ใช้ไม่คุ้มค่าจะถูกขายออกมาทำให้ราคาลด ถ้าพวกเขาไม่อยากขายก็ต้องทำประโยชน์ให้คุ้ม นั่นคือจะต้องมีการใช้แรงงานและการใช้ทุนเพิ่มขึ้น การว่างงานจะลด ค่าแรงจะสูงขึ้น และจะมีที่ดินให้เช่ามากขึ้น โดยอาจออกมาในรูปที่ดินพร้อมบ้านหรืออาคารพาณิชย์ ค่าเช่าที่ดินก็จะต่ำลง ซึ่งไม่เหมือนกับการเก็บภาษีอื่นๆ ที่ผลักภาระให้ผู้ซื้อไป
นายทุนก็จะไม่ซื้อหาที่ดินไว้เกินกำลังที่เขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มกับภาษีที่ดินที่สูงเท่าค่าเช่าได้ ต่อเมื่อเขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มภาษีที่ดินได้เท่านั้นเขาจึงจะซื้อที่ดิน
ภาษีที่ดินไม่ได้คิดตามปริมาณที่ดินอย่างเดียวครับ ต้องคูณด้วยราคาที่ดินต่อหน่วยด้วย คือคิดตาม ราคา ของที่ดินในครอบครอง
ที่ดินซึ่งการเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผลปกติราคาก็น่าจะต่ำ ภาษีที่ดินก็จะต่ำด้วยอยู่แล้ว ราคาที่ดินในเมืองแพงกว่าที่ดินไร่นาในชนบทมากมายเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่า ดังนั้นในเมืองต้องเสียภาษีที่ดินแพงกว่าเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่าด้วย
คนจนด้อยโอกาสนั้นต้องเช่าเขาทั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน พวกเขาเป็นคนส่วนใหญ่ที่เป็นฐานรากขั้นต่ำสุดของสังคม เช่านาเขาทำหรือเป็นลูกจ้างทำไร่นาสวน หรือไม่ก็เป็นผู้ใช้แรงงานในอาชีพอื่นๆ ทั้งในเมืองและชนบท เราต้องนึกถึงพวกนี้เป็นหลัก ถ้าคนมีที่ดินบ่นว่าลำบากแล้ว พวกนี้มิยิ่งลำบากมากกว่าหรือ?
ถ้าค่าเช่าที่ดินถูกเก็บโดยชุมชนหรือรัฐ มันก็ใช้แทนภาษีอื่นๆ ทำให้ยกเลิกภาษีอื่นๆ ได้ การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินก็หมดไป ราคา/ค่าเช่าที่ดินก็ต่ำลง คนยากคนจนก็ไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ เขาก็จะซื้อของได้ถูกลงด้วย ภาษีเงินได้สำหรับแรงงานทุกระดับไปจนถึงระดับแรงงานสมองไม่ต้องเสีย การลงทุนผลิตที่แท้ก็ไม่ต้องเสียภาษี
การซื้อที่ดินเพื่อสืบต่อสิทธิเรียกเอาส่วนหนึ่งจากผลตอบแทนการผลิตของแรงงานและทุนไปเป็นของตนนั้น ไม่ใช่การลงทุนผลิตที่แท้
เจ้าของที่ดินทำอะไรที่ทำให้ที่ดินในครอบครองของตนมีคุณค่าขึ้นมา? ถ้าทำเขาก็ทำ มิใช่ในฐานะเจ้าของที่ดิน แต่ในฐานะผู้ใช้แรงงาน หรือ ผู้ลงทุน ซึ่งก็ย่อมจะได้รับผลตอบแทนในฐานะทั้งสองนี้
โดยไม่ควรได้ในฐานะเจ้าของที่ดิน
เพราะที่ดินมีราคาขึ้นมาได้ก็โดยการรวมตัวกันเป็นชุมชน เพราะการทำงานของส่วนรวมร่วมกัน คือต่างทำในสิ่งที่ถนัดหรือเห็นช่องทาง แล้วเอาผลผลิต/บริการมาแลกเปลี่ยนกัน ฝ่ายปกครองชุมชนหรือรัฐเรียกเก็บภาษีเอาไปบริหาร/บริการอำนวยความสะดวกปลอดภัยแก่ประชาชน ราคาที่ดินที่มีระดับสูงสุดอยู่ในย่านที่ประชากรหนาแน่นและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนผลผลิต (คือการซื้อขายในปัจจุบัน) เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
ราคาที่ดินเช่นนี้เจ้าของที่ดินไม่ได้ทำให้เกิด แต่ได้รับไป เพราะระบบภาษีของเราและแทบทุกประเทศมันเข้าข้างเจ้าของที่ดิน คือเก็บภาษีที่ดินน้อยไป และเก็บภาษีอื่นๆ มาก
เราเคยชินอยู่กับระบบภาษีเช่นนี้มานาน เลยไม่ได้คิดกันถึงว่าแรงงานและผู้ลงทุนต้องรับภาระอุ้มชูเจ้าของที่ดินอยู่ คือปล่อยให้มีชนชั้นหนึ่งได้อยู่สบายโดยไม่ทำงานผลิตเป็นการแลกเปลี่ยนกับส่วนที่ได้ไป เราพากันคิดว่าภาษีอื่นๆ เป็นเรื่องเล็กน้อย เราเกรงว่าเจ้าของที่ดินซึ่งเพิ่งจ่ายเงินซื้อหาที่ดินมาใหม่ๆ จะขาดทุน ก็เลยปล่อยให้ระบบภาษีเช่นนี้คงอยู่ต่อไป
แต่ผมเห็นว่าเราควรค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดินและค่อยๆ เลิกภาษีอื่นๆ ใช้เวลาสัก ๒๐-๓๐ ปี เพื่อจะได้ไม่ต้องมีใครไปอุ้มใคร แต่ถ้ามีคนที่ยังต้องให้อุ้มอยู่เพราะไม่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ซึ่งมีแต่ผู้ลงแรงและผู้ลงทุนที่แท้แล้ว โดยเฉพาะคนชรา คนพิการ ก็ควรให้ความช่วยเหลือด้วยการสวัสดิการตามควร
คุณความคิดเห็นที่ ๓ น้นผมเห็นด้วยครับ ที่ดินและบ้านอาคารควรให้ซื้อง่ายขายคล่องเพราะจะช่วยคนจำนวนมากซึ่งต้องการย้ายด้วยเหตุผลต่างๆ กัน ไม่ควรเก็บภาษีกำไร หรือค่าธรรมเนียมการขายหรือโอนสูง และควรให้รวดเร็วมากๆ ด้วย ไม่เช่นนั้นคนซื้อคนขายก็เสียหาย ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มระหว่างรอบ้านอาคารใหม่ ที่ดินผืนใหม่
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 17 ก.ค. 47 22:58:46 ]
ความคิดเห็นที่ 5
สุดยอดมากๆๆๆๆ
ความมั่นคงหายวัตถุจะลดลง เหลือแต่ฝีมือ ทุกคนต้องทำงาน
จากคุณ : อาเล่อ - [ 18 ก.ค. 47 00:15:01 ]
ความคิดเห็นที่ 6
เห็นด้วยกับความเห็นที่ 2 ครับ
ความคิดจากทางตะวันตกที่ยกตัวอย่างมานั้นใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน แม้กระทั่งประเทศจีนที่เป็นคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันรัฐบาลยังสนับสนุนให้ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดิน
การเก็บ ภาษีที่ดิน อย่างเดียว แต่เก็บในอัตราที่สูง ในทางปฏิบัติภาระจะตกอยู่กับผู้มีรายได้ปานกลางและผู้มีรายได้น้อยเหมือนเดิม
พวกราชาที่ดินซึ่งถือครองที่ดินในรูปของบริษัทก็ยังสามารถนำเอาภาระภาษีที่ดินไปหักออกจากกำไรสุทธิได้.....ก่อนเสียภาษีรายได้นิติบุคคล และถ้าพวกราชาที่ดินถือครองในรูปบุคคลธรรมดาก็ยังสามารถผลักภาระให้ผู้เช่าได้ตามความเห็นที่ 2
ถามว่าคนที่ถือครองที่ดินจำนวนมากหรือที่เรียกว่า "ราชาที่ดิน" นั้น.....มีจำนวนเท่าไหร่ในประเทศไทย ผมว่าน้อยกว่า 0.1% ถ้าเราออกภาษีในลักษณะนี้ถามว่าใครเดือดร้อน......คนอีก 99.9% ของประเทศจะต้องเดือดร้อน
ผมว่า
1. ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แพงมากเพราะการเก็งกำไร ถ้าเราพยายามป้องกันการเก็งกำไรได้ ราคาที่ดินก็จะไม่เพิ่มขึ้นมาก
ผมเห็นด้วยในการเก็บภาษีการโอน และภาษีเฉพาะสำหรับผู้ขายที่ซื้อสินทรัพย์มาไม่เกิน 5 ปี จริงๆ เราต้องเพิ่มภาษีประเภทนี้......มากกว่าการเพิ่มภาษีที่ดินแบบเหวี่ยงแหให้คนเดือดร้อนกันไปทั่วประเทศ
ถามว่าคนไทยในชีวิตนึงย้ายบ้านกันกี่ครั้งครับ บางคนอยู่ที่เดียวตั้งแต่เกิดจนตาย
คนที่ย้ายข้ามจังหวัด (เช่นอพยพจากที่อื่นมาอยู่กรุงเทพฯ) เมื่อซื้อบ้านแล้วก็ไม่ขายภายใน 5 ปี
คนรายได้ปานกลางซื้อบ้านมา 15 ปี ยังผ่อนไม่หมดเลยครับ
พวกที่ซื้อแล้วขายภายในระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี......เชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายเก็งกำไร
2. ในความเป็นจริงราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถลดลงได้มากนักและไม่มีทางเป็นศูนย์ แต่ถ้าเราป้องกันไม่ให้ราคาเพิ่มขึ้นได้ อัตราเงินเฟ้อที่ทำให้มูลค่าของเงินลดลงในแต่ละปี จะทำให้มีคนจำนวนมากขึ้นสามารถครอบครองที่ดินและที่พักอาศัยได้
3. พื้นที่แต่ละแห่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน ควรเพิ่มภาษีบำรุงท้องที่ในพื้นที่ๆ รัฐเห็นว่าใช้ที่ดินไม่คุ้มกับมูลค่า
4. การทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลง.....ทำได้จากการเพิ่ม Supply ในตลาด....ไม่ใช่การขึ้นภาษี
สังเกตได้จากช่วงหลังฟองสบู่แตก อาคารสำนักงานมี Supply ล้นตลาดถึงกว่า 1 ล้านตารางเมตร ทำให้ราคาค่าเช่าต่อตารางเมตรลดลงมากในช่วงปี 1997-1999 นี่ยังไม่รวมถึงราคาอสังหาริมทรัพย์ในโครงการพักอาศัยอย่างแฟลตปลาทองหรือคอนโดที่เมืองทองธานี ซึ่งลดลงมากในช่วงเดียวกัน
นอกจากนี้โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการต่างๆ ของการเคหะแห่งชาติสามารถช่วยเพิ่ม Supply ได้
อย่างเช่น แฟลตของการเคหะฯ สูงแค่ 4-5 ชั้น ต้องทุบทิ้งให้หมดเพราะปัจจุบันการใช้ประโยชน์ไม่คุ้มมูลค่าและมีปัญหาความสะอาด ความปลอดภัยในชุมชน
ต้องสร้างใหม่ให้สูง 20-30 ชั้น เพื่อให้สามารถรองรับคนจำนวนมากขึ้น...โดยไม่เพิ่มราคาค่าเช่ามากนัก (ไม่เกิน 10%) เพื่อให้คนรายได้น้อยสามารถจ่ายได้
หากมีปริมาณ Supply ในตลาดมากๆ การเก็งกำไรก็จะลดลง ราคาอสังหาริมทรัพย์ก็จะลดลงด้วย
ขอบคุณคุณสุธนที่ช่วยจุดประกายความคิดในห้องสีลมครับ
จากคุณ : academician - [ 18 ก.ค. 47 03:42:37 A:130.18.158.202 X: ]
ความคิดเห็นที่ 7
ผมก็ขอบคุณที่ให้ความสนใจครับ
เอ! ผมว่าภาษีที่ดินที่ผมเสนอเก็บเท่าค่าเช่าที่ดินตามที่ประเมินว่าควรเป็นเท่าไรก็เก็บเท่านั้นนี่ เก็บทั้งนั้นไม่ว่าใครครอบครอง คือทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล ซึ่งรวมทั้งบริษัทด้วย และไม่ว่าจะให้เช่าหรือไม่ก็ตาม ก็เก็บทั้งนั้น
ต้องแยกค่าเช่าที่ดินออกต่างหาก ค่าเช่าอาคารคือผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งผมเสนอไม่ให้เก็บภาษีครับ
ภาษีที่ดินไม่สามารถผลักภาระได้ (ตรงข้ามกับภาษีอื่นๆ) เพราะ
ภาษีที่ดินจะทำให้คนที่ใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าต้องคายที่ดินออกมา (ไม่ว่ารายใหญ่หรือรายเล็ก) การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหายไป พวกเขาจะไม่สามารถขึ้นราคา/ค่าเช่าได้ เพราะคนอื่นซึ่งใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าจะขายที่ดินออกมาทำให้ราคาลด ถ้าพวกเขาไม่อยากขายก็ต้องทำประโยชน์ให้คุ้ม นั่นคือจะต้องมีการใช้แรงงานและการใช้ทุนเพิ่มขึ้น การว่างงานจะลด ค่าแรงจะสูงขึ้น และจะมีที่ดินให้เช่ามากขึ้น โดยส่วนหนึ่งอาจออกมาในรูปที่ดินพร้อมบ้านหรืออาคารพาณิชย์ ค่าเช่าที่ดินก็จะต่ำลง ซึ่งไม่เหมือนกับการเก็บภาษีอื่นๆ ที่ผลักภาระให้ผู้ซื้อไป
นายทุนก็จะไม่ซื้อหาที่ดินไว้เกินกำลังที่เขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มกับภาษีที่ดินที่สูงเท่าค่าเช่าได้ ต่อเมื่อเขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มภาษีที่ดินได้เท่านั้นเขาจึงจะซื้อที่ดินครับ
ภาษีกำไรของบริษัทผมก็เสนอให้ยกเลิก เมื่อเก็บภาษีที่ดินเต็มที่แล้ว
(ค่อยๆ เลิก/ลดภาษีอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดินจนเต็มที่โดยใช้เวลา ๒๐-๓๐ ปี) เพราะกำไรก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนเกิดผลผลิตและบริการซึ่งนำไปแลกเปลี่ยน (ซื้อขาย) กับผู้อื่นโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย เป็นการเอื้อประโยชน์กันตามหลักการแบ่งงานอยู่แล้ว
ในระบบภาษีใหม่ที่ผมเสนอ มีแต่ภาษีที่ดิน ไม่มีภาษีอื่นๆ หรือภาษีการลงแรงและการลงทุนครับ (ภาษีที่ดินหมายรวมถึงค่าภาคหลวงจากการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกนำขึ้นมาจากผืนแผ่นดินด้วย และยังมีค่าการให้สัมปทานชนิดที่เป็นการให้สิทธิพิเศษหรือค่อนข้างจะเป็นการผูกขาดด้วย)
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 18 ก.ค. 47 12:48:06 ]
ความคิดเห็นที่ 8
ความคิดดีแต่ เมืองไทยคงเกิดยาก
จากคุณ : 3N - [ 18 ก.ค. 47 18:04:33 ]
ความคิดเห็นที่ 9
รับรองว่า ทำหมัน ทำแท้ง
ไม่ต้องมีลูก เดี๋ยวลูกออกมา ก็ต้องทำงาน
เพื่อเสียภาษี ลูกเกิดมาเพื่อคนอื่น
อยากให้ลูกได้สบายๆ เก็บค่าเช่าที่ทำสวน
ขืนไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินแก่มาก็ฆ่าตัวตาย
เพราะจะเอาแรงที่ไหนไปทำงานเสียภาษีที่ดินเป็นที่ซุกหัวนอน
เอาแค่ค่ายาก็จะตายอยู่แล้ว
จากคุณ : โลหการ4 - [ 19 ก.ค. 47 03:54:52 ]
ความคิดเห็นที่ 10
ตามความคิดนี้เท่ากับทุกคนมีความเป็นเจ้าของที่ดินเท่ากัน และใครใช้หรือครองที่ดินคิดเป็นค่าเช่าเท่าไรต่อปีก็เสียค่าเช่าเท่านั้น โดยท้องถิ่นหรือรัฐเป็นผู้เก็บค่าเช่า (ซึ่งเรียกว่าภาษีที่ดิน) แต่แทนที่จะเอาไปแจกให้ทุกคนเท่ากันในฐานะที่ทุกคนต่างก็เป็นเจ้าของที่ดิน ก็ให้นำไปใช้บริหาร/บริการท้องถิ่นและประเทศ แทนที่จะต้องเก็บภาษีอื่นๆ อย่างในปัจจุบัน
กำลังนี้คนจนด้อยโอกาสจำนวนมากซึ่งเป็นฐานรากชั้นต่ำสุดของสังคม รวมทั้งครอบครัวของพวกเขา ไม่มีที่ดิน ที่ดินต้องเช่าเขา แถมต้องเสียภาษีอื่นๆ พวกเขาไม่ลำบากยากแค้นกว่าครอบครัวของคุณโลหการ4 หรือครับ
ในระบบภาษีใหม่ที่มีแต่ภาษีที่ดินอย่างเดียว การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหมดไป ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและผู้ลงทุนจะไม่ต้องถูกบังคับให้อุ้มชนชั้นเจ้าของที่ดินเอาไว้ รายได้ของเขาจะดีกว่าปัจจุบัน และจะหางานทำได้ง่ายกว่าปัจจุบัน การต้องพึ่งพาสวัสดิการของรัฐจะน้อยลง ดังนั้นผู้ที่จำเป็นต้องอาศัยสวัสดิการรวมทั้งการรักษาพยาบาลของรัฐจริงๆ จะลดจำนวนลงมาก ซึ่งจะทำให้ได้รับความช่วยเหลือทั่วถึงดีขึ้น รวมทั้งคนแก่ที่ไม่รู้จักเก็บออมตั้งแต่ตอนยังอยู่ในวัยทำงานด้วยครับ
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 06:47:14 ]
ความคิดเห็นที่ 11
1. มีคนไทยเพียงไม่ถึง 50% (เป็นข้าราชการและลูกจ้างบริษัท) ที่จ่ายภาษีรายได้บุคคลธรรมดาให้แก่รัฐบาล
อีกกว่า 50% มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ เป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ ร้านค้าโชวห่วย หาบเร่ แผงลอย ขายของตลาดนัด ทำนา ทำสวน ทำไร่ ซึ่งรัฐไม่บังคับให้เสียภาษี
2. มีชนชั้นแรงงาน ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ และชนชั้นกลางจำนวนมากที่มีรายได้น้อย แต่เป็นเจ้าของที่ดินในต่างจังหวัด
แรงงานและชนชั้นกลางในเมือง ให้คนรู้จักเช่าที่ดินในราคาถูกมาก (ไร่ละไม่ถึงพันบาทต่อปี)
3. ชนชั้นแรงงานส่วนใหญ่ไม่เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา เพราะรายได้ไม่ถึงเกณฑ์
4. คนที่อุ้มคนทั้งประเทศคือคนเพียงไม่ถึงครึ่งประเทศที่เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา คือข้าราชการและลูกจ้างบริษัท....ที่ถูกหักภาษีทุกเดือนก่อนได้รับเงินเดือน ไม่ใช่ชนชั้นแรงงาน ไม่ใช่ชาวนา ไม่ใช่ชนชั้นล่าง
อย่างที่ความเห็นที่สองบอกครับ
".....การเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ก็ยิ่งจะทำให้ชาวนา ชาวสวน ขายที่ดินมากขึ้น และที่ดินตกไปอยู่ในมือของนายทุนมากขึ้น ชาวนา ชาวสวนจะกลายมาเป็นกรรมกรในเมือง ที่ต้องจ่ายค่าเช่าต่อหน่วยสูงขึ้น สังคมจะแออัดมากขึ้น....."
".....ทำแบบนั้น คนรวยบนยอด ก็ยังจ่ายได้ เพราะใช้การถัวเฉลี่ยจากที่ดินที่ทำรายได้ หรืออาจใช้วิธีแบบปัจจุบัน คือ ออกกฎหมายหรือความคุ้มครองนายทุนออกมา แต่คนจน จะจ่ายไม่ไหว เพราะกลายเป็นภาษีทางตรง และต้องเช่าที่ดิน หรือเช่าบ้านแทน ซึ่งจะทำให้ราคาค่าเช่าสูง และค่าเช่านั้นจะตกกับเจ้าของที่ดินรายใหญ่อยู่ดี การกระจายรายได้ ก็ไม่เกิดขึ้น และน่าจะลำบากมากขึ้น....."
จากคุณ : academician - [ 19 ก.ค. 47 11:33:42 A:130.18.158.202 X: ]
ความคิดเห็นที่ 12
นอกจากพวกกรรมกร ชาวนา ชาวไร่ เด็กเลี้ยงควาย ฯลฯ แล้ว
................คนขับ Taxi คนขับสามล้อเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับรถสองแถว ลูกจ้างในร้านซักอบรีด ร้านถ่ายเอกสาร ร้านทำผม ร้านเสริมสวย ร้านตัดเสื้อปากซอย ช่างตัดผม ลูกจ้างยืนขายของตามแผงเช่าต่างๆ แม่ค้าขายข้าวแกง-ข้าวมันไก่-บะหมี่เกี๊ยว ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้าง(พนักงาน)บริษัท ไม่เคยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และรัฐไม่สามารถบังคับให้เสียภาษีได้เพราะไม่มีหลักฐานรายได้ที่แน่นอน
คนเหล่านี้...หลายคนมีบ้าน...มีที่ดินในต่างจังหวัด หากต้องมีภาระภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น คงจะต้องอยู่อย่างลำบากมากขึ้น อาจต้องขายบ้าน ขายที่ดินเพราะไม่สามารถจ่ายภาษีที่ดินได้
ร้านอาหาร/ร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้า/ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม....ก็ไม่ต้องเสียภาษี
ร้านอาหารที่จดทะเบียนการค้า ก็สามารถจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชา เพื่อให้การประเมินรายได้ต่ำกว่าที่เป็นจริงมาก......เพื่อเลี่ยงภาษี......และถ้าจ่ายก็จ่ายน้อยกว่าความเป็นจริง แต่เจ้าของและลูกจ้างในร้านเหล่านี้ก็ไม่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คนที่อุ้มคนทั้งประเทศเอาไว้......มีไม่ถึงครึ่งนึงครับ อย่างที่บอกไปแล้ว
จากคุณ : academician - [ 19 ก.ค. 47 12:35:27 A:130.18.158.202 X: ]
ความคิดเห็นที่ 13
เราต้องเปลี่ยนหัวให้ทันแนวความคิดใหม่นะครับ อย่าเผลอเอาระบบเก่าบางเรื่องมาคิดกับระบบใหม่ด้วย ระบบใหม่ไม่มีภาษีอื่นๆ แล้ว นอกจากภาษีที่ดิน
ปัจจุบัน สมมตว่าคนจนได้ค่าแรงเดือนละ 5,000 บาท รวมทั้งปี 60,000 บาท รายได้เท่ารายจ่ายพอดี ภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไปแล้ว 4,200 บาท แล้วภาษีสินค้าเข้า ภาษีสรรพสามิตหรือภาษีการผลิต ที่ผู้ผลิตผลักภาระมาให้อีก รวมแล้วอาจมากกว่าปีละหมื่น ถ้าทำงานสองคนทั้งสามีภรรยา ก็อาจเสียภาษีสองหมื่น ถ้าเป็นระบบใหม่เขาไม่ต้องเสีย
ท่านเองล่ะ? รวมภรรยาด้วย จ่ายภาษีเงินได้ปีละเท่าไร? ภาษีอย่างข้างบนนั่นอีกเท่าไร?
สำหรับที่ไร่นาในชนบท ก็อย่างที่บอกไปแล้ว คือ ราคาที่ดินในเมืองแพงกว่าที่ดินไร่นาในชนบทมากมายเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่า ดังนั้นในเมืองต้องเสียภาษีที่ดินแพงกว่าเป็นร้อยพันหรือหมื่นเท่าด้วย
อย่างที่ผมบอกไว้แล้วว่า ภาษีที่ดินไม่สามารถผลักภาระได้ (ตรงข้ามกับภาษีอื่นๆ) เพราะภาษีที่ดินจะทำให้คนที่ใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าต้องคายที่ดินออกมา (ไม่ว่ารายใหญ่หรือรายเล็ก) การเก็งกำไรเก็บกักที่ดินจะหายไป พวกเขาจะไม่สามารถขึ้นราคา/ค่าเช่าได้ เพราะคนอื่นซึ่งใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าจะขายที่ดินออกมาทำให้ราคาลด ถ้าพวกเขาไม่อยากขายก็ต้องทำประโยชน์ให้คุ้ม นั่นคือจะต้องมีการใช้แรงงานและการใช้ทุนเพิ่มขึ้น การว่างงานจะลด ค่าแรงจะสูงขึ้น และจะมีที่ดินให้เช่ามากขึ้น โดยส่วนหนึ่งอาจออกมาในรูปที่ดินพร้อมบ้านหรืออาคารพาณิชย์ ค่าเช่าที่ดินก็จะต่ำลง ซึ่งไม่เหมือนกับการเก็บภาษีอื่นๆ ที่ผลักภาระให้ผู้ซื้อไป
นายทุนก็จะไม่ซื้อหาที่ดินไว้เกินกำลังที่เขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มกับภาษีที่ดินที่สูงเท่าค่าเช่าได้ ต่อเมื่อเขาจะทำประโยชน์ให้คุ้มภาษีที่ดินได้เท่านั้นเขาจึงจะซื้อที่ดินครับ
พอถึงระบบใหม่เราต้องเลิกคิดแล้วครับถึงการจะได้เงินฟรีๆ สำหรับการเป็นเจ้าของที่ดิน เพราะว่ามันเป็นเสมือนชุมชนและรัฐเป็นเจ้าของที่ดินแทนแล้ว เป็นแทนทุกคน คือทำให้ทุกคนไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ เพราะได้ภาษีที่ดินเท่าค่าเช่ามาแทน
ไม่ต้องห่วงแล้วที่จะต้องเสียที่ดินไป
ถ้านายทุนสามารถซื้อที่ดินได้มากๆ โดยจ่ายภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าได้ ก็ปล่อยให้เขาได้ที่ดินไปเถิด เพราะว่าเขาจะทำประโยชน์ให้แก่สังคมสองต่อ คือจ่ายภาษีที่ดินอย่างหนึ่ง อย่างที่ ๒ คือ เขาต้องทำประโยชน์ได้คุ้ม นั่นคือต้องมีการผลิต มีการใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานก็ได้รับประโยชน์ จะเป็นในเมืองหรือชนบทก็ตาม
ไม่ต้องเกรงหรอกครับว่าเก็บภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าแล้ว คนจนในชนบทจะต้องเข้ามาหากินในเมืองกันหมด ก็คนจนในชนบทไม่มีที่ดินก็มีอยู่มากที่เขาเป็นลูกมือในฟาร์มบ้าง รับจ้างทำนาบ้าง เช่านาเขาทำบ้าง แล้วก็ต้องจ่ายภาษีด้วย (ภาษีทางอ้อมพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าเข้า ภาษีสรรพสามิต อย่างที่กล่าวแล้ว)
ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินเป็นปัญหาใหญ่อันหนึ่ง ผมจำไม่ได้แล้วที่มาลงทะเบียนไว้กับรัฐบาลไม่กี่เดือนมานี้ กรณีที่ดินที่ลำพูนก็แสดงถึงปัญหานี้ แต่ก็เห็นเสนอกันให้เก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ตานี้ในกรณีบริษัทหรือนิติบุคคลเป็นเจ้าของที่ดิน เขาจะคิดยังไงครับว่าที่ดินเกินเท่าไรถึงจะเก็บภาษีก้าวหน้่า คนเดียวกันมีที่ดินของตัวเองด้วย มีที่ดินในอีก 5-6 บริษัทด้วย ยอมได้หรือ? คิดได้หรือ?
เรื่องออกกฎหมายคุ้มครองนายทุนที่ดิน (เจ้าของที่ดิน) ถ้าพวกเราประชาชนยอมเขา ก็คงต้องยอมครับ ก็แปลอยู่แล้วว่า เรายอมเขาอยู่แล้วทุกอย่าง เรื่องอื่นๆ ก็เลิกพูดได้
จากคุณ : สุธน หิญ - [ 19 ก.ค. 47 13:24:25 ]
ความคิดเห็นที่ 14
หึ หึ บ้านผมทุกคนเสียภาษีถูกต้องทุกรายการครับ ขอบคุณครับที่เป็นห่วง
ผมจ่ายภาษีมากกว่าที่รัฐบาลต้องการด้วยซ้ำ.....ผมไม่ได้ขอคืนภาษีมาหลายปีแล้วครับ
และภาษีที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า ผมเองก็ไม่เดือดร้อนครับ เพราะผมก็ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ที่ผมแสดงความเห็นข้างบน เพราะกลัวคนส่วนใหญ่จะเดือดร้อน ไม่ใช่ว่าผมคัดค้านนะครับ เพียงแต่ให้ข้อเท็จจริง
ความคิดที่แตกต่าง ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกันเสมอไปนะครับ
คนไทย "เปลี่ยนหัวให้ทันแนวความคิดใหม่" อย่างที่คุณคิดได้ .....จะมีกี่คนนะครับ ในห้องสีลม และในประเทศไทย
จากคุณ : academician - [ 19 ก.ค. 47 14:25:32 A:130.18.158.202 X: ]