|
 |
 |
 |
 |
|
Stiglitz สนับสนุนแนวคิดแก้ความยากจนของเฮนรี จอร์จ
ขณะนี้ Joseph E. Stiglitz (JES เกิดปี 1943 อายุ 66 ปี) กำลังดังในไทย ผมจึงขอเขียนถึงความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินและแนวคิดแก้ความยากจนของเฮนรี จอร์จเล็กน้อย
Stiglitz เป็นนักเศรษฐศาสตร์หนึ่งในสามท่านที่ได้รับรางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ใน ค.ศ.2001 ในปี 1999 เขาถูกปลดจากตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกหลังจากที่เขาเริ่มพูดเกี่ยวกับข้อกังวลของเขา
Greg Palast นักเขียนของ The Observer ที่ลอนดอนได้ถามเขาในการสัมภาษณ์ปี 2001 ว่าตอนนั้นเขาคิดจะช่วยประเทศกำลังพัฒนาอย่างไร Stiglitz ตอบว่าเขาเสนอให้ปฏิรูปที่ดินอย่างถึงรากฐาน (radical) และโจมตีที่หัวใจของลัทธิเจ้าที่ดิน รวมทั้งการที่กลุ่มคณาธิปไตยที่ดินทั่วโลกคิดค่าเช่าแพงเกินไป เมื่อถูกถามว่าทำไมธนาคารโลกจึงไม่ทำตามที่เขาแนะนำ Stiglitz ตอบว่า ถ้าคุณท้าทายมัน (กรรมสิทธิ์ที่ดิน) จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจของอภิชน (elites) นั่นมิใช่วาระเร่งด่วนของธนาคารโลก (จาก //www.earthrights.net/docs/schumacher.html#10 )
และจากบทสัมภาษณ์ชื่อเรื่อง Joseph E. Stiglitz: October 2002 Interview (//www.wealthandwant.com/docs/Stiglitz_Oct02_interview.htm ) ซึ่งเริ่มต้นเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน เขาตอบว่า
ความคิดหลักที่สำคัญของเฮนรี จอร์จคือการเก็บภาษีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ สมัยนั้นผู้คนจะคิดว่า ไม่น่ารวมทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ แต่ส่วนสำคัญในความคิดของจอร์จคือค่าเช่าของสิ่งที่ไม่มีความยืดหยุ่นในอุปทาน ซึ่งก็คือ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และการถือเอาค่าเช่าที่ดินและค่าการนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ เป็นฐานภาษี เป็นประเด็นที่ข้าพเจ้าคิดว่ามีเหตุผลที่ดีมากทีเดียว เพราะมันเป็นแหล่งที่มาของรายได้และเศรษฐทรัพย์ที่ไม่มีผลบิดเบือน
อีกตอนหนึ่ง เขากล่าวว่า ปัญหาคือ "จะดีกว่าไหมถ้าเราเก็บภาษีมากขึ้นจากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และหารายได้มากขึ้นจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และข้าพเจ้าจะรวมบรรยากาศและคลื่นความถี่เข้าไว้ด้วย" และเก็บภาษีน้อยลงจากรายได้และการออม และข้าพเจ้าจะกล่าวว่า "เห็นด้วย" และข้าพเจ้าคิดว่านักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากจะเห็นด้วย
และอีกตอนหนึ่งคือ
ทุกวันนี้มีความเห็นกันว่าเราควรจะเก็บภาษี environmental bads เช่น ภาวะมลพิษและสิ่งที่คล้ายกัน และเปลี่ยนจากการเก็บภาษีสิ่งดี ๆ เช่น แรงงาน [กาย, สมอง - ผู้แปล]
.ดังนั้น ประเด็นโตัแย้งคือ ทำไมจึงเก็บภาษีจากสิ่งที่มีส่วนช่วยสังคม ?
บทความเรื่องข้อคิดจาก Stiglitz โดย อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (//www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q3/2009august27p4.htm ) บอกว่า Stiglitz จัดอยู่ในกลุ่มความคิดที่เรียกว่าเกือบซ้ายสุดในทางเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา กล่าวคือฝ่ายซ้ายเชื่อในการแทรกแซงของภาครัฐในการทำงานของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม (ขวาสุดก็คือปรมาจารย์รางวัลโนเบิล Milton Friedman ผู้ล่วงลับไปแล้ว)
แล้วลองดูเรื่องที่สองท่าน ขวาสุดกับเกือบซ้ายสุดนี้มีความเห็นสอดคล้องกันบ้าง
Milton Friedman (1912-2006): ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า ภาษีที่เลวน้อยที่สุดคือภาษีทรัพย์สินที่คิดจากมูลค่าที่ดินโดยไม่รวมสิ่งปรับปรุง อันเป็นประเด็นโต้แย้งของเฮนรี จอร์จเมื่อหลาย ๆ ปีมาแล้ว
Joseph Stiglitz (1943- ): มิใช่เพียงเฮนรี จอร์จถูกต้องที่ว่าภาษีจากที่ดินไม่มีผลบิดเบือน แต่ในสังคมเสมอภาคที่เราสามารถเลือกจำนวนประชากรที่เหมาะที่สุด ภาษีจากที่ดินยังจะให้รายได้เพียงพอสำหรับระดับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล (ที่เลือกว่าเหมาะที่สุด - optimally chosen) อีกด้วย (จาก วาทะของนักคิดเรื่องที่ดินและการกระจายรายได้ //bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=182&c=1 ).
Create Date : 31 สิงหาคม 2552 |
Last Update : 3 กันยายน 2552 14:18:43 น. |
|
0 comments
|
Counter : 922 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|