ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
ที่ดินไม่เหมือนทุนหรือทรัพย์สินอื่น

ที่ดิน กับ ทรัพย์สินอื่น ๆ (รวมทั้งทุน) มีความแตกต่างกันอย่างมาก
ทรัพย์สินอื่น ๆ ใช้แรงงานและทุนผลิตขึ้นมา ใช้แรงงานและทุนของใครบ้าง
ก็ควรเป็นของเขาตามส่วน และเขาจะแลกเปลี่ยนซื้อขายกับใครก็ได้
ผู้ซื้อหรือแลกเปลี่ยนก็มีสิทธิต่อไปในทรัพย์นั้น ๆ
แต่การผลิตก็ต้องอาศัยที่ดินด้วย จึงต้องคิดหักผลตอบแทนจากที่ดินออกให้แก่ส่วนรวม
(ผู้ทำหน้าที่แทนส่วนรวมคือรัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น)

John Stuart Mill (1806-1873) กล่าวว่า:
เจ้าของที่ดินรวยขึ้นขณะนอนหลับโดยไม่ต้องทำงาน เสี่ยง หรือ หาทางประหยัด
การที่ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้ความพยายามของทั้งประชาคม
ควรเป็นของประชาคม มิใช่เป็นของปัจเจกชนผู้อาจถือกรรมสิทธิ์
(จาก //www.earthsharing.org.au/2006/10/13/quotations )

ที่ดินว่าง ๆ อยู่แท้ ๆ ไม่มีอะไรเลย
แต่ถ้าอยู่กลางเมือง ทำไมมันจึงมีราคาวาละหลายแสนบาท

และยังมีความแตกต่างอื่น ๆ อีก:
1. ผู้ใดใช้แรงงานของตนผลิตสิ่งใด ผู้นั้นย่อมมีสิทธิในสิ่งนั้นโดยชอบ
แต่สำหรับที่ดิน ไม่มีผู้ผลิต
2. ผู้ลงทุนซื้อผลผลิตจากผู้ผลิตหรือจากผู้มีสิทฺธิในผลผลิตโดยชอบ ย่อมมีสิทธิในสิ่งนั้น
3. เมื่อเกิดความต้องการสินค้าหรือบริการมากขึ้น จะมีผู้ผลิตแข่งขันกัน
ผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เพิ่มขึ้น ราคาจะกลับสู่ดุลยภาพ
แต่เมื่อเกิดความต้องการตำบลที่หรือทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น
ไม่มีใครผลิตเพิ่มได้ ราคาจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น เจ้าของที่ดินบางคนกักตุนที่ดินไว้
หวังราคาที่จะสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ราคาที่ดินยิ่งสูงขึ้นไปอีก
4. เมื่อเราต้องการผลิตเศรษฐทรัพย์บางอย่าง เราก็ต้องมีที่ดิน
อันเป็นแหล่งกำเนิดของทั้งชีวิตและเศรษฐทรัพย์
ถ้ามีการกักตุนสินค้า แม้จะเป็นจำนวนมาก ผู้อื่นสามารถผลิตเพิ่ม
แต่ถ้ากักตุนทรัพยากรธรรมชาติ - แหล่งที่มาของสินค้า -
และที่ดิน - ตำบลที่ซึ่งใช้ทำงาน – จะเป็นการกีดกันผู้อื่นมิให้ทำงานผลิต
(จาก //www.progress.org/geonomy/Earth.html )

แก้ปัญหาที่ดินได้ก็หมดปัญหานายทุนกดค่าแรง
ชนชั้นปัจจุบันยังไม่ได้เหลือสอง คือ ผู้ใช้แรงงาน กับ นายทุน เท่านั้น
ชนชั้นเจ้าของที่ดินยังมีอยู่ และมีอิทธิพลสูง
เฉพาะชนชั้นเจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ขัดผลประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน
และขัดผลประโยชน์กับนายทุนด้วย

ที่จริง คนเดียวอาจเป็น ๒ หรือทั้ง ๓ ฐานะ คือ เจ้าของที่ดิน ผู้ใช้แรงงาน และ นายทุน
(ผู้ประกอบการคือผู้ใช้แรงงาน ซึ่งใช้แรงสมองเป็นส่วนมาก)
แต่เมื่อจะพิจารณาเรื่องเช่นนี้ เราก็ต้องแยกทั้ง ๓ ฐานะออกจากกัน

คนในสังคมไม่ว่าจะชนชั้นไหนไม่ควรจะต้องเป็นศัตรูทำลายล้างกัน
ระบอบประชาธิปไตยขณะนี้ได้พัฒนาขึ้นมากแล้ว
ภาคประชาชนก็เข้ามีส่วนร่วมตรวจสอบพฤติการณ์ของฝ่ายบริหารอย่างแข็งขันขึ้น
ขอเพียงให้วิธีแก้ไขอย่างถูกต้องในปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านที่ดินและภาษี
อันเป็นฐานรากที่แผ่กว้างทั่วสังคมมนุษย์ ได้เป็นที่รู้กันแพร่หลายเท่านั้น
แล้วประชาธิปไตยจะแก้ไขนำความอยู่ดีกินดีมาให้เอง

น่าเสียดายที่รัสเซียและประเทศในยุโรปตะวันออกซึ่งได้ละทิ้งระบบเศรษฐกิจ
แบบคอมมิวนิสต์ส่วนมากไม่ได้คิดดึงเอาที่ดินไว้เป็นของรัฐต่อไป ถ้าประเทศเหล่านี้
เพียงแต่เก็บภาษีเท่ากับค่าเช่าที่ดินตามที่ประเมินได้ว่าควรจะเป็นเท่าใด
(ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ทำเล) ไม่ว่าผู้ถือครองจะให้เช่าหรือใช้ทำประโยชน์เองหรือไม่ก็ตาม
รวมทั้งค่าภาคหลวงจากการนำทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขึ้นมาใช้ประโยชน์
(ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของภาษีที่ดิน) ที่ส่วนใหญ่จะได้จากการลงทุนของต่างชาติ
ก็จะได้ภาษีมากพอที่จะยกเลิกภาษีอื่น ๆ (รวมทั้งภาษีเงินได้
และภาษีที่มีแต่ไปเพิ่มราคาสินค้าให้แพงขึ้น) ซึ่งก็จะทำให้ผู้ทำงานมีเงินได้สุทธิเพิ่มขึ้น
และของกินของใช้ราคาถูกลง ก่อความอยู่ดีกินดีแก่คนหมู่มาก

ระบบปัจจุบันเอื้ออำนวยให้เจ้าของที่ดินได้รับประโยชน์ไปโดยไม่ต้องทำอะไร
วันเวลาผ่านไป บ้านเมืองเจริญขึ้น ราคา/ค่าเช่าที่ดินก็สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ

ใคร ๆ ที่พอมีเงินเห็นดังนี้ก็พากันซื้อหาที่ดินเก็บกักกันไว้ หวังราคา/ค่าเช่าที่จะสูงขึ้น
เป็นการรวมหัวผูกขาดที่กว้างขวางที่สุดโดยไม่ต้องนัดหมาย
ไปที่ไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้วแทบทั้งนั้น ส่วนใหญ่รกร้างหรือทำประโยชน์น้อยเกินไป
คนจนก็ยิ่งลำบากมากขึ้นในการจะขวนขวายหาที่ดินเป็นของตนเอง
มิหนำซ้ำยังต้องจ่ายค่าเช่าสูงขึ้นเพราะการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินกันทั่วไปนี้

การที่เจ้าของที่ดินแต่ละคนมีที่ดินมากเกินส่วนเฉลี่ยย่อมเป็นการบั่นทอนสิทธิเข้าถึงที่ดินของคนส่วนที่เหลือ
ซึ่งที่ดินนั้นจำเป็นเสมอต่อการเป็น “ที่อยู่อาศัย” และ “ประกอบอาชีพ”

ที่ดินเป็นเงื่อนไขของชีวิต ขาดที่ดิน ชีวิตก็ดับ

การซื้อที่ดินมิใช่การลงทุนที่แท้
(การลงทุนที่แท้คือการลงทุนที่ก่อผลผลิตและบริการ)
แต่เป็นเพียงการสืบต่อสิทธิในสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากการลงทุนลงแรงผลิต

หากราชการเก็บภาษีเท่าค่าเช่าที่ดินประเมิน โดยมีการประเมินใหม่เป็นระยะ ๆ
การเก็งกำไรที่ดินจะหายไป ค่าเช่าที่ดินส่วนที่สูงเกินจริงจะหายไป
ราคาที่ดินจะเป็นศูนย์ ที่ดินจะเปิดออกให้คนได้เข้าทำกินมากขึ้น
และการเลิก/ลดภาษีอื่น ๆ จะเป็นแรงกระตุ้นจูงใจให้มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
การต้องพึ่งพานายจ้างจะลด การว่างงานจะลด การต้องแย่งกันหางานทำจะลด
นายทุนจะกลับต้องเป็นฝ่ายวิ่งหาคนงาน ค่าแรงจะสูงขึ้น
ซึ่งเป็นส่วนที่มาจากการลดของราคา/ค่าเช่าที่ดินและส่วนที่เจ้าของที่ดินเคยได้ไป
นายทุนจะไม่สามารถกดค่าแรงไว้ได้เหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป
แต่นายทุนก็จะได้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนต่อทุนสูงขึ้น เหมือนค่าแรง
จากการที่ราคา/ค่าเช่าที่ดินลดและการลดภาษีอื่น ๆ

แต่การเปลี่ยนแปลงฮวบฮาบจะก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดิน
การเปลี่ยนแปลงระบบภาษีเช่นนี้จึงควรค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้เวลา ๒๕–๓๐ ปี
ซึ่งในที่สุดเจ้าของที่ดินจะต้องเปลี่ยนฐานะเป็นนายทุนหรือผู้ใช้แรงงานไป
หรือใช้เงินทองหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตนสะสมไว้

คาร์ลมาร์กซ์กล่าวไว้ว่า Monopoly of land is the basis of monopoly in capital.
นี่แปลว่า ถ้า Monopoly of land หมดไปแล้ว ก็ไม่มี monopoly in capital ใช่ไหมครับ ?
นั่นคือ นายทุนจะไม่สามารถกดค่าแรงไว้ได้

จากเอกสารเรื่อง Henry George and Karl Marx ที่ Frank McEachran เสนอ
ในการประชุมระหว่างประเทศของกลุ่มผู้นิยมจอร์จที่ลอนดอนในเดือนกันยายน ค.ศ.1936 //www.cooperativeindividualism.org/mceachran_hgeorge_and_kmarx
มีข้อความตอนหนึ่งว่า พวกเสรีนิยมอ้าง และแม้แต่มาร์กซ์เองก็เห็นด้วย
ว่ามูลฐานหลักของการขูดรีดโดยทางประวัติศาสตร์คือ การกั้นรั้วล้อมที่ดิน
และถ้าที่ดินเป็นเสรีอย่างแท้จริง [น่าจะหมายถึงไม่ถูกเก็งกำไรเก็บกักไว้]
การผูกขาด “มูลค่าส่วนเกิน” ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
(The Liberals claim and even Marx himself agreed,
that the fundamental basis of exploitation was
historically land enclosure and that if the land had been really free
no monopoly of "surplus value" could have grown up.)

(จาก //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=365&c=1 )

ในการเลือกตั้งผู้แทนครั้งต่อไป ขอให้พวกเราช่วยกันเลือกผู้ที่เขาสัญญาว่า
จะมุ่งสนับสนุนการเพิ่มภาษีที่ดิน และลด-เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน
ที่ก่อผลผลิตและบริการ รวมทั้งการค้าขายแลกเปลี่ยน ด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //utopiathai.webs.com


Create Date : 26 พฤษภาคม 2554
Last Update : 26 พฤษภาคม 2554 23:43:03 น. 0 comments
Counter : 689 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com