ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 

เพื่อความอยู่ดีมีสุขสันติทั่วไป

“เมื่อเราเก็บภาษีจากบ้าน พืชผล เงิน เครื่องเรือน ทุน หรือทรัพย์สินในรูปแบบใด ๆ
นั่นคือเราเอามาจากปัจเจกบุคคลซึ่งสิ่งอันเป็นของเขาโดยชอบ
เราละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน และทำการชิงทรัพย์ในนามของรัฐ
แต่เมื่อเราเก็บภาษีมูลค่าที่ดิน เราเอามาจากปัจเจกบุคคลซึ่งสิ่งอันมิใช่ของเขา
แต่เป็นของประชาคม และซึ่งมิสามารถปล่อยให้เป็นของปัจเจกบุคคล
โดยไม่เป็นการชิงทรัพย์ของปัจเจกบุคคลอื่น ๆ”
- เฮนรี จอร์จ The Single Tax: What It Is and Why We Urge It

สวัสดีครับ . . .
ตลอดเวลามานานแล้ว ระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรมของแทบทุกรัฐในโลกกำลังเบียดเบียนผู้ลงทุนลงแรง ที่สาหัสคือคนจน ผู้ได้ประโยชน์คือเจ้าของที่ดิน และทำให้มีการเก็งกำไรสะสมที่ดิน ซึ่งซ้ำเติมให้การเบียดเบียนรุนแรงทับทวี ราคา-ค่าเช่าที่ดินแพงเกินจริง ทำให้ผลตอบแทนต่อแรงงานและทุนต่ำเกินจริง เมื่อรวมกับการสะสมที่ดินไว้โดยไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ ก็ทำให้แรงงานและทุนพลอยไม่ค่อยมีงานทำไปด้วย ผลผลิตของชาติต่ำกว่าที่ควร คนว่างงานมากขึ้น ค่าแรงยิ่งต่ำ ภาษีเงินได้และภาษีกำไรยิ่งไปลดรายได้ และภาษีการผลิตการค้าทำให้ของแพง คนจนยิ่งเดือดร้อน อ่อนแอ กลายเป็นเหยื่อนายทุนผู้จ้าง นายทุนเงินกู้ และผู้หลอกลวงโดยง่าย อีกทั้งการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ผสมกับสาเหตุทางการเงิน ยังทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจที่เหวี่ยงตัวรุนแรง ก่อความเสียหายใหญ่หลวงดังเช่นปี 2552 นี้ในสหรัฐฯ และลามไปทั่วโลก
(ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ก็ไม่มีการกู้เงินอย่างกว้างขวาง
ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ก็ไม่มีวัฏจักรราคาที่ดินที่เหวี่ยงตัวรุนแรง
วิกฤตการเงินที่รุนแรงลามทั่วโลกก็ไม่เกิด เก็งกำไรที่ดินมีในที่ดินนิยม มิใช่ทุนนิยม)
เชิญอ่าน
ผลดีและความเป็นธรรมของการมุ่งเก็บภาษีที่ดิน และ เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน
และ ผสมสองทฤษฎีสกัดเศรษฐกิจฟองสบู่




 

Create Date : 19 มีนาคม 2552    
Last Update : 21 มีนาคม 2552 23:32:14 น.
Counter : 978 Pageviews.  

สาเหตุความยากจน 3 บรรทัด

กิจกรรมและความเจริญของส่วนรวมทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น ๆ ภาษีที่ดินต่ำ เก็งกำไรสะสมที่ดิน ที่ดินใช้ประโยชน์น้อย
หาที่อยู่ที่ทำกินยาก ที่ดินยิ่งแพง ค่าแรงต่ำ ยากจน ซ้ำมีภาษีรายได้ รายได้สุทธิยิ่งต่ำ มีภาษีการผลิตการค้า ของยิ่งแพง
ยิ่งยากจน ยิ่งอ่อนแอ กลายเป็นเหยื่อนายทุนผู้จ้าง นายทุนเงินกู้ และถูกหลอกลวงง่าย ยิ่งทุกข์หนัก
(มีข้อสงสัยเชิญที่เว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //geocities.com/utopiathai ครับ)




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 10 มีนาคม 2552 14:28:29 น.
Counter : 786 Pageviews.  

หนุนภาษีที่ดิน ค้านภาษีสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดก

หนุนภาษีที่ดิน ค้านภาษีสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดก
เศรษฐศาสตร์สำนักจอร์จ (Henry George) สอนว่า การลงแรงลงทุนผลิตสินค้าและบริการมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน คือการร่วมมือด้วยการแบ่งงานกันทำและแข่งขันกันเสนอสินค้าและบริการที่ดี ในราคาถูก ซึ่งได้ประโยชน์แก่สังคม แม้ต่างคนจะมุ่งประโยชน์ของตนเอง ดังที่แอดัม สมิธเปรียบว่าเป็นมือที่มองไม่เห็นคอยดูแลอยู่ การร่วมมือด้วยการลงแรงลงทุนผลิตและค้าเช่นนี้เป็นการส่งเสริมสวัสดิการของส่วนรวมอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐบาล ไม่ควรต้องถูกเก็บภาษี (ควรได้รับรางวัลจากรัฐด้วยซ้ำ) ไม่ว่าจะเป็นคนซื้อหรือขาย เพราะคนเราทำงานหรือลงทุนก็เพื่อให้ได้สิ่งของหรือบริการมาบำบัดความต้องการของตน การผลิตกับการบริโภคเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ต้องอาศัยกัน

สิ่งปลูกสร้าง (ในร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) เกิดจากการลงแรงลงทุนผลิต

แต่การลงแรงลงทุนเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของที่ดินนั้นมิใช่การลงแรงลงทุนผลิต หากเป็นการสืบต่อสิทธิที่จะเรียกส่วนแบ่งจากผู้ลงแรงลงทุนผลิตอีกชั้นหนึ่ง ตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพราะที่ดินนั้นมนุษย์ไม่ได้เป็นผู้ผลิต การมีราคาสูงขึ้น ๆ ของที่ดินเกิดจากการมีชุมชนและการเจริญเติบโตก้าวหน้าของส่วนรวม กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนี้นำผลจากกิจกรรมของส่วนรวมไปประเคนให้แก่เจ้าของที่ดินมากขึ้น ๆ ทำให้เกิดการเก็งกำไรเก็บกักสะสมที่ดินกันเป็นการทั่วไป ไปไหน ๆ ก็เห็นแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว ส่วนใหญ่รกร้าง หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า คนจนต้องไปหากินในที่ดินชายขอบ ซึ่งขยายออกไปไกลเกินกว่าที่ควรเป็น ทำให้ค่าแรงหรือผลตอบแทนต่อการทำงานต่ำกว่าที่ควร ถ้าทำมาหากินในเมืองก็ต้องเสียค่าเช่าที่ดินแพงกว่าที่ควร ผลก็คือเหลือค่าแรงสุทธิต่ำ และยิ่งต่ำลงอีก เพราะเมื่อรัฐเก็บภาษีที่ดินน้อยไป ก็ต้องหันมาเก็บภาษีจากการลงแรงลงทุนมากขึ้น

ดังนั้น รัฐคือผู้สนับสนุนการเก็งกำไรที่ดิน แต่รัฐกำลังจะลงโทษผู้เก็งกำไรที่ดินด้วยการออก พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะเก็บภาษีแรงขึ้น ๆ สำหรับเจ้าของที่ดินที่ปล่อยที่ดินรกร้าง แต่ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินตามสมควรจะได้รับลดหย่อน (ทำไมจึงลดหย่อน ? )

หลักการของสำนักจอร์จบอกว่าควรเก็บภาษีที่ดินเท่าหรือเกือบเท่ากับค่าเช่าศักย์ของที่ดิน เพราะนั่นแสดงถึงผลประโยชน์ที่เจ้าของที่ดินมีทางจะได้รับจากที่ดินนั้น ๆ เจ้าของที่ดินจะใช้ที่ดินอย่างไรเป็นความรับผิดชอบและความริเริ่มของเขาเอง และต้องไม่ขัดกับกฎหมาย (ผู้นิยมลัทธิจอร์จรุ่นหลังเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงควรค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้เวลาสัก 20-30 ปี เช่นเพิ่มภาษีที่ดินปีละ 3-5 % ของค่าเช่าศักย์ เพื่อมิให้ผู้ซื้อหาที่ดินมาใหม่ ๆ เดือดร้อนเกินไป พร้อมกันนั้นก็ลด/เลิกภาษีการลงแรงลงทุนชดเชยกันไป)

“เมื่อเราเก็บภาษีจากบ้าน พืชผล เงิน เครื่องเรือน ทุน หรือทรัพย์สมบัติในรูปแบบใด ๆ นั่นคือเราเอามาจากปัจเจกบุคคลซึ่งสิ่งอันเป็นของเขาโดยชอบ เราละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน และทำการชิงทรัพย์ในนามของรัฐ
แต่เมื่อเราเก็บภาษีมูลค่าที่ดิน เราเอามาจากปัจเจกบุคคลซึ่งสิ่งอันมิใช่ของเขา แต่เป็นของประชาคม และซึ่งมิสามารถปล่อยให้เป็นของปัจเจกบุคคลโดยไม่เป็นการชิงทรัพย์ของปัจเจกบุคคลอื่น ๆ” - เฮนรี จอร์จ The Single Tax: What It Is and Why We Urge It //www.schalkenbach.org/library/george.henry/SingleTax.htm

ในสหรัฐฯ มีผู้เห็นว่าค่าเช่าที่ดิน (คือภาษีที่ดินที่เห็นควรให้รัฐเก็บจากเจ้าของที่ดินเท่าหรือเกือบเท่ากับค่าเช่าศักย์) นั้นเพียงพอสำหรับงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ทั้งนี้หมายรวมถึง ค่านำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้สิ้นเปลืองไป และค่าก่อความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม อีกส่วนหนึ่งก็คือค่าสัมปทานซึ่งให้สิทธิผูกขาดแก่ผู้ประกอบการเฉพาะบางรายเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเร็ว ๆ นี้คือ บทความ 112 หน้าของ ศ. Mason Gaffney เรื่อง The Hidden Taxable Capacity of Land: Enough and to Spare ที่ //www.uvm.edu/~gflomenh/PA395-CMN-ASSTS/articles/gaffney/MASTER-Gaffney-rent.doc

มรดกคือทรัพย์สมบัติที่ผู้รับได้จากผู้ตาย เป็นได้ทั้ง ที่ดิน และ สิ่งที่เกิดจากการลงแรงลงทุนผลิต

เฮนรี จอร์จกล่าวถึงการสะสมเศรษฐทรัพย์หรือทรัพย์ (wealth ไม่รวมถึงที่ดิน) ไว้ดังนี้:
“ข้าพเจ้าจะไม่จำกัดการแสวงหาทรัพย์ ใครเขาจะหาเงินได้กี่ล้านดอลลาร์ ถ้าไม่ใช่ไปปล้นเขามา มันก็เป็นของเขา ให้เขาได้ไป ข้าพเจ้าจะไม่แม้แต่ขอร้องให้เขาบริจาคเป็นการกุศล หรือตะโกนใส่หูเขาว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะช่วยคนจน นั่นเป็นเรื่องของเขาเอง ปล่อยให้เขาทำตามที่เขาชอบด้วยตัวเขาเอง ไม่มีข้อจำกัด ไม่มีคำแนะนำ ถ้าเขาได้มาโดยมิใช่เป็นการเอาจากผู้อื่น และใช้มันโดยไม่เป็นการทำร้ายผู้อื่น เขาจะทำอะไรกับทรัพย์ของเขาเป็นเรื่องของเขาและเป็นความรับผิดชอบของเขาเอง” (หนังสือ Social Problems หน้า 87)

“ข้าพเจ้าได้สนับสนุนการค้าเสรีอย่างแข็งขัน ต่อเนื่อง และเต็มที่ และคัดค้านแผนการทั้งปวงที่จะจำกัดเสรีภาพของบุคคล ข้าพเจ้าได้ปฏิเสธอย่างเด็ดขาดต่อข้อสมมุติที่ว่าสังคมมีสิทธิในทรัพย์สินของสมาชิกทุกคน และได้เชิดชูสิทธิของเอกชนในทรัพย์สินอย่างชัดเจนและแน่วแน่กว่า Mr. [Herbert] Spencer ข้าพเจ้าได้ต่อต้านข้อเสนอทุกข้อที่จะให้ช่วยคนจนโดยเอาจากคนรวย ข้าพเจ้าได้ยืนยันเสมอมาว่าผู้คนไม่ควรต้องเสียภาษีเพราะเขารวย และไม่ว่ากี่ล้านดอลลาร์ ถ้าเขาได้มาโดยชอบธรรม สังคมก็ควรยอมให้เขาได้ไปทุกเพนนี” (หนังสือ A Perplexed Philosopher หน้า 70-71)

สำหรับ ทุน นั้น (capital เศรษฐทรัพย์ส่วนที่ใช้เพื่อช่วยการผลิตหรือที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยน ที่จริงการผลิตหมายรวมถึงการแลกเปลี่ยนด้วยแล้ว) เฮนรี จอร์จกล่าวไว้ดังนี้:
“เราไม่กลัวทุน โดยถือว่าทุนเป็นผู้ช่วยตามธรรมชาติสำหรับแรงงาน เราถือว่าดอกเบี้ยเป็นของธรรมชาติและเป็นธรรม เราจะไม่จำกัดการสะสมทุนหรือทำให้คนรวยต้องรับภาระใด ๆ ที่มิได้ให้คนจนรับภาระอย่างเท่าเทียมกันด้วย เราไม่เห็นว่าการแข่งขันเป็นความชั่วร้าย แต่ถือว่าการแข่งขันโดยไม่มีข้อจำกัดเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพขององคาพยพทางอุตสาหกรรมและสังคมเช่นเดียวกับที่การไหลเวียนโดยเสรีของโลหิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพขององคาพยพของร่างกาย—เป็นตัวแทนซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือสูงสุด” (The Condition of Labor หน้า 61)

อ่านเรื่องผลดีและความเป็นธรรมของการเพิ่มภาษีที่ดิน และเลิกภาษีอื่น ๆ ได้ที่ //th.wikipedia.org/wiki/เฮนรี_จอร์จ

เว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //geocities.com/utopiathai




 

Create Date : 26 มกราคม 2552    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2552 22:51:46 น.
Counter : 791 Pageviews.  

เฮนรี จอร์จ กับ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์

เฮนรี จอร์จ กับ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
โดย Jack Schwartzman, สุธน หิญ แปล
[สรุปคำบรรยายต่อที่ประชุมโลกว่าด้วยเศรษฐศาสตร์สังคมครั้งที่ 5 University of York, England, 2 August, 1988 ตามที่ปรากฏใน Georgist Journal]
เอกสารนี้กล่าวถึงปรัชญาสังคมที่แตกต่างกันของ Henry George และ George Bernard Shaw
(จาก //www.cooperativeindividualism.org/schwartzman_hgeorge_and_geo_bernard_shaw.html)

จอร์จมีชื่อเสียงระดับโลกใน ค.ศ.1879 หลังจากการเขียนหนังสือ Progress and Poverty โดยยืนกรานว่าความยากจนและความเลวร้ายอื่นๆ ทางสังคมมีสาเหตุจากการปฏิเสธมิให้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงที่ดินทำเลดีซึ่งเอกชนถือกรรมสิทธิ์ จอร์จเสนอวิธีแก้ไขโดยให้เก็บภาษีเดี่ยวจากมูลค่าที่ดิน (ในรูปแบบการเก็บค่าเช่าที่ดินโดยชุมชน) ซึ่งจะทำให้ผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ต้องปล่อยที่ดินออกมา อันจะนำไปสู่การผลิตที่ไม่มีขีดจำกัดและการแบ่งเศรษฐทรัพย์อย่างเป็นธรรม เขายังสนับสนุนให้เลิกภาษีอื่นๆ ทั้งหมดด้วย

ใน ค.ศ.1882 จอร์จได้เดินทางไปยังอังกฤษ และนำเสนอทฤษฎีของเขาต่อผู้ฟังที่สนใจ หนึ่งในจำนวนนั้นคือหนุ่มชอว์ ผู้ถูกมนต์โวหารของจอร์จจนกลายเป็นผู้เชื่อถือลัทธิจอร์จผู้หนึ่ง แต่ในไม่ช้า หลังจากได้อ่าน Das Kapital ของคาร์ล มาร์กซ์ เขาก็ได้เปลี่ยนไปนับถือลัทธิมาร์กซ์ ต่อมาชอว์ได้ทิ้งความคิดของทั้งจอร์จและมาร์กซ์ และเรียกตนเองว่านักสังคมนิยมแบบเฟเบียน [แบบวิวัฒนาการ - ปฏิเสธแนวคิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ชอว์กล่าวว่าหนังสือ Progress and Poverty ของเฮนรี จอร์จทำให้เกิดสมาคมเฟเบียนและจอร์จทำให้คนอังกฤษกลายเป็นสังคมนิยมถึง 4 ใน 5 ของผู้นิยมสังคมนิยมอังกฤษทั้งหมด (แม้มิได้เจตนา)] แต่ในที่สุด ชอว์ก็เปลี่ยนความคิดอีก “ตะโกน” อย่างภาคภูมิใจว่าตนเป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนจอร์จนั้นมิใช่นักสังคมนิยม (แม้บางคนจะว่าเช่นนั้นก็ตาม)

(จำเป็นต้องกล่าวเสียแต่ต้นนี้ว่าชอว์ไม่เคยได้พบกับจอร์จ และก็ยังไม่แน่ว่าจอร์จรู้หรือไม่เกี่ยวกับชอว์)

เพื่อจะได้เข้าใจทัศนะของจอร์จและชอว์ จะนำเสนอการวิเคราะห์เป็นเรื่องๆ ไป เรื่องแรกคือ ความยากจน นักเขียนทั้งสองท่านต่างประกาศย้ำว่าความยากจนเป็นสิ่งเลวร้ายที่จะต้องกำจัด จอร์จและชอว์มีความขุ่นเคืองมากเหมือนๆ กันที่คนทั่วไปพอใจยอมรับว่าความยากจนเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งคู่ต่างก็เรียกการให้เหตุผลเช่นนี้ว่าเป็นการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (blasphemy)

แต่จากจุดนี้ไป หลักความเชื่อของจอร์จและชอว์ขัดแย้งกันอย่างมาก

ด้านสาเหตุความยากจน จอร์จพบว่าอยู่ที่การปฏิเสธการเข้าถึงที่ดินอันมีค่า (ดังกล่าวแล้วข้างต้น) วิธีแก้ไขของเขานั้นก็เพื่อปลดปล่อยที่ดินซึ่งถูกผูกขาดออกมาเพื่อการผลิต และการเลิกภาษีอื่นๆ ทั้งสิ้นเพื่อกระตุ้นความเติบโตทางเศรษฐกิจอีกแรงหนึ่ง ทุนซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตปัจจัยหนึ่งจะไม่ถูกเก็บภาษี

แต่ชอว์แย้งข้อเสนอของจอร์จโดยประกาศว่าความยากจนมีสาเหตุจากการผูกขาดร่วมกันของที่ดินและทุน ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาของเขาจึงเป็นการให้รัฐเก็บทั้งค่าเช่าที่ดินและผลตอบแทนต่อทุน (ดอกเบี้ย) ด้วย รัฐจะต้องยึดรายได้ทั้งหมดมาแจกจ่ายใหม่ “ตามความจำเป็น”

ข้อโต้แย้งต่อไปอยู่ที่กฎของริคาร์โดว่าด้วยค่าเช่า แม้ความคิดจะขัดแย้งกันอย่างตรงกันข้าม ทั้งสองฝ่ายต่างก็อ้างว่ามาจากแหล่งเดียวกัน คือ ทฤษฎีของริคาร์โด ซึ่งสาธิตให้เห็นว่าค่าเช่าที่ดินเพิ่มขึ้นโดยเป็นผลเสียต่อทั้งทุนและแรงงาน ในกฎของริคาร์โด จอร์จได้พบสูตรสำเร็จรูป (และการสร้างความชอบธรรมให้แก่วิธีแก้ของเขา) เขาแถลงว่าสิ่งที่จำเป็นต้องทำก็เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางไหลของค่าเช่าที่ดินจากเดิมที่ไปสู่เอกชน ให้มาสู่กองทุนของชุมชนเท่านั้น ภาษีอื่นๆ นั้นไม่จำเป็นและไม่เป็นที่ปรารถนา

ชอว์ไม่เห็นด้วย สำหรับเขาแล้ว การให้รัฐหรือชุมชนเก็บค่าเช่าที่ดิน (แม้จะเป็นส่วนสำคัญหรือ keystone ทางเศรษฐศาสตร์ของลัทธิสังคมนิยม) ก็เป็นเพียงขั้นแรกของการไปสู่การยึดรายได้ทั้งหมดโดยรัฐ เขาย้ำว่าจุดประสงค์สำคัญของลัทธิสังคมนิยมคือการให้รัฐเก็บรายได้ทั้งปวงของประชาชนเป็นภาษี และจัดการให้รัฐเป็นรัฐสังคมนิยมซึ่งมีอำนาจเต็มที่

ข้อโต้แย้งอีกข้อหนึ่งคือเรื่องกลุ่ม Physiocrats จอร์จถือว่ากลุ่มนี้เป็นผู้มาก่อนเขาในด้านอุดมการณ์ (ideology) และให้เกียรติกลุ่มนี้ที่ประกาศระบบภาษีเดี่ยว แต่ชอว์เย้ยหยันทั้งกลุ่มฟิสิโอแครตและจอร์จ และยกย่องบูชา Voltaire ที่เขาถือว่าเป็นผู้ “สังหาร” ข้อเสนอให้ใช้ระบบภาษีเดี่ยว (แต่สำหรับผู้เขียนเอกสารนี้กลับเห็นว่าเรื่องของโวลแตร์ดังกล่าว ซึ่งชอว์สนับสนุนแข็งขัน เป็นเรื่องที่กุขึ้นมาและไม่จริง)

เรื่องสำคัญเรื่องสุดท้ายคือการเปรียบเทียบลัทธิเสรีวิสาหกิจกับสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ จอร์จเชิดชูเสรีภาพ คุณค่าของปัจเจกชน การผลิตที่ไม่ถูกขวางกั้น และการปกครองอย่างจำกัด เขาต่อต้านลัทธิสังคมนิยมจนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

ตรงกันข้าม ชอว์เทิดทูนลัทธิซูเปอร์แมน ระบอบเผด็จการ คอมมิวนิสต์ และระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เขาต่อต้านดูหมิ่นระบอบประชาธิปไตยจนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งชีวิตเช่นกัน

นี่คือการทบทวนอย่างสั้นมากในปรัชญาสองแบบที่ขัดแย้งกัน การโต้เถียงระหว่างสองปรัชญานี้ยังคงรุนแรงมาจนถึงเดี๋ยวนี้ (ค.ศ.1988).




 

Create Date : 20 มกราคม 2552    
Last Update : 20 มกราคม 2552 9:52:41 น.
Counter : 859 Pageviews.  

สิ่งขวางกั้นสำคัญต่อมือที่มองไม่เห็นของแอดัม สมิธ

ในเศรษฐศาสตร์แนวจอร์จ (เฮนรี จอร์จ) ปัจจัยการผลิตแบ่งเป็น 3 ปัจจัย คือ 1.ที่ดิน 2.แรงงาน (มนุษย์) และ 3.ทุน
การจัดการหรือการประกอบการ ซึ่งทางบริหารมักจะถือเป็นปัจจัยที่ 4 นั้น ที่จริงคือแรงงาน ซึ่งมีทั้งทางสมองและทางกาย

จอร์จบอกว่า ที่ดินควรเป็นของส่วนรวม รัฐทำหน้าที่เก็บภาษีที่ดิน (ก็ค่าเช่าที่ดินนั่นเอง) เอามาบำรุงส่วนรวม เพราะมูลค่าที่ดินส่วนใหญ่เกิดจากการมีชุมชน กิจกรรมของแต่ละคนที่กระทำ โดยสุจริต แม้จะเพื่อประโยชน์ตนเอง แต่ที่จริงเป็นความร่วมมือกัน เพื่อบำบัดความต้องการของทุกคนที่เข้ามาร่วมมือกันในการผลิตและค้าสินค้าและบริการ ส่วนมากก็โดยการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ทำให้เกิดความรู้ความชำนาญเฉพาะอย่างแบบที่ต้องเล่าเรียนกันสูง ๆ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งเกิดเครื่องมืออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อธุรกิจและขนส่งสินค้า

การที่คนเราแต่ละคนทำเพื่อตนเองแต่ส่งผลดีต่อส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพเช่นนี้ แอดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ เปรียบว่าเป็น มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) ซึ่งเฮนรี จอร์จบอกว่าทำให้เกิดมูลค่าซึ่งเข้าไปเกาะติดอยู่กับที่ดินในชุมชน ยิ่งชุมชนหนาแน่น ยิ่งเครื่องมืออำนวยความสะดวกก้าวหน้า ประสิทธิภาพการผลิตยิ่งสูง ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่ดินยิ่งสูงขึ้นอีกต่อหนึ่ง มูลค่านี้เป็นผลพลอยได้จากการทำเพื่อประโยชน์ของตนเองซึ่งกลายเป็นการร่วมมือกันโดยอัตโนมัติ คนไหนขายของเลวราคาแพงก็ไม่มีคนซื้อ

ลัทธิจอร์จเป็นสังคมนิยมเมื่อมองในแง่ที่ดิน
ถ้าไม่เก็บภาษีที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้รับประโยชน์ไปที่เรียกว่าเป็นรายได้ที่มิได้ลงทุนลงแรง (unearned income) และทำให้ต้องหันไปเก็บภาษี เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีกำไร (ซึ่งทำให้รายได้สุทธิของผู้ทำงานและผู้ลงทุนลดลง) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ทำให้ของแพง)
ซ้ำกลับเกิดผลเสียใหญ่หลวงคือการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินหวังราคาที่จะสูงขึ้นในอนาคต ไปที่ไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว ที่ดินกลายเป็นของหายาก ค่าเช่าที่อยู่ที่ทำกินมีอัตราสูงเกินกว่าระดับที่ควร (ส่วนแบ่งการผลิตสำหรับผู้ลงแรงลงทุนต่ำกว่าระดับที่ควร) ผู้คนหางานทำยาก ค่าแรงก็ต่ำ
และยังทำให้วัฏจักรเศรษฐกิจแกว่งตัวรุนแรง ขาลงจะก่อความเสียหายมากมาย คนจนยิ่งทุกข์ยากหนักขึ้น
(วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ก็เป็นเพราะการเก็งกำไรที่ดินเหมือนครั้งก่อน ๆ แต่รุนแรงกว้างขวางขึ้นจากการมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ขึ้นมา)
เหตุดังกล่าวคือสิ่งขวางกั้นสำคัญต่อการทำงานของมือที่มองไม่เห็นของแอดัม สมิธ

แต่ลัทธิจอร์จก็เป็นแรงงานนิยมและทุนนิยมด้วยอย่างแรงเพราะต้องการให้ผู้ทำงานและผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเต็มที่ ไม่มีภาษีประเภทที่ไปลดรายได้และไปเพิ่มรายจ่าย (ราคาสินค้า)

ถ้าเป็นไปตามลัทธิจอร์จ จะไม่มีชนชั้นเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินเป็นของส่วนรวมด้วยวิธีการภาษีซึ่งจะขจัดความได้เปรียบเสียเปรียบจากการมีที่ดินมากน้อย ดีเลว ผิดกันให้หมดไป

นายทุนกับแรงงานมีผลประโยชน์ร่วมกัน //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=96&c=1
แก้ปัญหาที่ดินได้ปัญหานายทุนกดค่าแรงจะหมดไปด้วย //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=4&c=1

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //geocities.com/utopiathai (ปัจจุบัน 12 มี.ค. 53 เปลี่ยนเป็น //utopiathai.webs.com )




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2551    
Last Update : 12 มีนาคม 2553 22:03:55 น.
Counter : 946 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com