รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 มกราคม 2564
 
All Blogs
 

[การพิจารณาธรรม] วิธีการฝึกสติปัฏฐานด้วยการรู้กายในอิริยาบทเคลื่อนไหว

บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัว อย่าได้เชื่อถือว่าถูกต้อง
แต่ขอให้อ่านแล้วพิจารณาเอาเองด้วยปัญญา
ขอบคุณครับ
..
แผนผังของบทความนี้

.....
1...บทความนี้ จะได้กล่าวถึง วิธีการฝึกฝนสติปัฏฐาน ด้วยการรู้กายในอิริยาบทเคลื่อนไหว
ว่าการฝึกฝนทำอย่างไร
2..สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนเรื่องที่ 1 -- เรื่อง การรู้ความรู้สึกทีกาย ทำอย่างไร
จะขอยกตัวอย่าง แล้วท่านทีสนใจ ขอให้ลองทำตามดู เพื่อจะได้เข้าใจ
.
ตัวอย่งที่ 1...ขอให้ใช้มือข้างหนี่ง มาบีบทีแขนอีกข้างหนี่ง คล้ายๆ กับการบีบแขน
ทีแก้อาการปวดเมื่อยทีแขน
เมื่อท่านบีบแขน ท่านสามารถจะรู้สีกได้ว่า มีความรู้สีกเกิดขึ้นทีแขนในบริเวณทีถูกบีบ
ถ้าท่านบีบค่อย หรือ บีบแรง ความรู้สีกทีเกิดขึ้นจะรู้ได้ถึงความแรง หรือ ความค่อยในการบีบได้ด้วย
ถ้าท่านบีบแล้วค้างไว้  ถ้าท่านสังเกตบริเวณทีถูกบีบ ท่านจะพบว่า มีความรู้สีกซ่า ๆ เกิดขึ้นภายใน
ก้อนเนื้อทีแขนด้วย ถ้าท่านยังบีบอยู่ต่อไป อาการซ่า ๆ ก็จะรู้สึกว่า รุนแรงขึ้น
เมื่อท่านรู้สีกได้แล้ว ต่อไปในท่านปล่อยการบีบแขน  ท่านจะพบว่า อาการความรู้สึกทีเกิดขึ้น
ทั้ง 2 อย่างคือ ความรู้สึกถึงการบีบ และ อาการซ่า ๆ นี้จะหายไป
.
ถ้าท่านเข้าใจความรู้สึกทีได้เขียนไว้ข้างต้นแล้ว ต่อไป ขอให้ท่าน ทำการ บีบ แล้ว ปล่อย
บีบ แล้ว ปล่อย  ก็จะพบว่า ความรู้สึกทีเกิดขึ้น เกิดแล้วก็หายไป เกิดแล้วก็หายไป  นี่คือ ความเป็นไตรลักษณ์ทีเกิดขึ้น แล้วท่านสัมผัสได้
.
การเข้าใจในตัวอย่างที่ 1 เพื่อให้ท่านเข้าใจความรู้สึกได้ก่อนว่าเป็นอย่างไร เพื่อ นำทางไปสู่ความเข้าใจในตัวอย่างที่ 2 ที่ต่อไป
.
ตัวอย่างที่ 2..ขอให้ท่านเดินไปเดินมา อย่างเป็นธรรมชาติ
เมื่อท่านเดินไปเดินมา ทีนี้ ขอให้สังเกต ความรู้สีกทีท่านจะพบได้ง่ายๆ ซี่งมี 2 ความรู้สึก คือ
A..ถ้าท่านใส่รองเท้าอยู่ ท่านสามารถรู้สึกได้ถึงรองเท้าทีสัมผัสทีเท้าได้ 
หรือ
ถ้าท่านไม่ใส่รองเท้า ในขณะทีท่านเดิน เวลาเท้าสัมผัสกับพื้นดิน ท่านจะสามารถรู้สีกได้ถึงการสัมผัสของเท้าทีพื้นได้ ถ้าท่านเดินไปเดินมา ท่านจะพบว่า เมื่อเท้าสัมผัสทีพื้น ท่านจะรู้สีกได้ถึงการสัมผัส แต่ถ้าในขณะทีเท้ากำลังลอยในอากาศ ไม่ได้สัมผัสพื้น ความรู้สีกของเท้าทีสัมผัสทีพื้นจะหายไป  ท่านจะพบไตรลักษณ์ของการสัมผัสได้ โดย มีความรู้สีกสัมผัสของเท้าและทีพื้น 
.
แต่ถ้าท่านใส่รองเท้า ท่านจะรู้สีกได้ถึงเท้าสัมผัสกับรองเท้าได้ตลอดเวลา และ ในขณะทีเท้าสัมผัสกับพื้น ก็จะมีความรู้สีกอย่างหนี่งเกิดเพิ่มขึ้นมาในขณะทีเท้าสัมผัสกับพื้น แต่ถ้าในขณะทีเท้าลอยอยู่ในอากาศ ท่านจะรู้สีกได้เพียงรองเท้าสัมผัสกับเท้าเพียงอย่างเดียว
การรู้สีกได้ทีไม่เหมือนกันในขณะทีกำลังเดิน ถึงมีการใส่รองเท้า แต่การรู้สัมผัสในขณะทีเท้าสัมผัสพื้นได้ ก็จะเป็น ไตรลักษณ์ 
.
B...ทีนี้ ขอให้ท่านนั่งลงบนเก้าอี้ แล้ว ใช้ขาแกว่งไปมา จำลองแบบเหมือนว่า ขากำลังเดิน
แต่ขอให้ทำบนเก้าอี้แทน เพื่อให้เข้าใจก่อน
เมื่อท่านแกว่งขาไปมา  ท่านจะพบว่า จะมีความรู้สีกทีเกิดขึ้นของขา ในขณะทีกำลังแกว่งอยู่
จะมีอาการวูบวาบ สั่นไหว ไปมา แต่ถ้าท่านหยุดแกว่ง ความรู้สีกวูบวาบ สั่นไหว ก็จะหายไป
นีคือ ความเป็นไตรลักษณ์ทีเกิดขึ้น
.
3..สิ่งทีควรทำความเข้าใจก่อน เรื่องที่ 2...การรู้ว่า ร่างกายกำลังเคลื่อนไหว หรือ หยุดอยู่ไม่เคลื่อนไหว ทำอย่างไร
.
C...ถ้าท่านเป็นมือใหม่ในการภาวนา ท่านจำเป็นต้องใช้ ตา มองเห็น แล้วท่านก็จะสามารถรู้กายได้ เพราะตามองเห็น แต่การมองเห็นด้วยตานี้ ต้องมีเทคนิค คือ การมองแบบ**ถาก ๆ หรือ มองแบบไม่ได้ตั้งใจมอง **
หมายเหตุ การใช้ตามองกายเข้าไปตรง ๆ นี้ใช้ไม่ได้ ***
เนื่องจากท่านยังไม่เข้าใจวิธีการเห็นแบบถาก ๆ ว่าเป็นอย่างไร ขอให้ท่านดูภาพข้างล่างนี้ 
ในภาพจะเห็นว่า ภาพด้านบน เป็นการมองของคนทั่วไป ทีมักมองไปข้างหน้า ด้วยมุมทีแคบ
ทำให้ไม่เห็นร่างกายนี้ว่า กำลังทำอะไร  แต่ถ้าเพียงเปลี่ยนมุมมองใหม่ ให้มองแบบกว้างๆ ขอให้นึกถีงมือถือ ทีถ่ายภาพด้วยเลนซ์มุมกว้าง จะเห็นภาพได้กว้างมากขึ้น การมองข้างหน้าให้เป็นมุมกว้าง ก็จะทำให้เห็นร่างกายนี้ได้ว่า ร่างกายนี้ กำลังทำอะไรอยู่ เช่นกำลังนั่ง กำลังโยกตัวไปมา หรือ กำลังทำอะไร
ครั้งแรก ท่านต้องเข้าใจก่อนว่า การเห็นร่างกายเป็นอย่างไร เมื่อเห็นเป็นแล้ว รู้จักได้แล้ว ต่อไป ท่านมองแบบเห็นกายถาก ๆ ได้เองต่อไป
สิ่งหนี่งทีท่านควรเข้าใจในการมองแบบถาก ๆ ก็คือ การเห็นกายได้ จะเห็นได้ไม่ชัด อาจเห็นได้เป็นเงาจางๆ แต่การเห็นได้ไม่ชัดไม่สำคัญ เพียงแต่ว่า ถ้ากายมีการทำอะไรอยู่ ท่านจะรู้ได้เพราะทำแบบนี้


ขอให้ท่านทดลองดูก่อนดังนี้
C1..ขอให้ท่านนั่งบนเก้าอี้ แล้วแกว่างขาไปมา ดังตัวอย่าง B
ในขณะทีท่านแกว่างขาไปมา ขอให้ท่านมองไปข้างหน้า ถ้าท่านสามารถเห็นร่างกายนี้กำลังนั่งอยู่ และกำลังแกว่างขาไปมาด้วย โดยการเห็นแบบไม่แบบถาก ๆ  หรือ แบบไม่ตั้งใจมอง  (อย่าลืมว่า  ตาของท่านนั้น กำลังมองไปข้างหน้า อยู่ ) 
.
C2...เมื่อท่าน เข้าใจการมองแบบถาก ๆ ในขณะนั่งแล้ว ต่อไป ขอให้ลองเดินไปเดินมาดู
แล้ว ก็มองร่างกายนี้ กำลังเดินไปเดินมา ด้วยการมองแบบถาก ๆ เช่นกัน
ถ้าท่านสามารถมองได้ ท่านก็จะรู้อาการทีร่างกายนี้ กำลังเดินไปเดินมาได้เช่นกัน
.
ความสำเร็จในการปฏิบัติในเรื่อง การรู้ด้วยการมองนี้ เป็นหัวใจสำคัญทีสุด
ขอให้ท่านทีสนใจทดลองดูให้เห็นของจริง จะพบว่า ไม่ยากเลย
และไม่ฝืนธรรมชาติอีกด้วย เพียงเข้าใจ เทคนิค ของการมองแบบถาก ๆ เท่านั้น
.
D...จากมือใหม่ ด้วยการฝีกหัดมองแบบถาก ๆ  จนชำนาญ ท่านจะพบเองว่า
ท่านมีการพัฒนาการมองแบบถาก ๆ ได้แล้ว โดยการไม่ต้องมองแบบถาก ๆ เลย
แต่ท่านเห็นร่างกายนี้ได้เอง เพราะมีการพัฒนาขึ้นมาจนเป็นความชำนาญแล้วนั่นเอง
การรู้ได้ว่า ร่างกายกำลังทำอะไรอยู่ โดยไม่มีการมองเลย นีคือ ญาณ ชนิดหนี่ง
.
4...เมื่อท่านเข้าใจ ในเรื่องในข้อ 2 ในเรื่องทีเข้าใจก่อน 2 เรื่องแล้ว คือ การรู้ความรู้สีก และ การรู้ด้วยการมองแบบถาก ๆ ( เมื่อท่านยังเป็นมือใหม่ ) ต่อไป ขอให้ท่านสามารถฝีกฝนได้แล้ว
วิธีการฝีกฝน ก็คือ
E..ขอให้ท่านเริ่มจาก การนั่งแล้วแกว่งขาไปมา
เมื่อท่านนั่งแกว่างขาไปมา
....****ให้ รู้แบบร่างกายนี้กำลังนั่งแกว่งขาอยู่ (ด้วยการมองแบบถาก ๆ  ) แล้วท่านก็จะรู้ความรู้สีกทีเป็นการสั่นไหว ทีเกิดขึ้นเพราะมีการแกว่างขาอยู่พร้อมกันไปด้วย
ในคนบางคน เมื่อทำอย่างนี้ ก็จะสามารถรู้ลมหายทีเกิดขึ้นได้ด้วย ถ้าใครสามารถรู้ลมหายใจได้ด้วย ก็จะยิ่งดี แต่อย่าไปสนใจลมหายใจ เพียงรู้ว่ามีลมหายใจทีรู้ได้ก็พอ  แต่ถ้าท่านยังรู้ลมหายใจไม่ได้
ก็ไม่เป็นไร ฝีกไปบ่อยๆ  ก็จะสามารรถรู้ลมหายใจขึ้นได้เองต่อไป นี่แสดงว่า มีสัญญาณของการพัฒนาความก้าวหน้าได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อสามารถรู้ลมหายใจได้เองแบบนี้
.
F...เมื่อท่านหัดนั่งแล้วแกว่งขาได้แล้ว พอทำได้แล้ว ต่อไปก็ขอให้เดินจงกรมกลับไปกลับมา
วิธีการก็เหมือนเดิม คือ
*****ให้มองร่างกายแบบถาก ๆ เห็นร่างกายนี้ กำลังขยับตัวไปมา ซ๊่งเรียกว่า การเดินอยู่ แล้ว รู้ความรู้สีกทีเกิดขึ้น ทีเกิดจากการเดิน (ขอให้กลับไปอ่านข้อ ตัวอย่างที 2 ของข้อ 2 )
คนบางคน เมื่อทำแบบนี้ จะสามารถรู้ลมหายใจได้ด้วย นับว่า ดีมาก แต่ถ้าตอนนี้ ท่านยังรู้ลมหายใจไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ขอให้ฝีกแบบนี้ไปก่อน แล้วเมื่อท่านมีการพัฒนาขึ้นมา ท่านจะสามารถรู้ลมหายใจได้เองต่อไป ขอเน้นย้ำว่า เมื่อรู้ลมหายใจได้ด้วย อย่าได้สนใจลมหายใจ เพียงรู้ว่า มีลมหายใจทีรู้ได้ ก็พอแล้ว 
.
G...การฝีกฝนในชีวิตประจำวัน
เมื่อท่านฝีกในข้อ E และ F ไป จนมีความชำนาญมากพอ เช่น ทำทุกวัน ถ้าทำได้เกิน 1 เดือนขึ้นไปแล้ว ต่อไป ขอแนะนำให้ท่านฝีกฝน ในชีวิตประจำวัน เช่น เดินไปซื้อของ อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า
รีดผ้า และ อื่นๆ อีกสารพัด ขอให้ท่านทำเหมือนเดิม คือ เห็นร่างกายนี้แบบถาก ๆ ว่า ร่างกายกำลังทำอะไรอยู่ แล้ว รู้ความรู้สีกทีเกิดขึ้นทีร่างกายพร้อมกันไป
ถ้าท่านสามารถรู้ลมหายใจได้ด้วย ก็จะดีมาก แต่อย่าได้สนใจลมหายใจ เพียงรู้ได้ก็พอ
.
F....ในการฝีกฝนไม่ว่า แบบใด สิ่งทีเกิดขึ้นเสมอ ก็คือ การมีความคิดแทรกเข้ามา 
ท่านควรเข้าใจก่อนว่า การมีความคิดแทรกเข้ามา เป็นอาการปกติ ของคนเราทีเป็นแบบนี้เอง
ถ้าท่านฝีกฝน แล้วพบว่ามีความคิดแทรกเข้ามา ทำให้การฝีกฝนของท่านไม่ต่อเนื่อง
อย่าได้กังวลใจกับเรื่องนี้ อย่าไปพยายามทำอะไรเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้มีความคิดเกิดขึ้น
การมีความคิดแทรกเข้ามา ใหม่ๆ ท่านจะรู้ไม่ทัน และ ถูกความคิดเข้าครอบงำเสมอ
ถ้าท่านรู้ตัวเมื่อใดว่า มีความคิดเข้าครอบงำ ขอให้เริ่มต้นฝีกใหม่ต่อไป ขอให้ทำแบบไปเรื่อยๆ  
จนท่านมีความชำนาญ แล้ว ต่อไป เวลามีความคิดเข้ามา ท่านจะพบว่า ท่านจะรู้ได้เร็วขึ้น
หรือ บางครั้ง อาจเห็นความคิดแว๊บหนี่ง ก็ได้ การรู้ความคิดทีเกิดได้เร็ว หรือ เห็นความคิดได้
บ่งบอกถึงการพัฒนาความก้าวหน้าในสติปัฏฐานของท่านแล้ว
ดังนั้น การมีความคิดแทรกเข้ามา จึงเป็นสิ่งทีดี  ไม่ใช่ไม่ดี เพราะจะเป็นสิ่งทีทำให้ท่าน
มีความก้าวหน้าในการสติปัฏฐานได้ต่อไป
.
มีข้อแนะนำเรื่องความคิด ก็คือ ใหม่ๆ  ท่านอาจฝีกในทีสงบ เพราะเป็นการฝีกฝนใหม่ ทีเริ่มต้น
ยังไม่มีความชำนาญ แต่พอท่านฝีกไปสักระยะหนี่ง เช่น สัก 3 เดือนขึ้นไป โดยท่านควรฝีกทุกวันถ้าทำได้ ควรฝีกในสถานทีที่มีสิ่งรบกวน เช่น มีเสียงรบกวน มีภาพของคน หรือ รถ ที่วิ่งไปมารบกวน
สิ่งรบกวนเหล่านี้ ทำให้ท่านมีความคิด แล้ว ความคิดทีเข้ามานั่นแหละ คือ ครูทีดีทีสุดทีทำให้ท่านก้าวหน้าในทางธรรมต่อไป
.
5...ข้อควรระวังของการฝีกแบบนี้ ...
5.1 ....การฝีกแบบนี้ ห้ามทำในขณะทีท่านกำลังขับรถเด็ดขาด เพราะอันตรายมาก
5.2 ....การฝีกแบบนี้ ไม่เหมาะสำหรับใช้ขณะที่ทำงานทีต้องอาศัยความตั้งใจมาก
หรือ การทำงานทีต้องใช้ความคิดมาก ๆ  ถ้าท่านทำ จะเป็นการฝืนธรรมชาติ
และ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดเจ็บป่วยได้ ถ้าทำพยายามทำบ่อยๆ ในงานประเภททีใช้ความคิด


 




 

Create Date : 15 มกราคม 2564
1 comments
Last Update : 15 มกราคม 2564 13:40:32 น.
Counter : 1287 Pageviews.

 

บทความก่อนหน้า ทีเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้
เรื่อง
[การพิจารณาธรรม]การพิจารณาธรรมคืออย่างไร
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=01-2021&date=13&group=17&gblog=202

 

โดย: นมสิการ 15 มกราคม 2564 14:42:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.