HR Management and Self Leadership
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
5 มกราคม 2553

คนเก่ง(Talent)…หน้าตาเป็นอย่างไร

ชาว HR ทั้งหลายคงจะเคยได้ยินเรื่องของ Talent management มากันบ้างนะครับ ที่เขาแปลเป็นภาษาแบบไทยๆ ว่า การบริหารคนเก่ง หรือ การบริหารดาวเด่น อะไรทำนองนี้ เคยรู้มั้ยครับว่า “คนเก่ง” หรือ “ดาวเด่น” ที่เราต้องบริหารนี่หน้าตาเป็นอย่างไร


ที่ถามแบบนี้ก็เพราะผมเชื่อว่า แต่ละคนมอง “คนเก่ง” ออกมาไม่เหมือนกันเลย แม้ว่าจะอยู่บริษัทเดียวกันก็ตาม เท่าที่ผมพบมานั้น ผู้จัดการบางคน มองคนเก่ง ก็คือ คนที่มีผลงานดี ทำงานได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยไม่สนใจว่าพฤติกรรมจะเป็นอย่างไร


บางคนก็มองว่าคนเก่ง ก็คือคนที่มีพฤติกรรมที่ดี เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กรของเรา ส่วนผลงานนั้นได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่ว่ากัน ถ้านิสัยเข้ากันได้แล้ว นี่ก็คือคนเก่งของเขา


บางคนก็บอกว่าต้องประกอบกันทั้งผลงานและพฤติกรรม และก็บอกพฤติกรรมที่ชัดเจนไม่ได้ บอกได้แค่ว่า “ผมชอบ ผมก็ว่าเก่ง”


พอองค์กรนี้ต้องการจะทำเรื่องของ Talent Management ก็จะเริ่มมีปัญหาในเรื่องของการให้คำนิยามของคำว่า Talent ว่าคืออะไรกันแน่ ดังนั้นสิ่งที่ HR จะต้องทำก่อนที่จะมีโปรแกรมเรื่อง Talent Management เกิดขึ้นนั้นก็คือ การทำให้ผู้จัดการทุกคนรู้ว่า “คนเก่ง” ของบริษัทเรานั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ซึ่งทั่วๆ ไปนั้น องค์ประกอบของ Talent ก็จะมีอยู่ประมาณนี้ครับ

* ผลงานโดดเด่นมาก ไม่ใช่แค่ผลงานดีนะครับ จะต้องโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ในตำแหน่งเดียวกันด้วย โดยอาจจะสามารถทำงานบรรลุ KPI ที่กำหนดไว้อย่างเกินกว่ามาตรฐานหรือเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเห็นเด่นชัดมากๆ เมื่อเทียบกับพนักงานคนอื่นๆ และที่สำคัญ ไม่ใช่แค่โดดเด่นแค่ปีใดปีหนึ่งนะครับ จะต้องโดดเด่นต่อเนื่องด้วย


* พฤติกรรมต้องโดดเด่นด้วย กล่าวคือ คนๆ นี้จะต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ competency ขององค์กร ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดผลงานขึ้น และจะต้องแสดงพฤติกรรมนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพนักงานคนอื่นๆ ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อพูดถึงความเด่นด้านพฤติกรรมแล้ว ก็จะต้องนึกถึงคนคนนี้ทันที


* มีศักยภาพสูงในการพัฒนาองค์กร นอกจากที่มีผลงานเด่น มีพฤติกรรมที่ดีอย่างชัดเจนแล้ว ยังต้องเป็นคนที่มีศักยภาพสูงมากด้วย กล่าวคือ เป็นคนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรในระยะยาวด้วย คือ ไม่ใช่แค่ผลงานดีเลิศ แต่ไม่มีการพัฒนาอะไรเลย แต่ละปีก็ทำงานแบบเดิมๆ แบบนี้ก็ไม่ได้เรียกว่ามีศักยภาพ


ดังนั้นคนที่เป็น Talent นั้นน่าจะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบข้างต้น แต่ละองค์กร ก็จะมีนิยาม มีพฤติกรรม มีศักยภาพที่แตกต่างกันออกไป แต่ในองค์กรเดียวกันจะต้องมองเห็นภาพเดียวกันทั้งหมด มิฉะนั้น Talent ของแต่ละผู้จัดการก็จะเกิดขึ้นมากมายในบริษัท เพราะต่างคนต่างก็มองลูกน้องตนเองว่านี่แหละคือ Talent ในสายตาของเขา ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็เป็นได้


สิ่งที่เป็นเรื่องยากมากๆ ก็คือ การจะบอกว่าพนักงานคนไหนเป็น Talent เพราะมีบางแห่งกำหนดตัวออกมาแล้วว่าคนนี้เป็น Talent แต่ผู้จัดการส่วนใหญ่กลับร้อง ยี้ ทันที


แล้วองค์กรของท่านมองคนเก่งเป็นอย่างไรครับ




 

Create Date : 05 มกราคม 2553
1 comments
Last Update : 5 มกราคม 2553 6:52:30 น.
Counter : 1293 Pageviews.

 



แวะเข้ามาอ่านค่ะ

ความหมายของคำว่า " คนเก่งนั้น " คิดว่า แล้วมุมมอง ...

สถานที่ ... และสถานการณ์ ..

เป็นคนเก่งในที่หนึ่ง แต่อาจจะเป็นคนที่ไม่เก่งในอีกที่หนึ่งก็ได้ค่ะ


 

โดย: ยายอิ้ด (AsWeChange ) 5 มกราคม 2553 7:51:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]