happy memories
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
8 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 

Vintage of the past...หอมหวานแห่งวารวัน

52-Vintage of the past2

ชื่อภาพ : เตาบ่มร้าง
สถานที่ : บ้านโฮ่งลำพูน
เทคนิค : สีน้ำบนกระดาษ
ขนาด : ๑๙ x ๒๘ นิ้ว




Vintage of the past
หอมหวานแห่งวารวัน



คุณที่รัก


คุณเคยหลงเสน่ห์สิ่งไหนเป็นพิเศษบ้าง...


ฉบับก่อนผมเขียนถึงต้นไม้ฉำฉาและจักรยานบุรุษไปรษณีย์ ฉบับนี้เตาบ่มใบยาสูบ แล้วล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผมคลั่งไคล้ ใหลหลง


มีคำกล่าวทำนองว่า คนที่หลงรักอดีตนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นคนแก่


ถ้าอย่างนั้น คนครึ่งค่อนประเทศคงเป็นคนแก่ทั้งนั้น สงสัยว่าสังคมไทยคงจะคล้ายญี่ปุ่นที่ย่างเข้าสู่สังคมคนชรา เพราะหันหน้าไปทางทิศไหน แหล่งท่องเที่ยวที่เร้าใจนักท่องเที่ยวให้ไปชมไปชิม ล้วนแล้วแต่ "ขุดอดีต" มาเป็นจุดขายแทบทั้งสิ้น


แค่คำว่า "โบราณ" คำเดียว สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์หลายร้อยพันชนิด...


ดูแต่โรงบ่มยาสูบโบราณที่ผมวาดมาให้ชมคราวนี้ก็ไม่เว้น คนปัจจุบันปรับเป็นโรงแรมเลิศหรู ระดับห้าดาว ให้คนเข้าไปอยู่ไปพัก ใครจะคิดว่า (อดีตที่เกือบกลายเป็นซากอิฐหักกากปูน) จะได้รับความนิยมท่วมท้นปานนั้น


แค่เพียงเขาปรับภูมิทัศน์ จัดตกแต่งใหม่ ทั้งภายในภายนอก แต่ยังคงรูปทรงโรงบ่มใบยาสูบในอดีตไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้ปล่อยให้วัชพืชไต่เลื้อยขึ้นไปคลุมหลังคาแบบที่คุณเห็นในภาพวาดนี้นะครับ (ไว้ผมจะเล่าละเอียดเมื่อเขียนถึงตอนนั้น)


ส่วนเตาบ่มใบยาสูบภาพวาดนี้อยู่ในสวนลำใยที่บ้านโฮ่ง ลำพูน ที่เดียวกับต้นฉำฉายักษ์ที่ผมวาดให้ชมก่อนหน้านี้นั่นแหละ ดูสภาพแล้ว บางส่วนที่ไม่ชำรุดทรุดโทรม น่าจะยังคงใช้งานอยู่ เพราะเห็นมีคนงานเฝ้า มีกองฟืน มีกองฟืน ร่องรอย กลิ่นไอการใช้งาน


หรือปรับไปเป็นเตาอบลำไยแห้งก็เป็นได้ ในยุคสมัยที่บุหรี่เป็นผีร้าย ไม่มีที่อยู่ที่ยืนในสังคม อาชีพปลูกใบยาสูบก็ลดน้อยถอยลงตาม แต่ก็ยังมีหลายจังหวัดยังยึดอาชีพปลูกใบยาสูบอยู่ และรัฐก็ยังมีโรงงานผลิตบุหรี่ให้ประชาชนสูบมะเร็งอันแสนรื่นรมย์อยู่นะครับ ไม่ใช่ไม่มี แถมกระทรวงการคลังยังให้งบสนับสนุนงบประมาณให้มีการสร้างโรงบ่มแบบประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้อีกต่างหาก


โรงบ่มแบบใหม่นี้เขามีฉนวนกันความร้อนผนังทั้ง ๔ ด้าน และมีพัดลมดันไอร้อนภายใน สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในโรงบ่มได้ดี จึงบรรจุใบยาสูบได้มากกว่าโรงบ่มแบบเก่า


โรงบ่มแบบเก่าบ่มใบยาสดได้ ๓,ooo กิโล บ่มเสร็จจะได้ใบยาแห้ง ๓oo กิโล ส่วนโรงบ่มแบบใหม่ บ่มได้มากถึง ๘,ooo กิโล เมื่อบ่มเสร็จจะได้ใบยาแห้งถึง ๘oo กิโล เป็นที่นิยม เพราะยังใช้อบลำใยได้อีกด้วย


แต่อย่างไร ผมก็ชอบของเก่าโรงบ่ม แบบเก่าใช้อิฐมอญฉาบปูน ซึ่งใช้อยู่ทั่วไปและถือเป็นมาตรฐาน หรือใช้ผนังซิเม็นต์บล็อก มุงหลังคาด้วยสังกะสีและมีราวไม้คันชักด้วยไม้เนื้อแข็ง (เท่ตรงนี้แหละครับ) มีช่องระบายอากาศเป็นจั่วบนยอดหลังคา และเป็นช่องหน้าต่าง


ที่ฐานของโรงบ่มมี ๒ ประตู หน้าและหลัง บางโรงบ่มทำประตู ๒ ชั้น สำหรับดูปรอทและมีหน้าต่างอยู่ประมาณกึ่งกลางของความสูงของโรงบ่มทั้ง ๒ ข้าง สำหรับดูสีและความแห้งของใบ


ขณะเขียน...ผมได้กลิ่นหอมของยาสูบเวอร์จิเนียลอยมาจากโรงบ่มใหม่ใกล้ ๆ บ้าน ไว้ค่อยอ่านต่อฉบับหน้านะครับ ขอตัวปั่นรถถีบไปดูโรงบ่มใหม่สักหน่อย ว่ารูปทรงจะทำให้ผมรู้สึกได้ไหมว่ากำลังเดินอยู่แถวเมืองนอกเมืองนา



เรื่องและภาพ โดย พิบูลศักดิ์ ละครพล
จากคอลัมน์ "ผ่านตามาตรึงใจ" นสพ.กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์ ๘ มิ.ย. ๒๕๕๗
เฟซบุคกรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์




52-Vintage of the past





บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า กรอบจากคุณsomjaidean100

Free TextEditor




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2557
0 comments
Last Update : 15 มิถุนายน 2557 22:33:54 น.
Counter : 2094 Pageviews.


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 166 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.