HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
16 ธันวาคม 2556

สัญญาณที่บอกถึงอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก

เดือนสุดท้ายของปีแบบนี้ พนักงานส่วนใหญ่ก็มักจะมองว่าเป็นเดือนแห่งการพักผ่อนแล้ว เพราะเข้าสู่การส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ พนักงานหลายคนก็เริ่มวางแผนในการเที่ยว พักผ่อนกัน แต่ก็ยังมีพนักงานอีกบางกลุ่มที่ยังต้องเร่งยอด ต้องพยายามปิดงานให้เสร็จ จนบางครั้งทำให้ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ

ยิ่งไปกว่านั้นพนักงานบางคน ทำงานทุ่มเทให้กับองค์กรกันมาตลอดทั้งปี โดยที่ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยเลยสักนิด พอถามว่าไม่เหนื่อยหรอ บางคนก็ตอบว่า เหนื่อยแต่ก็สนุกกับการทำงาน มันก็เลยทำให้ไม่ค่อยเหนื่อยมากนัก

เราลองมาดูว่าเรามีสัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้นกับตนเองบ้างหรือไม่ ถ้ามีอย่างน้อย 2 ข้อ ก็แสดงว่า เราทำงานเหนื่อยจนเกินไปแล้ว ต้องรีบหาเวลาพักผ่อน และปรับร่ายการให้เข้าสู่ภาวะปกติก่อนที่จะเริ่มต้นปีใหม่

  • เริ่มสมาธิสั้นลง ปกติคนที่ทำงานขยันขันแข็งนั้นจะมีสมาธิจดจ่อกับงานที่ทำได้เป็นชั่วโมง โดยที่ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าคนที่เริ่มทำงานได้ไม่นาน ก็เลิก หรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น แล้วก็เปลี่ยนอีก โดยที่ไม่มีอะไรสำเร็จสักอย่าง นั่นเป็นสัญญาณแรกที่บอกเราว่า เราเหนื่อยเกินไปแล้ว เราอาจจะทำงานมากเกินไป มีภาระหน้าที่ที่มากเกินไป จนทำให้เราไม่สามารถที่จะจดจ่อทำงานอย่างเดียวได้นานๆ
  • เริ่มรู้สึกผิดกับงานที่ไม่สำเร็จมากขึ้น ถ้าเราเริ่มรู้สึกว่างานที่เรารับผิดชอบนั้นเริ่มไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งๆ ที่เราก็ทุ่มเทอย่างจริงจัง นั่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เราเริ่มเหนื่อยกับการทำงาน เหนื่อยมากๆ เข้าสมาธิก็หดหาย ไม่จดจ่อ ผลงานที่เคยดี ก็เริ่มไม่ดี เคยเสร็จทันเวลา ก็เริ่มไม่ทันเวลามากขึ้น จนทำให้เรารู้สึกว่าทำไมผลงานของเรามันแย่ลง ทั้งๆ ที่เราเองก็พยายามทำเหมือนเดิม
  • อารมณ์ปรวนแปร ถ้าเริ่มมีอาการอารมณ์ปรวนแปรมากขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย หรือใครพูดอะไรผิดหูหน่อยก็หงุดหงิดใส่ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนเลย นี่ก็เป็นอีกสัญญาณว่าเรากำลังทำงานเหนื่อยเกินไปแล้วเช่นกัน
  • ปลีกตัว ไม่อยากสุงสิงกับใคร บางคนเคยเฮฮากับเพื่อนร่วมงาน กับลูกน้องของตนเอง แต่กลับกลายเป็นว่าอยากอยู่คนเดียว ไม่อยากคุยกับใคร เวลามีใครมาคุยด้วย ก็แสดงอาการรังเกียจและไม่อยากคุยด้วย แบบนี้ก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าเรากำลังเหนื่อยกับการทำงานมากเกินไป
  • หัวถึงหมอนหลับทันที ปกติคนที่ไม่เหนื่อยมาก จะต้องใช้เวลาในการนอนจากที่หัวถึงหมอนก็ประมาณ 10 นาทีก็จะเริ่มหลับ แต่ถ้าเราเป็นประเภทพอล้มตัวลงนอนปุ๊ป ก็หลับปั๊บเลย นี่ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำงานเหนื่อยจนเกินไป เลยทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
  • เริ่มเจ็บป่วยมากขึ้น คนที่ทำงานเหนื่อยจนเกินไป จะทำให้พักผ่อนน้อย กินน้อย บางคนแทบไม่ได้กินข้าวเลยสักมื้อในหนึ่งวัน บางคนอาหารเช้าไม่เคยได้ทานเลย เพราะเหนื่อย ตอนตื่นสาย ไม่อยากลุกบ้าง พอลุกได้ก็สายแล้วต้องรีบไปทำงาน ก็เลยไม่ได้ทานอาหารเช้า ก็ยิ่งทำให้ร่างกายเราอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็คือ จะมีอาการเจ็บป่วยเข้ามาแทรก แบบเรื้อรังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปวดหัวไมเกรน อาการปวดท้อง ปวดหลัง ปวดตัว ปวดตา คลื่นไส้ อาเจียน มึน ฯลฯ อาการเหล่านี้ถ้าเป็นประจำทุกวัน โดยที่เดิมทีไม่เคยเป็นอะไรแบบนี้มาก่อนเลย นี่ก็แปลง่ายๆ ว่าเราทำงานหนักเกินไปแล้ว

อาการเหล่านี้ถ้ามีอย่างน้อย 2 ข้อ ก็ต้องเริ่มระวังตนเองได้แล้วครับ ต้องปรับวิธีการทำงาน ปรับวิธีการใช้ชีวิตใหม่บ้าง ถ้างานเยอะจริงๆ ก็คงต้องแบ่งเวลาให้ดี และพยายามหาเวลาพักผ่อน นอนหลับให้พอ อีกทั้งพยายามหาเทคนิคให้ร่างการได้ออกกำลังกายบ้าง โดยอาจจะไม่ต้องไปเข้าฟิตเนส แต่อาศัยกิจกรรมประจำวันของเราเพื่อให้ร่างกายได้ออกแรงบ้าง เช่น การเดินเร็ว การเดินขึ้นบันไดบ้าง การขยับแข้งขยับขาระหว่างการทำงานบ้าง ฯลฯ

เพราะถ้าเราไม่ดูแลตัวเองให้ดี มันจะยิ่งทำให้เราไม่สามารถทำงานที่เรารักได้ดี เพราะร่างกายเราอาจจะทนไม่ได้ขึ้นมาสักวันหนึ่ง แล้วคราวนี้เราจะไม่สามารถทำงานได้อีกเลย

อย่าให้เงินที่เราหามาได้ มาใช้รักษาตัวเองในเพราะการทำงานหนักจนเกินไปเลยครับ มันไม่คุ้มเลยจริงๆ




Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 17 ธันวาคม 2556 7:28:35 น. 0 comments
Counter : 841 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]