HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
4 มีนาคม 2554

คุณใช้ชีวิตอย่างไรในแต่ละวัน

ตื่นนอนตอนเช้า อาบน้ำ แต่งตัว เดินทางไปทำงาน กินเข้า เช็คเมล์ เล่น Facebook ฯลฯ กิจกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกันออกไป คำถามก็คือ ในแต่ละวันนั้นคุณใช้ชีวิตได้คุ้มค่ามากน้อยเพียงใด แล้วความคุ้มค่าคืออะไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่านี่เรากำลังใช้ชีวิตที่คุ้มค่าอยู่หรือเปล่า จากประสบการณ์ของผม ผมคิดว่าเรื่องนี้ตอบได้ไม่ยาก ลองถามตัวเองดูก็ได้ครับว่า กิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ในแต่ละวันนั้นมันส่งเสริมให้ชีวิตของเรามุ่งไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการหรือไม่ ถ้าใช่ ก็แปลว่าเรากำลังใช้ชีวิตที่คุ้มค่าอยู่ แต่ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่ เราก็ควรจะเปลี่ยนกิจกรรมนั้นเสียใหม่ ให้เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายของชีวิตที่เราตั้งใจจะไปให้ถึง


https://www.youtube.com/watch?v=-VDxKLSyksI&playnext=1&list=PLDC1E5132CFABC9DD




ผมได้ดู clip vdo นี้มาหลายปีมากแล้ว แต่เมื่อไรที่เปิดขึ้นมาดูใหม่ ก็ยังคงให้แรงบันดาลใจ และให้ข้อคิดใหม่ๆ แก่ผมเสมอ ก็เลยเอามาแบ่งปันกัน ผมเชื่อว่าหลายท่านต้องเคยได้ดูเรื่องราวใน vdo นี้แน่นอน เพียงแต่ดูแล้วได้หยิบเอาข้อคิดต่างๆ เหล่านั้นมาใช้มากน้อยเพียงใด


VDO เรื่องนี้เป็นของ Stephen Covey ผู้ที่เขียนเรื่อง 7 Habits of Highly Effective People อันโด่งดัง ซึ่งใน clip นี้ก็เป็นเรื่องของการใช้เวลา การบริหารเวลา หรือการใช้ชีวิตของเราเองในแต่ละวันว่า เราทำอะไรอยู่ สิ่งที่เราทำนั้นมันเป็นสิ่งที่สำคัญ หรือไม่สำคัญ สำหรับชีวิตของเรา


เขาเปรียบเทียบเรื่องของกิจกรรมต่างๆ ในชิวิตของเราเหมือนก้อนหินที่มีขนาดแตกต่างกันออกไป ก้อนหินขนาดใหญ่ก็แปลว่า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตของเรา ก้อนหินที่มีขนาดเล็กลงก็สำคัญน้อยลงไป จนกระทั่งถึงก้อนกรวดเล็กๆ ที่เป็นกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน สิ่งที่เขาให้ทำก็คือ ทำอย่างไรให้ก้อนหินทุกขนาดใส่เข้าไปอยู่ในถังใบเดียวได้ โดยที่ไม่มีหินก้อนไหนโผล่ขึ้นมาเกินกว่าขอบปากของถังที่ให้มา


แน่นอนว่า ถ้าเราเทก้อนกรวดลงไปก่อน แล้วก่อนหยิบหินขนาดต่างๆ ใส่เข้าไป ผลก็คือ เราไม่สามารถที่จะจัดการให้หินทุกก้อนอยู่ภายใต้ขอบถังได้เลย แม้ว่าเราจะพยายามมากมายสักเท่าไรก็ตาม สิ่งที่ถูกต้องก็คือ เราต้องใส่หินก้อนใหญ่ลงไปในถังก่อน ใส่หินที่มีความสำคัญลงไปก่อน พอใส่ตามที่เราต้องการได้แล้ว สุดท้ายจึงค่อยเทก้อนกรวดเล็กๆ ลงไป ซึ่งมันก็จะกระจายไปอยู่ตามซอกของหินก้อนใหญ่แต่ละก้อน และจะทำให้เราสามารถใส่หินทุกก้อนลงไปได้แบบไม่เกินปากขอบถังเลย


VDO เรื่องนี้สอนให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เวลาของเรา เราใช้เวลาไปกับสิ่งเล็กน้อยๆ และสิ่งที่ไม่สำคัญในชีวิตของเรามากเกินไปหรือเปล่า (ต้องเปรียบเทียบกับเป้าหมายในชีวิตของเรา) บางคนเล่นเน็ตทั้งวัน chat ทั้งวัน แล้วก็มาบ่นว่า ชีวิตทำไมไม่ไปถึงไหน เมื่อดูเรื่องราวนี้จบลง ก็อยากให้ถามตัวเองว่า กิจกรรมอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตของเรา อะไรที่เป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ หรือสามารถทำทีหลังก็ได้ ไม่ได้มีผลต่อเป้าหมายในชีวิตของเรามากนัก


วิธีการที่ผมเคยลองใช้วิเคราะห์ก็คือ ให้นึกถึงกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวัน เอาแบบละเอียดหน่อยนะครับ จากนั้นก็เขียนใส่กระดาษไปเรื่อยๆ จนกระทั่งนึกไม่ออกแล้ว ก็ค่อยมานั่งดูว่า ในแต่ละกิจกรรมที่เราทำนั้น อะไรที่มีความสำคัญ อะไรที่สำคัญน้อย แยกแยะออกมา แล้วเราจะเห็นอย่างชัดเจนเลยว่า อะไรที่เราควรจะทำก่อน อะไรที่เราควรจะทำหลัง ถ้าเราเลือกทำกิจกรรมที่สำคัญก่อน จะทำให้เรามีช่วงที่ว่างๆ เพื่อมาทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่สำคัญทีหลังได้ และที่สำคัญก็คือ เราจะไปสู่เป้าหมายของชีวิตเราได้มากกว่าการเลือกทำกิจกรรมที่ไม่มีความสำคัญ แต่เรารู้สึกว่าเราได้รับความเพลิดเพลิน


วันนี้คุณเลือกทำในสิ่งที่สำคัญสำหรับชีวิตของคุณแล้วหรือยังครับ





Free TextEditor


Create Date : 04 มีนาคม 2554
Last Update : 4 มีนาคม 2554 6:33:30 น. 2 comments
Counter : 798 Pageviews.  

 
ขอบคุณมากค่ะ....ทำให้คิดอะไรดีๆได้เลย ต้องลองนั่งวิเคราะห์กิจกรรมดูบ้างแล้วค่ะ


โดย: auau_py วันที่: 4 มีนาคม 2554 เวลา:8:28:48 น.  

 
สิ่ง เล็ก ๆ เรียก ว่า

รัก



โดย: ซ่อนรอยยิ้ม วันที่: 4 มีนาคม 2554 เวลา:10:25:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]