HR Management and Self Leadership
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
2 กันยายน 2553

สื่อสารอย่างไร ถึงเรียกว่าได้ผล

พอพูดถึงเรื่องของการสื่อสาร ผมคิดว่าหลายๆ ท่านก็คงจะมองเห็นภาพของคนสองคนหรือมากกว่าสองคนนั่งพูดคุยกัน หรืออาจจะมองเห็นเป็นเรื่องราวของการที่มีคนคนหนึ่งยืนพูดอยู่หน้าห้อง เพื่อส่งสารบางอย่างมายังผู้ที่นั่งฟังอยู่ บางคนอาจจะมองเห็นเป็นภาพของการเขียนจดหมาย เขียนบันทึก เพื่อส่งให้กับบุคคลที่เราต้องการจะส่ง บางคนทันสมัยหน่อยมองเห็นเป็นภาพของเรากำลังพิมพ์หน้าแป้นคอมพิวเตอร์เพื่อ Chat กับเพื่อนๆ ยิ่งไปกว่านั้นเด็กสมัยใหม่อาจจะมองการสื่อสารเป็นเรื่องของการเอานิ้วจิ้มบนหน้าปัดเครื่อง BB (BlackBerry)

ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องของการสื่อสารทั้งสิ้น แต่บางท่านอาจจะนึกไม่ถึงว่า การที่เรานั่งเฉยๆ หรือนั่งทำหน้าไม่สบายใจ แต่ไม่ได้พูดจาอะไรกับใครเลยนั้น ไม่เป็นการสื่อสาร จริงๆ แล้วก็เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งนะครับ ที่เราเรียกว่า ภาษากาย นั่นเอง

มีงานวิจัยจากต่างประเทศที่ระบุมาอย่างชัดเจนว่า การสื่อสารที่ดีและได้ผลนั้นจะแยกออกมาเป็นสัดส่วนดังนี้

คำพูดที่ใช้ (Word) 10%
น้ำเสียง (Tone of Voice) 40%
ภาษากาย (Body Language) 50%
จากผลวิจัยที่ออกมาแสดงให้เห็นชัดเจนเลยว่า คำพูดที่เราใช้นั้นมีส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้นในการที่จะสื่อความให้สำเร็จ ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เราถูกสอนมาเยอะก็คือ การพูดจาให้สุภาพ การเลือกใช้คำที่เหมาะสม เราจะไปเน้นเรื่องของคำที่จะใช้กันมาก แต่เราลืมเน้นอีกสองเรื่องก็คือ เรื่องของน้ำเสียง และภาษาท่าทางที่แสดงออกมาระหว่างที่เราคุยกันด้วย ผลก็คือบางครั้งเราพยายามพูดดีด้วยก็แล้ว ใช้คำพูดที่ไพเราะก็แล้ว แต่สุดท้ายก็ยังมีปัญหาเรื่องของการสื่อสารอยู่ดี เช่น พนักงานไม่ยอมรับบ้าง หรือ พนักงานไม่สนใจบ้าง หนักๆ เข้าก็คือ พนักงานยังคงต่อต้านในสิ่งที่เราสื่ออยู่ดี

สิ่งที่ผู้วิจัยบอกมาก็คือ เราจะต้องใช้สามส่วนประกอบกัน ความสำเร็จของการสื่อสารพูดคุยกันนั้น จะมีโอกาสเกิดผลสำเร็จได้มากก็ด้วยการใช้ภาษากายที่ชัดเจน คำว่าภาษากายนี่ก็กว้างมากนะครับ มีตั้งแต่การส่งสายตาที่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจ การพยักหน้า การยิ้มแย้ม การขยับตัวด้วยความไม่ประหม่า ฯลฯ

บางคนเตรียมคำพูดมาอย่างดี แต่พอถึงเวลาพูด ภาษากายกลับไม่ส่งเสริมคำพูดที่เราเตรียมมา คนฟังเขาอ่านออกอยู่แล้วนะครับ ว่าสิ่งที่พูด กับสิ่งที่แสดงออกมันขัดกันเอง ผลก็คือเขาก็จะไม่ฟัง หรือไม่ก็ ฟังแบบขอไปที เพราะรู้ว่าคนพูดไม่จริงใจ ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะมีข้อโต้แย้งออกมามากมาย

นอกจากภาษากายแล้ว ก็ยังต้องประกอบไปด้วยน้ำเสียงที่เจือไปด้วยความจริงใจเช่นกัน ไม่ใช่น้ำเสียงประชดประชัน ขึ้นเสียง และกระชากเสียง ฯลฯ การใช้น้ำเสียงที่ไม่เหมาะสมแม้ว่าเราจะเตรียมคำพูดมาอย่างดี คนฟังก็ไม่ได้รู้สึกดีด้วยนะครับ เขาก็รู้ว่า ขณะนี้คนพูดกำลังประชดอยู่นั่นเอง

“ไอ้บ้าเอ้ย!! คิดได้ไงเนี่ยะงานนี้” ลองจินตนาการถึงคนสองคนที่พูดประโยคนี้สิครับ

คนแรกพูดด้วยน้ำเสียงกระชาก และประชดประชัด สายตาที่มองคนพูดเหมือนกับไม่พอใจ

ส่วนอีกคน พูดด้วยน้ำเสียงที่เจือด้วยเสียงหัวเราะ และชื่นชมความคิดของลูกน้องตนเองที่แสดงออกมา

เห็นอะไรในจินตนาการมั้ยครับ คำพูดเดียวกัน แต่ใช้น้ำเสียงและภาษากายที่ต่างกัน จะมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสื่อสารอย่างผิดกันราวฟ้ากับดินเลยนะครับ

หรือในทางตรงกันข้าม คำพูดนี้ “คุณทำงานได้ดีจริงๆ เลยนะ”

พูดด้วยน้ำเสียงที่จริงใจ และชื่นชม จะเป็นอีกแบบ แต่ถ้าน้ำเสียงประชด และไม่จริงใจ ผลก็จะเป็นอีกแบบ

เห็นความสำคัญของน้ำเสียง และภาษากายหรือยังครับ

ดังนั้นวันนี้ถ้าเราจะสื่อสารกับใครก็แล้วแต่อย่าลืมคิดถึงน้ำเสียง และภาษากายที่จริงใจนะครับ

แล้วการสื่อความของเราจะไปถึงใจผู้รับได้อย่างชัดเจนครับ


Create Date : 02 กันยายน 2553
Last Update : 2 กันยายน 2553 6:00:02 น. 2 comments
Counter : 797 Pageviews.  

 
ทุกอย่างที่ทำด้วยความจริงใจเต็มร้อย มักจะออกมาดีที่สุดค่ะ


โดย: ธารน้อย วันที่: 2 กันยายน 2553 เวลา:14:47:31 น.  

 
ขอให้ใส่น้ำเสียงจริงใจ

และจริงจัง ได้ผลเลยคะ


โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 2 กันยายน 2553 เวลา:15:02:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]