HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
14 มีนาคม 2555

ใครกันแน่ที่เป็นผู้สร้าง Well-being ให้กับพนักงาน

ผมเขียนเรื่องราวของ Well-being ของพนักงานไป ก็มีผู้อ่านเขียนอีเมล์เข้ามาสอบถามกันว่า แล้วเป็นหน้าที่ของใครที่จะต้องสร้างและทำให้พนักงานรู้สึกถึงความผาสุกในการทำงานกับองค์กร เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ฝ่ายบุคคล หรือหัวหน้างาน หรือแม้แต่พนักงานเอง

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากมายครับ ไม่แตกต่างกับประเด็นอื่นๆ ในการบริหารทรัพยากรบุคคลเลย พอองค์กรเริ่มเอาแนวคิดเรื่องของการทำให้พนักงานรู้สึกมีความเป็นอยู่ที่ดี และเกิดความผาสุขในการทำงาน ก็เริ่มมีเสียงสอบถามกันมามากกว่า แล้วสิ่งเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของใครกันแน่ ต่างฝ่ายต่างก็โยนกันไปมา ว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง

เราลองมานั่งนึก นั่งคิดกันดีๆ สิครับ ว่าถ้าเราอยากให้พนักงาน (ซึ่งก็คือตัวเราเองด้วย) มีความสุขในการทำงาน มีความรู้สึกที่ดีในการทำงานกับองค์กร สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของใครกันแน่


  • คำตอบแรกที่มักจะได้ยินก็คือ ฝ่ายบุคคล เพราะดูแลเรื่องของพนักงานในองค์กร ดังนั้นการที่จะทำให้พนักงานมีความสุขได้ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคล แต่ถามว่า ฝ่ายบุคคลรู้จักลูกน้องของเราเองดีสักแค่ไหน รู้ทุกข์สุขต่างๆ ของพนักงานสักแค่ไหน ถ้าฝ่ายบุคคลกำหนดแนวทางในการทำงานที่ดี และน่าจะมีความสุข แต่บรรดาผู้จัดการฝ่ายไม่ยอมทำตาม ผลสุดท้ายพนักงานก็ไม่มีความสุขในการทำงาน แล้วเราจะโทษใครต่อดีครับ



  • หัวหน้างาน บางคนก็ตอบว่า การที่พนักงานจะมีความสุขในการทำงานได้นั้น จะต้องเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานโดยตรงที่จะต้องทำหน้าที่ดูแล และเอาใจใส่พนักงาน ทั้งในด้านผลงาน และด้านพฤติกรรม รวมถึงความรู้สึกของพนักงาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกดี และเกิดความสุขในการทำงาน แต่ปัญหาก็คือ หัวหน้างานก็จะไม่รู้อีกว่า จะสร้างตรงนี้ได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยหน่วยงานที่ไปทำระบบก็คือ ฝ่ายบุคคลนั่นเอง



  • ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร คำตอบนี้ก็มีหลายคนมักจะตอบว่าถ้าอยากให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน จะต้องเริ่มต้นที่ผู้บริหารระดับสูงก่อนเลย จะต้องกำหนดนโยบาย และตัดสินใจทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย สนใจแต่ยอดขาย แต่ไม่สนใจเรื่องความเป็นอยู่ของพนักงาน


แล้วตกลงคำตอบไหนน่าจะดีที่สุดครับ???

ลองมานั่งวิเคราะห์กันใหม่ ในประเด็นของ well-being ซึ่งมีอยู่ 5 ด้านใหญ่ๆ ก็คือ

  • Positive Emotion at work อารมณ์และความรู้สึกเชิงบวกในการทำงาน

  • Positive Relationships at work ความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน

  • Meaning and Purpose at work รู้สึกถึงความหมายของงานที่ทำอยู่

  • Position Accomplishment at work รู้สึกถึงความสำเร็จของงานของตนเอง

  • Position Health at work มีสุขภาพจิต และสุขภาพกายที่ดีในการทำงาน


การที่จะสร้างทั้ง 5 ด้านให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในองค์กร มันไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งแล้วครับ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ทุกระดับ และรวมถึงพนักงานทุกด้วย กล่าวคือ ถ้าเราอยากให้พนักงานมีความสุขในการทำงานกับองค์กรจริงๆ สิ่งแรกที่จะต้องเริ่มก็คือ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกำหนดนโยบายนี้ให้ชัดเจน และฝ่ายบุคคลก็ต้องนำนโยบายนี้ไปสร้างระบบการทำงานขึ้นมา และจากนั้น ผู้บริหารและหัวหน้างานทุกระดับ จะต้องปฏิบัติตนตามระบบที่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีในการทำงานนั่นเอง

ลองดูตัวแรกก็ได้นะครับ การที่เราจะสร้างอารมณ์เชิงบวกในการทำงาน จริงๆ แล้วเราสามารถสร้างได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว แต่ถ้าทุกๆ วัน พนักงานเข้ามาเจอกับหัวหน้างานที่มีแต่อารมณ์เชิงลบ ดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรง ใช้คำพูดที่ไม่ไว้หน้าพนักงานเลย ถ้าหัวหน้าหรือผู้จัดการส่วนใหญ่ในองค์กรเป็นแบบนี้ ถึงเราจะมีนโยบายจากฝ่ายบุคคลที่ดีเลิศสักแค่ไหน พนักงานก็ไม่มีความสุข และไม่มีอารมณ์เชิงบวกในการทำงานได้อย่างแน่นอนครับ

ผมมองว่าถ้าอยากจะให้เกิดความสุขในการทำงาน พนักงานทุกคนจะต้องมีความสุข หัวหน้าจะต้องสร้างความสุขในตัวเองให้ได้ จากนั้นก็ส่งต่อความสุขนั้นไปยังพนักงานในทุกระดับ เมื่อพนักงานมีความสุข ก็จะส่งความสุขนั้นกลับมายังหัวหน้า ก็จะส่งไปส่งมาแบบนี้ well-being ก็จะเกิดขึ้นได้จริงครับ

สิ่งเหล่านี้อยู่ที่จิตสำนึกของพนักงานทุกคนจริงๆ นะครับ อย่าไปลงทุนลงแรงทำระบบอะไรที่มันเลิศมาก แต่ไม่ลงทุนกับการสร้างคนที่จะใช้ระบบเลยนะครับ บางองค์กรมีพร้อมหมดเลยนะครับ เช่น ฟิตเนส อาหารฟรี มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพราะผู้บริหารเชื่อในสิ่งที่จับต้องได้ ก็เลยสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา แต่กลับไม่ได้สร้างจิตใจของพนักงานให้ดีขึ้น สุดท้ายก็ไปติดที่เรื่องของการปฏิบัติต่อกันด้วยความไม่ให้เกียรติกันมากกว่า พนักงานเองก็บ่นอุบเลยว่าทำงานไม่เห็นจะมีความสุขเลย ทั้งๆ ที่สภาพแวดล้อมที่สร้างมานั้นคนนอกมองเข้ามาแล้วต่างก็พากันอิจฉาด้วยซ้ำไป

ก็ขอให้อย่าเป็นการสร้าง Well-being ในแบบนี้เลยนะครับ




 

Create Date : 14 มีนาคม 2555
0 comments
Last Update : 14 มีนาคม 2555 6:36:05 น.
Counter : 1448 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]