HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
11 พฤศจิกายน 2553

Competency เรื่องความซื่อสัตย์

ผมเชื่อว่าปัจจุบันนี้หลายๆ องค์กรได้นำเอาแนวคิดเรื่องของ Competency มาใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาพนักงานอย่างเป็นระบบ เพราะระบบนี้จะทำให้บริษัทกำหนดแนวทางในการพัฒนาได้อย่างชัดเจน และมุ่งไปสู่ทิศทางและเป้าหมายขององค์กรได้

แต่ในการกำหนด Competency นั้น แต่ละองค์กรก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีการก็จะมาจาก Mission Vision และลักษณะธุรกิจขององค์กร โดยการดูว่าเราต้องการคนแบบใดที่จะนำพาองค์กรไปสู่ Mission Vision ที่เรากำหนดไว้ เช่นถ้าองค์กรของเราเน้นเรื่องของการให้บริการลูกค้า Competency หลักของเราก็จะเป็นเรื่องของ จิตใจให้บริการ หรือบางองค์กรบอกว่าเกิดมาเพื่อที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ ออกสู่ตลาด Competency หลักก็น่าจะเป็นเรื่องของ การมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

แต่มี Competency อยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งหลายๆ องค์กรต่างก็กำหนดขึ้นมาว่าจะต้องมีพนักงานแบบนี้ จึงจะสามารถนำพาบริษัทไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งตัวนั้นก็คือ “ความซื่อสัตย์” ผมเคยเห็น competency ตัวนี้จากหลายบริษัท ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ว่ามันไม่ดีนะครับ เพียงแต่ตั้งข้อสงสัยว่า เราจะพัฒนาเรื่องของความซื่อสัตย์กันอย่างไร

โดยปกติ Competency นั้นจะกำหนดเป็นชุดของพฤติกรรมที่สามารถที่จะสร้าง หรือพัฒนาได้ หรืออาจจะเริ่มจากพนักงานไม่มีพฤติกรรม หรือไม่มีความสามารถแบบนั้นมากนัก ก็นำมาพัฒนากันต่อไป จนกระทั่งพนักงานมีความสามารถตัวนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ การให้บริการ ฯลฯ

แต่ Competency เรื่อง “ความซื่อสัตย์” นั้น มันเป็นเรื่องของศีลธรรม ผมก็เลยสงสัยว่า จะมีองค์กรใดบ้างที่รับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์เข้ามา แล้วทำการพัฒนาให้ซื่อสัตย์มากขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่าไม่มีธุรกิจหรือองค์กรใดที่ต้องการพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์เข้ามาทำ งานหรอกครับ

ดังนั้นเรื่องของความซื่อสัตย์จึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการอยู่แล้ว ไม่ใช่ Competency ที่จะนำมาวางแผนการพัฒนาให้เกิดพฤติกรรมได้เลย เพราะเราไม่สามารถมากำหนดว่า การโกงเงิน 1 บาทนั้น ซื่อสัตย์กว่าการโกงเงิน 100 บาท เพราะโกงก็คือโกง ไม่ว่าจะโกงเท่าไรก็ตาม

ถ้าบริษัทจะต้องการกำหนด competency จริงๆ ก็ควรจะกำหนดออกมาให้เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมผลงาน และส่งเสริมให้องค์กรบรรลุเป้าหมายสูงสุด และเป็นพฤติกรรมที่พัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละระดับได้

แต่ถ้าเปลี่ยนจากความซื่อสัตย์ มาเป็นเรื่องของการมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ผมว่า เรื่องของจรรยาบรรณในวิชาชีพนั้นยังสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ อาจจะเริ่มจากขั้นต้นก็คือรู้ จากนั้นก็เริ่มที่จะใช้เป็น และเริ่มที่จะทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีได้ ซึ่งผิดกับความซื่อสัตย์ ซึ่งมีแค่ ซื่อสัตย์ กับไม่ซื่อสัตย์เท่านั้นครับ


Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2553 7:29:02 น. 0 comments
Counter : 1317 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]